แท็ก
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
ยูนิวานิชน้ำมันปาล์ม
ตึกสันติไมตรี
ทำเนียบรัฐบาล
วันนี้ เวลา 10.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานเปิดการสัมมนาเรื่อง “ยุติธรรมชุมชน...หนทางสู่สังคมแห่งความเป็นธรรม” และแสดงปาฐกถาพิเศษเรื่อง “นโยบายรัฐบาลในการส่งเสริมการสร้างหลักนิติธรรมและความเป็นธรรมในสังคม” ซึ่งผู้เข้าร่วมสัมมนาประมาณ 500 คน ประกอบด้วยบุคคลจากหลากหลายสาขาวิชาชีพ ทั้งภาครัฐ เอกชน จัดโดย กระทรวงยุติธรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบและความสำเร็จในการสร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาครูปแบบยุติธรรมชุมชน การนำเสนอผลการศึกษาในเชิงวิชาการของการนำกระบวนการยุติธรรมทางเลือก และส่งเสริมการบูรณาการกับหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อสร้างสังคมให้มีความสงบสุข
นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้กล่าวรายงานว่า กระทรวงยุติธรรมมีเป้าหมายพัฒนาระบบงานยุติธรรมให้ประชาชนทั่วทุกพื้นที่ของประเทศสามารถเข้าถึงความยุติธรรมได้อย่างสะดวก รวดเร็ว เสมอภาคและเป็นธรรม จึงได้ดำเนินการพัฒนากระบวนการยุติธรรมภาคประชาชนควบคู่กับการพัฒนาระบบงานภาครัฐภายใต้ยุทธศาสตร์ “ยุติธรรมถ้วนหน้า ประชามีส่วนร่วม” (Justice for all, All for justice) โดยกำหนดแนวทางดำเนินงาน 3 แนวทาง คือ 1) การจัดตั้งสำนักงานยุติธรรมจังหวัดทั่วประเทศ 2) การจัดตั้งเครือข่ายยุติธรรมชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีบทบาทในการอำนวยความยุติธรรมในลักษณะหุ้นส่วนหรือเป็นพลังชุมชน 3) การสร้างความร่วมมือและการกระจายงานยุติธรรมสู่องค์การส่วนท้องถิ่นเกิดเป็นรูปแบบของ “ยุติธรรมชุมชน” หรือ Community Justice การจัดสัมมนาครั้งนี้ จึงเป็นเพียงการเริ่มต้นของการสร้างความเข้มแข็งในชุมชนและเสริมพลังให้ชุมชนมีพลังแห่งความเป็นธรรมและยุติธรรม รวมทั้งการบูรณาการกับหน่วยงานและแผนงานที่ดำเนินการไว้แล้ว อันจะนำไปสู่การขยายผลในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทยต่อไป
นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้กล่าวเปิดการสัมมนาว่า นโยบายสำคัญข้อหนึ่งของรัฐบาลคือ การสร้างสังคมแห่งความเป็นธรรมและความสมานฉันท์ ซึ่งที่ผ่านมาหลายฝ่ายได้มีความพยายามตลอดเวลา เช่นเดียวกับรัฐบาลที่มีแนวนโยบายชัดเจนในเรื่องของการส่งเสริมและสนับสนุนให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งความเป็นธรรมและความสมานฉันท์ การที่กระทรวงยุติธรรมได้มียุทธศาสตร์ “ยุติธรรมถ้วนหน้า ประชามีส่วนร่วม” เพราะเรื่องของความยุติธรรมนั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประชาชนทั้งหมด และประชาชนควรจะต้องมีบทบาทในการที่จะช่วยกันสร้างความยุติธรรม ซึ่งความหมายสำคัญของคำว่า “ความยุติธรรม” คือ ความยุติธรรมทางกฎหมาย และความยุติธรรมทางสังคม
รองนายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงสังคมที่พึงปรารถนาตามแนวคิดของ ดร. ป๋วย อึ้งภากรณ์ว่าต้องมี 4 องค์ประกอบที่สำคัญคือ 1) ความมีสมรรถนะ ต้องมีความสามารถ มีประสิทธิภาพ 2) ความมีเสรีภาพทางความคิดและการพูดที่ก่อให้เกิดความงอกงามและงดงามทางสังคม 3) ความยุติธรรมและความเป็นธรรมทั้งทางกฎหมายและทางสังคม 4) ความเมตตา กรุณา ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้นความยุติธรรมทั้งทางกฎหมายและทางสังคม จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก และต้องช่วยกันทำให้เกิดขึ้นด้วยพลังของประชาชนที่ผสมผสานกลมกลืนกันอย่างสอดคล้องต้องกัน จึงจะเรียกว่า “ความยุติธรรม” ซึ่งโยงไปถึงนโยบายของกระทรวงยุติธรรมที่ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิด “ศูนย์ยุติธรรมชุมชน” ซึ่งมีประมาณ 100 กว่าแห่ง และอีกประมาณ 48 แห่งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งถือเป็นความริเริ่มที่ดีของการนำนโยบายและหลักการสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง เพราะเรื่องความยุติธรรม ความเป็นธรรม และความสมานฉันท์ ถือเป็นปัจจัยที่นำไปสู่การมีชีวิตที่ดีขึ้นร่วมกันของคนในชุมชนและสังคม
พร้อมกันนี้ รองนายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึง “คลินิกความสันติยุติธรรม” ในระดับจังหวัดว่า ถึงเวลาแล้วที่หน่วยที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น กระทรวงยุติธรรม สถาบันพระปกเกล้า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จะต้องร่วมดำเนินการในเรื่องนี้เพื่อให้บังเกิดผลเป็นรูปธรรมไม่ว่าจะเป็นที่วัด หรือพื้นที่ในจังหวัดต่าง ๆ หลังจากที่ได้มีการระดมความคิด และวางแนวทางต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว เพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม ก่อให้เกิดความสมานฉันท์และเกิดความสันติร่วมกันในชุมชนและสังคมทั่วประเทศ โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้ร่วมกัน การจัดการความรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ที่ทำทั้งระหว่างจังหวัดและภายในจังหวัด
สำหรับการสัมมนาในภาคบ่าย จะเป็นการนำเสนอผลการศึกษาวิจัย 2 เรื่องคือ เรื่อง ”ยุติธรรมชุมชน : การเปิดพื้นที่ของชุมชนในการอำนวยความยุติธรรม และ “การแก้ไขผู้กระทำผิดในชุมชน : การศึกษาแนวคิดด้านการบูรณาการยุติธรรมชุมชนในการป้องกันอาชญากรรมและแก้ไขฟื้นฟูกระทำความผิด” นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงนิทรรศการชุด “ยุติธรรมชุมชน...หนทางสู่สังคมแห่งความเป็นธรรม” ตลอดทั้งวันอีกด้วย
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้กล่าวรายงานว่า กระทรวงยุติธรรมมีเป้าหมายพัฒนาระบบงานยุติธรรมให้ประชาชนทั่วทุกพื้นที่ของประเทศสามารถเข้าถึงความยุติธรรมได้อย่างสะดวก รวดเร็ว เสมอภาคและเป็นธรรม จึงได้ดำเนินการพัฒนากระบวนการยุติธรรมภาคประชาชนควบคู่กับการพัฒนาระบบงานภาครัฐภายใต้ยุทธศาสตร์ “ยุติธรรมถ้วนหน้า ประชามีส่วนร่วม” (Justice for all, All for justice) โดยกำหนดแนวทางดำเนินงาน 3 แนวทาง คือ 1) การจัดตั้งสำนักงานยุติธรรมจังหวัดทั่วประเทศ 2) การจัดตั้งเครือข่ายยุติธรรมชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีบทบาทในการอำนวยความยุติธรรมในลักษณะหุ้นส่วนหรือเป็นพลังชุมชน 3) การสร้างความร่วมมือและการกระจายงานยุติธรรมสู่องค์การส่วนท้องถิ่นเกิดเป็นรูปแบบของ “ยุติธรรมชุมชน” หรือ Community Justice การจัดสัมมนาครั้งนี้ จึงเป็นเพียงการเริ่มต้นของการสร้างความเข้มแข็งในชุมชนและเสริมพลังให้ชุมชนมีพลังแห่งความเป็นธรรมและยุติธรรม รวมทั้งการบูรณาการกับหน่วยงานและแผนงานที่ดำเนินการไว้แล้ว อันจะนำไปสู่การขยายผลในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทยต่อไป
นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้กล่าวเปิดการสัมมนาว่า นโยบายสำคัญข้อหนึ่งของรัฐบาลคือ การสร้างสังคมแห่งความเป็นธรรมและความสมานฉันท์ ซึ่งที่ผ่านมาหลายฝ่ายได้มีความพยายามตลอดเวลา เช่นเดียวกับรัฐบาลที่มีแนวนโยบายชัดเจนในเรื่องของการส่งเสริมและสนับสนุนให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งความเป็นธรรมและความสมานฉันท์ การที่กระทรวงยุติธรรมได้มียุทธศาสตร์ “ยุติธรรมถ้วนหน้า ประชามีส่วนร่วม” เพราะเรื่องของความยุติธรรมนั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประชาชนทั้งหมด และประชาชนควรจะต้องมีบทบาทในการที่จะช่วยกันสร้างความยุติธรรม ซึ่งความหมายสำคัญของคำว่า “ความยุติธรรม” คือ ความยุติธรรมทางกฎหมาย และความยุติธรรมทางสังคม
รองนายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงสังคมที่พึงปรารถนาตามแนวคิดของ ดร. ป๋วย อึ้งภากรณ์ว่าต้องมี 4 องค์ประกอบที่สำคัญคือ 1) ความมีสมรรถนะ ต้องมีความสามารถ มีประสิทธิภาพ 2) ความมีเสรีภาพทางความคิดและการพูดที่ก่อให้เกิดความงอกงามและงดงามทางสังคม 3) ความยุติธรรมและความเป็นธรรมทั้งทางกฎหมายและทางสังคม 4) ความเมตตา กรุณา ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้นความยุติธรรมทั้งทางกฎหมายและทางสังคม จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก และต้องช่วยกันทำให้เกิดขึ้นด้วยพลังของประชาชนที่ผสมผสานกลมกลืนกันอย่างสอดคล้องต้องกัน จึงจะเรียกว่า “ความยุติธรรม” ซึ่งโยงไปถึงนโยบายของกระทรวงยุติธรรมที่ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิด “ศูนย์ยุติธรรมชุมชน” ซึ่งมีประมาณ 100 กว่าแห่ง และอีกประมาณ 48 แห่งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งถือเป็นความริเริ่มที่ดีของการนำนโยบายและหลักการสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง เพราะเรื่องความยุติธรรม ความเป็นธรรม และความสมานฉันท์ ถือเป็นปัจจัยที่นำไปสู่การมีชีวิตที่ดีขึ้นร่วมกันของคนในชุมชนและสังคม
พร้อมกันนี้ รองนายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึง “คลินิกความสันติยุติธรรม” ในระดับจังหวัดว่า ถึงเวลาแล้วที่หน่วยที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น กระทรวงยุติธรรม สถาบันพระปกเกล้า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จะต้องร่วมดำเนินการในเรื่องนี้เพื่อให้บังเกิดผลเป็นรูปธรรมไม่ว่าจะเป็นที่วัด หรือพื้นที่ในจังหวัดต่าง ๆ หลังจากที่ได้มีการระดมความคิด และวางแนวทางต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว เพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม ก่อให้เกิดความสมานฉันท์และเกิดความสันติร่วมกันในชุมชนและสังคมทั่วประเทศ โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้ร่วมกัน การจัดการความรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ที่ทำทั้งระหว่างจังหวัดและภายในจังหวัด
สำหรับการสัมมนาในภาคบ่าย จะเป็นการนำเสนอผลการศึกษาวิจัย 2 เรื่องคือ เรื่อง ”ยุติธรรมชุมชน : การเปิดพื้นที่ของชุมชนในการอำนวยความยุติธรรม และ “การแก้ไขผู้กระทำผิดในชุมชน : การศึกษาแนวคิดด้านการบูรณาการยุติธรรมชุมชนในการป้องกันอาชญากรรมและแก้ไขฟื้นฟูกระทำความผิด” นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงนิทรรศการชุด “ยุติธรรมชุมชน...หนทางสู่สังคมแห่งความเป็นธรรม” ตลอดทั้งวันอีกด้วย
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--