วันนี้ เวลา 10.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น ณ ห้อง Salon โรงแรม อิมพีเรียล Mr. Yasuo Hayashi ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ Jetro เข้าเยี่ยมคารวะพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี และได้มีการหารือร่วมกัน โดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ JETRO กล่าวแสดงความยินดีต่อการลงนามในความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย — ญี่ปุ่น หรือ JTEPA และเชื่อว่าจะก่อให้เกิดความร่วมมือต่างๆ จากความสัมพันธ์ไทย — ญี่ปุ่นในเชิงลึก ทั้งนี้ JETRO เป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญและเกี่ยวข้องกับการเจรจาและจัดทำ JTEPA เนื่องจากองค์กรฯมีโครงการสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับ การพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์ โครงการครัวไทยสู่ครัวโลก และโครงการต่างๆอีกหลายโครงการ โดยหวังว่าจะได้พัฒนาในรายละเอียดหลังจากนี้ต่อไป อย่างไรก็ดี ประธาน JETRO ได้แสดงความห่วงใยเกี่ยวกับการแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เนื่องจาก ไทยมีความสำคัญต่อบริษัทญี่ปุ่นอย่างมาก และนักลงทุนญี่ปุ่นเห็นว่า การนำ พระราชบัญญัติฯดังกล่าวมาบังคับใช้ จะเป็นการยากต่อการปฏิบัติและดำเนินการ
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงจุดประสงค์ของการเดินทางเยือนญี่ปุ่นในครั้งนี้ว่า เพื่อมุ่งกระชับความสัมพันธ์ไทยและญี่ปุ่น โดยเฉพาะในเรื่องความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ และไทยพร้อมที่จะร่วมทำงานอย่างใกล้ชิดต่อไป ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวให้ความมั่นใจต่อประธาน JETRO เรื่องร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจคนต่างด้าว ว่าเป็นเพียงการอุดช่องโหว่ ซึ่งจะไม่กระทบต่อการดำเนินธุรกิจของนักลงทุน และนักธุรกิจญี่ปุ่น อีกทั้ง ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการหารือ และมิได้มีเจตนาที่จะสร้างความยุ่งยากให้แก่มิตรประเทศ
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงการลงนามใน JTEPA ว่าเป็นหลักฐานที่สำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศ
จากนั้น เวลา 12.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น นายฟุจิโอะ มิตาไร ประธานสมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น (Nippon Keidanren) ได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันแก่พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีและคณะ ในโอกาสเดินทางมาเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 2- 5 เมษายน ศกนี้ ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวสุนทรพจน์แก่สมาชิกสมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่นและคณะกรรมการเศรษฐกิจและการค้าไทย-ญี่ปุ่น สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงการเยือนญี่ปุ่นในครั้งนี้ว่า ถือเป็นครั้งแรกในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และได้พบปะกับบุคคลระดับสูงทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ซึ่งทุกคนต่างเข้าใจสถานการณ์ของไทยเป็นอย่างดี และในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีอาเบะ ยังบรรลุความสำเร็จในการ ลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) หลังจากที่ได้มีการเจรจายาวนานเกือบ 5 ปี โดยความร่วมมือในลักษณะหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจนั้น ครอบคลุม กว้างไกลกว่าเขตการค้าเสรีทั่วไป และทั้งสองฝ่ายจะได้ประโยชน์ร่วมกัน โดยประโยชน์ที่ไทยจะได้รับ คือ ด้านการเกษตร และอุตสาหกรรม อัญมณี สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน ขณะเดียวกันญี่ปุ่นจะได้รับประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรมเหล็ก รถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ดังนั้น รัฐบาลทั้งสองจึงได้ตัดสินใจเดินหน้าให้มีการลงนามโดยให้ผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและให้ความมั่นใจแก่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
นายกรัฐมนตรียังเปิดเผยว่า สำหรับประเด็นที่ติดขัด โดยเฉพาะการแก้ไขความกังวลเรื่องขยะพิษและสิทธิบัตรจุลชีพ ก็ได้รับการสนองตอบจากรัฐบาลญี่ปุ่นเป็นอย่างดี ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น จึงถือได้ว่าเป็นความตกลงที่ดีและสมบูรณ์ที่สุดที่ไทยเคยทำมา และในโอกาสที่ทั้งสองประเทศจะได้ฉลอง 120 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตในปีนี้ ไทยและญี่ปุ่นจะได้เดินหน้าความร่วมมือทางเศรษฐกิจให้พัฒนาก้าวหน้าร่วมกันต่อไป
นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวยืนยันว่า รัฐบาลไทยยึดมั่นในการค้าและระบบเศรษฐกิจแบบเสรี และ การลงนาม JTEPA นี้ เป็นการส่งสัญญาณในเชิงนโยบายอย่างชัดเจนว่า ไทยไม่ถอยหลังในเรื่องเศรษฐกิจเสรีนิยม พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวเชิญชวนภาคเอกชนและนักธุรกิจญี่ปุ่น ขยายฐานการค้าและการลงทุนในไทย โดยรัฐบาลไทยพร้อมให้คำมั่นจะดูแลธุรกิจญี่ปุ่นกว่า 6,000 บริษัท และชุมชนญี่ปุ่นกว่า 40,000 คน อย่างเต็มที่และด้วยความโปร่งใส
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ JETRO กล่าวแสดงความยินดีต่อการลงนามในความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย — ญี่ปุ่น หรือ JTEPA และเชื่อว่าจะก่อให้เกิดความร่วมมือต่างๆ จากความสัมพันธ์ไทย — ญี่ปุ่นในเชิงลึก ทั้งนี้ JETRO เป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญและเกี่ยวข้องกับการเจรจาและจัดทำ JTEPA เนื่องจากองค์กรฯมีโครงการสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับ การพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์ โครงการครัวไทยสู่ครัวโลก และโครงการต่างๆอีกหลายโครงการ โดยหวังว่าจะได้พัฒนาในรายละเอียดหลังจากนี้ต่อไป อย่างไรก็ดี ประธาน JETRO ได้แสดงความห่วงใยเกี่ยวกับการแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เนื่องจาก ไทยมีความสำคัญต่อบริษัทญี่ปุ่นอย่างมาก และนักลงทุนญี่ปุ่นเห็นว่า การนำ พระราชบัญญัติฯดังกล่าวมาบังคับใช้ จะเป็นการยากต่อการปฏิบัติและดำเนินการ
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงจุดประสงค์ของการเดินทางเยือนญี่ปุ่นในครั้งนี้ว่า เพื่อมุ่งกระชับความสัมพันธ์ไทยและญี่ปุ่น โดยเฉพาะในเรื่องความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ และไทยพร้อมที่จะร่วมทำงานอย่างใกล้ชิดต่อไป ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวให้ความมั่นใจต่อประธาน JETRO เรื่องร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจคนต่างด้าว ว่าเป็นเพียงการอุดช่องโหว่ ซึ่งจะไม่กระทบต่อการดำเนินธุรกิจของนักลงทุน และนักธุรกิจญี่ปุ่น อีกทั้ง ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการหารือ และมิได้มีเจตนาที่จะสร้างความยุ่งยากให้แก่มิตรประเทศ
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงการลงนามใน JTEPA ว่าเป็นหลักฐานที่สำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศ
จากนั้น เวลา 12.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น นายฟุจิโอะ มิตาไร ประธานสมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น (Nippon Keidanren) ได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันแก่พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีและคณะ ในโอกาสเดินทางมาเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 2- 5 เมษายน ศกนี้ ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวสุนทรพจน์แก่สมาชิกสมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่นและคณะกรรมการเศรษฐกิจและการค้าไทย-ญี่ปุ่น สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงการเยือนญี่ปุ่นในครั้งนี้ว่า ถือเป็นครั้งแรกในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และได้พบปะกับบุคคลระดับสูงทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ซึ่งทุกคนต่างเข้าใจสถานการณ์ของไทยเป็นอย่างดี และในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีอาเบะ ยังบรรลุความสำเร็จในการ ลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) หลังจากที่ได้มีการเจรจายาวนานเกือบ 5 ปี โดยความร่วมมือในลักษณะหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจนั้น ครอบคลุม กว้างไกลกว่าเขตการค้าเสรีทั่วไป และทั้งสองฝ่ายจะได้ประโยชน์ร่วมกัน โดยประโยชน์ที่ไทยจะได้รับ คือ ด้านการเกษตร และอุตสาหกรรม อัญมณี สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน ขณะเดียวกันญี่ปุ่นจะได้รับประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรมเหล็ก รถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ดังนั้น รัฐบาลทั้งสองจึงได้ตัดสินใจเดินหน้าให้มีการลงนามโดยให้ผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและให้ความมั่นใจแก่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
นายกรัฐมนตรียังเปิดเผยว่า สำหรับประเด็นที่ติดขัด โดยเฉพาะการแก้ไขความกังวลเรื่องขยะพิษและสิทธิบัตรจุลชีพ ก็ได้รับการสนองตอบจากรัฐบาลญี่ปุ่นเป็นอย่างดี ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น จึงถือได้ว่าเป็นความตกลงที่ดีและสมบูรณ์ที่สุดที่ไทยเคยทำมา และในโอกาสที่ทั้งสองประเทศจะได้ฉลอง 120 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตในปีนี้ ไทยและญี่ปุ่นจะได้เดินหน้าความร่วมมือทางเศรษฐกิจให้พัฒนาก้าวหน้าร่วมกันต่อไป
นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวยืนยันว่า รัฐบาลไทยยึดมั่นในการค้าและระบบเศรษฐกิจแบบเสรี และ การลงนาม JTEPA นี้ เป็นการส่งสัญญาณในเชิงนโยบายอย่างชัดเจนว่า ไทยไม่ถอยหลังในเรื่องเศรษฐกิจเสรีนิยม พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวเชิญชวนภาคเอกชนและนักธุรกิจญี่ปุ่น ขยายฐานการค้าและการลงทุนในไทย โดยรัฐบาลไทยพร้อมให้คำมั่นจะดูแลธุรกิจญี่ปุ่นกว่า 6,000 บริษัท และชุมชนญี่ปุ่นกว่า 40,000 คน อย่างเต็มที่และด้วยความโปร่งใส
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--