แท็ก
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
สุรยุทธ์ จุลานนท์
มหาวิทยาลัยบูรพา
กระทรวงกลาโหม
ทำเนียบรัฐบาล
นายกรัฐมนตรี
วันนี้ เวลา 10.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าการเจรจากับแกนนำกลุ่มก่อความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ว่า จนถึงขณะนี้ยังไม่มีเรื่องดังกล่าว ส่วนกรณีที่มีข่าวว่าทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมระบุว่ารู้ตัวแกนนำที่พร้อมเจรจากับทางรัฐบาลนั้น เป็นเรื่องของฝ่ายความมั่นคง และมองว่าการจะพูดคุยกันต้องเกิดจากความสมัครใจ ซึ่งจะนำไปสู่ความเข้าใจ แต่ถ้าเป็นลักษณะของการจับตัวหรือบังคับเพื่อมาพูดคุย ก็จะทำให้เกิดความเข้าใจที่ยากขึ้น และขณะนี้ยังไม่มีเงื่อนไขอะไรที่ฝ่ายกลุ่มก่อความไม่สงบยื่นมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเขตการปกครองพิเศษหรือเรื่องอื่นๆ เงื่อนไขของวันนี้คือการมาพูดคุยกันจะเป็นใครก็ได้ ขณะนี้ขอให้เข้ามาพูดจากันเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า แนวโน้มการแก้ไขปัญหาภาคใต้มีอะไรที่เป็นรูปธรรมบ้าง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า มีการประสานงานกันระหว่างไทยและมาเลเซีย และเย็นวันนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซียจะมาพบ ก็คงมีอะไรเพิ่มเติมจากทางมาเลเซีย ก่อนที่ตนเองจะเดินทางไปมาเลเซียในช่วงเดือนสิงหาคมนี้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ดูเหมือนกลุ่มก่อความไม่สงบพยายามสร้างความรุนแรงให้เกิดขึ้นเพื่อที่ประเทศมุสลิมจะได้สนใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยิ่งโชว์ความรุนแรงมาเท่าไรยิ่งเป็นผลร้ายกับเขาเอง เพราะศาสนาอิสลามเน้นเรื่องการไม่ทำร้ายผู้อื่นและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ยิ่งทำความรุนแรงมากเท่าไรก็ยิ่งทำให้มีปัญหามากขึ้นเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า นายอารีย์ วงศ์อารยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยระบุว่าทางเลขาธิการสันนิบาตมุสลิมโลกมีข้อเสนอพร้อมที่จะช่วยเจรจาทำความเข้าใจ ซึ่งหากมีการเสนอจริงจะพิจารณาอย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เราพร้อมที่จะรับฟัง เพราะเรายังไม่มีกรอบและเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น ใครที่มีศักยภาพต้องการที่จะเข้ามาช่วยเหลือ เรายินดีรับฟังทั้งสิ้น
ผู้สื่อข่าวถามถึงกระแสข่าวที่บริษัทปิโตรนาสของมาเลเซียรับนายสะแปอิง บาซอ แกนนำกลุ่มก่อความสงบเข้าเป็นผู้บริหาร จะกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยังไม่กระทบอะไรและคงไม่ต้องไปสืบข้อมูลดังกล่าว เพราะเราสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ และคงไม่ใช่เป็นเพราะมาเลเซียให้ความสำคัญกับนายสะแปอิง ต่อข้อถามว่า นายสะแปอิงฯ ถือเป็นผู้ต้องหาที่ทางการไทยออกหมายจับจะขอความร่วมมือกับทางการมาเลเซียหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ถ้านายสะแปอิงฯ อยู่ในมาเลเซียจริงก็จะดำเนินการตามนั้น
ต่อข้อถามถึงกระแสข่าวที่นายสะแปอิงฯ และนายมะแซ อุเซ็ง แกนนำกลุ่มก่อความไม่สงบ พร้อมเจรจากับทางการไทย โดยมีนายกรัฐมนตรีมาเลเซียเป็นคนกลาง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยังไม่ได้รับข้อมูลเรื่องนี้ ต้องรอให้คุยกับทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซียในบ่ายวันนี้ก่อน
นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึงความร่วมมือจากหลายๆฝ่ายเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่า ส่วนสำคัญคือการทำความเข้าใจกับประเทศมุสลิมว่าการดำเนินการแก้ไขปัญหาของเรายืนอยู่บนแนวทางสันติวิธี เน้นเรื่องการทำความเข้าใจ ซึ่งตรงกับหลักการของทุกศาสนาที่ไม่ใช้วิธีความรุนแรง ผู้นำทางศาสนาอิสลามที่เดินทางมาล่าสุด อย่างผู้นำสูงสุดทางศาสนาของอียิปต์ ก็มีความร่วมมือเรื่องของการเปิดคณะอิสลามศึกษาที่มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เพราะท่านเป็นอธิการบดีของมหาวิทยาลัย Al-Azhar ที่มีชื่อเสียงในประเทศอียิปต์ และมีนักเรียนไทยไปเรียนอยู่ถึง 2,500 คน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่เราอยากให้มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงมาเปิดคณะสอนในบ้านเรา เพื่อที่เยาวชนของเราจะได้ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปเรียนต่อในต่างประเทศ
ส่วนเลขาธิการสันนิบาตมุสลิมโลกที่มาเยือนไทย ถือว่ามีส่วนสำคัญเพราะสามารถที่จะช่วยเหลือเรื่องการให้ทุนการศึกษาจากประเทศมุสลิมต่างๆ ซึ่งคิดว่าจะเป็นประโยชน์ และได้เน้นว่าการแก้ไขปัญหาภาคใต้ของไทยในระยะยาวจริง ๆ คือในเรื่องของการศึกษา ประกอบด้วย การศึกษาที่ทำให้เกิดความรู้สามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้ มีรายได้เลี้ยงครอบครัวและมีความรู้ทางศาสนาที่ถูกต้อง ซึ่งทั้งสองท่านเห็นว่าน่าจะเป็นแนวทางในการสร้างความเข้าใจให้กับเยาวชนได้
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
ผู้สื่อข่าวถามว่า แนวโน้มการแก้ไขปัญหาภาคใต้มีอะไรที่เป็นรูปธรรมบ้าง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า มีการประสานงานกันระหว่างไทยและมาเลเซีย และเย็นวันนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซียจะมาพบ ก็คงมีอะไรเพิ่มเติมจากทางมาเลเซีย ก่อนที่ตนเองจะเดินทางไปมาเลเซียในช่วงเดือนสิงหาคมนี้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ดูเหมือนกลุ่มก่อความไม่สงบพยายามสร้างความรุนแรงให้เกิดขึ้นเพื่อที่ประเทศมุสลิมจะได้สนใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยิ่งโชว์ความรุนแรงมาเท่าไรยิ่งเป็นผลร้ายกับเขาเอง เพราะศาสนาอิสลามเน้นเรื่องการไม่ทำร้ายผู้อื่นและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ยิ่งทำความรุนแรงมากเท่าไรก็ยิ่งทำให้มีปัญหามากขึ้นเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า นายอารีย์ วงศ์อารยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยระบุว่าทางเลขาธิการสันนิบาตมุสลิมโลกมีข้อเสนอพร้อมที่จะช่วยเจรจาทำความเข้าใจ ซึ่งหากมีการเสนอจริงจะพิจารณาอย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เราพร้อมที่จะรับฟัง เพราะเรายังไม่มีกรอบและเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น ใครที่มีศักยภาพต้องการที่จะเข้ามาช่วยเหลือ เรายินดีรับฟังทั้งสิ้น
ผู้สื่อข่าวถามถึงกระแสข่าวที่บริษัทปิโตรนาสของมาเลเซียรับนายสะแปอิง บาซอ แกนนำกลุ่มก่อความสงบเข้าเป็นผู้บริหาร จะกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยังไม่กระทบอะไรและคงไม่ต้องไปสืบข้อมูลดังกล่าว เพราะเราสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ และคงไม่ใช่เป็นเพราะมาเลเซียให้ความสำคัญกับนายสะแปอิง ต่อข้อถามว่า นายสะแปอิงฯ ถือเป็นผู้ต้องหาที่ทางการไทยออกหมายจับจะขอความร่วมมือกับทางการมาเลเซียหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ถ้านายสะแปอิงฯ อยู่ในมาเลเซียจริงก็จะดำเนินการตามนั้น
ต่อข้อถามถึงกระแสข่าวที่นายสะแปอิงฯ และนายมะแซ อุเซ็ง แกนนำกลุ่มก่อความไม่สงบ พร้อมเจรจากับทางการไทย โดยมีนายกรัฐมนตรีมาเลเซียเป็นคนกลาง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยังไม่ได้รับข้อมูลเรื่องนี้ ต้องรอให้คุยกับทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซียในบ่ายวันนี้ก่อน
นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึงความร่วมมือจากหลายๆฝ่ายเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่า ส่วนสำคัญคือการทำความเข้าใจกับประเทศมุสลิมว่าการดำเนินการแก้ไขปัญหาของเรายืนอยู่บนแนวทางสันติวิธี เน้นเรื่องการทำความเข้าใจ ซึ่งตรงกับหลักการของทุกศาสนาที่ไม่ใช้วิธีความรุนแรง ผู้นำทางศาสนาอิสลามที่เดินทางมาล่าสุด อย่างผู้นำสูงสุดทางศาสนาของอียิปต์ ก็มีความร่วมมือเรื่องของการเปิดคณะอิสลามศึกษาที่มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เพราะท่านเป็นอธิการบดีของมหาวิทยาลัย Al-Azhar ที่มีชื่อเสียงในประเทศอียิปต์ และมีนักเรียนไทยไปเรียนอยู่ถึง 2,500 คน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่เราอยากให้มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงมาเปิดคณะสอนในบ้านเรา เพื่อที่เยาวชนของเราจะได้ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปเรียนต่อในต่างประเทศ
ส่วนเลขาธิการสันนิบาตมุสลิมโลกที่มาเยือนไทย ถือว่ามีส่วนสำคัญเพราะสามารถที่จะช่วยเหลือเรื่องการให้ทุนการศึกษาจากประเทศมุสลิมต่างๆ ซึ่งคิดว่าจะเป็นประโยชน์ และได้เน้นว่าการแก้ไขปัญหาภาคใต้ของไทยในระยะยาวจริง ๆ คือในเรื่องของการศึกษา ประกอบด้วย การศึกษาที่ทำให้เกิดความรู้สามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้ มีรายได้เลี้ยงครอบครัวและมีความรู้ทางศาสนาที่ถูกต้อง ซึ่งทั้งสองท่านเห็นว่าน่าจะเป็นแนวทางในการสร้างความเข้าใจให้กับเยาวชนได้
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--