นายกรัฐมนตรีเปิดการประชุมสัมมนาเรื่อง "การพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์กับความมั่นคงของประเทศ" ในเขตภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ย้ำรัฐบาลมีนโยบายที่จะพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศให้มีความมั่นคงแข็งแรง และสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อให้เป็นทางเลือกที่สำคัญสำหรับพี่น้องเกษตรกร
วันนี้ เวลา 13.30 น. ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมสัมมนาเรื่อง “การพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์กับความมั่นคงของประเทศ" ในเขตภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้าใจให้กับเจ้าหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับเกษตรกร เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรของชาติ ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิบัติตามนโยบายของรัฐในการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ โดยผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย ผู้บริหารของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ข้าราชการผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ ผู้แทนสหกรณ์ ผู้แทนกลุ่มเกษตรกร และหมอดินอาสา ประมาณ 10,631 คน
นายธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวรายงานว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดประชุมสัมมนา เรื่อง “การพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์กับความมั่นคงของประเทศ” ขึ้นรวม 4 ภาค เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2550 ได้จัดในพื้นที่ภาคเหนือ และเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2550 ได้จัดขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ สำหรับการสัมมนาในวันนี้ได้จัดในเขตพื้นที่ภาคกลางและภาคตตะวันออกเฉียงเหนือ
ซึ่งภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ผลไม้ ผัก โคนม และการประมง ฉะนั้นการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ น้ำ ดิน รวมถึงการวิจัยพันธุ์ จึงต้องให้ความสำคัญสูง โดยเฉพาะข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดตั้งศูนย์ข้าวชุมชนในพื้นที่ทั่วประเทศ ให้มีการวิจัย ปรับปรุงบำรุงพันธุ์ เพื่อให้ได้พันธุ์ข้าวที่ดีเหมาะสม ได้ราคาดี มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการเพาะปลูกในสัดส่วนที่เหมาะสม ส่งเสริมให้มีการแปรรูป สินค้าเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าทั้งในรูปแบบของอาหาร ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม โดยได้ให้นโยบายกับข้าราชการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่า การแปรรูปสินค้าเกษตร เป็นหน้าที่หลักประการหนึ่งของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งต้องเกิดจากงานวิจัยและองค์ความรู้ที่สะสมมานานหรือจากปราชญ์เกษตร นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ความสำคัญต่อแผนการพัฒนาการเกษตร โดยเน้น เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ รวมทั้งชุมชนท้องถิ่น ภายใต้แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งแก้ไขปัญหาเกษตรกรยากจน และเพิ่มศักยภาพของเกษตรกรก้าวหน้า ในส่วนที่เป็นเกษตรกรยากจน กระทรวงเกษตรฯ ได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลภายใต้ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข โดยใช้เกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเน้นการบริหารจัดการดินและน้ำเป็นแนวทางแก้ปัญหา ในส่วนที่เป็นเกษตรกรก้าวหน้า ได้เน้นให้มีการผลิตในเชิงคุณภาพที่ตรงกับความต้องการของตลาด เพิ่มความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์ ปัญหาของเกษตรกรสะสมมานาน การที่จะแก้ปัญหาให้ลุล่วงภายในระยะเวลาอันสั้น คงเป็นไปได้ยาก แต่กระทรวงเกษตรฯ ได้จัดวางรากฐานเพื่อพัฒนาการเกษตรของชาติและเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรอยู่ดีมีสุข เช่น การเพิ่มพื้นที่ชลประทานเพื่อการเกษตร การปรับปรุงกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการเกษตร การแก้ไขปัญหาหนี้สินและที่ทำกิน การแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว การวิจัยและพัฒนาเพื่อแปรรูปขั้นสูง การช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยธรรมชาติ การพัฒนาและส่งเสริมเกษตรกรคลื่นลูกใหม่หรือยุวเกษตรกร เป็นต้น ทั้งหมดนี้มีเป้าหมายเพื่อให้กระทรวงเกษตรฯ เป็นที่พึ่งของเกษตรกรอย่างแท้จริง
โอกาสนี้ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวแสดงความยินดีที่ได้มาร่วมในพิธีเปิดการประชุมสัมมนาในครั้งนี้ พร้อมกล่าวว่า ภาคการเกษตรมีความสำคัญต่อความมั่นคงของประเทศอย่างยิ่ง เพราะเกี่ยวข้องกับประชาชนเป็นจำนวนมาก รัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศให้มีความมั่นคงแข็งแรง และสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อให้เป็นทางเลือกที่สำคัญสำหรับพี่น้องเกษตรกรต่อไป ในขณะเดียวกันรัฐบาลก็สนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนและท้องถิ่นให้มีคุณภาพมากขึ้น โดยใช้การพัฒนาที่อาศัยเทคโนโลยี การจัดการ และการเชื่อมโยงกับระบบตลาดมากขึ้น ซึ่งขณะนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างก็ได้เร่งดำเนินการเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็วแล้ว
การแก้ไขปัญหาของเกษตรกรนั้น นอกจากการส่งเสริมในด้านต่าง ๆ แล้วยังต้องยึดที่ตัวเกษตรกรเป็นหลักด้วย คือ เกษตรกรเองต้องมีทั้งความรู้ ความเข้มแข็ง ความพอประมาณ และมีเหตุมีผล จึงจะสามารถดำเนินการต่าง ๆ ให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความยินดีที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีแผนงานและโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้ความรู้ ความเข้าใจ ทั้งในวิธีการผลิตและการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของเกษตรกรต่อไป
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การปฏิบัติงานด้านการเกษตรจะประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด ยังขึ้นอยู่กับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายด้วย โดยบุคลากรเหล่านี้นอกจากจะต้องมีความเข้าใจตรงกันแล้ว ยังต้องร่วมมือและประสานการทำงานกันอย่างใกล้ชิด ซึ่งข้าราชการทุกคนจะต้องทำความเข้าใจในนโยบาย แผนงาน และโครงการต่าง ๆ อย่างจริงจัง เพื่อจะได้สามารถชี้แจง ทำความเข้าใจ และประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรได้รับทราบอย่างถูกต้องชัดเจน ทั่วถึงและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน และที่สำคัญทุกคนจะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เป็นธรรม เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างโปร่งใสและได้รับความไว้วางใจจากประชาชน ส่วนหน่วยงานที่รับผิดชอบหรือเกี่ยวข้องกับปัญหาของเกษตรกรในเรื่องใด ก็ควรเร่งดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรแต่เนิ่น ๆ เพื่อมิให้ปัญหาลุกลามกลายเป็นปัญหาใหญ่จนยากจะแก้ไข และการวางแผนงาน โครงการ หรืองบประมาณของหน่วยราชการ ก็ควรคำนึงถึงความต้องการของชุมชน ความเหมาะสมของภูมิประเทศ ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมของท้องถิ่นเป็นหลักด้วย
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้ขอบคุณผู้นำเกษตรกร ประธานสหกรณ์และหมอดินอาสา ที่ได้ร่วมเป็นเครือข่ายช่วยปฏิบัติงานด้านการเกษตร โดยเฉพาะในเรื่องของการเผยแพร่ข่าวสารและการจัดเก็บข้อมูลการแก้ไขปัญหาของเกษตรกร แทนเจ้าหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งถือว่าช่วยเป็นปากเสียงให้แก่ภาครัฐ และช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรได้อย่างกว้างขวาง ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 13.30 น. ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมสัมมนาเรื่อง “การพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์กับความมั่นคงของประเทศ" ในเขตภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้าใจให้กับเจ้าหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับเกษตรกร เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรของชาติ ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิบัติตามนโยบายของรัฐในการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ โดยผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย ผู้บริหารของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ข้าราชการผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ ผู้แทนสหกรณ์ ผู้แทนกลุ่มเกษตรกร และหมอดินอาสา ประมาณ 10,631 คน
นายธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวรายงานว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดประชุมสัมมนา เรื่อง “การพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์กับความมั่นคงของประเทศ” ขึ้นรวม 4 ภาค เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2550 ได้จัดในพื้นที่ภาคเหนือ และเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2550 ได้จัดขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ สำหรับการสัมมนาในวันนี้ได้จัดในเขตพื้นที่ภาคกลางและภาคตตะวันออกเฉียงเหนือ
ซึ่งภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ผลไม้ ผัก โคนม และการประมง ฉะนั้นการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ น้ำ ดิน รวมถึงการวิจัยพันธุ์ จึงต้องให้ความสำคัญสูง โดยเฉพาะข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดตั้งศูนย์ข้าวชุมชนในพื้นที่ทั่วประเทศ ให้มีการวิจัย ปรับปรุงบำรุงพันธุ์ เพื่อให้ได้พันธุ์ข้าวที่ดีเหมาะสม ได้ราคาดี มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการเพาะปลูกในสัดส่วนที่เหมาะสม ส่งเสริมให้มีการแปรรูป สินค้าเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าทั้งในรูปแบบของอาหาร ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม โดยได้ให้นโยบายกับข้าราชการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่า การแปรรูปสินค้าเกษตร เป็นหน้าที่หลักประการหนึ่งของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งต้องเกิดจากงานวิจัยและองค์ความรู้ที่สะสมมานานหรือจากปราชญ์เกษตร นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ความสำคัญต่อแผนการพัฒนาการเกษตร โดยเน้น เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ รวมทั้งชุมชนท้องถิ่น ภายใต้แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งแก้ไขปัญหาเกษตรกรยากจน และเพิ่มศักยภาพของเกษตรกรก้าวหน้า ในส่วนที่เป็นเกษตรกรยากจน กระทรวงเกษตรฯ ได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลภายใต้ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข โดยใช้เกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเน้นการบริหารจัดการดินและน้ำเป็นแนวทางแก้ปัญหา ในส่วนที่เป็นเกษตรกรก้าวหน้า ได้เน้นให้มีการผลิตในเชิงคุณภาพที่ตรงกับความต้องการของตลาด เพิ่มความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์ ปัญหาของเกษตรกรสะสมมานาน การที่จะแก้ปัญหาให้ลุล่วงภายในระยะเวลาอันสั้น คงเป็นไปได้ยาก แต่กระทรวงเกษตรฯ ได้จัดวางรากฐานเพื่อพัฒนาการเกษตรของชาติและเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรอยู่ดีมีสุข เช่น การเพิ่มพื้นที่ชลประทานเพื่อการเกษตร การปรับปรุงกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการเกษตร การแก้ไขปัญหาหนี้สินและที่ทำกิน การแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว การวิจัยและพัฒนาเพื่อแปรรูปขั้นสูง การช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยธรรมชาติ การพัฒนาและส่งเสริมเกษตรกรคลื่นลูกใหม่หรือยุวเกษตรกร เป็นต้น ทั้งหมดนี้มีเป้าหมายเพื่อให้กระทรวงเกษตรฯ เป็นที่พึ่งของเกษตรกรอย่างแท้จริง
โอกาสนี้ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวแสดงความยินดีที่ได้มาร่วมในพิธีเปิดการประชุมสัมมนาในครั้งนี้ พร้อมกล่าวว่า ภาคการเกษตรมีความสำคัญต่อความมั่นคงของประเทศอย่างยิ่ง เพราะเกี่ยวข้องกับประชาชนเป็นจำนวนมาก รัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศให้มีความมั่นคงแข็งแรง และสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อให้เป็นทางเลือกที่สำคัญสำหรับพี่น้องเกษตรกรต่อไป ในขณะเดียวกันรัฐบาลก็สนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนและท้องถิ่นให้มีคุณภาพมากขึ้น โดยใช้การพัฒนาที่อาศัยเทคโนโลยี การจัดการ และการเชื่อมโยงกับระบบตลาดมากขึ้น ซึ่งขณะนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างก็ได้เร่งดำเนินการเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็วแล้ว
การแก้ไขปัญหาของเกษตรกรนั้น นอกจากการส่งเสริมในด้านต่าง ๆ แล้วยังต้องยึดที่ตัวเกษตรกรเป็นหลักด้วย คือ เกษตรกรเองต้องมีทั้งความรู้ ความเข้มแข็ง ความพอประมาณ และมีเหตุมีผล จึงจะสามารถดำเนินการต่าง ๆ ให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความยินดีที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีแผนงานและโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้ความรู้ ความเข้าใจ ทั้งในวิธีการผลิตและการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของเกษตรกรต่อไป
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การปฏิบัติงานด้านการเกษตรจะประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด ยังขึ้นอยู่กับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายด้วย โดยบุคลากรเหล่านี้นอกจากจะต้องมีความเข้าใจตรงกันแล้ว ยังต้องร่วมมือและประสานการทำงานกันอย่างใกล้ชิด ซึ่งข้าราชการทุกคนจะต้องทำความเข้าใจในนโยบาย แผนงาน และโครงการต่าง ๆ อย่างจริงจัง เพื่อจะได้สามารถชี้แจง ทำความเข้าใจ และประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรได้รับทราบอย่างถูกต้องชัดเจน ทั่วถึงและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน และที่สำคัญทุกคนจะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เป็นธรรม เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างโปร่งใสและได้รับความไว้วางใจจากประชาชน ส่วนหน่วยงานที่รับผิดชอบหรือเกี่ยวข้องกับปัญหาของเกษตรกรในเรื่องใด ก็ควรเร่งดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรแต่เนิ่น ๆ เพื่อมิให้ปัญหาลุกลามกลายเป็นปัญหาใหญ่จนยากจะแก้ไข และการวางแผนงาน โครงการ หรืองบประมาณของหน่วยราชการ ก็ควรคำนึงถึงความต้องการของชุมชน ความเหมาะสมของภูมิประเทศ ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมของท้องถิ่นเป็นหลักด้วย
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้ขอบคุณผู้นำเกษตรกร ประธานสหกรณ์และหมอดินอาสา ที่ได้ร่วมเป็นเครือข่ายช่วยปฏิบัติงานด้านการเกษตร โดยเฉพาะในเรื่องของการเผยแพร่ข่าวสารและการจัดเก็บข้อมูลการแก้ไขปัญหาของเกษตรกร แทนเจ้าหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งถือว่าช่วยเป็นปากเสียงให้แก่ภาครัฐ และช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรได้อย่างกว้างขวาง ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--