นายกรัฐมนตรีเป็นประธานเปิดการประชุมเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ทั่วโลก ประจำปี 2550 และมอบนโยบายของรัฐบาลแก่เอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ของไทยทั่วโลก
วันนี้ เวลา 09.00 น. ณ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีเดินทางไปยังวิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อเปิดการประชุมเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ของไทยทั่วโลก อันประกอบไปด้วยเอกอัครราชทูตไทยและกงสุลใหญ่ จำนวนทั้งสิ้น 93 คน ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรี และกล่าวเชิญนายกรัฐมนตรีกล่าวเปิดการประชุมและมอบนโยบายของรัฐบาลให้แก่เอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ของไทยเพื่อนำไปชี้แจงแก่ประเทศต่างๆ และให้เอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่นำไปปฏิบัติ โดยมีใจความสำคัญดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีที่ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมในวันนี้ เนื่องจากเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ที่ประจำการอยู่ทั่วโลก ถือเป็นผู้แทนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประจำประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ผ่านมา เอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่มีภารกิจสำคัญที่ต้องช่วยผลักดันวาระสำคัญด้านต่างประเทศคือการสร้างความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ของไทยในสายตาต่างประเทศ ตลอดระยะเวลา 8 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งนายกรัฐมนตรีทราบดีว่าเป็นเรื่องที่ยาก แต่เห็นได้ว่า เอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่สามารถปฏิบัติภารกิจดังกล่าวได้เป็นอย่างดี สามารถทำให้ภาพพจน์ของประเทศไทยสายตาของต่างประเทศดีขึ้นอย่างมาก
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีขอให้เอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ช่วยชี้แจงถึงพัฒนาการทางการเมืองของไทยต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ล่าสุดที่ประชาชนได้ลงประชามติเห็นชอบต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งในขณะนี้ ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแล้ว และรัฐบาลจะจัดให้มีการเลือกตั้งทั่งไปภายในสิ้นปีนี้ โดยขณะนี้ รอเพียงขั้นตอนการยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่างๆ ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติเท่านั้น นอกจากนั้นแล้ว ขณะนี้ รัฐบาลยังคงยึดมั่นในแนวทางการแก้ไขปัญหาทางการเมืองภายในต่างๆ โดยยึดหลักการสมานฉันท์มาโดยตลอด
ในเบื้องต้น นายกรัฐมนตรีได้แจ้งให้เอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ถึงสิ่งที่รัฐบาลได้ทำตลอดระยะเวลา 8 เดือนที่ผ่านมา ตามที่ได้เรียนไว้ตั้งแต่แรก คือ การแก้ไขปัญหาทางการเมือง ซึ่งถือเป็นวิกฤตของประเทศ และเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องเข้ามารับช่วงเพื่อคลี่คลายปัญหาดังกล่าวให้มากที่สุด ประการที่สองคือ เรื่องของปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีความต่อเนื่องยาวนานและต้องใช้เวลาเพื่อแก้ไขสิ่งที่สะสมมายาวนาน โดยรัฐบาลได้น้อมนำแนวทางพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้ในการปัญหาในจังหวัดภาคใต้ อันได้แก่ “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา”
นอกจากนี้ ในการบริหารราชการทั่วไป รัฐบาลได้ใช้ยึดแนวทาง “4 ป” อันได้แก่ ประหยัด เป็นธรรม โปร่งใส และประสิทธิภาพ
สำหรับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศนั้น นายกรัฐมนตรีได้ชี้แจงว่า รัฐบาลให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศและได้มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องได้ให้ความสำคัญและดูแลภาพรวมอย่างใกล้ชิดโดยมีการประชุมร่วมกันกับนายกรัฐมนตรีทุกศุกร์ของแต่ละสัปดาห์เพื่อกำหนดนโยบายต่างๆที่สอดคล้องกับความจำเป็นและภาวการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างดีที่สุด โดยตัวเลขการส่งออกในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา การส่งออกขยายตัวถึง 18% และคาดว่า ตลอดปีการส่งออกจะขยายตัวอยู่ในระดับ 12% นอกจากนี้ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากเดิมที่ประมาณการไว้อยู่ระหว่าง 3.5-3.8% ล่าสุดได้มีการปรับการขยายตัวเป็น 4-4.5% อย่างไรก็ดี นายกรัฐมนตรี ตลอดจนผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องยังคงติดตามและให้ความสำคัญแก่เงินบาทที่แข็งค่าขึ้น อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังสามารถรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาทได้อยู่
ในด้านความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านนั้น นายกรัฐมนตรีเพิ่งเสร็จสิ้นจากการไปเยือนมาเลเซียและได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความร่วมมือระหว่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้แสดงความจริงใจในการร่วมกันแก้ปัญหาและไม่สนับสนุนกระบวนการแบ่งแยกความรุนแรง โดยมาเลเซียเห็นถึงความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและเห็นว่าต้องเร่งแก้ไขร่วมกัน โดยนายกรัฐมนตรีเสนอการนำหลัก 3Es อันได้แก่ Education Employment Entrepreneurship มาพัฒนาพื้นที่ในจังหวัดภาคใต้และบริเวณชายแดนไทย-มาเลเซีย
ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สิ่งที่รัฐบาลและกระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินการในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา ถือว่าประสบผลสำเร็จเป็นรูปธรรม การชี้แจงกับต่างประเทศได้รับผลอย่างดียิ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงประมาณ 4-5 เดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไป คือ การดำเนินการเร่งรัดความตกลงต่างๆที่ประเทศไทยได้ผูกพันธ์กับมิตรประเทศมีผลสัมฤทธิ์โดยเร็ว นอกจากนี้ ในส่วนของความสัมพันธ์พหุภาคีระหว่างไทยกับประเทศต่างๆนั้น นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงความสัมพันธ์อันใกล้ชิดมากขึ้นกับบรรดาประเทศอาเซียนอื่นๆ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีจะมีโอกาสพบกับผู้นำอาเซียน ในระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนและนายกรัฐมนตรีจะเดินทางไปร่วมประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 15 ที่นครซิดนีย์ ออสเตรเลีย ในเดือนกันยายน ศกนี้ โดยในระหว่างการประชุม นอกจากจะได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิกแล้ว ยังจะได้มีโอกาสหารือทวิภาคีกับผู้นำอื่นๆด้วย
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า รัฐบาลยังคงดำเนินหน้าต่อไป โดยใช้ รัฐธรรมนูญ 2550 ที่ได้รับการยอมรับจากประชาชน เป็นพื้นฐานในการดำเนินการต่อไป พร้อมกับพยายามบรรเทาความขัดแย้งต่างๆในประเทศให้ทุเลาลง โดยนายกรัฐมนตรีเห็นว่า บ้านเมืองมีความแตกต่างได้ แต่ไม่ควรแตกแยก ที่ผ่านมา รัฐบาลเคารพความคิดเห็นของแต่ละบุคคล แต่ละฝ่าย อย่างไรก็ดี การดำเนินการทุกอย่างจะต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นธรรม โดยรัฐบาลจะพยายามทำในสิ่งที่คนส่วนใหญ่ยอมรับ ซึ่งนั่นคือ แนวทางประชาธิปไตย ตามกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ต้องการให้เกิดความปรองดองและสามัคคีภายในชาติ เพราะความไม่เข้าใจกันเองนั้น ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางมากที่สุดแก่ความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติ รวมไปถึงผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและเศรษฐกิจของประเทศด้วย
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 09.00 น. ณ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีเดินทางไปยังวิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อเปิดการประชุมเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ของไทยทั่วโลก อันประกอบไปด้วยเอกอัครราชทูตไทยและกงสุลใหญ่ จำนวนทั้งสิ้น 93 คน ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรี และกล่าวเชิญนายกรัฐมนตรีกล่าวเปิดการประชุมและมอบนโยบายของรัฐบาลให้แก่เอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ของไทยเพื่อนำไปชี้แจงแก่ประเทศต่างๆ และให้เอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่นำไปปฏิบัติ โดยมีใจความสำคัญดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีที่ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมในวันนี้ เนื่องจากเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ที่ประจำการอยู่ทั่วโลก ถือเป็นผู้แทนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประจำประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ผ่านมา เอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่มีภารกิจสำคัญที่ต้องช่วยผลักดันวาระสำคัญด้านต่างประเทศคือการสร้างความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ของไทยในสายตาต่างประเทศ ตลอดระยะเวลา 8 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งนายกรัฐมนตรีทราบดีว่าเป็นเรื่องที่ยาก แต่เห็นได้ว่า เอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่สามารถปฏิบัติภารกิจดังกล่าวได้เป็นอย่างดี สามารถทำให้ภาพพจน์ของประเทศไทยสายตาของต่างประเทศดีขึ้นอย่างมาก
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีขอให้เอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ช่วยชี้แจงถึงพัฒนาการทางการเมืองของไทยต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ล่าสุดที่ประชาชนได้ลงประชามติเห็นชอบต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งในขณะนี้ ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแล้ว และรัฐบาลจะจัดให้มีการเลือกตั้งทั่งไปภายในสิ้นปีนี้ โดยขณะนี้ รอเพียงขั้นตอนการยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่างๆ ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติเท่านั้น นอกจากนั้นแล้ว ขณะนี้ รัฐบาลยังคงยึดมั่นในแนวทางการแก้ไขปัญหาทางการเมืองภายในต่างๆ โดยยึดหลักการสมานฉันท์มาโดยตลอด
ในเบื้องต้น นายกรัฐมนตรีได้แจ้งให้เอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ถึงสิ่งที่รัฐบาลได้ทำตลอดระยะเวลา 8 เดือนที่ผ่านมา ตามที่ได้เรียนไว้ตั้งแต่แรก คือ การแก้ไขปัญหาทางการเมือง ซึ่งถือเป็นวิกฤตของประเทศ และเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องเข้ามารับช่วงเพื่อคลี่คลายปัญหาดังกล่าวให้มากที่สุด ประการที่สองคือ เรื่องของปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีความต่อเนื่องยาวนานและต้องใช้เวลาเพื่อแก้ไขสิ่งที่สะสมมายาวนาน โดยรัฐบาลได้น้อมนำแนวทางพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้ในการปัญหาในจังหวัดภาคใต้ อันได้แก่ “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา”
นอกจากนี้ ในการบริหารราชการทั่วไป รัฐบาลได้ใช้ยึดแนวทาง “4 ป” อันได้แก่ ประหยัด เป็นธรรม โปร่งใส และประสิทธิภาพ
สำหรับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศนั้น นายกรัฐมนตรีได้ชี้แจงว่า รัฐบาลให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศและได้มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องได้ให้ความสำคัญและดูแลภาพรวมอย่างใกล้ชิดโดยมีการประชุมร่วมกันกับนายกรัฐมนตรีทุกศุกร์ของแต่ละสัปดาห์เพื่อกำหนดนโยบายต่างๆที่สอดคล้องกับความจำเป็นและภาวการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างดีที่สุด โดยตัวเลขการส่งออกในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา การส่งออกขยายตัวถึง 18% และคาดว่า ตลอดปีการส่งออกจะขยายตัวอยู่ในระดับ 12% นอกจากนี้ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากเดิมที่ประมาณการไว้อยู่ระหว่าง 3.5-3.8% ล่าสุดได้มีการปรับการขยายตัวเป็น 4-4.5% อย่างไรก็ดี นายกรัฐมนตรี ตลอดจนผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องยังคงติดตามและให้ความสำคัญแก่เงินบาทที่แข็งค่าขึ้น อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังสามารถรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาทได้อยู่
ในด้านความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านนั้น นายกรัฐมนตรีเพิ่งเสร็จสิ้นจากการไปเยือนมาเลเซียและได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความร่วมมือระหว่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้แสดงความจริงใจในการร่วมกันแก้ปัญหาและไม่สนับสนุนกระบวนการแบ่งแยกความรุนแรง โดยมาเลเซียเห็นถึงความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและเห็นว่าต้องเร่งแก้ไขร่วมกัน โดยนายกรัฐมนตรีเสนอการนำหลัก 3Es อันได้แก่ Education Employment Entrepreneurship มาพัฒนาพื้นที่ในจังหวัดภาคใต้และบริเวณชายแดนไทย-มาเลเซีย
ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สิ่งที่รัฐบาลและกระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินการในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา ถือว่าประสบผลสำเร็จเป็นรูปธรรม การชี้แจงกับต่างประเทศได้รับผลอย่างดียิ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงประมาณ 4-5 เดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไป คือ การดำเนินการเร่งรัดความตกลงต่างๆที่ประเทศไทยได้ผูกพันธ์กับมิตรประเทศมีผลสัมฤทธิ์โดยเร็ว นอกจากนี้ ในส่วนของความสัมพันธ์พหุภาคีระหว่างไทยกับประเทศต่างๆนั้น นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงความสัมพันธ์อันใกล้ชิดมากขึ้นกับบรรดาประเทศอาเซียนอื่นๆ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีจะมีโอกาสพบกับผู้นำอาเซียน ในระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนและนายกรัฐมนตรีจะเดินทางไปร่วมประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 15 ที่นครซิดนีย์ ออสเตรเลีย ในเดือนกันยายน ศกนี้ โดยในระหว่างการประชุม นอกจากจะได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิกแล้ว ยังจะได้มีโอกาสหารือทวิภาคีกับผู้นำอื่นๆด้วย
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า รัฐบาลยังคงดำเนินหน้าต่อไป โดยใช้ รัฐธรรมนูญ 2550 ที่ได้รับการยอมรับจากประชาชน เป็นพื้นฐานในการดำเนินการต่อไป พร้อมกับพยายามบรรเทาความขัดแย้งต่างๆในประเทศให้ทุเลาลง โดยนายกรัฐมนตรีเห็นว่า บ้านเมืองมีความแตกต่างได้ แต่ไม่ควรแตกแยก ที่ผ่านมา รัฐบาลเคารพความคิดเห็นของแต่ละบุคคล แต่ละฝ่าย อย่างไรก็ดี การดำเนินการทุกอย่างจะต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นธรรม โดยรัฐบาลจะพยายามทำในสิ่งที่คนส่วนใหญ่ยอมรับ ซึ่งนั่นคือ แนวทางประชาธิปไตย ตามกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ต้องการให้เกิดความปรองดองและสามัคคีภายในชาติ เพราะความไม่เข้าใจกันเองนั้น ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางมากที่สุดแก่ความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติ รวมไปถึงผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและเศรษฐกิจของประเทศด้วย
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--