รัฐบาลกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ พร้อมอนุมัติงบประมาณเพื่อให้หน่วยงานของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ นำไปดำเนินการเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างจริงจัง
วันนี้ เวลา 09.30 น. พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุมสภาวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2550 พร้อมมอบนโยบายการวิจัยของประเทศต่อคณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งเป็นการประชุมครั้งที่ 16 นับตั้งแต่มีการตั้งสภาวิจัยแห่งชาติเมื่อปี พ.ศ.2502 โดยมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมด้วยโอกาสนี้นายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบายการวิจัยของประเทศว่า สภาวิจัยแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติเป็นองค์กรที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นที่รวมของผู้ทรงคุณวุฒิทุกสาขาวิชาการ มีหน้าที่เกี่ยวกับการทำวิจัยของประเทศแล้วเสนอแนะแนวนโยบายต่อคณะรัฐมนตรี อันประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างๆ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของสภาวิจัยแห่งชาติ
สภาวิจัยแห่งชาติได้รับการจัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2502 ซึ่งรัฐบาลในสมัยนั้นได้เล็งเห็นความสำคัญของการวิจัยว่า เป็นกระบวนการที่นำมาซึ่งปัญญา ความรู้แจ้งในปัญหา ข้อสงสัยต่างๆ ของมนุษย์ที่กำลังประสบอยู่ ประเทศต่างๆ ในโลกตะวันตกตระหนักถึงข้อเท็จจริงนี้ จึงอาศัยพลังอำนาจด้านการวิจัย แสวงหาความรู้ เพื่อเป็นเจ้าของความรู้ และใช้ความรู้ที่แสวงหามาได้ให้เป็นประโยชน์กับการพัฒนาประเทศทั้งในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี และความมั่นคงของชาติ จนประเทศเหล่านั้นกลายเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญของโลก ส่วนประเทศในแถบเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน ต่างให้ความสำคัญกับการวิจัย เพราะประจักษ์แล้วว่าการวิจัยเป็นสิ่งสำคัญ จึงรีบเร่งพัฒนาประเทศโดยอาศัยการวิจัย หรือการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ให้เป็นรากฐานในการพัฒนาทุกด้าน และในปัจจุบันประเทศเหล่านี้ก็เจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว
สำหรับประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการวิจัย ซึ่งแสดงให้เห็นในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องและทันต่อสภาวการณ์แห่งโลกไร้พรมแดน และโลกแห่งการแข่งขันด้วยความรู้ รัฐบาลนี้ได้กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ และได้อนุมัติงบประมาณเพื่อให้หน่วยงานของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ นำไปดำเนินการเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างจริงจัง
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สภาวิจัยแห่งชาติได้ดำเนินการตามเจตนารมณ์ของรัฐ คือเป็นองค์กรกลางของประเทศทางการวิจัย มององค์รวมของระบบวิจัย ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัย การส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย การประสานงานการวิจัย และการเป็นคลังความรู้ของประเทศ ซึ่งเป็นเหมือนร่มใหญ่ทางการวิจัย เพื่อกระจายแนวทางการวิจัยสู่หน่วยปฏิบัติในระดับกระทรวง สู่การปฏิบัติการวิจัย และการใช้ประโยชน์จากผลการวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศในทุกมิติ โดยให้ความ สำคัญกับการวิจัยทั้งในด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และด้านอื่นๆ ตามหลักการที่ว่า แนวทางการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะต้องมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กับแนวทางพัฒนาด้าน อื่น ๆ โดยเฉพาะการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งอุตสาหกรรมและการศึกษา อันจะส่งผลให้สามารถนำผลงานวิจัยไปใช้ในการพัฒนาประเทศ และแก้ไขปัญหา หาข้อยุติความขัดแย้งทางสังคมได้อย่างเหมาะสม กลมกลืนและมีประสิทธิภาพ
บทบาทของสภาวิจัยแห่งชาติ ซึ่งมีสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นหน่วยปฏิบัติ นับตั้งแต่มีพระราชบัญญัติสภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2502 ถึงปัจจุบัน มีความสำคัญยิ่งในการวางรากฐานสำคัญทางการวิจัยให้กับสังคมของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งหน่วยงานวิจัยหรือหน่วยวิชาการขึ้นจำนวนมาก เป็นแม่แบบในการพัฒนานักวิจัย การให้ทุนสนับสนุนการวิจัยทุกระดับ ประสานงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งเป็นคลังความรู้ทาง การวิจัยในทุกสาขาวิชาการของประเทศ และการทำงานของสภาวิจัยแห่งชาตินั้นมีเครือข่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศด้วยพร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า สภาวิจัยแห่งชาติควรทำหน้าที่เป็นองค์กรกลาง โดยกำหนดนโยบายยุทธศาสตร์การวิจัย รวมทั้งติดตามประเมินผล สร้างมาตรฐานการวิจัย ประสานงาน สนับสนุน และผลักดันการวิจัยของประเทศให้อยู่ในระดับที่สอดคล้องกับความก้าวหน้าของเรา และบริหารจัดการงานวิจัยให้ได้ผลสัมฤทธิ์ในการพัฒนาประเทศ ในขณะเดียวกันก็ต้องเป็นศูนย์กลางแห่งคลังความรู้ทางการวิจัยของประเทศให้ประเทศไทยก้าวหน้าเข้าสู่ความเป็นผู้นำต่อไป นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า “ปัจจุบันถ้าพูดถึงการแข่งขันแล้ว เราจำเป็นจะต้องอาศัยงานวิจัยที่จะทำให้มีนวัตกรรมต่าง ๆ ที่สามารถจะไปแข่งขันกับการแข่งขันในระดับโลกได้ ถ้าการทำงานอันนั้นก็จำเป็นจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีพันธกิจ มีการวิจัยที่ค่อนข้างจะชัดเจน ก้าวหน้าและทันสมัย เหมาะสมกับสภาพทั้งในประเทศและนอกประเทศอยู่เสมอ”
ในตอนท้ายนายกรัฐมนตรีหวังว่า กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ และผู้บริหารองค์กร จะสามารถทำหน้าที่ให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศ ด้วยการให้งานวิจัยนำการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และความเจริญเติบโตทางวัตถุของประเทศไปสู่ความสำเร็จและบรรลุเป้าหมายของการมีสังคมไทยที่เรียกว่า “บ้านเมืองอยู่เย็น เป็นสุข” บนวิถีทางของการเปลี่ยนแปลงของโลกได้อย่างแท้จริงต่อไป
จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้เป็นประธานการประชุมเพื่อรับทราบโครงสร้างนโยบายและแนวทางการวิจัยของชาติระยะยาว (10 ปี) ซึ่งเป็นภารกิจและหน้าที่หลักของสำนักงานคณะกรรมวิจัยแห่งชาติ และระบบวิจัยของประเทศและกลไกในการขับเคลื่อนอยู่ความสำเร็จ
สำหรับโครงการสร้างหลักการจัดการวิจัยที่เป็นวาระแห่งชาติ ประกอบด้วย 1)บทบาทภาครัฐร่วมเอกชน 2) เครื่องมือเชิงนโยบาย 3) กลไกเชิงสถาบัน 4) บริบททางการเมือง 5) องค์กรและการจัดการ 7) ความมีส่วนร่วมของชุมชนนักวิจัย และ 8) กลไกติดตามและประเมินความก้าวหน้าส่วนบทบาทและภารกิจในมิติใหม่ของ วช. คือการปรับบทบาทใหม่ โดยการกำกับการจัดการนโยบายการวิจัยของชาติระยะยาว ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญดังนี้ 1) การให้ความสำคัญกับการลงในการสื่อสารสาธารณะ 2) การกำหนดกรอบการดำเนินงานในเรื่องการให้ทุนสนับสนุนการวิจัยเพื่อวางภาพอนาคตของสังคมไทยในด้านต่าง ๆ อันจะเป็นแนวทางในการดำเนินความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อกำหนดเป็นเป้าหมายการพัฒนาระยะยาว (20 ปี) 3) การศึกษาเพื่อพัฒนาระบบวิจัยทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยคำนึงถึงการพัฒนากลุ่มบุคลากรทั้งภายในและภายนอกเพื่อศึกษาและทำความเข้าใจกับระบบวิจัยแห่งชาติ ทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยมุ่งเน้นสนับสนุนการวิจัยนโยบาย 4) การริเริ่มกำหนดวาระการวิจัยแห่งชาติ ซึ่งควรกำหนดบนพื้นฐานของความร่วมมือและร่วมคิดอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับการลงทุนการวิจัยต่อเนื่อง 10-20 ปี 5) การให้ความสำคัญกับการปรับกลไกการเชื่อมโยงกับนโยบายในระดับรัฐบาล คือ การส่งเสริมบทบาทและศักยภาพของสภาวิจัยแห่งชาติ โดยให้มีการจัดวางนโยบายการวิจัยระยะยาว เพื่อให้สามารถร่วมประสานภาคส่วนทั้งในภาครัฐ เอกชน และนานาประเทศ และสามารถจัดวางโครงสร้างในการระดมทรัพยากรร่วมเข้ามาใช้ในการดำเนินงานวิจัยที่มีพันธะสัญญาร่วมอย่างมั่นคงในกรอบเวลาที่ยาวกว่าที่ถูกกำหนดด้วยวาระปีงบประมาณในสถานการณ์ปัจจุบัน
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 09.30 น. พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุมสภาวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2550 พร้อมมอบนโยบายการวิจัยของประเทศต่อคณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งเป็นการประชุมครั้งที่ 16 นับตั้งแต่มีการตั้งสภาวิจัยแห่งชาติเมื่อปี พ.ศ.2502 โดยมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมด้วยโอกาสนี้นายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบายการวิจัยของประเทศว่า สภาวิจัยแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติเป็นองค์กรที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นที่รวมของผู้ทรงคุณวุฒิทุกสาขาวิชาการ มีหน้าที่เกี่ยวกับการทำวิจัยของประเทศแล้วเสนอแนะแนวนโยบายต่อคณะรัฐมนตรี อันประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างๆ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของสภาวิจัยแห่งชาติ
สภาวิจัยแห่งชาติได้รับการจัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2502 ซึ่งรัฐบาลในสมัยนั้นได้เล็งเห็นความสำคัญของการวิจัยว่า เป็นกระบวนการที่นำมาซึ่งปัญญา ความรู้แจ้งในปัญหา ข้อสงสัยต่างๆ ของมนุษย์ที่กำลังประสบอยู่ ประเทศต่างๆ ในโลกตะวันตกตระหนักถึงข้อเท็จจริงนี้ จึงอาศัยพลังอำนาจด้านการวิจัย แสวงหาความรู้ เพื่อเป็นเจ้าของความรู้ และใช้ความรู้ที่แสวงหามาได้ให้เป็นประโยชน์กับการพัฒนาประเทศทั้งในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี และความมั่นคงของชาติ จนประเทศเหล่านั้นกลายเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญของโลก ส่วนประเทศในแถบเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน ต่างให้ความสำคัญกับการวิจัย เพราะประจักษ์แล้วว่าการวิจัยเป็นสิ่งสำคัญ จึงรีบเร่งพัฒนาประเทศโดยอาศัยการวิจัย หรือการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ให้เป็นรากฐานในการพัฒนาทุกด้าน และในปัจจุบันประเทศเหล่านี้ก็เจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว
สำหรับประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการวิจัย ซึ่งแสดงให้เห็นในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องและทันต่อสภาวการณ์แห่งโลกไร้พรมแดน และโลกแห่งการแข่งขันด้วยความรู้ รัฐบาลนี้ได้กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ และได้อนุมัติงบประมาณเพื่อให้หน่วยงานของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ นำไปดำเนินการเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างจริงจัง
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สภาวิจัยแห่งชาติได้ดำเนินการตามเจตนารมณ์ของรัฐ คือเป็นองค์กรกลางของประเทศทางการวิจัย มององค์รวมของระบบวิจัย ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัย การส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย การประสานงานการวิจัย และการเป็นคลังความรู้ของประเทศ ซึ่งเป็นเหมือนร่มใหญ่ทางการวิจัย เพื่อกระจายแนวทางการวิจัยสู่หน่วยปฏิบัติในระดับกระทรวง สู่การปฏิบัติการวิจัย และการใช้ประโยชน์จากผลการวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศในทุกมิติ โดยให้ความ สำคัญกับการวิจัยทั้งในด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และด้านอื่นๆ ตามหลักการที่ว่า แนวทางการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะต้องมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กับแนวทางพัฒนาด้าน อื่น ๆ โดยเฉพาะการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งอุตสาหกรรมและการศึกษา อันจะส่งผลให้สามารถนำผลงานวิจัยไปใช้ในการพัฒนาประเทศ และแก้ไขปัญหา หาข้อยุติความขัดแย้งทางสังคมได้อย่างเหมาะสม กลมกลืนและมีประสิทธิภาพ
บทบาทของสภาวิจัยแห่งชาติ ซึ่งมีสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นหน่วยปฏิบัติ นับตั้งแต่มีพระราชบัญญัติสภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2502 ถึงปัจจุบัน มีความสำคัญยิ่งในการวางรากฐานสำคัญทางการวิจัยให้กับสังคมของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งหน่วยงานวิจัยหรือหน่วยวิชาการขึ้นจำนวนมาก เป็นแม่แบบในการพัฒนานักวิจัย การให้ทุนสนับสนุนการวิจัยทุกระดับ ประสานงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งเป็นคลังความรู้ทาง การวิจัยในทุกสาขาวิชาการของประเทศ และการทำงานของสภาวิจัยแห่งชาตินั้นมีเครือข่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศด้วยพร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า สภาวิจัยแห่งชาติควรทำหน้าที่เป็นองค์กรกลาง โดยกำหนดนโยบายยุทธศาสตร์การวิจัย รวมทั้งติดตามประเมินผล สร้างมาตรฐานการวิจัย ประสานงาน สนับสนุน และผลักดันการวิจัยของประเทศให้อยู่ในระดับที่สอดคล้องกับความก้าวหน้าของเรา และบริหารจัดการงานวิจัยให้ได้ผลสัมฤทธิ์ในการพัฒนาประเทศ ในขณะเดียวกันก็ต้องเป็นศูนย์กลางแห่งคลังความรู้ทางการวิจัยของประเทศให้ประเทศไทยก้าวหน้าเข้าสู่ความเป็นผู้นำต่อไป นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า “ปัจจุบันถ้าพูดถึงการแข่งขันแล้ว เราจำเป็นจะต้องอาศัยงานวิจัยที่จะทำให้มีนวัตกรรมต่าง ๆ ที่สามารถจะไปแข่งขันกับการแข่งขันในระดับโลกได้ ถ้าการทำงานอันนั้นก็จำเป็นจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีพันธกิจ มีการวิจัยที่ค่อนข้างจะชัดเจน ก้าวหน้าและทันสมัย เหมาะสมกับสภาพทั้งในประเทศและนอกประเทศอยู่เสมอ”
ในตอนท้ายนายกรัฐมนตรีหวังว่า กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ และผู้บริหารองค์กร จะสามารถทำหน้าที่ให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศ ด้วยการให้งานวิจัยนำการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และความเจริญเติบโตทางวัตถุของประเทศไปสู่ความสำเร็จและบรรลุเป้าหมายของการมีสังคมไทยที่เรียกว่า “บ้านเมืองอยู่เย็น เป็นสุข” บนวิถีทางของการเปลี่ยนแปลงของโลกได้อย่างแท้จริงต่อไป
จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้เป็นประธานการประชุมเพื่อรับทราบโครงสร้างนโยบายและแนวทางการวิจัยของชาติระยะยาว (10 ปี) ซึ่งเป็นภารกิจและหน้าที่หลักของสำนักงานคณะกรรมวิจัยแห่งชาติ และระบบวิจัยของประเทศและกลไกในการขับเคลื่อนอยู่ความสำเร็จ
สำหรับโครงการสร้างหลักการจัดการวิจัยที่เป็นวาระแห่งชาติ ประกอบด้วย 1)บทบาทภาครัฐร่วมเอกชน 2) เครื่องมือเชิงนโยบาย 3) กลไกเชิงสถาบัน 4) บริบททางการเมือง 5) องค์กรและการจัดการ 7) ความมีส่วนร่วมของชุมชนนักวิจัย และ 8) กลไกติดตามและประเมินความก้าวหน้าส่วนบทบาทและภารกิจในมิติใหม่ของ วช. คือการปรับบทบาทใหม่ โดยการกำกับการจัดการนโยบายการวิจัยของชาติระยะยาว ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญดังนี้ 1) การให้ความสำคัญกับการลงในการสื่อสารสาธารณะ 2) การกำหนดกรอบการดำเนินงานในเรื่องการให้ทุนสนับสนุนการวิจัยเพื่อวางภาพอนาคตของสังคมไทยในด้านต่าง ๆ อันจะเป็นแนวทางในการดำเนินความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อกำหนดเป็นเป้าหมายการพัฒนาระยะยาว (20 ปี) 3) การศึกษาเพื่อพัฒนาระบบวิจัยทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยคำนึงถึงการพัฒนากลุ่มบุคลากรทั้งภายในและภายนอกเพื่อศึกษาและทำความเข้าใจกับระบบวิจัยแห่งชาติ ทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยมุ่งเน้นสนับสนุนการวิจัยนโยบาย 4) การริเริ่มกำหนดวาระการวิจัยแห่งชาติ ซึ่งควรกำหนดบนพื้นฐานของความร่วมมือและร่วมคิดอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับการลงทุนการวิจัยต่อเนื่อง 10-20 ปี 5) การให้ความสำคัญกับการปรับกลไกการเชื่อมโยงกับนโยบายในระดับรัฐบาล คือ การส่งเสริมบทบาทและศักยภาพของสภาวิจัยแห่งชาติ โดยให้มีการจัดวางนโยบายการวิจัยระยะยาว เพื่อให้สามารถร่วมประสานภาคส่วนทั้งในภาครัฐ เอกชน และนานาประเทศ และสามารถจัดวางโครงสร้างในการระดมทรัพยากรร่วมเข้ามาใช้ในการดำเนินงานวิจัยที่มีพันธะสัญญาร่วมอย่างมั่นคงในกรอบเวลาที่ยาวกว่าที่ถูกกำหนดด้วยวาระปีงบประมาณในสถานการณ์ปัจจุบัน
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--