วันนี้ ที่ทำเนียบรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงผลการหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซียเมื่อวานนี้ (28 มิ.ย.) ว่า ไม่ได้มีการหารือกันถึงความคืบหน้าการเจรจากับกลุ่มแกนนำผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะได้หารือกับนายกรัฐมนตรีมาเลเซียไปเมื่อ 2-3 เดือนที่ผ่านมา เป็นเรื่องที่ทางเจ้าหน้าที่ทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายมาเลเซียได้ทำงานกันอย่างต่อเนื่อง และในช่วง 3 วันที่ผ่านมาได้มีการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-มาเลเซีย (JC)ในระดับเจ้าหน้าที่ และวันเดียวกันนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซียจะประชุมร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย เพื่อให้ได้ข้อยุติก่อนที่จะไปร่วมประชุมกับนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ที่ประเทศมาเลเซียในเดือนสิงหาคมนี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถือว่ามีส่วนที่จะทำให้เกิดความเข้าใจในการทำงานร่วมกัน โดยเน้นใน 3 เรื่องคือ เรื่องการศึกษา การจ้างงาน และการสร้างอาชีพ ที่ผ่านมาได้ดำเนินการและมีความคืบหน้าไปแล้ว เช่น เรื่องที่มาเลเซียต้องการจะวางท่อน้ำมันขนานคู่กับท่อแก๊สมาที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ซึ่งจะมีการดำเนินการกันต่อไป ก็ถือถือได้ว่ามีความคืบหน้าในหลาย ๆ ด้าน
ผู้สื่อข่าวถามว่า การหารือเกี่ยวข้องกับข่าวที่ระบุว่า 24 คนไทยใน 130 คนที่หลบไปมาเลเซียจะขอเดินทางกลับประเทศไทยหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า แนวทางของประเทศไทย ถ้าหากเป็นคนไทยและต้องการจะกลับมา เราก็พร้อมที่จะรับอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม แต่หากไม่สมัครใจ เราคงไม่บังคับในส่วนนั้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในการพูดคุยกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซียได้หารือถึงกรณีที่แกนนำกลุ่มก่อความไม่สงบของไทยหลบเข้าไปในมาเลเซียบ้างหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยังไม่ได้คุยกันในรายละเอียด เป็นเรื่องระดับเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีทั้งสำนักข่าวกรองแห่งชาติของทั้งสองประเทศ ทั้งนี้ มาเลเซียได้แสดงออกถึงความร่วมมืออย่างเต็มที่ เห็นได้จากที่มาเลเซียระบุว่าปัญหาทางภาคใต้เป็นปัญหาที่มีผลกระทบร่วมกัน ก็ต้องช่วยกันแก้ไขปัญหา แม้จะถือว่าเป็นปัญหาภายในของไทย แต่ผลกระทบนั้นสะท้อนไปที่มาเลเซียด้วย เนื่องจากความผูกพันในเรื่องของเชื้อชาติ ซึ่งเป็นเรื่องที่ได้พูดกันชัดเจนว่า ไทยและมาเลเซียคงต้องร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหานี้ นั่นเป็นสิ่งที่แสดงออกถึงความจริงใจ และมีอีกหลาย ๆ ส่วนที่เราจะดำเนินการต่อไปในโอกาสข้างหน้า ก็เป็นเรื่องที่จะขยายผลจากการความร่วมมือดังกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ปัญหาเรื่องบุคคลสองสัญชาติยังหาข้อยุติไม่ได้จะแก้อย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องนี้รวมอยู่ในประเด็นความร่วมมือด้านการจัดหางาน รวมทั้งการให้การศึกษา การหางาน และการสร้างอาชีพ โดยจะต้องตกลงให้ได้ว่าจะเลือกถือสัญชาติใด และต้องมีทางที่จะทำให้บัตรประจำตัวประชาชนสามารถตรวจสอบได้อย่างแน่นอน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทำไมรัฐบาลจึงใช้นโยบายตั้งรับจนทำให้ยังเกิดเหตุการณ์รุนแรงอย่างต่อเนื่อง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นโยบายของรัฐบาลคงไม่ได้ตั้งรับ แต่เป็นนโยบายเชิงรุกในทางความคิด ซึ่งผู้ก่อความไม่สงบก็คิดตาม ถึงได้มีการตอบโต้เราด้วยความรุนแรง แต่วิธีการดังกล่าวยิ่งจะทำให้เขามีพื้นที่ในการทำงานแคบลง
ผู้สื่อข่าวถามว่า แต่ทางฝ่ายรัฐเสียหายมากขึ้น ถึงขนาดมีการเผา อบต. และอาจถึงขั้นที่จะเข้ายึดพื้นที่เมื่อไรก็ได้ จะแก้ไขอย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงไม่ได้เป็นอย่างนั้น การแสดงออกของกลุ่มก่อความไม่สงบกับการที่จะเข้ามายึด เป็นคนละเรื่องกัน และยิ่งกลุ่มก่อความไม่สงบทำรุนแรงมากเท่าไร พื้นที่ที่ในการทำงานก็ยิ่งน้อยลง และเราได้จับกุมผู้ที่มีชื่อหรืออยู่ในข่ายผู้ต้องสงสัยได้จำนวนมาก ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่ กลุ่มก่อความไม่สงบจึงจำเป็นต้องตอบโต้ และยิ่งตอบโต้ก็จะต้องถูกบีบรัดด้วยการร่วมมือของประชาชน คงไม่มีใครที่สนับสนุนการใช้ความรุนแรง ผู้นำทางศาสนาที่มาเยือนไทยก็พูดชัดเจนว่าในศาสนาอิสลามไม่มีการใช้ความรุนแรง ดังนั้น อย่ามาอ้างในเรื่องของศาสนา
“ทุกคนต้องช่วยกัน ทุกอย่างขึ้นอยู่กับความร่วมมือของทุก ๆ ฝ่าย ส่วนสถานการณ์จะดีขึ้นเมื่อไรขึ้นอยู่กับการดำเนินการต่าง ๆ ในภาพรวม คือไม่ได้มองในส่วนใดส่วนหนึ่ง เพราะความร่วมมือที่เกิดขึ้นนี้ต้องร่วมกันทุก ๆ ฝ่าย ทั้งประชาชน ผู้ที่ก่อความรุนแรง ต้องหันมาพูดจากัน” นายกรัฐมนตรีกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ก่อนหมดอายุของรัฐบาลชุดปัจจุบัน จะสามารถแก้ปัญหาภาคใต้ได้อย่างเป็นรูปธรรมหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เคยพูดตั้งแต่ต้นแล้วว่าปัญหาในเรื่องความขัดแย้งทางความคิดเป็นเรื่องที่จะต้องใช้เวลา และเป็นเรื่องที่ยาก เพราะฉะนั้นคงไม่ได้จบสิ้นง่าย ๆ และไม่แน่ใจว่าจะสามารถจบสิ้นภายในรัฐบาลนี้ได้หรือไม่ แต่เป็นสิ่งที่เราจะต้องพยายามแก้ไขปัญหากันต่อไป เพราะถ้าหากเราท้อแท้คงไม่สามารถจะแก้ไขปัญหาได้ ดังนั้น เราต้องเดินหน้าที่จะแก้ไขปัญหาของเราต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
ผู้สื่อข่าวถามว่า การหารือเกี่ยวข้องกับข่าวที่ระบุว่า 24 คนไทยใน 130 คนที่หลบไปมาเลเซียจะขอเดินทางกลับประเทศไทยหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า แนวทางของประเทศไทย ถ้าหากเป็นคนไทยและต้องการจะกลับมา เราก็พร้อมที่จะรับอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม แต่หากไม่สมัครใจ เราคงไม่บังคับในส่วนนั้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในการพูดคุยกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซียได้หารือถึงกรณีที่แกนนำกลุ่มก่อความไม่สงบของไทยหลบเข้าไปในมาเลเซียบ้างหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยังไม่ได้คุยกันในรายละเอียด เป็นเรื่องระดับเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีทั้งสำนักข่าวกรองแห่งชาติของทั้งสองประเทศ ทั้งนี้ มาเลเซียได้แสดงออกถึงความร่วมมืออย่างเต็มที่ เห็นได้จากที่มาเลเซียระบุว่าปัญหาทางภาคใต้เป็นปัญหาที่มีผลกระทบร่วมกัน ก็ต้องช่วยกันแก้ไขปัญหา แม้จะถือว่าเป็นปัญหาภายในของไทย แต่ผลกระทบนั้นสะท้อนไปที่มาเลเซียด้วย เนื่องจากความผูกพันในเรื่องของเชื้อชาติ ซึ่งเป็นเรื่องที่ได้พูดกันชัดเจนว่า ไทยและมาเลเซียคงต้องร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหานี้ นั่นเป็นสิ่งที่แสดงออกถึงความจริงใจ และมีอีกหลาย ๆ ส่วนที่เราจะดำเนินการต่อไปในโอกาสข้างหน้า ก็เป็นเรื่องที่จะขยายผลจากการความร่วมมือดังกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ปัญหาเรื่องบุคคลสองสัญชาติยังหาข้อยุติไม่ได้จะแก้อย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องนี้รวมอยู่ในประเด็นความร่วมมือด้านการจัดหางาน รวมทั้งการให้การศึกษา การหางาน และการสร้างอาชีพ โดยจะต้องตกลงให้ได้ว่าจะเลือกถือสัญชาติใด และต้องมีทางที่จะทำให้บัตรประจำตัวประชาชนสามารถตรวจสอบได้อย่างแน่นอน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทำไมรัฐบาลจึงใช้นโยบายตั้งรับจนทำให้ยังเกิดเหตุการณ์รุนแรงอย่างต่อเนื่อง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นโยบายของรัฐบาลคงไม่ได้ตั้งรับ แต่เป็นนโยบายเชิงรุกในทางความคิด ซึ่งผู้ก่อความไม่สงบก็คิดตาม ถึงได้มีการตอบโต้เราด้วยความรุนแรง แต่วิธีการดังกล่าวยิ่งจะทำให้เขามีพื้นที่ในการทำงานแคบลง
ผู้สื่อข่าวถามว่า แต่ทางฝ่ายรัฐเสียหายมากขึ้น ถึงขนาดมีการเผา อบต. และอาจถึงขั้นที่จะเข้ายึดพื้นที่เมื่อไรก็ได้ จะแก้ไขอย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงไม่ได้เป็นอย่างนั้น การแสดงออกของกลุ่มก่อความไม่สงบกับการที่จะเข้ามายึด เป็นคนละเรื่องกัน และยิ่งกลุ่มก่อความไม่สงบทำรุนแรงมากเท่าไร พื้นที่ที่ในการทำงานก็ยิ่งน้อยลง และเราได้จับกุมผู้ที่มีชื่อหรืออยู่ในข่ายผู้ต้องสงสัยได้จำนวนมาก ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่ กลุ่มก่อความไม่สงบจึงจำเป็นต้องตอบโต้ และยิ่งตอบโต้ก็จะต้องถูกบีบรัดด้วยการร่วมมือของประชาชน คงไม่มีใครที่สนับสนุนการใช้ความรุนแรง ผู้นำทางศาสนาที่มาเยือนไทยก็พูดชัดเจนว่าในศาสนาอิสลามไม่มีการใช้ความรุนแรง ดังนั้น อย่ามาอ้างในเรื่องของศาสนา
“ทุกคนต้องช่วยกัน ทุกอย่างขึ้นอยู่กับความร่วมมือของทุก ๆ ฝ่าย ส่วนสถานการณ์จะดีขึ้นเมื่อไรขึ้นอยู่กับการดำเนินการต่าง ๆ ในภาพรวม คือไม่ได้มองในส่วนใดส่วนหนึ่ง เพราะความร่วมมือที่เกิดขึ้นนี้ต้องร่วมกันทุก ๆ ฝ่าย ทั้งประชาชน ผู้ที่ก่อความรุนแรง ต้องหันมาพูดจากัน” นายกรัฐมนตรีกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ก่อนหมดอายุของรัฐบาลชุดปัจจุบัน จะสามารถแก้ปัญหาภาคใต้ได้อย่างเป็นรูปธรรมหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เคยพูดตั้งแต่ต้นแล้วว่าปัญหาในเรื่องความขัดแย้งทางความคิดเป็นเรื่องที่จะต้องใช้เวลา และเป็นเรื่องที่ยาก เพราะฉะนั้นคงไม่ได้จบสิ้นง่าย ๆ และไม่แน่ใจว่าจะสามารถจบสิ้นภายในรัฐบาลนี้ได้หรือไม่ แต่เป็นสิ่งที่เราจะต้องพยายามแก้ไขปัญหากันต่อไป เพราะถ้าหากเราท้อแท้คงไม่สามารถจะแก้ไขปัญหาได้ ดังนั้น เราต้องเดินหน้าที่จะแก้ไขปัญหาของเราต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--