นายกรัฐมนตรีระบุการดูแลค่าเงินบาทเป็นหน้าที่ของ ธปท.ส่วนกระทรวงการคลังจะติดตามในภาพรวมและประสานกับ ธปท. อย่างใกล้ชิด และควรให้กำลังใจคนทำงาน อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าปัญหาค่าเงินบาทแข็งจะไม่กระทบต่อการขยายตัวจีดีพีประเทศ
วันนี้ เวลา 10.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการเสนอ แนวคิดที่จะให้เรื่องค่าเงินบาทแข็งเป็นวาระแห่งชาติเพื่อแก้ไขปัญหาว่า ในเรื่องของการดำเนินงานนั้นรัฐบาลได้ติดตามมาโดยตลอด เพราะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือกระทรวงการคลังก็ทำงานใกล้ชิดกับธนาคารแห่งประเทศไทย แต่การดูแลค่าของเงินถือเป็นหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย หมายถึงว่าถ้าเป็นเรื่องตามปกติถึงแม้จะมีการแก้ไขปรับปรุงบ้างก็เป็นเรื่องที่ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องดำเนินการ และกระทรวงการคลังจะเป็นผู้ติดตามในภาพรวมและประสานงานกัน ซึ่งตนเองในฐานะที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารได้รับทราบเรื่องนี้และติดตามสถานการณ์มาโดยตลอด ส่วนข้อเสนอให้เรื่องดังกล่าวเป็นวาระแห่งชาตินั้น เราได้ดำเนินการในส่วนนี้ตามกระบวนการที่มีอยู่แล้ว ไม่ได้เป็นเรื่องที่ถือว่าอยู่นอกความคาดหมาย อย่างที่ได้เรียนมานานแล้วว่า เราได้ประเมินสถานการณ์และคิดว่าอะไรที่ควรจะเกิดขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ไม่เกินความคาดหมายที่เราจะหาทางแก้ไขปัญหาได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า คิดว่าความผันผวนที่เกิดขึ้นจะกินระยะเวลาอีกนานหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เราคงต้องติดตาม เพราะการที่เงินทุนจากต่างประเทศจะเข้ามา เราไม่แน่ใจว่าจะยุติหรือไปหาแหล่งลงทุนใหม่อย่างไร ขึ้นอยู่กับการปรับในหลายๆ ด้าน คงจะต้องติดตามสถานการณ์ เพราะเป็นเรื่องของสถานการณ์ด้านการลงทุนการเงินของตลาดโลก
ต่อข้อถามว่า กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานมาตรการที่จะสกัดค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าเพิ่มขึ้นบ้างหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในวันที่ 19 กรกฎาคมนี้ นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม จะเป็นประธานการประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหารือถึงมาตรการต่างๆ และในวันที่ 20 กรกฎาคมจะนำเรื่องเข้าหารือกับนายกรัฐมนตรี และหากมีความจำเป็นจะต้องนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก็จะนำเข้าพิจารณาในวันอังคารที่ 24 กรกฎาคมนี้ ทั้งนี้ บางส่วนที่ทำได้เลยก็ไม่จำเป็นต้องนำเข้าที่ประชุม ครม. แต่บางส่วนที่จำเป็นก็ต้องเข้าสู่ที่ประชุม ครม.
ต่อข้อถามว่า อดีตนายธนาคารเสนอให้ใช้มาตรการลดดอกเบี้ยลง คิดว่าจะสามารถช่วยได้หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลพร้อมรับฟังในทุกเรื่องก่อนที่จะนำมาวิเคราะห์และประมวลให้เข้ากับแนวทางที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่และหาทางแก้ไข
ต่อข้อถามว่า ทางผู้ประกอบการได้ร้องขอให้รัฐบาลช่วยเหลือด้านใดบ้าง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นของการรวบรวม การเตรียมการ ซึ่งในการประชุมวันที่ 19 กรกฎาคมนี้จะได้มีการหารือในรายละเอียดในทุกๆ เรื่อง
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีบางฝ่ายประเมินว่าค่าเงินบาทอาจแข็งค่าขึ้นไปอยู่ที่ดอลลาร์ละ 30 บาท รัฐบาลมีมาตรการรับมืออย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลไม่ได้ประมาณการณ์ว่าค่าเงินบาทจะเปลี่ยนแปลงไปถึงขนาดนั้น รัฐบาลมองภาพในลักษณะที่ว่ามีการเปลี่ยนแปลงบ้าง แต่เราจะพยายามรักษาเสถียรภาพไว้เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบ เพราะถ้าเงินบาทแข็งค่าไปถึง 30 บาทต่อดอลลาร์ ก็จะมีผลกระทบค่อนข้างมาก เพราะฉะนั้น รัฐบาลได้เตรียมวิธีการและมาตรการต่างๆ เพื่อไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งค่าไปถึงขนาดนั้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า คิดอย่างไรที่หลายฝ่ายโจมตีผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การให้ข้อคิดเห็นเป็นสิ่งที่ดี แต่การที่จะทำลายขวัญและกำลังใจของผู้ที่ทำงาน ไม่ได้เป็นสิ่งที่ดีเลย เราต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน การที่จะให้ข้อคิดเห็นในทางที่เป็นประโยชน์ และช่วยกันแก้ไข การติเพื่อก่อก็จะเป็นประโยชน์ แต่การทำลายบุคลากรและขวัญกำลังใจไม่ได้เป็นสิ่งที่ดี เราน่าจะร่วมมือและช่วยกันแก้ไขปัญหา
ต่อข้อถามว่า แสดงว่าผู้ว่าการ ธปท. ยังเหมาะสมที่จะทำหน้าที่ต่อ โดยไม่ต้องรับผิดชอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เท่าที่ได้ดำเนินการมา คิดว่าผู้ว่าการ ธปท. ได้ดำเนินการมาอย่างเต็มความสามารถแล้ว เราจะช่วยกันได้อย่างไร นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทุกภาคส่วนจะสามารถร่วมกันและช่วยกันได้ ซึ่งคิดว่าในบ้านเมืองของเราไม่ควรจะโยนความรับผิดชอบไปให้คนหนึ่งคนใด ควรจะหาทางช่วยเหลือและแก้ไขปัญหากันมากกว่า ไม่อย่างนั้นคงไม่มีใครที่อยากจะเข้ามาทำหน้าที่รับผิดชอบ ถ้าทุกคนมองว่าถ้าพลาดหรือบกพร่องมาแล้วจะต้องถูกเหยียบย่ำซ้ำเติม คงไม่มีใครอยากเป็นอย่างนั้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า จากปัญหาค่าเงินบาทจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ (จีดีพี) หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เราคงต้องปรับกันอีกครั้งในการติดตามความก้าวหน้าหรือการขยายตัวทางเศรษฐกิจนั้น คงต้องดูในไตรมาสสุดท้ายอีกครั้งหนึ่งว่าจะเป็นไปอย่างไร การพยากรณ์เป็นเรื่องที่ถือได้ว่ามีข้อมูลเป็นพื้นฐานในการพยากรณ์ ไม่ว่าจะมาจากธนาคารโลกหรือในส่วนของเราเอง แต่หากมีปัจจัยตัวอื่นมาทำให้เกิดการผันแปร เราก็คงต้องปรับ
ต่อข้อถามว่า เท่าที่ประมาณการณ์ว่าจีดีพีจะโตร้อยละ 4 ยังคงมีความเป็นไปได้หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในขณะนี้ยังคงไม่มีปัญหาอะไร เพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในระยะสั้น
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 10.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการเสนอ แนวคิดที่จะให้เรื่องค่าเงินบาทแข็งเป็นวาระแห่งชาติเพื่อแก้ไขปัญหาว่า ในเรื่องของการดำเนินงานนั้นรัฐบาลได้ติดตามมาโดยตลอด เพราะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือกระทรวงการคลังก็ทำงานใกล้ชิดกับธนาคารแห่งประเทศไทย แต่การดูแลค่าของเงินถือเป็นหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย หมายถึงว่าถ้าเป็นเรื่องตามปกติถึงแม้จะมีการแก้ไขปรับปรุงบ้างก็เป็นเรื่องที่ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องดำเนินการ และกระทรวงการคลังจะเป็นผู้ติดตามในภาพรวมและประสานงานกัน ซึ่งตนเองในฐานะที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารได้รับทราบเรื่องนี้และติดตามสถานการณ์มาโดยตลอด ส่วนข้อเสนอให้เรื่องดังกล่าวเป็นวาระแห่งชาตินั้น เราได้ดำเนินการในส่วนนี้ตามกระบวนการที่มีอยู่แล้ว ไม่ได้เป็นเรื่องที่ถือว่าอยู่นอกความคาดหมาย อย่างที่ได้เรียนมานานแล้วว่า เราได้ประเมินสถานการณ์และคิดว่าอะไรที่ควรจะเกิดขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ไม่เกินความคาดหมายที่เราจะหาทางแก้ไขปัญหาได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า คิดว่าความผันผวนที่เกิดขึ้นจะกินระยะเวลาอีกนานหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เราคงต้องติดตาม เพราะการที่เงินทุนจากต่างประเทศจะเข้ามา เราไม่แน่ใจว่าจะยุติหรือไปหาแหล่งลงทุนใหม่อย่างไร ขึ้นอยู่กับการปรับในหลายๆ ด้าน คงจะต้องติดตามสถานการณ์ เพราะเป็นเรื่องของสถานการณ์ด้านการลงทุนการเงินของตลาดโลก
ต่อข้อถามว่า กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานมาตรการที่จะสกัดค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าเพิ่มขึ้นบ้างหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในวันที่ 19 กรกฎาคมนี้ นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม จะเป็นประธานการประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหารือถึงมาตรการต่างๆ และในวันที่ 20 กรกฎาคมจะนำเรื่องเข้าหารือกับนายกรัฐมนตรี และหากมีความจำเป็นจะต้องนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก็จะนำเข้าพิจารณาในวันอังคารที่ 24 กรกฎาคมนี้ ทั้งนี้ บางส่วนที่ทำได้เลยก็ไม่จำเป็นต้องนำเข้าที่ประชุม ครม. แต่บางส่วนที่จำเป็นก็ต้องเข้าสู่ที่ประชุม ครม.
ต่อข้อถามว่า อดีตนายธนาคารเสนอให้ใช้มาตรการลดดอกเบี้ยลง คิดว่าจะสามารถช่วยได้หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลพร้อมรับฟังในทุกเรื่องก่อนที่จะนำมาวิเคราะห์และประมวลให้เข้ากับแนวทางที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่และหาทางแก้ไข
ต่อข้อถามว่า ทางผู้ประกอบการได้ร้องขอให้รัฐบาลช่วยเหลือด้านใดบ้าง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นของการรวบรวม การเตรียมการ ซึ่งในการประชุมวันที่ 19 กรกฎาคมนี้จะได้มีการหารือในรายละเอียดในทุกๆ เรื่อง
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีบางฝ่ายประเมินว่าค่าเงินบาทอาจแข็งค่าขึ้นไปอยู่ที่ดอลลาร์ละ 30 บาท รัฐบาลมีมาตรการรับมืออย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลไม่ได้ประมาณการณ์ว่าค่าเงินบาทจะเปลี่ยนแปลงไปถึงขนาดนั้น รัฐบาลมองภาพในลักษณะที่ว่ามีการเปลี่ยนแปลงบ้าง แต่เราจะพยายามรักษาเสถียรภาพไว้เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบ เพราะถ้าเงินบาทแข็งค่าไปถึง 30 บาทต่อดอลลาร์ ก็จะมีผลกระทบค่อนข้างมาก เพราะฉะนั้น รัฐบาลได้เตรียมวิธีการและมาตรการต่างๆ เพื่อไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งค่าไปถึงขนาดนั้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า คิดอย่างไรที่หลายฝ่ายโจมตีผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การให้ข้อคิดเห็นเป็นสิ่งที่ดี แต่การที่จะทำลายขวัญและกำลังใจของผู้ที่ทำงาน ไม่ได้เป็นสิ่งที่ดีเลย เราต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน การที่จะให้ข้อคิดเห็นในทางที่เป็นประโยชน์ และช่วยกันแก้ไข การติเพื่อก่อก็จะเป็นประโยชน์ แต่การทำลายบุคลากรและขวัญกำลังใจไม่ได้เป็นสิ่งที่ดี เราน่าจะร่วมมือและช่วยกันแก้ไขปัญหา
ต่อข้อถามว่า แสดงว่าผู้ว่าการ ธปท. ยังเหมาะสมที่จะทำหน้าที่ต่อ โดยไม่ต้องรับผิดชอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เท่าที่ได้ดำเนินการมา คิดว่าผู้ว่าการ ธปท. ได้ดำเนินการมาอย่างเต็มความสามารถแล้ว เราจะช่วยกันได้อย่างไร นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทุกภาคส่วนจะสามารถร่วมกันและช่วยกันได้ ซึ่งคิดว่าในบ้านเมืองของเราไม่ควรจะโยนความรับผิดชอบไปให้คนหนึ่งคนใด ควรจะหาทางช่วยเหลือและแก้ไขปัญหากันมากกว่า ไม่อย่างนั้นคงไม่มีใครที่อยากจะเข้ามาทำหน้าที่รับผิดชอบ ถ้าทุกคนมองว่าถ้าพลาดหรือบกพร่องมาแล้วจะต้องถูกเหยียบย่ำซ้ำเติม คงไม่มีใครอยากเป็นอย่างนั้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า จากปัญหาค่าเงินบาทจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ (จีดีพี) หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เราคงต้องปรับกันอีกครั้งในการติดตามความก้าวหน้าหรือการขยายตัวทางเศรษฐกิจนั้น คงต้องดูในไตรมาสสุดท้ายอีกครั้งหนึ่งว่าจะเป็นไปอย่างไร การพยากรณ์เป็นเรื่องที่ถือได้ว่ามีข้อมูลเป็นพื้นฐานในการพยากรณ์ ไม่ว่าจะมาจากธนาคารโลกหรือในส่วนของเราเอง แต่หากมีปัจจัยตัวอื่นมาทำให้เกิดการผันแปร เราก็คงต้องปรับ
ต่อข้อถามว่า เท่าที่ประมาณการณ์ว่าจีดีพีจะโตร้อยละ 4 ยังคงมีความเป็นไปได้หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในขณะนี้ยังคงไม่มีปัญหาอะไร เพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในระยะสั้น
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--