พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ระบุธนาคารแห่งประเทศไทยดูแลค่าเงินบาทอย่างเต็มกำลังความสามารถและติดตามสถานการณ์เกือบทุกวินาที เตรียมหารือภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมการรองรับปัญหาเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้น
วันนี้ เวลา 09.40 น. ที่อิมแพค เมืองทองธานี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่นายโอฬาร ไชยประวัติ ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยเศรษฐกิจการคลัง ออกมาวิจารณ์การแก้ปัญหาค่าเงินบาทของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ( ธปท.) ว่า ก็เป็นคำวิจารณ์ ซึ่งคิดว่าในส่วนของ ธปท. ได้พยายามที่จะทำหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถอยู่แล้ว และมีเจ้าหน้าที่ของ ธปท.จำนวนมากที่ได้ติดตามสถานการณ์เกือบทุกวินาทีที่มีการเปลี่ยนแปลงของค่าเงิน
ผู้สื่อข่าวถามว่า เสถียรภาพค่าเงินบาทของไทยจะมีทิศทางเป็นอย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงให้คำตอบไม่ได้ แต่สิ่งที่รัฐบาลพยายามทำคือการรักษาเสถียรภาพค่าเงินไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วเกินไป ไม่ว่าจะเป็นทางบวกหรือลบ ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลพยายามที่จะดูแล
ผู้สื่อข่าวถามว่า นอกเหนือจากภาคอุตสาหกรรมด้านสิ่งทอแล้ว ยังมีอุตสาหกรรมด้านใดที่น่าเป็นห่วงอีก นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า อุตสาหกรรมด้านอื่น ๆ เรายังมีทางออก เช่น อุตสาหกรรมด้านอัญมณีที่รัฐบาลได้เปิดข้อตกลงความร่วมมือด้านเศรษฐกิจกับญี่ปุ่น ซึ่งน่าจะมีผลในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ก็จะเป็นตลาดใหม่ของสินค้าอัญมณีของไทย
ผู้สื่อข่าวถามว่า หลายฝ่ายเป็นห่วงว่าเงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้นมากกว่าค่าเงินของประเทศคู่แข่งสำคัญๆ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในเย็นวันนี้จะได้มีการหารือกับสมาคมต่างๆ ทั้งสมาคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย และสมาคมหอการค้าไทย และในส่วนของภาครัฐก็จะเตรียมการรองรับกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น โดยจะดูว่าปัญหาเป็นอย่างไร และสิ่งที่เราต้องดูคือการหาทางเตรียมการไว้ล่วงหน้าไม่ให้เกิดสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด ซึ่งรวมถึงอุตสาหกรรม SMEs ที่มีบางฝ่ายเป็นห่วงด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทางผู้ว่าฯ ธปท. ได้รายงานถึงการดูแลค่าเงินบาทที่นายโอฬารฯ ออกมาเปิดเผยว่ามีการใช้เงินเข้าไปดูแลถึง 3-4 แสนล้านบาทหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในส่วนนี้เป็นหน้าที่ของ ธปท.โดยตรงที่ได้รับมอบไปดำเนินการ การใช้เงินส่วนนี้ก็เป็นเรื่องที่อธิบายได้ แต่ถ้าเป็นเงินบาทอย่างเดียวก็คงอธิบายลำบาก เพราะในเรื่องของการแลกเปลี่ยนซื้อขายเงินตราระหว่างประเทศนั้น ทาง ธปท.ก็มีหลายวิธี เราไม่ได้ใช้เงินบาทอย่างเดียว แต่เรามีเงินสกุลอื่นที่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งเป็นการใช้ที่เรียกว่าคละกันไป และทาง ธปท.ก็ดูแลอย่างใกล้ชิด ถ้าเราคิดออกมาเป็นตัวเลขของเงินบาทอย่างเดียวก็จะมีค่าสูง แต่ทาง ธปท.มีวิธีการและมีข้อมูลรายละเอียดดังกล่าวมากกว่าคนอื่น
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในภูมิอาเซียนยังมีประเทศใดที่ประสบปัญหาค่าเงินเช่นเดียวกันไทยบ้าง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีปัญหาเรื่องความร่วมมือในภูมิภาค เราก็จำเป็นที่จะต้องดูแลให้เกิดเสถียรภาพ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 09.40 น. ที่อิมแพค เมืองทองธานี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่นายโอฬาร ไชยประวัติ ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยเศรษฐกิจการคลัง ออกมาวิจารณ์การแก้ปัญหาค่าเงินบาทของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ( ธปท.) ว่า ก็เป็นคำวิจารณ์ ซึ่งคิดว่าในส่วนของ ธปท. ได้พยายามที่จะทำหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถอยู่แล้ว และมีเจ้าหน้าที่ของ ธปท.จำนวนมากที่ได้ติดตามสถานการณ์เกือบทุกวินาทีที่มีการเปลี่ยนแปลงของค่าเงิน
ผู้สื่อข่าวถามว่า เสถียรภาพค่าเงินบาทของไทยจะมีทิศทางเป็นอย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงให้คำตอบไม่ได้ แต่สิ่งที่รัฐบาลพยายามทำคือการรักษาเสถียรภาพค่าเงินไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วเกินไป ไม่ว่าจะเป็นทางบวกหรือลบ ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลพยายามที่จะดูแล
ผู้สื่อข่าวถามว่า นอกเหนือจากภาคอุตสาหกรรมด้านสิ่งทอแล้ว ยังมีอุตสาหกรรมด้านใดที่น่าเป็นห่วงอีก นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า อุตสาหกรรมด้านอื่น ๆ เรายังมีทางออก เช่น อุตสาหกรรมด้านอัญมณีที่รัฐบาลได้เปิดข้อตกลงความร่วมมือด้านเศรษฐกิจกับญี่ปุ่น ซึ่งน่าจะมีผลในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ก็จะเป็นตลาดใหม่ของสินค้าอัญมณีของไทย
ผู้สื่อข่าวถามว่า หลายฝ่ายเป็นห่วงว่าเงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้นมากกว่าค่าเงินของประเทศคู่แข่งสำคัญๆ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในเย็นวันนี้จะได้มีการหารือกับสมาคมต่างๆ ทั้งสมาคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย และสมาคมหอการค้าไทย และในส่วนของภาครัฐก็จะเตรียมการรองรับกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น โดยจะดูว่าปัญหาเป็นอย่างไร และสิ่งที่เราต้องดูคือการหาทางเตรียมการไว้ล่วงหน้าไม่ให้เกิดสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด ซึ่งรวมถึงอุตสาหกรรม SMEs ที่มีบางฝ่ายเป็นห่วงด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทางผู้ว่าฯ ธปท. ได้รายงานถึงการดูแลค่าเงินบาทที่นายโอฬารฯ ออกมาเปิดเผยว่ามีการใช้เงินเข้าไปดูแลถึง 3-4 แสนล้านบาทหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในส่วนนี้เป็นหน้าที่ของ ธปท.โดยตรงที่ได้รับมอบไปดำเนินการ การใช้เงินส่วนนี้ก็เป็นเรื่องที่อธิบายได้ แต่ถ้าเป็นเงินบาทอย่างเดียวก็คงอธิบายลำบาก เพราะในเรื่องของการแลกเปลี่ยนซื้อขายเงินตราระหว่างประเทศนั้น ทาง ธปท.ก็มีหลายวิธี เราไม่ได้ใช้เงินบาทอย่างเดียว แต่เรามีเงินสกุลอื่นที่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งเป็นการใช้ที่เรียกว่าคละกันไป และทาง ธปท.ก็ดูแลอย่างใกล้ชิด ถ้าเราคิดออกมาเป็นตัวเลขของเงินบาทอย่างเดียวก็จะมีค่าสูง แต่ทาง ธปท.มีวิธีการและมีข้อมูลรายละเอียดดังกล่าวมากกว่าคนอื่น
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในภูมิอาเซียนยังมีประเทศใดที่ประสบปัญหาค่าเงินเช่นเดียวกันไทยบ้าง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีปัญหาเรื่องความร่วมมือในภูมิภาค เราก็จำเป็นที่จะต้องดูแลให้เกิดเสถียรภาพ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--