แท็ก
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์
เกริกไกร จีระแพทย์
โรงแรมคอนราด
นายกรัฐมนตรี
อินเดีย
นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปเยือนอินเดียอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 25-27 มิ.ย. 2550 ตามคำเชิญของนาย Manmohan Singh นรม. อินเดีย โดยมีนายนิตย์ พิบูลสงคราม รมว.กต.นายเกริกไกร จีระแพทย์ รมว.พณ. และนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รมว.พลังงาน เข้าร่วมในคณะด้วย
การเยือนได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นและสมเกียรติ ถือเป็นการเยือนอย่างเป็นทางการที่สำคัญสำหรับฝ่ายอินเดีย บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ คือ การกระชับความสัมพันธ์กับอินเดีย ซึ่งเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ คู่ค้าและแหล่งลงทุนที่มีศักยภาพอย่างมากสำหรับไทย และมีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีในระดับโลก การเยือนครั้งนี้ยังเป็นการสานต่อความสัมพันธ์ระดับผู้นำสูงสุดเพื่อผลักดันและเร่งรัดประเด็นความร่วมมือทวิภาคีที่มีผลประโยชน์ต่อไทย โดยเฉพาะการจัดทำความตกลงการค้าเสรี ไทย-อินเดีย ความร่วมมือด้านการบิน รวมถึงความร่วมมือในระดับภูมิภาค อาทิ ในกรอบอาเซียน-อินเดีย BIMSTEC ความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-คงคา ซึ่งนโยบาย Look West ของไทย สอดคล้องกับนโยบาย Look East ของอินเดีย ในการเพิ่มความเชื่อมโยงระหว่างกัน (connectivity) เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้ภูมิภาคเอเชีย ทั้งนี้ การเยือนครั้งนี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมเนื่องจากประจวบเหมาะกับโอกาสครบรอบ 60 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-อินเดียในเดือนสิงหาคมนี้
ในวันที่ 26 มิ.ย. นายกรัฐมนตรี ได้พบหารือข้อราชการกับ นรม.อินเดีย และได้เข้าเยี่ยมคารวะนาย Abdul Kalam ประธานาธิบดีอินเดีย พร้อมทั้งได้พบปะกับบุคคลสำคัญของรัฐบาลอินเดีย ได้แก่ รมว.กต.อินเดีย รมว.พณ.อินเดีย รมว.พลังงานอินเดีย ผู้บริหารระดับสูงของสมาคมภาคเอกชนอินเดีย และในวันที่ 27 มิ.ย. ได้พบปะกับนาย Lal Krishna Advani ผู้นำฝ่ายค้านของอินเดียด้วย
นายกรัฐมนตรีได้ถือโอกาสการหารือกับผู้นำอินเดียในการอธิบายถึงความคืบหน้าในการฟื้นฟูประชาธิปไตยและการแก้ไขสถานการณ์ในภาคใต้ ซึ่งอินเดียได้แสดงความเข้าใจในสถานการณ์การเมืองของไทยเป็นอย่างดีและพร้อมให้ความสนับสนุน ทั้งนี้ ประธานาบดีอินเดียชื่นชมพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงอุทิศพระวรกายให้แก่การยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทย โดยผู้นำอินเดียพร้อมรับเสด็จฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในเดือนสิงหาคม ศกนี้ เพื่อทรงเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการโขนไทยสู่แดนรามายณะ นอกจากนี้ ประธานาธิบดีอินเดียซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงยังได้อธิบายถึงแนวคิดของตนในเรื่องการพัฒนาชุมชน และในเรื่องเอกราชด้านพลังงาน (energy independence) เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ครอบคลุมถึงการพัฒนาพลังงานแสงแดด พลังงานนิวเคลียร์ และพลังงานชีวภาพ นับว่าเป็นแนวคิดที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
ในส่วนของความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ทั้งสองฝ่ายยินดีที่การค้าขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากและคาดว่าจะบรรลุเป้าหมาย 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2550 นี้ โดยมีการตั้งความหวังที่จะขยายถึง 7 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2553 ในการนี้ สองฝ่ายเห็นพ้องที่จะเร่งรัดการเจรจา FTA ไทย-อินเดียให้แล้วเสร็จภายในปี 2550 ซึ่งรวมถึงการผ่อนปรนเรื่องหลักเกณฑ์การพิจารณาแหล่งกำเนิดสินค้าของอินเดียในด้านการลงทุน สองฝ่ายผลักดันให้มีการขยายการลงทุนระหว่างกันโดยอินเดียเชื้อเชิญให้ภาคเอกชนไทยลงทุนด้านการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยว โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียซึ่งกำลังได้รับการพัฒนาให้เป็นประตูของอินเดียสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมผู้นำนักธุรกิจอินเดีย-ไทย โดยกล่าวถึงศักยภาพ ด้านการค้าและการลงทุนระหว่างไทยและอินเดีย และย้ำถึงความสนใจของไทยที่จะร่วมมือกับอินเดียในด้าน IT และการผลิตยา และความพร้อมของภาคเอกชนไทยที่จะลงทุนในอินเดียมากขึ้น โดยในเวลาเดียวกันรัฐบาลไทยจะดูแลบรรยากาศการลงทุนให้แก่นักลงทุนจากอินเดีย ในการนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวเปิดโครงการ Roadshow ของไทยเพื่อขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุน ตามเมืองสำคัญต่างๆ ของอินเดีย
ในส่วนของการกระชับความร่วมมือทวิภาคีในด้านอื่นๆ ได้แก่ ด้านความมั่นคง การบิน ประมง และวัฒนธรรมนั้น มีผลดังนี้ ในด้านการบิน ไทยขอให้อินเดียเพิ่มเที่ยวบินในเส้นทางกรุงเทพฯ -นิวเดลี และกรุงเทพฯ-มุมไบ เพื่อรองรับการขยายตัวของผู้โดยสาร และขอให้ภาคเอกชนและภาครัฐของสองฝ่ายพิจารณารูปแบบการลงทุนร่วมด้านประมงที่เหมาะสม ซึ่งฝ่ายอินเดียเห็นชอบให้มีการหารือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสองฝ่ายต่อไป ในด้านความมั่นคง สองฝ่ายย้ำความสำคัญของความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้ายและปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติในทุกระดับ ซึ่งนายกรัฐมนตรีอินเดียขอบคุณสำหรับบทบาทของไทยในเรื่องนี้ ในด้านวัฒนธรรม ฝ่ายไทยยินดีที่อินเดียจะจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมอินเดีย และศูนย์สันสกฤตศึกษาในไทยเพื่อเชื่อมโยงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่ลึกซึ้งระหว่างสองประเทศ
ในการเยือนครั้งนี้ นรม. สองฝ่ายได้ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงานหมุนเวียนระหว่างกระทรวงพลังงานไทยและกระทรวงพลังงานใหม่และพลังงานหมุนเวียนอินเดีย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวิจัยและพัฒนาพลังงานหมุนเวียนของไทย และแผนปฏิบัติการว่าด้วยการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างไทย-อินเดีย ประจำปี 2007-2009 เพื่อส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
การเยือนได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นและสมเกียรติ ถือเป็นการเยือนอย่างเป็นทางการที่สำคัญสำหรับฝ่ายอินเดีย บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ คือ การกระชับความสัมพันธ์กับอินเดีย ซึ่งเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ คู่ค้าและแหล่งลงทุนที่มีศักยภาพอย่างมากสำหรับไทย และมีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีในระดับโลก การเยือนครั้งนี้ยังเป็นการสานต่อความสัมพันธ์ระดับผู้นำสูงสุดเพื่อผลักดันและเร่งรัดประเด็นความร่วมมือทวิภาคีที่มีผลประโยชน์ต่อไทย โดยเฉพาะการจัดทำความตกลงการค้าเสรี ไทย-อินเดีย ความร่วมมือด้านการบิน รวมถึงความร่วมมือในระดับภูมิภาค อาทิ ในกรอบอาเซียน-อินเดีย BIMSTEC ความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-คงคา ซึ่งนโยบาย Look West ของไทย สอดคล้องกับนโยบาย Look East ของอินเดีย ในการเพิ่มความเชื่อมโยงระหว่างกัน (connectivity) เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้ภูมิภาคเอเชีย ทั้งนี้ การเยือนครั้งนี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมเนื่องจากประจวบเหมาะกับโอกาสครบรอบ 60 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-อินเดียในเดือนสิงหาคมนี้
ในวันที่ 26 มิ.ย. นายกรัฐมนตรี ได้พบหารือข้อราชการกับ นรม.อินเดีย และได้เข้าเยี่ยมคารวะนาย Abdul Kalam ประธานาธิบดีอินเดีย พร้อมทั้งได้พบปะกับบุคคลสำคัญของรัฐบาลอินเดีย ได้แก่ รมว.กต.อินเดีย รมว.พณ.อินเดีย รมว.พลังงานอินเดีย ผู้บริหารระดับสูงของสมาคมภาคเอกชนอินเดีย และในวันที่ 27 มิ.ย. ได้พบปะกับนาย Lal Krishna Advani ผู้นำฝ่ายค้านของอินเดียด้วย
นายกรัฐมนตรีได้ถือโอกาสการหารือกับผู้นำอินเดียในการอธิบายถึงความคืบหน้าในการฟื้นฟูประชาธิปไตยและการแก้ไขสถานการณ์ในภาคใต้ ซึ่งอินเดียได้แสดงความเข้าใจในสถานการณ์การเมืองของไทยเป็นอย่างดีและพร้อมให้ความสนับสนุน ทั้งนี้ ประธานาบดีอินเดียชื่นชมพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงอุทิศพระวรกายให้แก่การยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทย โดยผู้นำอินเดียพร้อมรับเสด็จฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในเดือนสิงหาคม ศกนี้ เพื่อทรงเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการโขนไทยสู่แดนรามายณะ นอกจากนี้ ประธานาธิบดีอินเดียซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงยังได้อธิบายถึงแนวคิดของตนในเรื่องการพัฒนาชุมชน และในเรื่องเอกราชด้านพลังงาน (energy independence) เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ครอบคลุมถึงการพัฒนาพลังงานแสงแดด พลังงานนิวเคลียร์ และพลังงานชีวภาพ นับว่าเป็นแนวคิดที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
ในส่วนของความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ทั้งสองฝ่ายยินดีที่การค้าขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากและคาดว่าจะบรรลุเป้าหมาย 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2550 นี้ โดยมีการตั้งความหวังที่จะขยายถึง 7 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2553 ในการนี้ สองฝ่ายเห็นพ้องที่จะเร่งรัดการเจรจา FTA ไทย-อินเดียให้แล้วเสร็จภายในปี 2550 ซึ่งรวมถึงการผ่อนปรนเรื่องหลักเกณฑ์การพิจารณาแหล่งกำเนิดสินค้าของอินเดียในด้านการลงทุน สองฝ่ายผลักดันให้มีการขยายการลงทุนระหว่างกันโดยอินเดียเชื้อเชิญให้ภาคเอกชนไทยลงทุนด้านการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยว โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียซึ่งกำลังได้รับการพัฒนาให้เป็นประตูของอินเดียสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมผู้นำนักธุรกิจอินเดีย-ไทย โดยกล่าวถึงศักยภาพ ด้านการค้าและการลงทุนระหว่างไทยและอินเดีย และย้ำถึงความสนใจของไทยที่จะร่วมมือกับอินเดียในด้าน IT และการผลิตยา และความพร้อมของภาคเอกชนไทยที่จะลงทุนในอินเดียมากขึ้น โดยในเวลาเดียวกันรัฐบาลไทยจะดูแลบรรยากาศการลงทุนให้แก่นักลงทุนจากอินเดีย ในการนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวเปิดโครงการ Roadshow ของไทยเพื่อขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุน ตามเมืองสำคัญต่างๆ ของอินเดีย
ในส่วนของการกระชับความร่วมมือทวิภาคีในด้านอื่นๆ ได้แก่ ด้านความมั่นคง การบิน ประมง และวัฒนธรรมนั้น มีผลดังนี้ ในด้านการบิน ไทยขอให้อินเดียเพิ่มเที่ยวบินในเส้นทางกรุงเทพฯ -นิวเดลี และกรุงเทพฯ-มุมไบ เพื่อรองรับการขยายตัวของผู้โดยสาร และขอให้ภาคเอกชนและภาครัฐของสองฝ่ายพิจารณารูปแบบการลงทุนร่วมด้านประมงที่เหมาะสม ซึ่งฝ่ายอินเดียเห็นชอบให้มีการหารือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสองฝ่ายต่อไป ในด้านความมั่นคง สองฝ่ายย้ำความสำคัญของความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้ายและปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติในทุกระดับ ซึ่งนายกรัฐมนตรีอินเดียขอบคุณสำหรับบทบาทของไทยในเรื่องนี้ ในด้านวัฒนธรรม ฝ่ายไทยยินดีที่อินเดียจะจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมอินเดีย และศูนย์สันสกฤตศึกษาในไทยเพื่อเชื่อมโยงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่ลึกซึ้งระหว่างสองประเทศ
ในการเยือนครั้งนี้ นรม. สองฝ่ายได้ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงานหมุนเวียนระหว่างกระทรวงพลังงานไทยและกระทรวงพลังงานใหม่และพลังงานหมุนเวียนอินเดีย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวิจัยและพัฒนาพลังงานหมุนเวียนของไทย และแผนปฏิบัติการว่าด้วยการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างไทย-อินเดีย ประจำปี 2007-2009 เพื่อส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--