แท็ก
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
สุรยุทธ์ จุลานนท์
สุขภัณฑ์กะรัต
ตึกสันติไมตรี
ทำเนียบรัฐบาล
วันนี้ เวลา 15.30 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาของกลุ่มสมัชชาคนจน (สคจ.) โดยมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) รัฐมนตรี/ปลัดกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมหารือกับตัวแทนกลุ่มสมัชชาคนจน จำนวน 30 คน เพื่อรับทราบความคืบหน้าและหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนในด้านต่าง ๆ ตามข้อเรียกร้องของกลุ่มประชาชน ซึ่งผลการประชุมสรุปสาระสำคัญดังนี้
ที่ประชุมรับทราบความเป็นมาและการดำเนินการตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีว่า สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2550 นายกรัฐมนตรีได้เดินทางไปราชการที่จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อประชุมและหารือเกี่ยวกับปัญหาข้อเรียกร้องของประชาชนในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและผู้แทนกลุ่มองค์กรต่าง ๆ เข้าร่วมประชุม และนายกรัฐมนตรีได้มีการสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแก้ไขปัญหาตามข้อเรียกร้องของประชาชนและกลุ่มองค์กรต่าง ๆ โดยมีสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่ประสานงานเพื่อให้กลุ่มสมัชชาคนจนได้มีการประชุมเจราจากับกระทรวงต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 8 กระทรวง จากผลการเจราจาปรากฏว่า มีกระทรวงที่ได้มีการประชุมและเจรจาแล้วจำนวน 4 กระทรวงได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่วนกระทรวงที่ส่งผู้แทนมาเจราจาแล้วแต่ยังไม่ได้ข้อยุติเนื่องจากกลุ่มสมัชชาคนจนยืนยันที่จะขอเจรจากับรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งมีจำนวน 4 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงพลังงาน กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงาน และกระทรวงการคลัง
สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ได้มีการเจรจากับกลุ่มสมัชชาคนจนและดำเนินการแก้ไขปัญหาจนได้ข้อยุติร่วมกันแล้ว มีจำนวน 16 ปัญหาดังนี้
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 11 ปัญหา ได้แก่ 1) ปัญหาเขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี 2) ปัญหาเขื่อนหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ 3) ปัญหาเขื่อนโป่งขุนเพชร จังหวัดชัยภูมิ 4) ปัญหาเขื่อนรับร่อ จังหวัดชุมพร 5) ปัญหาเขื่อนคลองกลาย จังหวัดนครศรีธรรมราช 6) ปัญหาเขื่อนราศีไศล จังหวัดยโสธร 8) ปัญหาหมู่บ้านป่าไม้แควระบมสียัด จังหวัดฉะเชิงเทรา 9) ปัญหาที่ดิน ส.ป.ก. ในโครงการฟื้นฟูพื้นที่ภาคใต้ที่ประสบวาตภัยจากพายุใต้ฝุ่นเกย์ ทันที่ดินในเขต ส.ป.ก. ของราษฎร จังหวัดชุมพร 10) การขอให้ ส.ป.ก. ทบทวนบันทึกข้อตกลง วันที่ 14 กันยายน 2538 ระหว่าง ส.ป.ก.กับกรมป่าไม้ 11) ปัญหาด้านเกษตรกรรมทางเลือก
กระทรวงมหาดไทย จำนวน 5 ปัญหา ได้แก่ 1) ปัญหาที่สาธารณประโยชน์ “ป่าโคกน้อย” จังหวัดเพชรบูรณ์ 2) ปัญหาที่สาธารณประโยชน์ “โคกหนองกุง” จังหวัดกาฬสินธุ์ 3)ปัญหาที่สาธารณประโยชน์ “โคกป่าเป้า” จังหวัดกาฬสินธุ์ 4)ปัญหาที่สาธารณประโยชน์ “โคกหนองโพธิ์ จังหวัดลพบุรี 5) ปัญหากรณีทางราชการเรียกเก็บ ส.ค.1 เพื่อออกโฉนดที่ดินตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนปีงบประมาณ 2546และไม่สามารถดำเนินการออกโฉนดที่ดินได้
พร้อมกันนี้ที่ประชุมได้มีการพิจารณาปัญหาที่ได้มีการเจรจากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว แต่ยังไม่ได้ข้อยุติ เนื่องจากกลุ่มสมัชชาคนจนยืนยันที่จะขอเจรจากับรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งมี 5 ปัญหาดังนี้ 1) ปัญหาเขื่อนปากมูล จังหวัดอุบลราชธานี 2) ปัญหาโรงไฟฟ้าลำตะคลองแบบสูบกลับ จังหวัดนครราชสีมา 3) ปัญหาผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง 4) ปัญหาเครือข่ายผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย
5) ปัญหาที่ราชพัสดุหนองน้ำขุ่น จังหวัดขอนแก่น ซึ่งมติที่ประชุมได้ขอให้มีการหารือกับกระทรวงที่เกี่ยวข้องอีกครั้งเพื่อหาข้อสรุปที่แน่นอน โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ด้วย
สำหรับปัญหาที่ได้มีการเจรจาแล้วนั้น ทางกลุ่มสมัชชาคนจนขอทราบความคืบหน้าของการแก้ปัญหาหรืออาจจะไม่เป็นไปตามผลของการเจรจา จำนวน 3 ปัญหาดังนี้ 1) ปัญหาประมงพื้นบ้าน นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าจะพยายามแก้ไขปัญหานี้ให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายนนี้ 2) ปัญหาเขื่อนที่ยังไม่ได้ดำเนินการก่อสร้าง 5 เขื่อน จะนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณา 3) ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับป่าไม้-ที่ดิน ที่ประชุมได้มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่รับผิดชอบในเรื่องนี้หารือกับตัวแทนกลุ่มราษฎรที่เดือดร้อนเพื่อหาข้อยุติอีกครั้ง
ส่วนปัญหาที่มีการเจรจาแล้ว และขอให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้พิจารณาสั่งการมี 4 ปัญหาดังนี้ 1) ปัญหาที่สาธารณประโยชน์ “ดอนหลักดำ” จังหวัดขอนแก่น ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้มีการปฏิรูปที่ดิน 2) ปัญหาที่สาธารณประโยชน์ “โนนหนองลาด” จังหวัดขอนแก่น นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้มีการปฏิรูปที่ดิน และทำความเข้าใจกับกลุ่มราษฎรที่มีการคัดค้าน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน 3) พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้าม อ.ปากน้ำโพ อ.พยุหะคีรี อ.โกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ.2479 นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้นำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณา เพื่อให้ได้ขอยุติ และ 4) ปัญหาโครงการฝายห้วยละห้า ต.นาตาล จังหวัดอุบลราชธานีที่ขอค่าเสียโอกาสจากการไม่ได้ทำประโยชน์ในที่ดินจำนวน 3 ราย นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้กระทรวงมหาดไทยนำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา
ตอนท้ายของการประชุม นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงการหารือในครั้งนี้ว่า นับเป็นสิ่งที่ดี เพราะรัฐบาลต้องการแก้ไขปัญหาโดยเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุด และเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชน พร้อมกล่าวว่าจะได้มีการหารือในลักษณะเช่นนี้อีกประมาณ 2-3 ครั้งก่อนสิ้นเดือนกันยายน เพื่อติดตามความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนได้บรรเทาความเดือดร้อนและมีชีวิตที่ดีขึ้น
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
ที่ประชุมรับทราบความเป็นมาและการดำเนินการตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีว่า สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2550 นายกรัฐมนตรีได้เดินทางไปราชการที่จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อประชุมและหารือเกี่ยวกับปัญหาข้อเรียกร้องของประชาชนในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและผู้แทนกลุ่มองค์กรต่าง ๆ เข้าร่วมประชุม และนายกรัฐมนตรีได้มีการสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแก้ไขปัญหาตามข้อเรียกร้องของประชาชนและกลุ่มองค์กรต่าง ๆ โดยมีสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่ประสานงานเพื่อให้กลุ่มสมัชชาคนจนได้มีการประชุมเจราจากับกระทรวงต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 8 กระทรวง จากผลการเจราจาปรากฏว่า มีกระทรวงที่ได้มีการประชุมและเจรจาแล้วจำนวน 4 กระทรวงได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่วนกระทรวงที่ส่งผู้แทนมาเจราจาแล้วแต่ยังไม่ได้ข้อยุติเนื่องจากกลุ่มสมัชชาคนจนยืนยันที่จะขอเจรจากับรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งมีจำนวน 4 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงพลังงาน กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงาน และกระทรวงการคลัง
สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ได้มีการเจรจากับกลุ่มสมัชชาคนจนและดำเนินการแก้ไขปัญหาจนได้ข้อยุติร่วมกันแล้ว มีจำนวน 16 ปัญหาดังนี้
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 11 ปัญหา ได้แก่ 1) ปัญหาเขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี 2) ปัญหาเขื่อนหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ 3) ปัญหาเขื่อนโป่งขุนเพชร จังหวัดชัยภูมิ 4) ปัญหาเขื่อนรับร่อ จังหวัดชุมพร 5) ปัญหาเขื่อนคลองกลาย จังหวัดนครศรีธรรมราช 6) ปัญหาเขื่อนราศีไศล จังหวัดยโสธร 8) ปัญหาหมู่บ้านป่าไม้แควระบมสียัด จังหวัดฉะเชิงเทรา 9) ปัญหาที่ดิน ส.ป.ก. ในโครงการฟื้นฟูพื้นที่ภาคใต้ที่ประสบวาตภัยจากพายุใต้ฝุ่นเกย์ ทันที่ดินในเขต ส.ป.ก. ของราษฎร จังหวัดชุมพร 10) การขอให้ ส.ป.ก. ทบทวนบันทึกข้อตกลง วันที่ 14 กันยายน 2538 ระหว่าง ส.ป.ก.กับกรมป่าไม้ 11) ปัญหาด้านเกษตรกรรมทางเลือก
กระทรวงมหาดไทย จำนวน 5 ปัญหา ได้แก่ 1) ปัญหาที่สาธารณประโยชน์ “ป่าโคกน้อย” จังหวัดเพชรบูรณ์ 2) ปัญหาที่สาธารณประโยชน์ “โคกหนองกุง” จังหวัดกาฬสินธุ์ 3)ปัญหาที่สาธารณประโยชน์ “โคกป่าเป้า” จังหวัดกาฬสินธุ์ 4)ปัญหาที่สาธารณประโยชน์ “โคกหนองโพธิ์ จังหวัดลพบุรี 5) ปัญหากรณีทางราชการเรียกเก็บ ส.ค.1 เพื่อออกโฉนดที่ดินตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนปีงบประมาณ 2546และไม่สามารถดำเนินการออกโฉนดที่ดินได้
พร้อมกันนี้ที่ประชุมได้มีการพิจารณาปัญหาที่ได้มีการเจรจากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว แต่ยังไม่ได้ข้อยุติ เนื่องจากกลุ่มสมัชชาคนจนยืนยันที่จะขอเจรจากับรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งมี 5 ปัญหาดังนี้ 1) ปัญหาเขื่อนปากมูล จังหวัดอุบลราชธานี 2) ปัญหาโรงไฟฟ้าลำตะคลองแบบสูบกลับ จังหวัดนครราชสีมา 3) ปัญหาผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง 4) ปัญหาเครือข่ายผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย
5) ปัญหาที่ราชพัสดุหนองน้ำขุ่น จังหวัดขอนแก่น ซึ่งมติที่ประชุมได้ขอให้มีการหารือกับกระทรวงที่เกี่ยวข้องอีกครั้งเพื่อหาข้อสรุปที่แน่นอน โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ด้วย
สำหรับปัญหาที่ได้มีการเจรจาแล้วนั้น ทางกลุ่มสมัชชาคนจนขอทราบความคืบหน้าของการแก้ปัญหาหรืออาจจะไม่เป็นไปตามผลของการเจรจา จำนวน 3 ปัญหาดังนี้ 1) ปัญหาประมงพื้นบ้าน นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าจะพยายามแก้ไขปัญหานี้ให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายนนี้ 2) ปัญหาเขื่อนที่ยังไม่ได้ดำเนินการก่อสร้าง 5 เขื่อน จะนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณา 3) ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับป่าไม้-ที่ดิน ที่ประชุมได้มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่รับผิดชอบในเรื่องนี้หารือกับตัวแทนกลุ่มราษฎรที่เดือดร้อนเพื่อหาข้อยุติอีกครั้ง
ส่วนปัญหาที่มีการเจรจาแล้ว และขอให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้พิจารณาสั่งการมี 4 ปัญหาดังนี้ 1) ปัญหาที่สาธารณประโยชน์ “ดอนหลักดำ” จังหวัดขอนแก่น ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้มีการปฏิรูปที่ดิน 2) ปัญหาที่สาธารณประโยชน์ “โนนหนองลาด” จังหวัดขอนแก่น นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้มีการปฏิรูปที่ดิน และทำความเข้าใจกับกลุ่มราษฎรที่มีการคัดค้าน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน 3) พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้าม อ.ปากน้ำโพ อ.พยุหะคีรี อ.โกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ.2479 นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้นำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณา เพื่อให้ได้ขอยุติ และ 4) ปัญหาโครงการฝายห้วยละห้า ต.นาตาล จังหวัดอุบลราชธานีที่ขอค่าเสียโอกาสจากการไม่ได้ทำประโยชน์ในที่ดินจำนวน 3 ราย นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้กระทรวงมหาดไทยนำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา
ตอนท้ายของการประชุม นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงการหารือในครั้งนี้ว่า นับเป็นสิ่งที่ดี เพราะรัฐบาลต้องการแก้ไขปัญหาโดยเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุด และเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชน พร้อมกล่าวว่าจะได้มีการหารือในลักษณะเช่นนี้อีกประมาณ 2-3 ครั้งก่อนสิ้นเดือนกันยายน เพื่อติดตามความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนได้บรรเทาความเดือดร้อนและมีชีวิตที่ดีขึ้น
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--