แท็ก
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
สุรยุทธ์ จุลานนท์
ตุลาการรัฐธรรมนูญ
สนธิ บุญยรัตกลิน
นายกรัฐมนตรี
ช่อง 3
วันนี้ เวลา 21.30 น. พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี สนทนากับคุณสรยุทธ์ สุทัศนะจินดา ในรายการ “คุยนอกทำเนียบ” ซึ่งออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง 3 เป็นครั้งแรก
พิธีกร ขอเรียนถามท่านนายกรัฐมนตรี วันนี้มีเรื่องร้อนเกิดขึ้นคือ พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ให้สัมภาษณ์เมื่อคืนนี้ว่าพร้อมจะออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมให้กับกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ล่าสุดยังมีปฏิกิริยาจากพรรคไทยรักไทย คุณจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการหัวหน้ากลุ่มไทยรักไทยออกมาบอกว่า ไม่ขอรับการนิรโทษกรรม แต่จะส่งคำวินิจฉัยไปฟ้องนักกฎหมายทั่วโลก ต้องถามท่านนายกรัฐมนตรีก่อนว่า แนวความคิดเรื่องนิรโทษกรรม พลเอกสนธิฯ หารือกับท่านหรือไม่
นายกรัฐมนตรี เมื่อวานนี้มีสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้มีการพูดกันถึงเรื่องเหล่านี้ และคิดว่าข้อมูลที่ได้มีการหารือกันเมื่อวานนี้ พลเอกสนธิฯ ก็ทราบ ท่านได้พูดออกรายการกรองสถานการณ์ เมื่อเช้านี้ก็คุยกันว่าจะมีปัญหาอะไรไหม ผมก็บอกพลเอกสนธิฯไปว่าในเรื่องนี้คงเป็นเรื่องของความคิดเห็น เพราะยังไม่ได้ดำเนินการในรายละเอียดอะไร การดำเนินการหมายถึงว่าทางสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือสมาชิกสภานิติ บัญญัติแห่งชาติจำนวนหนึ่งตามข้อบังคับได้ยื่นร่างกฎหมายนิรโทษกรรมนี้ไป ซึ่งตามธรรมเนียมแล้วรัฐบาลจะรับมาเพื่อศึกษาว่า ในหลักการนี้ถูกต้องไหม เหมาะสมอย่างไร ถ้าเรามีข้อคิดเห็นเพิ่มเติม เราก็จะมีร่างอีกร่างหนึ่งของรัฐบาล ก็จะเสนอคู่กันไปเพื่อให้ทางสภาฯ ได้พิจารณา นั่นก็เป็นแนวทาง ขณะนี้ในเบื้องต้นก็เป็นเรื่องที่พูดกันเท่านั้นเอง สิ่งที่ผมพูดคือยังไม่ได้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัตินี้เข้าสู่สภาฯ คือการที่เสนอได้ต้องมีการรวบรวมสมาชิก มีรายชื่อจำนวนหนึ่ง สมมติว่า 25 ท่าน และเสนอไป
พิธีกร เสนอเป็นร่างกฎหมาย แล้วรัฐบาลค่อยรับปาก ถ้าเห็นแตกต่างรัฐบาลอาจเสนอร่างประกบ หรืออาจจะไม่เอาด้วย แต่รัฐบาลไม่ริเริ่ม
นายกรัฐมนตรี ในส่วนของรัฐบาลเอง ในขณะนี้ผมคิดว่าเราได้ติดตามคำวินิจฉัยของตุลาการ รัฐธรรมนูญ ผมอยากให้ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่เราได้ศึกษาทำความเข้าใจกับคำวินิจฉัยของ ตุลาการรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ตกผลึกกันก่อนว่า อะไรเป็นอะไร มันเกิดอะไรขึ้นมา และผลเป็นอย่างไร เราจะได้ทบทวนกันดู จะเรียกว่าเป็นบทเรียนของเราเองก็คงได้ ไม่ใช่เป็นของคนใดคนหนึ่ง แต่ผมคิดว่าเป็นของคนไทยทุก ๆ คนที่จะต้องศึกษา และจากนี้ไปเราจะหาทางก้าวหน้ากันไปอย่างไร ก็จะมาถึงว่าจะมีการเสนอร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมไหม
พิธีกร ตอนนี้ท่านนายกรัฐมนตรียังไม่มีความเห็น
นายกรัฐมนตรี ผมคิดว่าหน้าที่ของรัฐบาลในขณะนี้บางท่านอาจจะพูดว่าผมไม่ได้มีความริเริ่มอะไร ก็เป็นเรื่องธรรมดา แต่จริง ๆ ผมฟังทุกฝ่าย แล้วจะหาทางออกที่ดี ถ้าย้อนไปคงเป็นเรื่องที่เราได้พูดกันในหลักการตั้งแต่ต้นว่า ก็เป็นการบริหารจัดการวิธีหนึ่ง ที่เราจะต้องฟังคนอื่นก่อน แล้วจึงค่อย ๆ สังเคราะห์เอาสิ่งเหล่านั้นมาเป็นประเด็นสำคัญ ๆ และดูว่ามีทางออกที่จะแก้ไขกันอย่างไร
พิธีกร คือขอฟังก่อน ทีนี้เหตุผล ขอถามความเห็นของท่าน อย่างพลเอกสนธิฯ พูดถึงว่าท่านเห็นด้วยว่าน่าสนใจเรื่องการนิรโทษกรรมให้กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 111 คน เราต้องเสนอกฎหมายก่อน แล้วสภาฯ ต้องเห็นชอบ คือที่แล้วมา ผิด ตุลาการรัฐธรรมนูญตัดสินแล้ว แต่กฎหมายจะยกโทษให้ อันนี้คือขั้นตอนของกฎหมาย แต่พลเอกสนธิฯ บอกว่าบ้านเมืองอาจจะต้องการความสมานฉันท์ คนส่วนใหญ่ใน 111 คน อาจจะไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่ท่านนายกรัฐมนตรีบอกว่าขอดูสถานการณ์ ไม่ได้แปลว่าทันที แนวความคิดของท่านเป็นอย่างไร สมานฉันท์หรือว่าส่วนใหญ่ใน 111 คนไม่ได้ทำผิด
นายกรัฐมนตรี ก็ต้องถามกันว่าจะมีวิธีแยกแยะอย่างไร ตรงนี้เป็นเรื่องที่จะต้องตอบกันให้ได้ว่า เราจะแยกแยะอย่างไรว่าในส่วนเหล่านี้ เราจะบอกว่าใครที่ผิด ใครที่ไม่ผิด ซึ่งจะต้องมีวิธีการที่จะแยกแยะก่อนที่จะออกมาเป็นร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ถ้าเราคิดกันต่อ ในหลักการคืออยากจะมีไหมร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม เมื่อได้ข้อยุติ คือตกผลึกแล้วว่า 20 คนจะทำ ก็ทำ เพราะว่าเป็นสิทธิของด้านนิติบัญญัติ ถ้าถามทางด้านรัฐบาล ผมจะยังไม่ทำในขณะนี้ ผมจะรอดูเพราะได้ข่าวว่าทางสภาฯ ได้มีการพูดกันแล้ว ผมจะรอในส่วนนี้ และได้พูดคุยกับรองนายกรัฐมนตรีไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ว่าเราควรจะได้หาข้อมูลประกอบในเรื่องเหล่านี้ เตรียมความพร้อมไว้ว่าในส่วนของรัฐบาล เราควรจะเตรียมอะไรบ้าง ศึกษาข้อมูลอะไรบ้าง เพราะถ้าเขาเสนอร่างเข้ามา รัฐบาลก็ต้องมีจุดยืนของรัฐบาล อันนั้นเป็นส่วนที่เราได้ดำเนินการ
พิธีกร เพราะฉะนั้นตอนนี้คือพูดถึงข้อดีข้อเสียอย่างไร ท่านยังไม่มีความเห็น
นายกรัฐมนตรี ยังไม่มีความเห็นครับ
พิธีกร แต่ดูเหมือนท่านจะย้ำว่า อยากให้ไปเอาคำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญไปศึกษาให้ละเอียด ท่านย้ำมาหลายครั้ง สำคัญอย่างไร
นายกรัฐมนตรี สำคัญตรงที่ว่าเป็นบทเรียน ทั้งทางด้านการเมือง ด้านกฎหมาย ที่เราจำเป็นจะต้องศึกษากันต่อไป สำหรับชาวบ้าน อย่างผมเองก็ถือว่าชาวบ้าน เพราะไม่ได้เป็นนักกฎหมาย และไม่ได้เป็นนักการเมือง จะดูได้ว่าสิ่งที่เราควรจะถือเป็นประเด็นสำคัญ ๆ จากการวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญในคดียุบพรรคการเมือง ถือว่าเป็นส่วนที่เราจะต้องติดตาม และดูว่าอะไรที่เป็นประเด็นสำคัญ อย่างที่พูดว่า 111 คนเกี่ยวข้องทั้งหมดไหม เราจะได้ศึกษาได้ แต่ละคนคงมีวิจารณญาณของแต่ละคนแตกต่างกัน
พิธีกร คล้าย ๆ กับว่าท่านนายกรัฐมนตรีกำลังบอกว่า ถ้าตัดสินแล้วนิรโทษกรรมเลยก็ง่ายเกินไป อย่างนั้นหรือเปล่า ยังไม่ทันรู้เลยว่าใครผิด ผิดอะไรอย่างไร
นายกรัฐมนตรี ผมคิดว่าให้ศึกษาคำวินิจฉัยให้ละเอียดก่อน เพราะในคำวินิจฉัยนั้นจะระบุไว้ชัดเจน ซึ่งเป็นเรื่องของตุลาการรัฐธรรมนูญ และไม่มีทางที่จะไปแก้ไขเป็นอย่างอื่นได้แล้วในขณะนี้ ถือว่ายุติสิ้นสุด ถ้าหากว่าเราดูแล้ว แล้วมองเห็นว่ามันเป็นอย่างที่เขาว่ากันจริง ก็สามารถที่จะดำเนินการต่อได้ ผมเองถ้าพูดตรง ๆ แล้ว ไม่ได้ฟังตลอดทั้ง 10 กว่าชั่วโมง ฟังเฉพาะช่วงเวลา ผมคิดว่าฟังประมาณครึ่งหนึ่ง ประเด็นสำคัญ ๆ ผมก็กำลังศึกษาอยู่ในขณะนี้ว่าควรที่จะดูในรายละเอียดอะไรบ้าง เหมือนอย่างที่ผมคุยกับรองนายกรัฐมนตรีไพบูลย์ฯ
พิธีกร คือไปดูแล้วจะได้แยกแยะอย่างนั้นหรือเปล่า
นายกรัฐมนตรี ใช่ครับ ก็เป็นความเห็นของผมเอง ไม่ใช่เป็นความคิดของคนอื่น
พิธีกร แยกแยะว่าเหตุการณ์เกิดอะไรขึ้นแน่ ๆ เอาชัด ๆ สรุปคัดออกมาให้ชัดเจนเลย แล้วจะได้รู้ว่าเหตุคืออะไร ผลคืออะไร ใครผิด แล้วค่อยมาว่ากันอีกทีว่าจะทำอะไรต่อไหม จะนิรโทษกรรมหรือไม่ เพราะฉะนั้นเมื่อเช้านี้ที่ท่านตอบพลเอกสนธิฯ ไปคือ
นายกรัฐมนตรี พลเอกสนธิฯ ถามผมว่าจะมีผลกระทบอะไรไหม ผมพูดไปอย่างนั้นว่าไม่มีผลกระทบ เพราะขณะนี้เรายังไม่ได้อยู่ในขั้นตอนการดำเนินการอย่างไร ก็เป็นความคิดของท่านคนเดียว
พิธีกร ถ้า คมช. มาขอให้ท่านทำเรื่องนี้
นายกรัฐมนตรี ผมต้องดูว่ามีพื้นฐานอย่างไร ถ้าคุณสรยุทธ์มาบอกให้ผมทำ ผมต้องดูก่อนว่ามีอะไรอยู่ข้างหลังคุณสรยุทธ์หรือเปล่า คมช.มาให้ผมทำ ผมก็ดูเหมือนกันว่ามีหลักฐาน มีเหตุผลอะไรบ้าง เหมาะที่ผมจะตัดสินใจทำไหม ผมคงไม่ได้ทำตามที่คนบอกทุกคนไป
พิธีกร เพราะฉะนั้นขอดูเหตุผล และยืนยันว่าตอนนี้ยังเป็นเพียงความเคลื่อนไหว เป็นความคิดความเห็นซึ่งยังต้องใช้เวลาต่อไป ทีนี้อีกมุมหนึ่งคุณจาตุรนต์ฯ บอกว่าไม่ขอน้อมรับการออกกฎหมายนิรโทษกรรม เพราะกรรมการบริหารกลุ่มไทยรักไทยทั้งหมดไม่ได้ผิด แต่จะใช้วิธีการเอาคำวินิจฉัยส่งไปให้นักกฎหมายทั่วประเทศวิพากษ์วิจารณ์ เอาคำวินิจฉัยส่งไปทั่วโลก ไปที่องค์กรกฎหมายต่าง ๆ เหมือนกันไปฟ้องชาวโลกให้เขาวิพากษ์วิจารณ์ อย่างที่คุณจาตุรนต์ฯ บอกว่าไม่เป็นธรรมกับไทยรักไทย
นายกรัฐมนตรี ก็เป็นความเห็นของคุณจาตุรนต์ฯ ที่มองว่าไม่เป็นธรรม ที่ผมเคยให้สัมภาษณ์ว่าผมเคยมีคดีอยู่ในศาล และต้องไปฟังคำตัดสินของศาลเหมือนกัน แต่ไม่ได้เป็นคดีอาญา เมื่อเราเป็นฝ่ายสูญเสีย เราก็เสียใจเป็นธรรมดา นั่นเป็นส่วนหนึ่งที่ผมคิดว่าเป็นความรู้สึกของคุณจาตุรนต์ฯ แต่สิ่งที่คุณจาตุรนต์ฯ จะทำ ผมว่าเป็นสิ่งที่ดี คือการที่จะพิมพ์คำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญและเผยแพร่ ก็จะตรงกับสิ่งที่ผมได้เรียนว่าทำอย่างไรที่จะให้คนได้ศึกษาให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้ ไม่เฉพาะในส่วนของฝ่ายกฎหมายเท่านั้น คือทุก ๆ คนถ้าเผื่อว่ามีโอกาสได้ศึกษาจะได้รู้ว่าที่มาที่ไปเป็นอย่างไร ก่อนที่จะมาถึงตรงนี้
พิธีกร มั่นใจในคำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญ
นายกรัฐมนตรี ผมมั่นใจร้อยเปอร์เซ็นต์
พิธีกร คุณจาตุรนต์ฯ มองในมุมว่าเรื่องนี้ออกไปจะกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นการตั้งธงเพื่อจะไปเล่นงานกลุ่มไทยรักไทย แต่ท่านนายกรัฐมนตรีมั่นใจ
นายกรัฐมนตรี อย่างที่บอกว่าผมฟังประมาณครึ่งหนึ่ง 6 ชั่วโมง ผมมั่นใจว่าในสิ่งที่ผมได้ฟังและตั้งใจฟังนั้น เห็นได้ชัดเจนว่าคำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญออกมาชัดมาก ในสิ่ง ๆ ประเด็น เพียงแต่ว่าเมื่อเรานำมาศึกษารายละเอียด เราจะได้รู้ได้อย่างแน่ชัดมากยิ่งขึ้น
พิธีกร ไม่คิดว่าจะกลายเป็นแรงกดดันกลับมา อาจจะเป็นนักกฎหมายในประเทศที่ออกมาบอกว่าไม่ถูกต้อง คงจะมีคนเห็นแตกต่างได้ เพราะตุลาการรัฐธรรมนูญไม่ใช่ศาล ยังสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ หรืออาจจะมีปฏิกิริยาจากชาวโลก ถ้าสมมติคุณจาตุรนต์ฯ หรือกลุ่มไทยรักไทย ไปใช้วิธีนี้เหมือนที่เขาประกาศว่าจะทำ ท่านไม่คิดว่าจะมีผลกระทบกลับมา
นายกรัฐมนตรี ผมคิดว่าไม่มี ถ้าผู้ที่นำเอกสารที่พิมพ์คำวินิจฉัยไปอ่านอย่างจริงจัง จะเห็นชัด เหมือนอย่างที่ผมได้ฟังมาแล้วก็เห็นว่าชัดเจน
พิธีกร ท่านนายกรัฐมนตรีได้ชื่อว่าเป็นนายทหารประชาธิปไตยมาตลอด จนกระทั่งเข้ามารับตำแหน่ง แต่กลุ่มไทยรักไทยพยายามที่จะไปป่าวประกาศหรือฟ้องว่า คณะรัฐประหารเข้ามาฉีกรัฐธรรมนูญ ตั้งตุลาการรัฐธรรมนูญ และตั้งธงว่าจะยุบพรรคเขาให้ได้ และก็ดำเนินการตามนั้นมาตลอด จนกระทั่งไปละเมิดหลักกฎหมายที่ว่านี้ เขาใช้คำว่า “ยัดข้อหา” ให้กับพรรคว่าล้มล้างประชาธิปไตย โดยคณะรัฐประหารกลับไม่ว่าตัวเอง ท่านนายกรัฐมนตรีมองอย่างไรในฐานะคนที่ได้ชื่อว่านายทหารประชาธิปไตย
นายกรัฐมนตรี เรื่องคดียุบพรรคเกิดก่อนที่จะมีการเข้ามายึดอำนาจ และเป็นคดีที่ได้ดำเนินการมาต่อเนื่อง เพียงแต่ว่าเมื่อมีการยึดอำนาจแล้ว จึงได้มีการตั้งตุลาการรัฐธรรมนูญ ขึ้นมาพิจารณาเรื่องนี้ต่อ ก็เป็นความต่อเนื่อง ซึ่งผมคิดว่าไม่ได้เป็นเรื่องของการตั้งธงหรือไม่ตั้งธง แต่เป็นเรื่องของการที่จะต้องมาดูว่า สิ่งที่มีการดำเนินการทางการเมืองนั้น ถูกหรือผิด ส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญ เพราะถ้าเราพูดว่าการทำงานทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยสามารถทำได้ทุกอย่าง ผมคิดว่าอันนั้นไม่ถูกแน่นอน ถ้าไม่ได้ยืนอยู่บนพื้นฐานของความโปร่งใส ความสุจริต ถ้าบอกว่าการเมืองไปได้หมด ผมคิดว่าไม่ใช่ระบบการเมืองที่คนไทยจะยอมรับได้
พิธีกร สรุปตรงนี้คือมั่นใจในคำวินิจฉัยอย่างที่ท่านว่า และเปิดเผย เผยแพร่ยิ่งดี จะได้เป็นที่เข้าใจถึงที่มาที่ไป ไม่ได้มีธงไม่ได้มีอะไรทั้งสิ้น พูดถึงประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 15 และ 27 จะยกเลิกได้เมื่อไร
นายกรัฐมนตรี ในวันพรุ่งนี้ผมจะได้ข้อมูลทางด้านกฎหมายที่จะทำให้ผมตัดสินใจได้ว่า จะดำเนินการเมื่อไรอย่างไร ถ้าไม่มีผลกระทบในเรื่องอื่น เพราะฉบับที่ 27 มี 3-4 ข้อ ก็ต้องให้นักกฎหมายได้ศึกษา และให้ข้อคิดเห็นผม เมื่อผมพิจารณาแล้วเห็นว่าสมควรที่จะดำเนินการอย่างไร จะมีการยกเลิกทั้งหมดไหม หรือยกเลิกเฉพาะบางส่วนบางข้อ เป็นเรื่องที่ผมจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบตัดสินใจ
พิธีกร อันนั้นคือข้อกฎหมาย
นายกรัฐมนตรี ในหลักการผมได้พูดไปแล้ว คือว่าเห็นด้วยที่จะให้พรรคการเมืองต่าง ๆ ได้ทำงานการเมืองกันตั้งแต่เบื้องต้น เพราะจะเป็นส่วนที่จะทำให้การเตรียมการในทุก ๆ ด้านมีความพร้อมมากขึ้น
พิธีกร ท่านคิดว่าสถานการณ์พร้อมแล้ว
นายกรัฐมนตรี ในขณะนี้ผมคิดว่าภาพจากทางด้านการเมืองต่อไปค่อนข้างชัดเจน คือควรจะดำเนินการกันต่อไปอย่างไร
พิธีกร หมายความว่าถ้าดูข้อกฎหมายไม่มีปัญหา ให้ได้เลย ถ้าถามความเห็นท่านตรงนี้ ต้องถาม คมช.อีกไหม
นายกรัฐมนตรี ไม่ต้องถาม เพราะว่าอำนาจอยู่ที่คณะรัฐมนตรี ไม่ใช่อยู่ที่ผม
พิธีกร ออกมติคณะรัฐมนตรียกเลิกได้เลย
นายกรัฐมนตรี ใช่ครับ
พิธีกร ถ้าถามท่านตรงนี้ นาทีนี้ พรรคการเมืองถ้าดูรายการนี้อยู่ก็คือขอดูข้อกฎหมายเท่านั้นเอง ถ้าไม่มีผลกระทบกับสิ่งที่ได้ดำเนินการไป พร้อมจะให้เคลื่อนไหวจัดกิจกรรม ประชุมพรรค ไปทำนโยบาย ทำได้เลย
นายกรัฐมนตรี ครับ
พิธีกร ผมย้อนกลับมา มีบางคนบอกว่าเรื่องคดียุบพรรค ที่ไปตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค 5 ปี เขาใช้คำว่าเหมือน “ประหารชีวิตในทางการเมือง” เพราะฉะนั้นพอเหมือนประหารชีวิตในทางการเมือง เลยจะขอไปถวายฎีกา ท่านนายกรัฐมนตรีเคยเป็นองคมนตรี พอจะบอกอะไรได้ไหม
นายกรัฐมนตรี ในส่วนนี้ในเรื่องของสิทธิของคนไทยเรามีสิทธิเหมือนอย่างที่คุณจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม ได้ให้สัมภาษณ์ไปแล้วว่า เป็นสิทธิที่ทุกคนสามารถที่จะถวายฎีกา นั่นก็เป็นเรื่องหนึ่ง แต่ว่าสิ่งที่อยู่ที่การตัดสินใจของแต่ละคนว่าเรื่องที่จะไปถวายฎีกานั้นมากน้อยขนาดไหน ในสิ่งที่ผมได้เคยผ่านมา คงจะเรียนได้ว่าส่วนมากเป็นคดีของนักโทษที่ถูกตัดสินประหารชีวิต ถูกจำคุกตลอดชีวิต จะมีการถวายฎีกา ซึ่งจะมีวิธีการที่จะถวายข้อคิดเห็นขององคมนตรี นั่นเป็นเรื่องที่ถือได้ว่าเป็นการดำเนินการตามขั้นตอน หน่วยงานที่มีหน้าที่ที่จะรับฎีกาของประชาชนคงเป็นที่สำนักราชเลขาธิการ ตรงส่วนนี้ผมอยากจะเรียนว่าราชเลขาธิการไม่ได้มีหน้าที่ที่จะวินิจฉัยว่าเรื่องนี้ควรจะนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย หรือว่าไม่นำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เรื่องนี้เป็นพระบรมราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อคนไทยถวายฎีกา หมายถึงว่าเป็นเรื่องของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แล้ว คนอื่นไม่ได้มีสิทธิมีส่วนไปชี้ไปวินิจฉัยอย่างที่ได้เรียนแล้ว
พิธีกร เราเคยได้ยินคำว่าถวายฎีกา หรือร้องทุกข์กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถ้าเป็นภาษาชาวบ้าน อาจจะเคยเห็นชาวบ้านไปยื่นที่สำนักราชเลขาธิการ ก็มี ท่านนายกรัฐมนตรีกำลังบอกว่าขั้นตอนคือว่าไม่มีใครเป็นผู้ไปกำหนดได้ว่า เรื่องนี้นำขึ้น เรื่องนี้ไม่นำขึ้น ไม่มี
นายกรัฐมนตรี ไม่มีครับ อันนี้เป็นเรื่องที่อยู่ในพระบรมราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นเรื่องของพระองค์ท่าน
พิธีกร ถ้าจะมีคนถามท่านนายกรัฐมนตรีว่าเรื่องนี้ควรไม่ควร
นายกรัฐมนตรี ก็อยู่ที่แต่ละบุคคล เราจะคิดอะไรอย่างไร เรามีเหตุผลแค่ไหนอย่างไร ถ้าย้อนไปคดีอย่างนี้ก็มีตัวอย่างของพลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ ที่โดนเพิกถอนสิทธิ 5 ปีเหมือนกัน ถ้าจะพูดว่าลงโทษเหมือนกับประหารชีวิต ผมคิดว่ามันแรงเกินไป อันนี้เป็นการลงโทษอันหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องของการดำเนินการทางการเมือง การลงโทษประหารชีวิตมาเทียบกับเรื่องนี้ไม่ได้ เพราะ 5 ปีไม่ได้เป็นเวลาที่นานนักหนาเลย ขณะนี้พลตรีสนั่นฯ มาทำกิจกรรมทางการเมืองแล้ว นี่ก็เป็นตัวอย่าง ไม่ใช่ว่าเรื่องนี้ไม่เคยเกิดขึ้นในเมืองไทย เกิดแล้ว
พิธีกร เอาไปเทียบกับประหารชีวิตทางการเมือง บอกไม่ใช่
นายกรัฐมนตรี คงไม่ใช่ ไม่ถึงกับประหาร พลตรีสนั่นฯ ท่านก็ออกมาทำกิจกรรมแล้ว
พิธีกร ไม่อย่างนั้นจะฟื้นคืนชีพขึ้นมาได้อย่างไร ติดคุกทางการเมืองอย่างนั้นไหม
นายกรัฐมนตรี ไม่ถึงกับติดคุก เขาถูกจำกัดสิทธิ หมายถึงว่าจะลงไปดำเนินกิจกรรมทางการเมืองโดยเปิดเผยไม่ได้ แต่ท่านก็มีโอกาสที่จะพบปะพูดคุยกับคนอื่น จะไปบอกว่ามาจัดตั้งกลุ่มจัดตั้งพรรค ทำไม่ได้
พิธีกร คือจัดตั้งพรรคการเมืองทางกฎหมายไม่ได้ ลงสมัครรับเลือกตั้งไม่ได้ ไปใช้สิทธิเลือกตั้งไม่ได้ แต่ไม่ได้ห้ามคุณจะไปอยู่เบื้องหลัง
นายกรัฐมนตรี ไม่มีกฎหมายห้าม กฎหมายทางการเมืองไม่มีห้ามนอมินี
พิธีกร ท่านกำลังบอกว่านี่คือการพูดถึงสภาพความเป็นจริงว่า ไม่ได้คอขาดบาดตายขนาดที่คุณทำอะไรไม่ได้ อย่างนั้นหรือเปล่า
นายกรัฐมนตรี ใช่ ไม่ถึงขนาดคอขาดบาดตาย ถ้าจะเทียบกับตัวผมเอง ผมคิดว่าตอนที่ผมจบออกมารับราชการ ผมมองไปข้างหน้าแล้ว ผมเห็นมันมืดไปหมดเลย ไม่มีตรงไหนเป็นจุดสว่าง อนาคตในทางราชการผมไม่มีเลย นี่ยังบอกว่า 5 ปี ผมจบออกมาเป็นร้อยตรี เมื่อรู้ว่ากองทัพบกมีคำสั่งไม่ให้ผมออกไปทำราชการในพื้นที่ชายแดน ความรู้สึกคือว่าอนาคตของเราทางทหารเกือบจะไม่ได้มีอะไรเหลือเลย ก็เหมือนกัน ความรู้สึกของแต่ละคน กับอนาคตอีกประมาณ 30 กว่าปี มันหายไปเลย
พิธีกร คือเรียนจบมาเพื่อจะมีชีวิตราชการ
นายกรัฐมนตรี คิดว่าอยากจะเป็นทหาร ข้อสำคัญคืออาจารย์บอกว่าอยากไปเรียนต่อไหม ไปทำปริญญาโท ไปต่อทางด้านวิศวกรรมเครื่องกลไหม ตอนนั้นก็จบแล้ว แต่ว่าไม่รู้ว่ามีคำสั่งนี้ ถ้ารู้ว่ามีคำสั่งนี้ ผมก็ไปเป็นอาจารย์แล้ว แต่เราไม่รู้ เลยออกมาเป็นทหารราบ พอมาถึงหน่วยแล้วรู้ว่าเขามีคำสั่ง แล้วจะให้ผมทำอย่างไร ผมมองไปข้างหน้า ก็มานั่งทบทวนว่าเราจะทำอย่างไรมีทางออกอย่างไรดี นั่นก็เป็นวิธีคิด วิธีที่จะจัดการกับปัญหาชีวิตของเราเอง เมื่อเรามีทุกข์ ทุกคนมีทุกข์ อย่างที่ผมเรียนว่า พอผมไปอ่านหนังสืองานศพ เขียนไว้ว่า “ถ้าเราพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็มีทุกข์ ประสบกับสิ่งที่ไม่รัก ก็มีทุกข์ อยากได้อะไร ไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์” มันโดนใจ นี่คือสิ่งที่พระพุทธองค์ท่านสอน อ่านปุ๊บโดนใจเลย นี่คือประสบการณ์ชีวิตที่เห็นได้ว่า ถ้าเราจะจัดการกับความทุกข์ เราจัดการอย่างไร
พิธีกร เข้าใจ 111 คนว่ามีทุกข์
นายกรัฐมนตรี มี ก็ควรจะจัดการกับความทุกข์ เพราะห้วงเวลาชัดคือ 5 ปี อย่างผมมองไม่เห็นเลย อย่างที่ว่า 30 กว่าปีในชีวิตราชการ ผมมองไม่เห็นเลยว่าจะไปไหน
พิธีกร เพราะฉะนั้นไม่เป็นไรหรอก 5 ปี เดี๋ยวก็ผ่านไป ยังทำอะไรได้เยอะแยะ ผมอยากจะย้อนถามว่า ท่านไม่เห็นด้วยใช่ไหมกับการนิรโทษกรรม
นายกรัฐมนตรี ในหลักการอย่างที่ว่าคืออาจจะมีประเด็นเดียวที่ยังก้ำกึ่ง คือ 111 คนทำผิดทั้งหมดเลย
พิธีกร เย็นวันนี้จะมีการชุมนุมกันอีกแล้วที่สนามหลวง และไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นอย่างไรจากกลุ่มพีทีวี ท่านนายกรัฐมนตรีประเมินอย่างไร
นายกรัฐมนตรี ผมคิดว่าประชาขนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเราได้เดินมาถึงไหนกันแล้ว มาถึงจุดเปลี่ยนอย่างไร จากในช่วงของเมื่อคืนก่อนที่ผ่านมา พีทีวีได้รวมกลุ่มและไปพูดที่ลานพระบรมรูปทรงม้า และได้มาพูดกันอยู่ที่ข้างกระทรวงศึกษาธิการ นั่นเป็นส่วนหนึ่งที่ผมคิดว่าประชาชนที่อาจจะเป็นผู้เห็นด้วย เป็นผู้ที่ให้การสนับสนุน คงจำนวนไม่มากกว่านั้น ถ้าจะมีการชุมนุมกันในวันนี้ ข้อตกลงในวันนี้อย่างที่ทราบอยู่แล้วคือ ขอให้อยู่กับที่ที่สนามหลวงทางตอนเหนือ
พิธีกร เขามีสิทธิจะชุมนุมไหม
นายกรัฐมนตรี เขามีสิทธิ แต่อย่าเคลื่อนขบวนไปทำให้เกิดการขัดขวางการจราจร หรือไปทำสิ่งอื่นสิ่งใดที่ไปก่อให้เกิดการปะทะ เกิดความเดือดร้อนกับคนอื่น
พิธีกร ท่านไม่กังวลหรือครับ อาจจะมีสมาชิกพรรคที่ถูกยุบไปรวมกัน เห็นประกาศว่ามี 14 ล้านคน เป็นไปไม่ได้อยู่แล้วที่ 14 ล้านคนจะมาชุมนุมกัน แต่ถ้ามาผสมรวมกันเข้า ไม่กังวลหรือครับ
นายกรัฐมนตรี ผมได้ตอบหลายท่านไปแล้วว่า ทั้ง คมช. และรัฐบาล ได้มีการทำงานกันมานานในเรื่องการทำความเข้าใจกับประชาชนว่าเราผ่านอะไรกันมาในช่วงเวลา 6 เดือนกว่ามาแล้ว และเราจะไปทางไหน ส่วนใหญ่เข้าใจว่าบ้านเมืองของเราไม่ควรจะเกิดความวุ่นวายอะไรขึ้นมาอีกแล้ว ควรจะหาทางแก้ไขกันด้วยวิธีพูดจากัน ทำความตกลงกัน อะไรที่บอกว่าผมไม่เอา ก็ไม่ต้องไปบีบบังคับกัน อะไรที่เห็นร่วมกันว่าทำได้ ก็ทำด้วยกันไป จะเป็นทางออกที่ดีกว่า ที่ผมคิดว่าการใช้กำลังเข้ามาบีบบังคับ ไม่ว่าด้วยวิธีหนึ่งวิธีใด ไม่ได้เป็นส่วนที่จะทำให้เกิดการแก้ปัญหาในระยะยาวได้เลย
พิธีกร ท่านคิดว่าคนส่วนใหญ่คิดอย่างไร ท่านถึงมั่นใจว่าเป็นกลุ่มคนที่มีความคิดอย่างนี้ ก็ว่าไป แต่อยู่ภายใต้กติกา อีกกลุ่มหนึ่งอาจจะสุดขั้วไปอีกทางหนึ่ง แต่ท่านมั่นใจว่าจะควบคุมสถานการณ์ได้เพราะคนส่วนใหญ่
นายกรัฐมนตรี ใช่ครับ
พิธีกร ไม่คิดว่าจะเกิดการปลุกระดม เปลี่ยนแปลงเกิดความวุ่นวาย
นายกรัฐมนตรี ผมคิดว่าไม่น่าจะเป็นอย่างนั้น จากกรณีของการฟังข้อคิดเห็นต่าง ๆ ผมคิดว่าวันที่ 31 พฤษภาคม ที่มีโพลออกมาเห็นชัดเจนว่า คนส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าการวินิจฉัยนั้นถูกต้อง และควรจะอยู่ในความสงบ ควรจะทำกิจกรรมทางการเมืองกันต่อไป
พิธีกร เพราะฉะนั้นไม่กังวลตรงจุดนี้ ท่านมั่นใจว่าคนส่วนใหญ่ไม่เข้ามา ไม่เกิดการรวมตัวของคนหมู่มาก อีกแบบหนึ่งที่อาจจะทำให้เกิดปัญหาขึ้นคือ มีมือที่ 3 หรือจะเป็นมือที่ 1 มือที่ 2 เราก็ทราบ ที่เขาลือกันว่ามีกลุ่มฮาร์ดคอร์ จะไปยั่วยุ ทำอย่างไรก็ได้ให้ตีกัน ถ้าเป็นกรณีนี้คือไปยั่วให้ตำรวจ ทหาร ตี ซึ่งตอนนี้เขากล่าวหากันอยู่ ฝ่ายหนึ่งบอกว่าม็อบทำ อีกฝ่ายหนึ่งบอกว่า คมช. ทำ ท่านนายกรัฐมนตรีเห็นปรากฎ การณ์นี้
นายกรัฐมนตรี ผมเห็นว่าหลายครั้งแล้ว ง่ายที่สุดคืออย่างที่ได้ตกลงกันไว้ ถ้าไม่ทำผิดข้อตกลงคืออยู่ในพื้นที่ที่ให้ชุมนุม คือบริเวณตอนเหนือของสนามหลวง และมีการตรวจสอบว่าไม่มีอะไร ซึ่งอาจจะเป็นอาวุธ ถ้าตรวจสอบกันได้ทุก ๆ ส่วนไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
พิธีกร มือที่ 3 ท่านรู้ ท่านมีประสบการณ์ ท่านเห็นมาแล้ว
นายกรัฐมนตรี เราตรวจสอบได้ ไม่เฉพาะที่นั่น มีการตั้งจุดสกัดจุดตรวจ ก็ว่ากันไปในส่วนของตำรวจ ทหาร มอเตอร์ไซค์ที่จะเข้ามา ก็เป็นเรื่องธรรมดา
พิธีกร ทำยกชัด ๆ เลย พฤษภาทมิฬ จุดเริ่มต้นคือมีการลงมือ จากนั้นก็ไปเลย สถานการณ์คุมไม่ได้
นายกรัฐมนตรี เพราะไม่ได้มีการตั้งจุดสกัด จุดตรวจต่าง ๆ และประชาชนที่มาชุมนุมจำนวนมาก ความโน้มเอียงของประชาชนส่วนใหญ่ที่ไม่เห็นด้วย มีมากกว่า
พิธีกร มี 2 ปัจจัยคือกระแสความรู้ของประชาชน เหตุการณ์พฤษภาคมกับคราวนี้ไม่เหมือนกัน
นายกรัฐมนตรี ไม่เหมือนกัน
พิธีกร การเตรียมการป้องกัน ท่านยืนยันว่าตั้งจุดสกัดด่านตรวจ
นายกรัฐมนตรี เพื่อไม่ให้มือที่ 3 อย่างที่ว่า ผู้ที่มาชุมนุมโดยสุจริต ไม่มีอาวุธ เข้ามาก็ยินดี เป็นสิทธิ
พิธีกร แต่อยู่กติกาตรงนี้ ในขณะที่ป้องกันไม่ให้มีใครเอาอาวุธเข้ามา หรือจะมายั่วยุอะไรต่าง ๆ ถึงวันนี้คำวินิจฉัยออกมาแล้วคดียุบพรรค การชุมนุมก็จะดำเนินต่อไป พรรคที่ถูกยุบจะเคลื่อนไหวต่อไป แต่ท่านนายกรัฐมนตรีถ้าถามตรงนี้คือ สบายใจหรือยัง ท่านบอกว่าหลังคดียุบพรรคน่าจะชัดเจน
นายกรัฐมนตรี บรรยากาศทางการเมืองจะชัดเจนขึ้น หมายถึงว่าพรรคการเมืองที่น่าจะมีส่วนในการดำเนินการทางการเมืองต่อไปจะชัดเจนขึ้นว่า พรรคใหญ่โดนยุบทั้งหมด หรือโดนยุบพรรคเดียว ก็เป็นเรื่องที่เราพูดกันก่อนหน้านั้นอยู่แล้ว
พิธีกร ไม่มีอะไรน่ากลัวใช่ไหม ถ้าประชาชนคนดูจะถามท่านว่า ท่านนายกรัฐมนตรีครับประเทศนี้ผมควรจะทำมาหากินได้อย่างสงบสุข สบายใจได้หรือยังครับ เพราะเดี๋ยวก็มีข่าวโน้นข่าวนี้ ท่านจะตอบเขาว่าอย่างไร
นายกรัฐมนตรี ตอบว่าพี่น้องประชาชนเป็นหน้าที่ของท่านส่วนหนึ่งที่จะต้องช่วยกันทำให้สถานการณ์ในบ้านเมืองของเราสงบ คือเดินไปตามครรลองที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 2549 แน่นอนความคิดของเราทุกคนไม่เหมือนกัน แต่ในภาพใหญ่ ๆ แล้วเราเดินไปด้วยกันได้ ความสงบในบ้านเมืองก็จะเกิดขึ้น คงไม่ได้เป็นหน้าที่ของผม ไม่ได้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลแต่เพียงอย่างเดียวที่จะต้องมาดูแลในเรื่องนี้ พวกเราทุกคนมีส่วนร่วมที่จะทำให้ชาติบ้านเมืองของเราสงบ มีโอกาสที่จะพัฒนาต่อไปในทุก ๆ ด้านอย่างที่เราต้องการ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
พิธีกร ขอเรียนถามท่านนายกรัฐมนตรี วันนี้มีเรื่องร้อนเกิดขึ้นคือ พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ให้สัมภาษณ์เมื่อคืนนี้ว่าพร้อมจะออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมให้กับกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ล่าสุดยังมีปฏิกิริยาจากพรรคไทยรักไทย คุณจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการหัวหน้ากลุ่มไทยรักไทยออกมาบอกว่า ไม่ขอรับการนิรโทษกรรม แต่จะส่งคำวินิจฉัยไปฟ้องนักกฎหมายทั่วโลก ต้องถามท่านนายกรัฐมนตรีก่อนว่า แนวความคิดเรื่องนิรโทษกรรม พลเอกสนธิฯ หารือกับท่านหรือไม่
นายกรัฐมนตรี เมื่อวานนี้มีสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้มีการพูดกันถึงเรื่องเหล่านี้ และคิดว่าข้อมูลที่ได้มีการหารือกันเมื่อวานนี้ พลเอกสนธิฯ ก็ทราบ ท่านได้พูดออกรายการกรองสถานการณ์ เมื่อเช้านี้ก็คุยกันว่าจะมีปัญหาอะไรไหม ผมก็บอกพลเอกสนธิฯไปว่าในเรื่องนี้คงเป็นเรื่องของความคิดเห็น เพราะยังไม่ได้ดำเนินการในรายละเอียดอะไร การดำเนินการหมายถึงว่าทางสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือสมาชิกสภานิติ บัญญัติแห่งชาติจำนวนหนึ่งตามข้อบังคับได้ยื่นร่างกฎหมายนิรโทษกรรมนี้ไป ซึ่งตามธรรมเนียมแล้วรัฐบาลจะรับมาเพื่อศึกษาว่า ในหลักการนี้ถูกต้องไหม เหมาะสมอย่างไร ถ้าเรามีข้อคิดเห็นเพิ่มเติม เราก็จะมีร่างอีกร่างหนึ่งของรัฐบาล ก็จะเสนอคู่กันไปเพื่อให้ทางสภาฯ ได้พิจารณา นั่นก็เป็นแนวทาง ขณะนี้ในเบื้องต้นก็เป็นเรื่องที่พูดกันเท่านั้นเอง สิ่งที่ผมพูดคือยังไม่ได้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัตินี้เข้าสู่สภาฯ คือการที่เสนอได้ต้องมีการรวบรวมสมาชิก มีรายชื่อจำนวนหนึ่ง สมมติว่า 25 ท่าน และเสนอไป
พิธีกร เสนอเป็นร่างกฎหมาย แล้วรัฐบาลค่อยรับปาก ถ้าเห็นแตกต่างรัฐบาลอาจเสนอร่างประกบ หรืออาจจะไม่เอาด้วย แต่รัฐบาลไม่ริเริ่ม
นายกรัฐมนตรี ในส่วนของรัฐบาลเอง ในขณะนี้ผมคิดว่าเราได้ติดตามคำวินิจฉัยของตุลาการ รัฐธรรมนูญ ผมอยากให้ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่เราได้ศึกษาทำความเข้าใจกับคำวินิจฉัยของ ตุลาการรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ตกผลึกกันก่อนว่า อะไรเป็นอะไร มันเกิดอะไรขึ้นมา และผลเป็นอย่างไร เราจะได้ทบทวนกันดู จะเรียกว่าเป็นบทเรียนของเราเองก็คงได้ ไม่ใช่เป็นของคนใดคนหนึ่ง แต่ผมคิดว่าเป็นของคนไทยทุก ๆ คนที่จะต้องศึกษา และจากนี้ไปเราจะหาทางก้าวหน้ากันไปอย่างไร ก็จะมาถึงว่าจะมีการเสนอร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมไหม
พิธีกร ตอนนี้ท่านนายกรัฐมนตรียังไม่มีความเห็น
นายกรัฐมนตรี ผมคิดว่าหน้าที่ของรัฐบาลในขณะนี้บางท่านอาจจะพูดว่าผมไม่ได้มีความริเริ่มอะไร ก็เป็นเรื่องธรรมดา แต่จริง ๆ ผมฟังทุกฝ่าย แล้วจะหาทางออกที่ดี ถ้าย้อนไปคงเป็นเรื่องที่เราได้พูดกันในหลักการตั้งแต่ต้นว่า ก็เป็นการบริหารจัดการวิธีหนึ่ง ที่เราจะต้องฟังคนอื่นก่อน แล้วจึงค่อย ๆ สังเคราะห์เอาสิ่งเหล่านั้นมาเป็นประเด็นสำคัญ ๆ และดูว่ามีทางออกที่จะแก้ไขกันอย่างไร
พิธีกร คือขอฟังก่อน ทีนี้เหตุผล ขอถามความเห็นของท่าน อย่างพลเอกสนธิฯ พูดถึงว่าท่านเห็นด้วยว่าน่าสนใจเรื่องการนิรโทษกรรมให้กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 111 คน เราต้องเสนอกฎหมายก่อน แล้วสภาฯ ต้องเห็นชอบ คือที่แล้วมา ผิด ตุลาการรัฐธรรมนูญตัดสินแล้ว แต่กฎหมายจะยกโทษให้ อันนี้คือขั้นตอนของกฎหมาย แต่พลเอกสนธิฯ บอกว่าบ้านเมืองอาจจะต้องการความสมานฉันท์ คนส่วนใหญ่ใน 111 คน อาจจะไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่ท่านนายกรัฐมนตรีบอกว่าขอดูสถานการณ์ ไม่ได้แปลว่าทันที แนวความคิดของท่านเป็นอย่างไร สมานฉันท์หรือว่าส่วนใหญ่ใน 111 คนไม่ได้ทำผิด
นายกรัฐมนตรี ก็ต้องถามกันว่าจะมีวิธีแยกแยะอย่างไร ตรงนี้เป็นเรื่องที่จะต้องตอบกันให้ได้ว่า เราจะแยกแยะอย่างไรว่าในส่วนเหล่านี้ เราจะบอกว่าใครที่ผิด ใครที่ไม่ผิด ซึ่งจะต้องมีวิธีการที่จะแยกแยะก่อนที่จะออกมาเป็นร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ถ้าเราคิดกันต่อ ในหลักการคืออยากจะมีไหมร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม เมื่อได้ข้อยุติ คือตกผลึกแล้วว่า 20 คนจะทำ ก็ทำ เพราะว่าเป็นสิทธิของด้านนิติบัญญัติ ถ้าถามทางด้านรัฐบาล ผมจะยังไม่ทำในขณะนี้ ผมจะรอดูเพราะได้ข่าวว่าทางสภาฯ ได้มีการพูดกันแล้ว ผมจะรอในส่วนนี้ และได้พูดคุยกับรองนายกรัฐมนตรีไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ว่าเราควรจะได้หาข้อมูลประกอบในเรื่องเหล่านี้ เตรียมความพร้อมไว้ว่าในส่วนของรัฐบาล เราควรจะเตรียมอะไรบ้าง ศึกษาข้อมูลอะไรบ้าง เพราะถ้าเขาเสนอร่างเข้ามา รัฐบาลก็ต้องมีจุดยืนของรัฐบาล อันนั้นเป็นส่วนที่เราได้ดำเนินการ
พิธีกร เพราะฉะนั้นตอนนี้คือพูดถึงข้อดีข้อเสียอย่างไร ท่านยังไม่มีความเห็น
นายกรัฐมนตรี ยังไม่มีความเห็นครับ
พิธีกร แต่ดูเหมือนท่านจะย้ำว่า อยากให้ไปเอาคำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญไปศึกษาให้ละเอียด ท่านย้ำมาหลายครั้ง สำคัญอย่างไร
นายกรัฐมนตรี สำคัญตรงที่ว่าเป็นบทเรียน ทั้งทางด้านการเมือง ด้านกฎหมาย ที่เราจำเป็นจะต้องศึกษากันต่อไป สำหรับชาวบ้าน อย่างผมเองก็ถือว่าชาวบ้าน เพราะไม่ได้เป็นนักกฎหมาย และไม่ได้เป็นนักการเมือง จะดูได้ว่าสิ่งที่เราควรจะถือเป็นประเด็นสำคัญ ๆ จากการวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญในคดียุบพรรคการเมือง ถือว่าเป็นส่วนที่เราจะต้องติดตาม และดูว่าอะไรที่เป็นประเด็นสำคัญ อย่างที่พูดว่า 111 คนเกี่ยวข้องทั้งหมดไหม เราจะได้ศึกษาได้ แต่ละคนคงมีวิจารณญาณของแต่ละคนแตกต่างกัน
พิธีกร คล้าย ๆ กับว่าท่านนายกรัฐมนตรีกำลังบอกว่า ถ้าตัดสินแล้วนิรโทษกรรมเลยก็ง่ายเกินไป อย่างนั้นหรือเปล่า ยังไม่ทันรู้เลยว่าใครผิด ผิดอะไรอย่างไร
นายกรัฐมนตรี ผมคิดว่าให้ศึกษาคำวินิจฉัยให้ละเอียดก่อน เพราะในคำวินิจฉัยนั้นจะระบุไว้ชัดเจน ซึ่งเป็นเรื่องของตุลาการรัฐธรรมนูญ และไม่มีทางที่จะไปแก้ไขเป็นอย่างอื่นได้แล้วในขณะนี้ ถือว่ายุติสิ้นสุด ถ้าหากว่าเราดูแล้ว แล้วมองเห็นว่ามันเป็นอย่างที่เขาว่ากันจริง ก็สามารถที่จะดำเนินการต่อได้ ผมเองถ้าพูดตรง ๆ แล้ว ไม่ได้ฟังตลอดทั้ง 10 กว่าชั่วโมง ฟังเฉพาะช่วงเวลา ผมคิดว่าฟังประมาณครึ่งหนึ่ง ประเด็นสำคัญ ๆ ผมก็กำลังศึกษาอยู่ในขณะนี้ว่าควรที่จะดูในรายละเอียดอะไรบ้าง เหมือนอย่างที่ผมคุยกับรองนายกรัฐมนตรีไพบูลย์ฯ
พิธีกร คือไปดูแล้วจะได้แยกแยะอย่างนั้นหรือเปล่า
นายกรัฐมนตรี ใช่ครับ ก็เป็นความเห็นของผมเอง ไม่ใช่เป็นความคิดของคนอื่น
พิธีกร แยกแยะว่าเหตุการณ์เกิดอะไรขึ้นแน่ ๆ เอาชัด ๆ สรุปคัดออกมาให้ชัดเจนเลย แล้วจะได้รู้ว่าเหตุคืออะไร ผลคืออะไร ใครผิด แล้วค่อยมาว่ากันอีกทีว่าจะทำอะไรต่อไหม จะนิรโทษกรรมหรือไม่ เพราะฉะนั้นเมื่อเช้านี้ที่ท่านตอบพลเอกสนธิฯ ไปคือ
นายกรัฐมนตรี พลเอกสนธิฯ ถามผมว่าจะมีผลกระทบอะไรไหม ผมพูดไปอย่างนั้นว่าไม่มีผลกระทบ เพราะขณะนี้เรายังไม่ได้อยู่ในขั้นตอนการดำเนินการอย่างไร ก็เป็นความคิดของท่านคนเดียว
พิธีกร ถ้า คมช. มาขอให้ท่านทำเรื่องนี้
นายกรัฐมนตรี ผมต้องดูว่ามีพื้นฐานอย่างไร ถ้าคุณสรยุทธ์มาบอกให้ผมทำ ผมต้องดูก่อนว่ามีอะไรอยู่ข้างหลังคุณสรยุทธ์หรือเปล่า คมช.มาให้ผมทำ ผมก็ดูเหมือนกันว่ามีหลักฐาน มีเหตุผลอะไรบ้าง เหมาะที่ผมจะตัดสินใจทำไหม ผมคงไม่ได้ทำตามที่คนบอกทุกคนไป
พิธีกร เพราะฉะนั้นขอดูเหตุผล และยืนยันว่าตอนนี้ยังเป็นเพียงความเคลื่อนไหว เป็นความคิดความเห็นซึ่งยังต้องใช้เวลาต่อไป ทีนี้อีกมุมหนึ่งคุณจาตุรนต์ฯ บอกว่าไม่ขอน้อมรับการออกกฎหมายนิรโทษกรรม เพราะกรรมการบริหารกลุ่มไทยรักไทยทั้งหมดไม่ได้ผิด แต่จะใช้วิธีการเอาคำวินิจฉัยส่งไปให้นักกฎหมายทั่วประเทศวิพากษ์วิจารณ์ เอาคำวินิจฉัยส่งไปทั่วโลก ไปที่องค์กรกฎหมายต่าง ๆ เหมือนกันไปฟ้องชาวโลกให้เขาวิพากษ์วิจารณ์ อย่างที่คุณจาตุรนต์ฯ บอกว่าไม่เป็นธรรมกับไทยรักไทย
นายกรัฐมนตรี ก็เป็นความเห็นของคุณจาตุรนต์ฯ ที่มองว่าไม่เป็นธรรม ที่ผมเคยให้สัมภาษณ์ว่าผมเคยมีคดีอยู่ในศาล และต้องไปฟังคำตัดสินของศาลเหมือนกัน แต่ไม่ได้เป็นคดีอาญา เมื่อเราเป็นฝ่ายสูญเสีย เราก็เสียใจเป็นธรรมดา นั่นเป็นส่วนหนึ่งที่ผมคิดว่าเป็นความรู้สึกของคุณจาตุรนต์ฯ แต่สิ่งที่คุณจาตุรนต์ฯ จะทำ ผมว่าเป็นสิ่งที่ดี คือการที่จะพิมพ์คำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญและเผยแพร่ ก็จะตรงกับสิ่งที่ผมได้เรียนว่าทำอย่างไรที่จะให้คนได้ศึกษาให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้ ไม่เฉพาะในส่วนของฝ่ายกฎหมายเท่านั้น คือทุก ๆ คนถ้าเผื่อว่ามีโอกาสได้ศึกษาจะได้รู้ว่าที่มาที่ไปเป็นอย่างไร ก่อนที่จะมาถึงตรงนี้
พิธีกร มั่นใจในคำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญ
นายกรัฐมนตรี ผมมั่นใจร้อยเปอร์เซ็นต์
พิธีกร คุณจาตุรนต์ฯ มองในมุมว่าเรื่องนี้ออกไปจะกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นการตั้งธงเพื่อจะไปเล่นงานกลุ่มไทยรักไทย แต่ท่านนายกรัฐมนตรีมั่นใจ
นายกรัฐมนตรี อย่างที่บอกว่าผมฟังประมาณครึ่งหนึ่ง 6 ชั่วโมง ผมมั่นใจว่าในสิ่งที่ผมได้ฟังและตั้งใจฟังนั้น เห็นได้ชัดเจนว่าคำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญออกมาชัดมาก ในสิ่ง ๆ ประเด็น เพียงแต่ว่าเมื่อเรานำมาศึกษารายละเอียด เราจะได้รู้ได้อย่างแน่ชัดมากยิ่งขึ้น
พิธีกร ไม่คิดว่าจะกลายเป็นแรงกดดันกลับมา อาจจะเป็นนักกฎหมายในประเทศที่ออกมาบอกว่าไม่ถูกต้อง คงจะมีคนเห็นแตกต่างได้ เพราะตุลาการรัฐธรรมนูญไม่ใช่ศาล ยังสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ หรืออาจจะมีปฏิกิริยาจากชาวโลก ถ้าสมมติคุณจาตุรนต์ฯ หรือกลุ่มไทยรักไทย ไปใช้วิธีนี้เหมือนที่เขาประกาศว่าจะทำ ท่านไม่คิดว่าจะมีผลกระทบกลับมา
นายกรัฐมนตรี ผมคิดว่าไม่มี ถ้าผู้ที่นำเอกสารที่พิมพ์คำวินิจฉัยไปอ่านอย่างจริงจัง จะเห็นชัด เหมือนอย่างที่ผมได้ฟังมาแล้วก็เห็นว่าชัดเจน
พิธีกร ท่านนายกรัฐมนตรีได้ชื่อว่าเป็นนายทหารประชาธิปไตยมาตลอด จนกระทั่งเข้ามารับตำแหน่ง แต่กลุ่มไทยรักไทยพยายามที่จะไปป่าวประกาศหรือฟ้องว่า คณะรัฐประหารเข้ามาฉีกรัฐธรรมนูญ ตั้งตุลาการรัฐธรรมนูญ และตั้งธงว่าจะยุบพรรคเขาให้ได้ และก็ดำเนินการตามนั้นมาตลอด จนกระทั่งไปละเมิดหลักกฎหมายที่ว่านี้ เขาใช้คำว่า “ยัดข้อหา” ให้กับพรรคว่าล้มล้างประชาธิปไตย โดยคณะรัฐประหารกลับไม่ว่าตัวเอง ท่านนายกรัฐมนตรีมองอย่างไรในฐานะคนที่ได้ชื่อว่านายทหารประชาธิปไตย
นายกรัฐมนตรี เรื่องคดียุบพรรคเกิดก่อนที่จะมีการเข้ามายึดอำนาจ และเป็นคดีที่ได้ดำเนินการมาต่อเนื่อง เพียงแต่ว่าเมื่อมีการยึดอำนาจแล้ว จึงได้มีการตั้งตุลาการรัฐธรรมนูญ ขึ้นมาพิจารณาเรื่องนี้ต่อ ก็เป็นความต่อเนื่อง ซึ่งผมคิดว่าไม่ได้เป็นเรื่องของการตั้งธงหรือไม่ตั้งธง แต่เป็นเรื่องของการที่จะต้องมาดูว่า สิ่งที่มีการดำเนินการทางการเมืองนั้น ถูกหรือผิด ส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญ เพราะถ้าเราพูดว่าการทำงานทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยสามารถทำได้ทุกอย่าง ผมคิดว่าอันนั้นไม่ถูกแน่นอน ถ้าไม่ได้ยืนอยู่บนพื้นฐานของความโปร่งใส ความสุจริต ถ้าบอกว่าการเมืองไปได้หมด ผมคิดว่าไม่ใช่ระบบการเมืองที่คนไทยจะยอมรับได้
พิธีกร สรุปตรงนี้คือมั่นใจในคำวินิจฉัยอย่างที่ท่านว่า และเปิดเผย เผยแพร่ยิ่งดี จะได้เป็นที่เข้าใจถึงที่มาที่ไป ไม่ได้มีธงไม่ได้มีอะไรทั้งสิ้น พูดถึงประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 15 และ 27 จะยกเลิกได้เมื่อไร
นายกรัฐมนตรี ในวันพรุ่งนี้ผมจะได้ข้อมูลทางด้านกฎหมายที่จะทำให้ผมตัดสินใจได้ว่า จะดำเนินการเมื่อไรอย่างไร ถ้าไม่มีผลกระทบในเรื่องอื่น เพราะฉบับที่ 27 มี 3-4 ข้อ ก็ต้องให้นักกฎหมายได้ศึกษา และให้ข้อคิดเห็นผม เมื่อผมพิจารณาแล้วเห็นว่าสมควรที่จะดำเนินการอย่างไร จะมีการยกเลิกทั้งหมดไหม หรือยกเลิกเฉพาะบางส่วนบางข้อ เป็นเรื่องที่ผมจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบตัดสินใจ
พิธีกร อันนั้นคือข้อกฎหมาย
นายกรัฐมนตรี ในหลักการผมได้พูดไปแล้ว คือว่าเห็นด้วยที่จะให้พรรคการเมืองต่าง ๆ ได้ทำงานการเมืองกันตั้งแต่เบื้องต้น เพราะจะเป็นส่วนที่จะทำให้การเตรียมการในทุก ๆ ด้านมีความพร้อมมากขึ้น
พิธีกร ท่านคิดว่าสถานการณ์พร้อมแล้ว
นายกรัฐมนตรี ในขณะนี้ผมคิดว่าภาพจากทางด้านการเมืองต่อไปค่อนข้างชัดเจน คือควรจะดำเนินการกันต่อไปอย่างไร
พิธีกร หมายความว่าถ้าดูข้อกฎหมายไม่มีปัญหา ให้ได้เลย ถ้าถามความเห็นท่านตรงนี้ ต้องถาม คมช.อีกไหม
นายกรัฐมนตรี ไม่ต้องถาม เพราะว่าอำนาจอยู่ที่คณะรัฐมนตรี ไม่ใช่อยู่ที่ผม
พิธีกร ออกมติคณะรัฐมนตรียกเลิกได้เลย
นายกรัฐมนตรี ใช่ครับ
พิธีกร ถ้าถามท่านตรงนี้ นาทีนี้ พรรคการเมืองถ้าดูรายการนี้อยู่ก็คือขอดูข้อกฎหมายเท่านั้นเอง ถ้าไม่มีผลกระทบกับสิ่งที่ได้ดำเนินการไป พร้อมจะให้เคลื่อนไหวจัดกิจกรรม ประชุมพรรค ไปทำนโยบาย ทำได้เลย
นายกรัฐมนตรี ครับ
พิธีกร ผมย้อนกลับมา มีบางคนบอกว่าเรื่องคดียุบพรรค ที่ไปตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค 5 ปี เขาใช้คำว่าเหมือน “ประหารชีวิตในทางการเมือง” เพราะฉะนั้นพอเหมือนประหารชีวิตในทางการเมือง เลยจะขอไปถวายฎีกา ท่านนายกรัฐมนตรีเคยเป็นองคมนตรี พอจะบอกอะไรได้ไหม
นายกรัฐมนตรี ในส่วนนี้ในเรื่องของสิทธิของคนไทยเรามีสิทธิเหมือนอย่างที่คุณจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม ได้ให้สัมภาษณ์ไปแล้วว่า เป็นสิทธิที่ทุกคนสามารถที่จะถวายฎีกา นั่นก็เป็นเรื่องหนึ่ง แต่ว่าสิ่งที่อยู่ที่การตัดสินใจของแต่ละคนว่าเรื่องที่จะไปถวายฎีกานั้นมากน้อยขนาดไหน ในสิ่งที่ผมได้เคยผ่านมา คงจะเรียนได้ว่าส่วนมากเป็นคดีของนักโทษที่ถูกตัดสินประหารชีวิต ถูกจำคุกตลอดชีวิต จะมีการถวายฎีกา ซึ่งจะมีวิธีการที่จะถวายข้อคิดเห็นขององคมนตรี นั่นเป็นเรื่องที่ถือได้ว่าเป็นการดำเนินการตามขั้นตอน หน่วยงานที่มีหน้าที่ที่จะรับฎีกาของประชาชนคงเป็นที่สำนักราชเลขาธิการ ตรงส่วนนี้ผมอยากจะเรียนว่าราชเลขาธิการไม่ได้มีหน้าที่ที่จะวินิจฉัยว่าเรื่องนี้ควรจะนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย หรือว่าไม่นำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เรื่องนี้เป็นพระบรมราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อคนไทยถวายฎีกา หมายถึงว่าเป็นเรื่องของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แล้ว คนอื่นไม่ได้มีสิทธิมีส่วนไปชี้ไปวินิจฉัยอย่างที่ได้เรียนแล้ว
พิธีกร เราเคยได้ยินคำว่าถวายฎีกา หรือร้องทุกข์กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถ้าเป็นภาษาชาวบ้าน อาจจะเคยเห็นชาวบ้านไปยื่นที่สำนักราชเลขาธิการ ก็มี ท่านนายกรัฐมนตรีกำลังบอกว่าขั้นตอนคือว่าไม่มีใครเป็นผู้ไปกำหนดได้ว่า เรื่องนี้นำขึ้น เรื่องนี้ไม่นำขึ้น ไม่มี
นายกรัฐมนตรี ไม่มีครับ อันนี้เป็นเรื่องที่อยู่ในพระบรมราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นเรื่องของพระองค์ท่าน
พิธีกร ถ้าจะมีคนถามท่านนายกรัฐมนตรีว่าเรื่องนี้ควรไม่ควร
นายกรัฐมนตรี ก็อยู่ที่แต่ละบุคคล เราจะคิดอะไรอย่างไร เรามีเหตุผลแค่ไหนอย่างไร ถ้าย้อนไปคดีอย่างนี้ก็มีตัวอย่างของพลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ ที่โดนเพิกถอนสิทธิ 5 ปีเหมือนกัน ถ้าจะพูดว่าลงโทษเหมือนกับประหารชีวิต ผมคิดว่ามันแรงเกินไป อันนี้เป็นการลงโทษอันหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องของการดำเนินการทางการเมือง การลงโทษประหารชีวิตมาเทียบกับเรื่องนี้ไม่ได้ เพราะ 5 ปีไม่ได้เป็นเวลาที่นานนักหนาเลย ขณะนี้พลตรีสนั่นฯ มาทำกิจกรรมทางการเมืองแล้ว นี่ก็เป็นตัวอย่าง ไม่ใช่ว่าเรื่องนี้ไม่เคยเกิดขึ้นในเมืองไทย เกิดแล้ว
พิธีกร เอาไปเทียบกับประหารชีวิตทางการเมือง บอกไม่ใช่
นายกรัฐมนตรี คงไม่ใช่ ไม่ถึงกับประหาร พลตรีสนั่นฯ ท่านก็ออกมาทำกิจกรรมแล้ว
พิธีกร ไม่อย่างนั้นจะฟื้นคืนชีพขึ้นมาได้อย่างไร ติดคุกทางการเมืองอย่างนั้นไหม
นายกรัฐมนตรี ไม่ถึงกับติดคุก เขาถูกจำกัดสิทธิ หมายถึงว่าจะลงไปดำเนินกิจกรรมทางการเมืองโดยเปิดเผยไม่ได้ แต่ท่านก็มีโอกาสที่จะพบปะพูดคุยกับคนอื่น จะไปบอกว่ามาจัดตั้งกลุ่มจัดตั้งพรรค ทำไม่ได้
พิธีกร คือจัดตั้งพรรคการเมืองทางกฎหมายไม่ได้ ลงสมัครรับเลือกตั้งไม่ได้ ไปใช้สิทธิเลือกตั้งไม่ได้ แต่ไม่ได้ห้ามคุณจะไปอยู่เบื้องหลัง
นายกรัฐมนตรี ไม่มีกฎหมายห้าม กฎหมายทางการเมืองไม่มีห้ามนอมินี
พิธีกร ท่านกำลังบอกว่านี่คือการพูดถึงสภาพความเป็นจริงว่า ไม่ได้คอขาดบาดตายขนาดที่คุณทำอะไรไม่ได้ อย่างนั้นหรือเปล่า
นายกรัฐมนตรี ใช่ ไม่ถึงขนาดคอขาดบาดตาย ถ้าจะเทียบกับตัวผมเอง ผมคิดว่าตอนที่ผมจบออกมารับราชการ ผมมองไปข้างหน้าแล้ว ผมเห็นมันมืดไปหมดเลย ไม่มีตรงไหนเป็นจุดสว่าง อนาคตในทางราชการผมไม่มีเลย นี่ยังบอกว่า 5 ปี ผมจบออกมาเป็นร้อยตรี เมื่อรู้ว่ากองทัพบกมีคำสั่งไม่ให้ผมออกไปทำราชการในพื้นที่ชายแดน ความรู้สึกคือว่าอนาคตของเราทางทหารเกือบจะไม่ได้มีอะไรเหลือเลย ก็เหมือนกัน ความรู้สึกของแต่ละคน กับอนาคตอีกประมาณ 30 กว่าปี มันหายไปเลย
พิธีกร คือเรียนจบมาเพื่อจะมีชีวิตราชการ
นายกรัฐมนตรี คิดว่าอยากจะเป็นทหาร ข้อสำคัญคืออาจารย์บอกว่าอยากไปเรียนต่อไหม ไปทำปริญญาโท ไปต่อทางด้านวิศวกรรมเครื่องกลไหม ตอนนั้นก็จบแล้ว แต่ว่าไม่รู้ว่ามีคำสั่งนี้ ถ้ารู้ว่ามีคำสั่งนี้ ผมก็ไปเป็นอาจารย์แล้ว แต่เราไม่รู้ เลยออกมาเป็นทหารราบ พอมาถึงหน่วยแล้วรู้ว่าเขามีคำสั่ง แล้วจะให้ผมทำอย่างไร ผมมองไปข้างหน้า ก็มานั่งทบทวนว่าเราจะทำอย่างไรมีทางออกอย่างไรดี นั่นก็เป็นวิธีคิด วิธีที่จะจัดการกับปัญหาชีวิตของเราเอง เมื่อเรามีทุกข์ ทุกคนมีทุกข์ อย่างที่ผมเรียนว่า พอผมไปอ่านหนังสืองานศพ เขียนไว้ว่า “ถ้าเราพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็มีทุกข์ ประสบกับสิ่งที่ไม่รัก ก็มีทุกข์ อยากได้อะไร ไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์” มันโดนใจ นี่คือสิ่งที่พระพุทธองค์ท่านสอน อ่านปุ๊บโดนใจเลย นี่คือประสบการณ์ชีวิตที่เห็นได้ว่า ถ้าเราจะจัดการกับความทุกข์ เราจัดการอย่างไร
พิธีกร เข้าใจ 111 คนว่ามีทุกข์
นายกรัฐมนตรี มี ก็ควรจะจัดการกับความทุกข์ เพราะห้วงเวลาชัดคือ 5 ปี อย่างผมมองไม่เห็นเลย อย่างที่ว่า 30 กว่าปีในชีวิตราชการ ผมมองไม่เห็นเลยว่าจะไปไหน
พิธีกร เพราะฉะนั้นไม่เป็นไรหรอก 5 ปี เดี๋ยวก็ผ่านไป ยังทำอะไรได้เยอะแยะ ผมอยากจะย้อนถามว่า ท่านไม่เห็นด้วยใช่ไหมกับการนิรโทษกรรม
นายกรัฐมนตรี ในหลักการอย่างที่ว่าคืออาจจะมีประเด็นเดียวที่ยังก้ำกึ่ง คือ 111 คนทำผิดทั้งหมดเลย
พิธีกร เย็นวันนี้จะมีการชุมนุมกันอีกแล้วที่สนามหลวง และไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นอย่างไรจากกลุ่มพีทีวี ท่านนายกรัฐมนตรีประเมินอย่างไร
นายกรัฐมนตรี ผมคิดว่าประชาขนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเราได้เดินมาถึงไหนกันแล้ว มาถึงจุดเปลี่ยนอย่างไร จากในช่วงของเมื่อคืนก่อนที่ผ่านมา พีทีวีได้รวมกลุ่มและไปพูดที่ลานพระบรมรูปทรงม้า และได้มาพูดกันอยู่ที่ข้างกระทรวงศึกษาธิการ นั่นเป็นส่วนหนึ่งที่ผมคิดว่าประชาชนที่อาจจะเป็นผู้เห็นด้วย เป็นผู้ที่ให้การสนับสนุน คงจำนวนไม่มากกว่านั้น ถ้าจะมีการชุมนุมกันในวันนี้ ข้อตกลงในวันนี้อย่างที่ทราบอยู่แล้วคือ ขอให้อยู่กับที่ที่สนามหลวงทางตอนเหนือ
พิธีกร เขามีสิทธิจะชุมนุมไหม
นายกรัฐมนตรี เขามีสิทธิ แต่อย่าเคลื่อนขบวนไปทำให้เกิดการขัดขวางการจราจร หรือไปทำสิ่งอื่นสิ่งใดที่ไปก่อให้เกิดการปะทะ เกิดความเดือดร้อนกับคนอื่น
พิธีกร ท่านไม่กังวลหรือครับ อาจจะมีสมาชิกพรรคที่ถูกยุบไปรวมกัน เห็นประกาศว่ามี 14 ล้านคน เป็นไปไม่ได้อยู่แล้วที่ 14 ล้านคนจะมาชุมนุมกัน แต่ถ้ามาผสมรวมกันเข้า ไม่กังวลหรือครับ
นายกรัฐมนตรี ผมได้ตอบหลายท่านไปแล้วว่า ทั้ง คมช. และรัฐบาล ได้มีการทำงานกันมานานในเรื่องการทำความเข้าใจกับประชาชนว่าเราผ่านอะไรกันมาในช่วงเวลา 6 เดือนกว่ามาแล้ว และเราจะไปทางไหน ส่วนใหญ่เข้าใจว่าบ้านเมืองของเราไม่ควรจะเกิดความวุ่นวายอะไรขึ้นมาอีกแล้ว ควรจะหาทางแก้ไขกันด้วยวิธีพูดจากัน ทำความตกลงกัน อะไรที่บอกว่าผมไม่เอา ก็ไม่ต้องไปบีบบังคับกัน อะไรที่เห็นร่วมกันว่าทำได้ ก็ทำด้วยกันไป จะเป็นทางออกที่ดีกว่า ที่ผมคิดว่าการใช้กำลังเข้ามาบีบบังคับ ไม่ว่าด้วยวิธีหนึ่งวิธีใด ไม่ได้เป็นส่วนที่จะทำให้เกิดการแก้ปัญหาในระยะยาวได้เลย
พิธีกร ท่านคิดว่าคนส่วนใหญ่คิดอย่างไร ท่านถึงมั่นใจว่าเป็นกลุ่มคนที่มีความคิดอย่างนี้ ก็ว่าไป แต่อยู่ภายใต้กติกา อีกกลุ่มหนึ่งอาจจะสุดขั้วไปอีกทางหนึ่ง แต่ท่านมั่นใจว่าจะควบคุมสถานการณ์ได้เพราะคนส่วนใหญ่
นายกรัฐมนตรี ใช่ครับ
พิธีกร ไม่คิดว่าจะเกิดการปลุกระดม เปลี่ยนแปลงเกิดความวุ่นวาย
นายกรัฐมนตรี ผมคิดว่าไม่น่าจะเป็นอย่างนั้น จากกรณีของการฟังข้อคิดเห็นต่าง ๆ ผมคิดว่าวันที่ 31 พฤษภาคม ที่มีโพลออกมาเห็นชัดเจนว่า คนส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าการวินิจฉัยนั้นถูกต้อง และควรจะอยู่ในความสงบ ควรจะทำกิจกรรมทางการเมืองกันต่อไป
พิธีกร เพราะฉะนั้นไม่กังวลตรงจุดนี้ ท่านมั่นใจว่าคนส่วนใหญ่ไม่เข้ามา ไม่เกิดการรวมตัวของคนหมู่มาก อีกแบบหนึ่งที่อาจจะทำให้เกิดปัญหาขึ้นคือ มีมือที่ 3 หรือจะเป็นมือที่ 1 มือที่ 2 เราก็ทราบ ที่เขาลือกันว่ามีกลุ่มฮาร์ดคอร์ จะไปยั่วยุ ทำอย่างไรก็ได้ให้ตีกัน ถ้าเป็นกรณีนี้คือไปยั่วให้ตำรวจ ทหาร ตี ซึ่งตอนนี้เขากล่าวหากันอยู่ ฝ่ายหนึ่งบอกว่าม็อบทำ อีกฝ่ายหนึ่งบอกว่า คมช. ทำ ท่านนายกรัฐมนตรีเห็นปรากฎ การณ์นี้
นายกรัฐมนตรี ผมเห็นว่าหลายครั้งแล้ว ง่ายที่สุดคืออย่างที่ได้ตกลงกันไว้ ถ้าไม่ทำผิดข้อตกลงคืออยู่ในพื้นที่ที่ให้ชุมนุม คือบริเวณตอนเหนือของสนามหลวง และมีการตรวจสอบว่าไม่มีอะไร ซึ่งอาจจะเป็นอาวุธ ถ้าตรวจสอบกันได้ทุก ๆ ส่วนไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
พิธีกร มือที่ 3 ท่านรู้ ท่านมีประสบการณ์ ท่านเห็นมาแล้ว
นายกรัฐมนตรี เราตรวจสอบได้ ไม่เฉพาะที่นั่น มีการตั้งจุดสกัดจุดตรวจ ก็ว่ากันไปในส่วนของตำรวจ ทหาร มอเตอร์ไซค์ที่จะเข้ามา ก็เป็นเรื่องธรรมดา
พิธีกร ทำยกชัด ๆ เลย พฤษภาทมิฬ จุดเริ่มต้นคือมีการลงมือ จากนั้นก็ไปเลย สถานการณ์คุมไม่ได้
นายกรัฐมนตรี เพราะไม่ได้มีการตั้งจุดสกัด จุดตรวจต่าง ๆ และประชาชนที่มาชุมนุมจำนวนมาก ความโน้มเอียงของประชาชนส่วนใหญ่ที่ไม่เห็นด้วย มีมากกว่า
พิธีกร มี 2 ปัจจัยคือกระแสความรู้ของประชาชน เหตุการณ์พฤษภาคมกับคราวนี้ไม่เหมือนกัน
นายกรัฐมนตรี ไม่เหมือนกัน
พิธีกร การเตรียมการป้องกัน ท่านยืนยันว่าตั้งจุดสกัดด่านตรวจ
นายกรัฐมนตรี เพื่อไม่ให้มือที่ 3 อย่างที่ว่า ผู้ที่มาชุมนุมโดยสุจริต ไม่มีอาวุธ เข้ามาก็ยินดี เป็นสิทธิ
พิธีกร แต่อยู่กติกาตรงนี้ ในขณะที่ป้องกันไม่ให้มีใครเอาอาวุธเข้ามา หรือจะมายั่วยุอะไรต่าง ๆ ถึงวันนี้คำวินิจฉัยออกมาแล้วคดียุบพรรค การชุมนุมก็จะดำเนินต่อไป พรรคที่ถูกยุบจะเคลื่อนไหวต่อไป แต่ท่านนายกรัฐมนตรีถ้าถามตรงนี้คือ สบายใจหรือยัง ท่านบอกว่าหลังคดียุบพรรคน่าจะชัดเจน
นายกรัฐมนตรี บรรยากาศทางการเมืองจะชัดเจนขึ้น หมายถึงว่าพรรคการเมืองที่น่าจะมีส่วนในการดำเนินการทางการเมืองต่อไปจะชัดเจนขึ้นว่า พรรคใหญ่โดนยุบทั้งหมด หรือโดนยุบพรรคเดียว ก็เป็นเรื่องที่เราพูดกันก่อนหน้านั้นอยู่แล้ว
พิธีกร ไม่มีอะไรน่ากลัวใช่ไหม ถ้าประชาชนคนดูจะถามท่านว่า ท่านนายกรัฐมนตรีครับประเทศนี้ผมควรจะทำมาหากินได้อย่างสงบสุข สบายใจได้หรือยังครับ เพราะเดี๋ยวก็มีข่าวโน้นข่าวนี้ ท่านจะตอบเขาว่าอย่างไร
นายกรัฐมนตรี ตอบว่าพี่น้องประชาชนเป็นหน้าที่ของท่านส่วนหนึ่งที่จะต้องช่วยกันทำให้สถานการณ์ในบ้านเมืองของเราสงบ คือเดินไปตามครรลองที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 2549 แน่นอนความคิดของเราทุกคนไม่เหมือนกัน แต่ในภาพใหญ่ ๆ แล้วเราเดินไปด้วยกันได้ ความสงบในบ้านเมืองก็จะเกิดขึ้น คงไม่ได้เป็นหน้าที่ของผม ไม่ได้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลแต่เพียงอย่างเดียวที่จะต้องมาดูแลในเรื่องนี้ พวกเราทุกคนมีส่วนร่วมที่จะทำให้ชาติบ้านเมืองของเราสงบ มีโอกาสที่จะพัฒนาต่อไปในทุก ๆ ด้านอย่างที่เราต้องการ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--