วันนี้ เวลา 11.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาเรื่อง “นโยบายด้านการปฏิรูปการเมือง การปกครอง และการบริหาร : การจัดทำแผนแม่บทพัฒนาการเมือง และการจัดตั้งสภาพัฒนาการเมือง” ซึ่งคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งสภาพัฒนาการเมืองและยกร่างแผนแม่บทการพัฒนาการเมืองจัดขึ้นเพื่อประชุมสรุปผลการดำเนินการในภาพรวมในรอบ 4 เดือนที่ผ่านมา
รองศาสตราจารย์ ดร. ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะที่ปรึกษาคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งสภาพัฒนาการเมือง กล่าวรายงานว่า ตามที่นายกรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2549 ซึ่งได้กำหนดนโยบายการปฏิรูปการเมือง เพื่อให้การเมืองยุคใหม่สามารถสร้างเสริมระบบคุณธรรม ระบบจริยธรรม ระบบวัฒนธรรม และระบบการเรียนรู้ทางการเมืองยุคใหม่ จึงได้กำหนดให้มีการจัดตั้งสภาพัฒนาการเมืองเป็นองค์กรหลักในการจัดทำ การขับเคลื่อน การดำเนินการดังกล่าว
ดังนั้น รัฐบาลจึงได้จัดตั้งคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งสภาพัฒนาการเมืองและยกร่างแผนแม่บทพัฒนาการเมือง ซึ่งมี ดร. สุจิต บุญบงการ เป็นประธาน เพื่อสนับสนุนและประสานการดำเนินการเตรียมการจัดตั้งสภาพัฒนาการเมืองและยกร่างแผนแม่บทพัฒนาการเมือง ซึ่งได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการ 6 คณะ ได้แก่ คณะอนุกรรมการยกร่างแผนแม่บทการพัฒนาการเมือง มีรองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นประธาน คณะอนุกรรมการยกร่างสภาพัฒนาการเมือง มีศาสตราจารย์ ดร.จรัส สุวรรณมาลา คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธาน คณะอนุกรรมการยกร่างกฎหมาย มี ดร.เธียรชัย ณ นคร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นประธาน คณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ มีรองศาสตราจารย์ ดร.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นประธาน คณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็น มีนายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ เป็นประธาน และคณะอนุกรรมการประสานงาน มีรองศาสตราจารย์ วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นประธาน
ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นได้ประมวลความคิดเห็นของประชาชนทุกระดับเกี่ยวกับการร่างแผนแม่บทพัฒนาการเมือง โดยข้อคิดเห็นที่ประชาชนเน้นย้ำได้แก่ 1) สภาพัฒนาการเมืองต้องส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย 2) โครงสร้างสภาพัฒนาการเมืองจะต้องมีตัวแทนจากเครือข่ายหรือองค์กรภาคประชาสังคมเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการสภาพัฒนาการเมือง โดยการสรรหามาจากแต่ละภูมิภาค 3)การดำเนินงานของสภาพัฒนาการเมืองต้องเน้นการประสานเชื่อมโยงทุกภาคส่วนและเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแผนพัฒนาการเมือง ทั้งในระดับพื้นที่และส่วนกลาง ดังนั้น สภาพัฒนาการเมืองจะมีบทบาทเป็นองค์กรอิสระ ทำหน้าที่ประสานเชื่อมโยงกับองค์กรภาคประชาสังคมและสถาบันการเมืองหลัก เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย โดยสภาพัฒนาการเมืองจะประกอบด้วย 1) คณะกรรมการสภาพัฒนาการเมือง (Governance Body) ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและบริหาร โดยจะมีจำนวนไม่เกิน 27 คนจากทั่วประเทศ ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากสาขาต่างๆ จำนวนไม่เกิน 11 คน และกรรมการจากองค์กรภาคประชาสังคมอีกไม่เกิน 16 คน 2) สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง (Operating Body) ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานสนับสนุน 3) ที่ประชุมเครือข่ายองค์กรพัฒนาการเมือง
สำหรับร่างแผนแม่บทพัฒนาการเมืองมีเจตนารมณ์มุ่งสร้างความเข้มแข็งของการเมืองภาคพลเมืองคู่ขนานไปกับการเมืองภาคตัวแทน เพื่อเป็นรากฐานการพัฒนาในการพัฒนาการเมืองไทย ซึ่งประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์หลัก ดังนี้ 1) ยุทธศาสตร์ด้านการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ 2) ยุทธศาสตร์ด้านการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมทางการเมือง 3) ยุทธศาสตร์ด้านคุณธรรมและจริยธรรมของผู้นำและนักการเมือง 4) ยุทธศาสตร์ด้านธรรมาภิบาลทางการเมืองและการบริหาร 5) ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง การจัดการความขัดแย้ง และเสริมสร้างสังคมสมานฉันท์ 6) ยุทธศาสตร์ด้านการกระจายอำนาจและการสร้างความเป็นธรรมในการบริหารทรัพยากร โดยแบ่งการขับเคลื่อนเป็น 2 ระดับ คือ 1) การขับเคลื่อนกลยุทธ์โดยหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง 2) การขับเคลื่อนกลยุทธ์โดยองค์กรและเครือข่ายภาคประชาชน ทั้งนี้ ประชาชนสามารถติดตามการดำเนินการจัดตั้งสภาพัฒนาการเมืองได้ทางเว็บไซต์ www.pdc.go.th
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีที่ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมสัมมนาเรื่อง “นโยบายด้านการปฏิรูปการเมือง การปกครอง และการบริหาร : การจัดทำแผนแม่บทพัฒนาการเมือง และจัดตั้งสภาพัฒนาการเมือง” ในวันนี้ เนื่องจากรัฐบาลมีความมุ่งหวังว่าเมื่อได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งสภาพัฒนาการเมืองและยกร่างแผนแม่บทพัฒนาการเมืองแล้ว คณะกรรมการฯ จะสามารถดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ได้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 4 เดือนตามที่กำหนด คือไม่เกินเดือนพฤษภาคม 2550 นี้ ซึ่งแม้ว่าจะมีระยะเวลาที่จำกัดอย่างมาก และต้องให้สอดคล้องกันกับร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่ด้วย แต่นายกรัฐมนตรีมีความเชื่อมั่นว่าด้วยศักยภาพของคณะกรรมการ ประกอบกับการสนับสนุนของรัฐบาล จะทำให้การดำเนินงานในเรื่องนี้บรรลุผลสำเร็จได้ตามเป้าหมายได้
ความจริงแนวคิดเกี่ยวกับการจัดตั้งสภาพัฒนาการเมืองและการยกร่างแผนพัฒนาการเมือง เพื่อให้การพัฒนาการเมืองไทยเป็นไปอย่างมีระบบและเกิดความมั่นคงในระบอบประชาธิปไตยของไทยมากขึ้นนี้ ได้มีการดำเนินงานมาก่อนแล้ว นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ก็ได้บัญญัติให้รัฐต้องจัดให้มีแผนพัฒนาการเมืองด้วย สำหรับรัฐบาลนี้ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งสภาพัฒนาการเมืองและยกร่างแผนแม่บทพัฒนาการเมืองขึ้น ตามนโยบายที่รัฐบาลได้แถลงไว้ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยนโยบายด้านการปฏิรูปการเมือง การปกครองและการบริหาร ข้อ 1.3 ได้กำหนดว่ารัฐบาลจะจัดทำแผนแม่บทพัฒนาการเมืองที่เสริมสร้างระบบคุณธรรม จริยธรรมทางการเมือง วัฒนธรรม และการเรียนรู้ใหม่ทางการเมือง ดังนั้น ภารกิจด้านการพัฒนาการเมือง จึงเป็นอีกภารกิจหนึ่งที่มีความสำคัญของรัฐบาลนี้ สภาพัฒนาการเมืองนั้น มีความมุ่งหมายที่จะให้เป็นองค์กรหลักในการจัดทำและดำเนินการให้แผนแม่บทพัฒนาการเมืองประสบผลสำเร็จ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องทำหน้าที่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น การประสาน ติดตามกำกับการดำเนินการตามแผนแม่บทพัฒนาการเมืองให้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง การเสนอร่างกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสภาพัฒนาการเมือง การจัดทำแผนแม่บทพัฒนาการเมือง การเสนอแนะให้มีการแก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมกฎหมาย กฎ ระเบียบ และมาตรการที่จำเป็นต่อการพัฒนาการเมือง การแต่งตั้งคณะกรรมการ คณะทำงาน หรือบุคคลเพื่อช่วยปฏิบัติงาน และการเชิญผู้แทนต่าง ๆ มาชี้แจงข้อเท็จจริงหรือให้ข้อคิดเห็น เป็นต้น
การจัดตั้งสภาพัฒนาการเมืองและยกร่างแผนแม่บทพัฒนาการเมืองได้กำหนดหลักเกณฑ์ที่สำคัญคือ การให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและผลักดัน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมควบคู่กับการกระตุ้นให้ประชาชนได้รับรู้และมีความเข้าใจกับการพัฒนาการเมือง ดังนั้น สภาพัฒนาการเมืองจึงต้องให้ความสำคัญในเรื่องนี้เป็นอันดับต้น ๆ ด้วย เพราะความสำเร็จของการพัฒนาการเมืองจำเป็นอย่างยิ่งต้องได้รับความร่วมมือ และการมีส่วนร่วมจากประชาชนและทุกภาคส่วนในสังคม ในการร่วมกันแสดงความเห็นในลักษณะที่มีส่วนร่วมในการเสนอข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นข้อคิดเห็นที่เกี่ยวกับโครงสร้าง แผน หรือกฎหมาย เพื่อให้การพัฒนาการเมืองของไทยเดินทางไปสู่เป้าหมายที่พึงปรารถนาร่วมกันต่อไป
จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้รับข้อคิดเห็นจากตัวแทนภาคประชาชน เกี่ยวกับการพัฒนาการเมืองไทยล้มเหลวเพราะขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนและเยาวชน ซึ่งนายกรัฐมนตรีกล่าวว่าความร่วมมือของภาคประชาสังคมมีความสำคัญยิ่ง ซึ่งรัฐบาลเห็นพ้องกับภาคประชาสังคมว่าปัญหาทางการเมืองเกิดจากนักการเมือง และต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยรัฐบาลยืนยันว่าจะเร่งรัดการพิจารณาร่างแผนแม่บทการพัฒนาการเมือง และดำเนินการผ่านสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา แล้วนำเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติโดยเร็ว เพื่อให้การพัฒนาประเทศมีความก้าวหน้าต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
รองศาสตราจารย์ ดร. ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะที่ปรึกษาคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งสภาพัฒนาการเมือง กล่าวรายงานว่า ตามที่นายกรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2549 ซึ่งได้กำหนดนโยบายการปฏิรูปการเมือง เพื่อให้การเมืองยุคใหม่สามารถสร้างเสริมระบบคุณธรรม ระบบจริยธรรม ระบบวัฒนธรรม และระบบการเรียนรู้ทางการเมืองยุคใหม่ จึงได้กำหนดให้มีการจัดตั้งสภาพัฒนาการเมืองเป็นองค์กรหลักในการจัดทำ การขับเคลื่อน การดำเนินการดังกล่าว
ดังนั้น รัฐบาลจึงได้จัดตั้งคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งสภาพัฒนาการเมืองและยกร่างแผนแม่บทพัฒนาการเมือง ซึ่งมี ดร. สุจิต บุญบงการ เป็นประธาน เพื่อสนับสนุนและประสานการดำเนินการเตรียมการจัดตั้งสภาพัฒนาการเมืองและยกร่างแผนแม่บทพัฒนาการเมือง ซึ่งได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการ 6 คณะ ได้แก่ คณะอนุกรรมการยกร่างแผนแม่บทการพัฒนาการเมือง มีรองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นประธาน คณะอนุกรรมการยกร่างสภาพัฒนาการเมือง มีศาสตราจารย์ ดร.จรัส สุวรรณมาลา คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธาน คณะอนุกรรมการยกร่างกฎหมาย มี ดร.เธียรชัย ณ นคร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นประธาน คณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ มีรองศาสตราจารย์ ดร.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นประธาน คณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็น มีนายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ เป็นประธาน และคณะอนุกรรมการประสานงาน มีรองศาสตราจารย์ วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นประธาน
ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นได้ประมวลความคิดเห็นของประชาชนทุกระดับเกี่ยวกับการร่างแผนแม่บทพัฒนาการเมือง โดยข้อคิดเห็นที่ประชาชนเน้นย้ำได้แก่ 1) สภาพัฒนาการเมืองต้องส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย 2) โครงสร้างสภาพัฒนาการเมืองจะต้องมีตัวแทนจากเครือข่ายหรือองค์กรภาคประชาสังคมเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการสภาพัฒนาการเมือง โดยการสรรหามาจากแต่ละภูมิภาค 3)การดำเนินงานของสภาพัฒนาการเมืองต้องเน้นการประสานเชื่อมโยงทุกภาคส่วนและเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแผนพัฒนาการเมือง ทั้งในระดับพื้นที่และส่วนกลาง ดังนั้น สภาพัฒนาการเมืองจะมีบทบาทเป็นองค์กรอิสระ ทำหน้าที่ประสานเชื่อมโยงกับองค์กรภาคประชาสังคมและสถาบันการเมืองหลัก เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย โดยสภาพัฒนาการเมืองจะประกอบด้วย 1) คณะกรรมการสภาพัฒนาการเมือง (Governance Body) ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและบริหาร โดยจะมีจำนวนไม่เกิน 27 คนจากทั่วประเทศ ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากสาขาต่างๆ จำนวนไม่เกิน 11 คน และกรรมการจากองค์กรภาคประชาสังคมอีกไม่เกิน 16 คน 2) สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง (Operating Body) ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานสนับสนุน 3) ที่ประชุมเครือข่ายองค์กรพัฒนาการเมือง
สำหรับร่างแผนแม่บทพัฒนาการเมืองมีเจตนารมณ์มุ่งสร้างความเข้มแข็งของการเมืองภาคพลเมืองคู่ขนานไปกับการเมืองภาคตัวแทน เพื่อเป็นรากฐานการพัฒนาในการพัฒนาการเมืองไทย ซึ่งประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์หลัก ดังนี้ 1) ยุทธศาสตร์ด้านการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ 2) ยุทธศาสตร์ด้านการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมทางการเมือง 3) ยุทธศาสตร์ด้านคุณธรรมและจริยธรรมของผู้นำและนักการเมือง 4) ยุทธศาสตร์ด้านธรรมาภิบาลทางการเมืองและการบริหาร 5) ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง การจัดการความขัดแย้ง และเสริมสร้างสังคมสมานฉันท์ 6) ยุทธศาสตร์ด้านการกระจายอำนาจและการสร้างความเป็นธรรมในการบริหารทรัพยากร โดยแบ่งการขับเคลื่อนเป็น 2 ระดับ คือ 1) การขับเคลื่อนกลยุทธ์โดยหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง 2) การขับเคลื่อนกลยุทธ์โดยองค์กรและเครือข่ายภาคประชาชน ทั้งนี้ ประชาชนสามารถติดตามการดำเนินการจัดตั้งสภาพัฒนาการเมืองได้ทางเว็บไซต์ www.pdc.go.th
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีที่ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมสัมมนาเรื่อง “นโยบายด้านการปฏิรูปการเมือง การปกครอง และการบริหาร : การจัดทำแผนแม่บทพัฒนาการเมือง และจัดตั้งสภาพัฒนาการเมือง” ในวันนี้ เนื่องจากรัฐบาลมีความมุ่งหวังว่าเมื่อได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งสภาพัฒนาการเมืองและยกร่างแผนแม่บทพัฒนาการเมืองแล้ว คณะกรรมการฯ จะสามารถดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ได้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 4 เดือนตามที่กำหนด คือไม่เกินเดือนพฤษภาคม 2550 นี้ ซึ่งแม้ว่าจะมีระยะเวลาที่จำกัดอย่างมาก และต้องให้สอดคล้องกันกับร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่ด้วย แต่นายกรัฐมนตรีมีความเชื่อมั่นว่าด้วยศักยภาพของคณะกรรมการ ประกอบกับการสนับสนุนของรัฐบาล จะทำให้การดำเนินงานในเรื่องนี้บรรลุผลสำเร็จได้ตามเป้าหมายได้
ความจริงแนวคิดเกี่ยวกับการจัดตั้งสภาพัฒนาการเมืองและการยกร่างแผนพัฒนาการเมือง เพื่อให้การพัฒนาการเมืองไทยเป็นไปอย่างมีระบบและเกิดความมั่นคงในระบอบประชาธิปไตยของไทยมากขึ้นนี้ ได้มีการดำเนินงานมาก่อนแล้ว นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ก็ได้บัญญัติให้รัฐต้องจัดให้มีแผนพัฒนาการเมืองด้วย สำหรับรัฐบาลนี้ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งสภาพัฒนาการเมืองและยกร่างแผนแม่บทพัฒนาการเมืองขึ้น ตามนโยบายที่รัฐบาลได้แถลงไว้ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยนโยบายด้านการปฏิรูปการเมือง การปกครองและการบริหาร ข้อ 1.3 ได้กำหนดว่ารัฐบาลจะจัดทำแผนแม่บทพัฒนาการเมืองที่เสริมสร้างระบบคุณธรรม จริยธรรมทางการเมือง วัฒนธรรม และการเรียนรู้ใหม่ทางการเมือง ดังนั้น ภารกิจด้านการพัฒนาการเมือง จึงเป็นอีกภารกิจหนึ่งที่มีความสำคัญของรัฐบาลนี้ สภาพัฒนาการเมืองนั้น มีความมุ่งหมายที่จะให้เป็นองค์กรหลักในการจัดทำและดำเนินการให้แผนแม่บทพัฒนาการเมืองประสบผลสำเร็จ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องทำหน้าที่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น การประสาน ติดตามกำกับการดำเนินการตามแผนแม่บทพัฒนาการเมืองให้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง การเสนอร่างกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสภาพัฒนาการเมือง การจัดทำแผนแม่บทพัฒนาการเมือง การเสนอแนะให้มีการแก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมกฎหมาย กฎ ระเบียบ และมาตรการที่จำเป็นต่อการพัฒนาการเมือง การแต่งตั้งคณะกรรมการ คณะทำงาน หรือบุคคลเพื่อช่วยปฏิบัติงาน และการเชิญผู้แทนต่าง ๆ มาชี้แจงข้อเท็จจริงหรือให้ข้อคิดเห็น เป็นต้น
การจัดตั้งสภาพัฒนาการเมืองและยกร่างแผนแม่บทพัฒนาการเมืองได้กำหนดหลักเกณฑ์ที่สำคัญคือ การให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและผลักดัน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมควบคู่กับการกระตุ้นให้ประชาชนได้รับรู้และมีความเข้าใจกับการพัฒนาการเมือง ดังนั้น สภาพัฒนาการเมืองจึงต้องให้ความสำคัญในเรื่องนี้เป็นอันดับต้น ๆ ด้วย เพราะความสำเร็จของการพัฒนาการเมืองจำเป็นอย่างยิ่งต้องได้รับความร่วมมือ และการมีส่วนร่วมจากประชาชนและทุกภาคส่วนในสังคม ในการร่วมกันแสดงความเห็นในลักษณะที่มีส่วนร่วมในการเสนอข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นข้อคิดเห็นที่เกี่ยวกับโครงสร้าง แผน หรือกฎหมาย เพื่อให้การพัฒนาการเมืองของไทยเดินทางไปสู่เป้าหมายที่พึงปรารถนาร่วมกันต่อไป
จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้รับข้อคิดเห็นจากตัวแทนภาคประชาชน เกี่ยวกับการพัฒนาการเมืองไทยล้มเหลวเพราะขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนและเยาวชน ซึ่งนายกรัฐมนตรีกล่าวว่าความร่วมมือของภาคประชาสังคมมีความสำคัญยิ่ง ซึ่งรัฐบาลเห็นพ้องกับภาคประชาสังคมว่าปัญหาทางการเมืองเกิดจากนักการเมือง และต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยรัฐบาลยืนยันว่าจะเร่งรัดการพิจารณาร่างแผนแม่บทการพัฒนาการเมือง และดำเนินการผ่านสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา แล้วนำเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติโดยเร็ว เพื่อให้การพัฒนาประเทศมีความก้าวหน้าต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--