แท็ก
อิมแพ็ค เมืองทองธานี
สุรยุทธ์ จุลานนท์
กระทรวงศึกษาธิการ
จังหวัดนนทบุรี
นายกรัฐมนตรี
โรงแรมคอนราด
วันนี้ เวลา 09.00 น. ณ ห้องแกรนด์ ไดมอนด์ บอลรูม อาคารอิมแพ็ค คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ (อาคาร 9) ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “มหกรรมนักอ่าน” ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับส่วนราชการต่างๆ ภาครัฐ สมาคม มูลนิธิ และศูนย์หนังสือต่างๆ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13 — 17 มิถุนายน 2550 เพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ด้วยการส่งเสริมเด็กและเยาวชนให้มีนิสัยรักการอ่าน ซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานสำคัญในการแสวงหาความรู้อันจะนำไปพัฒนาตนเองทางสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
นายวิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์สำคัญในการจัดงานมหกรรมนักอ่านมี 3 ประการ ดังนี้ 1) เพื่อปลูกฝังและสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เด็กและเยาวชนมีนิสัยเป็น นักอ่าน 2) เพื่อเสริมสร้างพัฒนาทักษะครูบรรณารักษ์ ครูผู้สอน เกี่ยวกับการบริหารจัดการและการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในห้องสมุด 3) เพื่อกระตุ้นให้เด็กและเยาวชนเป็นนักอ่านอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
ทั้งนี้ งานมหกรรมนักอ่านประกอบด้วย 7 กิจกรรมหลัก ได้แก่ 1) นิทรรศการกระทรวงศึกษาธิการ ประกอบด้วย นิทรรศการพระมหากษัตริย์นักพัฒนา “อัครศิลปิน” ด้านวรรณศิลป์ นิทรรศการเจ้าฟ้านักอ่าน “วิศิษฏศิลปิน” ด้านการอ่าน นิทรรศการกระทรวงศึกษาธิการ พระราชกรณียกิจ ด้านการศึกษาของพระมหากษัตริย์นักพัฒนา และเจ้าฟ้านักอ่าน 2) เมืองห้องสมุดสมัยใหม่ จำลองห้องสมุด ตามลักษณะบุคคล 7 แบบ ได้แก่ คนวัยเรียน คนรักเรียน คนชอบอ่าน คนรอบรู้เรื่องเงินทอง คนสร้างสรรค์ คนรักคุณ(ธรรม) และคนวัยใส 3) เมืองไอที นิทรรศการการอ่านและการเรียนรู้จากเทคโนโลยีสารสนเทศ 5 ส่วนหลัก ประกอบด้วย e-learning การสาธิตบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ e-library แสดงระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ Edutainment เกมส์เพื่อการศึกษา Network Technology แสดงเทคโนโลยีระบบเครือข่าย UniNet Network และ Hilight สุดยอดเว็บไซต์เพื่อการศึกษา 4) เมืองนักอ่าน นิทรรศการรูปแบบชุมชน นักอ่าน ที่ผสมผสานกันระหว่างสังคมชนบท และสังคมเมือง ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย มุม R - Radio Network ลานบ้านนิทานไทย บ้านนักอ่าน มุมหนังสือเรียน สถานีท่องเที่ยว สถานที่ทำงาน มุมหนังสือหายาก มุมหนังสือแนะนำ 5) เวทีกิจกรรม เป็นการแสดงศักยภาพการอ่านของเด็กและเยาวชน ในลักษณะการประกวดแข่งขันทักษะการอ่าน การพูด การเล่าเรื่อง เพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนาความคิด พัฒนาอาชีพ และพัฒนาคุณภาพชีวิต 6) การอบรมสัมมนา แก่ครูบรรณารักษ์ ครูผู้สอน ผู้ปกครองและบุคคลทั่วไป เพื่อร่วมปลูกฝังและเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านแก่เด็ก เยาวชน และบุตรหลานเริ่มตั้งแต่วัยเยาว์ 7) จำหน่ายหนังสือราคาประหยัด ทั้งจากภาครัฐ และภาคเอกชน
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีที่ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดงานมหกรรมนักอ่านในวันนี้ เนื่องจากการรักการอ่านเป็นดัชนีที่บ่งบอกถึงศักยภาพคนไทยได้ประการหนึ่ง และเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีการปลูกฝังกันตั้งแต่เยาว์วัย ซึ่งการส่งเสริมเด็กและเยาวชนไทยให้มีนิสัยรักการอ่านและเป็นนักอ่าน จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดองค์ความรู้ การรับรู้ข่าวสารต่างๆ ที่ทันต่อเหตุการณ์ และการสร้างภูมิคุ้มกันตนเองของแต่ละบุคคล สำหรับนำไปปรับใช้ประกอบการตัดสินใจ การแก้ไขปัญหา และการพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้มีความมั่นคงและยั่งยืน สืบต่อไปในอนาคต
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นแบบอย่างที่ดีควรค่าแก่การยกย่องสูงสุด พระองค์ทรงมีพระจริยาวัตรและพระอุปนิสัยเป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชนชาวไทยในการเป็นพหูสูต กล่าวคือ ทรงเป็นทั้งนักอ่าน นักฟัง นักคิด และนักเขียนที่ยากจะหาผู้ใดเสมอเหมือน และ ได้ทรงใช้ประโยชน์ จากการที่ทรงอ่านมาก ฟังมาก มาประกอบการพระราชวินิจฉัยพัฒนางานตามพระราชภารกิจของพระองค์ ก่อให้เกิดผลดีทั้งต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและการพัฒนาประเทศ
ในปัจจุบันนี้สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ทักษะการอ่านและการสื่อสารถือเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งที่จะทำให้คนในชาติอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข สันติ และความสมานฉันท์ เพราะการตัดสินใจบนพื้นฐานจากข้อมูลมากนั้นย่อมมีโอกาสที่จะผิดพลาดน้อย
การสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ช่วงปี พ.ศ. 2546 - 2548 ที่ผ่านมา พบว่าพฤติกรรม การอ่านหนังสือของประชากรไทยในภาพรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.9 และพบว่ากลุ่มวัยเด็กอ่านหนังสือมากที่สุด ร้อยละ 87.7 รองลงมาเป็นกลุ่มวัยรุ่น ร้อยละ 83.1 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเด็กๆ และเยาวชนมีพฤติกรรมการอ่านหนังสือสูงกว่ากลุ่มวัยอื่น ดังนั้น รัฐบาลจึงสนับสนุนการดำเนินการในเรื่องเหล่านี้ต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อให้เป็น ส่วนหนึ่งของการยกระดับมาตรฐานการศึกษาของเด็กและเยาวชนไทย ที่จักเติบใหญ่เป็นประชากรไทยที่มีศักยภาพท่ามกลางสังคม แห่งความหลากหลายและการเรียนรู้สืบต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
นายวิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์สำคัญในการจัดงานมหกรรมนักอ่านมี 3 ประการ ดังนี้ 1) เพื่อปลูกฝังและสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เด็กและเยาวชนมีนิสัยเป็น นักอ่าน 2) เพื่อเสริมสร้างพัฒนาทักษะครูบรรณารักษ์ ครูผู้สอน เกี่ยวกับการบริหารจัดการและการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในห้องสมุด 3) เพื่อกระตุ้นให้เด็กและเยาวชนเป็นนักอ่านอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
ทั้งนี้ งานมหกรรมนักอ่านประกอบด้วย 7 กิจกรรมหลัก ได้แก่ 1) นิทรรศการกระทรวงศึกษาธิการ ประกอบด้วย นิทรรศการพระมหากษัตริย์นักพัฒนา “อัครศิลปิน” ด้านวรรณศิลป์ นิทรรศการเจ้าฟ้านักอ่าน “วิศิษฏศิลปิน” ด้านการอ่าน นิทรรศการกระทรวงศึกษาธิการ พระราชกรณียกิจ ด้านการศึกษาของพระมหากษัตริย์นักพัฒนา และเจ้าฟ้านักอ่าน 2) เมืองห้องสมุดสมัยใหม่ จำลองห้องสมุด ตามลักษณะบุคคล 7 แบบ ได้แก่ คนวัยเรียน คนรักเรียน คนชอบอ่าน คนรอบรู้เรื่องเงินทอง คนสร้างสรรค์ คนรักคุณ(ธรรม) และคนวัยใส 3) เมืองไอที นิทรรศการการอ่านและการเรียนรู้จากเทคโนโลยีสารสนเทศ 5 ส่วนหลัก ประกอบด้วย e-learning การสาธิตบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ e-library แสดงระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ Edutainment เกมส์เพื่อการศึกษา Network Technology แสดงเทคโนโลยีระบบเครือข่าย UniNet Network และ Hilight สุดยอดเว็บไซต์เพื่อการศึกษา 4) เมืองนักอ่าน นิทรรศการรูปแบบชุมชน นักอ่าน ที่ผสมผสานกันระหว่างสังคมชนบท และสังคมเมือง ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย มุม R - Radio Network ลานบ้านนิทานไทย บ้านนักอ่าน มุมหนังสือเรียน สถานีท่องเที่ยว สถานที่ทำงาน มุมหนังสือหายาก มุมหนังสือแนะนำ 5) เวทีกิจกรรม เป็นการแสดงศักยภาพการอ่านของเด็กและเยาวชน ในลักษณะการประกวดแข่งขันทักษะการอ่าน การพูด การเล่าเรื่อง เพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนาความคิด พัฒนาอาชีพ และพัฒนาคุณภาพชีวิต 6) การอบรมสัมมนา แก่ครูบรรณารักษ์ ครูผู้สอน ผู้ปกครองและบุคคลทั่วไป เพื่อร่วมปลูกฝังและเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านแก่เด็ก เยาวชน และบุตรหลานเริ่มตั้งแต่วัยเยาว์ 7) จำหน่ายหนังสือราคาประหยัด ทั้งจากภาครัฐ และภาคเอกชน
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีที่ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดงานมหกรรมนักอ่านในวันนี้ เนื่องจากการรักการอ่านเป็นดัชนีที่บ่งบอกถึงศักยภาพคนไทยได้ประการหนึ่ง และเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีการปลูกฝังกันตั้งแต่เยาว์วัย ซึ่งการส่งเสริมเด็กและเยาวชนไทยให้มีนิสัยรักการอ่านและเป็นนักอ่าน จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดองค์ความรู้ การรับรู้ข่าวสารต่างๆ ที่ทันต่อเหตุการณ์ และการสร้างภูมิคุ้มกันตนเองของแต่ละบุคคล สำหรับนำไปปรับใช้ประกอบการตัดสินใจ การแก้ไขปัญหา และการพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้มีความมั่นคงและยั่งยืน สืบต่อไปในอนาคต
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นแบบอย่างที่ดีควรค่าแก่การยกย่องสูงสุด พระองค์ทรงมีพระจริยาวัตรและพระอุปนิสัยเป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชนชาวไทยในการเป็นพหูสูต กล่าวคือ ทรงเป็นทั้งนักอ่าน นักฟัง นักคิด และนักเขียนที่ยากจะหาผู้ใดเสมอเหมือน และ ได้ทรงใช้ประโยชน์ จากการที่ทรงอ่านมาก ฟังมาก มาประกอบการพระราชวินิจฉัยพัฒนางานตามพระราชภารกิจของพระองค์ ก่อให้เกิดผลดีทั้งต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและการพัฒนาประเทศ
ในปัจจุบันนี้สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ทักษะการอ่านและการสื่อสารถือเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งที่จะทำให้คนในชาติอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข สันติ และความสมานฉันท์ เพราะการตัดสินใจบนพื้นฐานจากข้อมูลมากนั้นย่อมมีโอกาสที่จะผิดพลาดน้อย
การสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ช่วงปี พ.ศ. 2546 - 2548 ที่ผ่านมา พบว่าพฤติกรรม การอ่านหนังสือของประชากรไทยในภาพรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.9 และพบว่ากลุ่มวัยเด็กอ่านหนังสือมากที่สุด ร้อยละ 87.7 รองลงมาเป็นกลุ่มวัยรุ่น ร้อยละ 83.1 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเด็กๆ และเยาวชนมีพฤติกรรมการอ่านหนังสือสูงกว่ากลุ่มวัยอื่น ดังนั้น รัฐบาลจึงสนับสนุนการดำเนินการในเรื่องเหล่านี้ต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อให้เป็น ส่วนหนึ่งของการยกระดับมาตรฐานการศึกษาของเด็กและเยาวชนไทย ที่จักเติบใหญ่เป็นประชากรไทยที่มีศักยภาพท่ามกลางสังคม แห่งความหลากหลายและการเรียนรู้สืบต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--