แท็ก
ยูนิวานิชน้ำมันปาล์ม
วันสิ่งแวดล้อมโลก
สุรยุทธ์ จุลานนท์
จังหวัดนนทบุรี
นายกรัฐมนตรี
เมืองทองธานี
วันนี้ เวลา 15.30 น. ณ ห้องแกรนด์ไดมอนด์ บอลรูม อิมแพค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานในพิธีการประกาศเจตนารมณ์ความร่วมมือในการลดภาวะโลกร้อน ภายใต้คำขวัญ “หยุดโลกร้อนด้วยชีวิตพอเพียง” เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก ประจำปี 2550 โดยมีรัฐมนตรี ผู้แทนทูตานุทูต ผู้ว่าราชการจังหวัด ตลอดจนเครือข่ายองค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม สถาบันการศึกษา ตัวแทนนักเรียน นักศึกษา ตัวแทนภาครัฐและเอกชน ประมาณ 2,000 คน ได้เข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์ในครั้งนี้ด้วย
นายเกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้กล่าวรายงานว่า เพื่อเป็นการระลึกถึงจุดเริ่มต้นของความร่วมมือระหว่างประเทศทั่วโลกในด้านสิ่งแวดล้อมเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2515 จึงได้ประกาศให้วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก (World Environment Day) สำหรับวันสิ่งแวดล้อมโลกในปีนี้ ได้กำหนดแนวคิดหลักในการรณรงค์ให้เป็นทิศทางเดียวกัน คือเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีคำขวัญว่า Melting lce-a Hot Topic?”
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วยงานหลักในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศ จึงกำหนดจัดกิจกรรมเนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลกประจำปี 2550 ขึ้น โดยน้อมนำแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เชื่อมโยงกับวิถีการดำรงชีวิตและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนเพื่อลดภาวะโลกร้อน มาเป็นแนวคิดหลักในการจัดงาน ภายใต้คำขวัญ “หยุดโลกร้อนด้วยชีวิตพอเพียง” สำหรับการจัดกิจกรรมเนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลกประจำปี 2550 มีวัตถุประสงค์ 4 ประการคือ 1) เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลสมัย เฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 2) เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนตื่นตัวและตระหนักถึงผลกระทบอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก และเรียนรู้เพื่อปรับตัวรับสถานการณ์พิบัติภัยที่จะเกิดขึ้น โดยเชื่อมโยงหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว 3) เพื่อสร้างเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของประชาชนและเยาวชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจากทุกภาคส่วน และ 4) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการลดภาวะโลกร้อน อันเป็นผลมาจากการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า สาเหตุของภาวะโลกร้อนเกิดจากแก๊สเรือนกระจกที่กิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ได้ปล่อยออกมาสะสมจนเข้มข้นมากเกินไปในชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกอยู่ ทำให้โลก เก็บกักความร้อนไว้มากเกินความจำเป็น ส่งผลให้อุณหภูมิโดยรวมของโลกสูงขึ้น เกิดเป็นปรากฏการณ์ โลกร้อน เป็นภัยคุกคามทุกชีวิตที่อยู่บนพื้นโลก ซึ่งถือเป็นภาระและหน้าที่ของทุกคนบนโลกที่จะต้องช่วยกันจำกัดและลดภาวะโลกร้อน เพื่อความยั่งยืนของชีวิตทุกคน
นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า หากมองจากมิติของการพัฒนาจะเห็นว่า โลกร้อนคือผลพวงที่เกิดจากกระบวนทัศน์ของการพัฒนา ที่มุ่งแต่จะรุกราน เบียดเบียน และตักตวงผลประโยชน์จากธรรมชาติ ไม่ใส่ใจว่าจะก่อให้เกิดผลกระทบใหญ่หลวงในทางทำลายล้าง และตัดรอนโอกาสอยู่เย็นเป็นสุขของคนในอนาคต แต่ประเทศไทยโชคดีที่เป็นประเทศกำลังพัฒนา จึงได้มีโอกาสคิด และเรียนรู้จากปัญหาต่างๆ ของประเทศที่พัฒนาแล้ว ก่อนที่จะถลำลึกลงสู่วังวนแห่งการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน ซึ่งดำเนินสืบทอดกันมานานนับศตวรรษ ขณะเดียวกันคนไทยโชคดีเป็นทวีคูณที่มีพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ มีสายพระเนตรยาวไกล ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ อันไพศาล ทรงศึกษาค้นคว้าและได้พระราชทานพระราชดำริตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นอนุสติแก่พสกนิกรและรัฐบาล ที่สามารถเหนี่ยวรั้งให้ประเทศไทยหันกลับสู่ครรลองแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน เข้าถึงความสุขตามอัตภาพ และรู้จักการพึ่งพาตนเอง
ดังนั้น หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นแนวทางการพัฒนาบนทางสายกลางที่พึ่งพิงตนเองได้ ไม่โลภมาก ไม่เบียดเบียน เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเพื่อความสมดุล มั่นคงและยั่งยืน ก่อประโยชน์สุขแก่ประชาชน ประเทศชาติ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นชุมชนไปจนถึงประชาคมโลก หลักปรัชญาดังกล่าวทำให้เกิดการดำเนินชีวิตที่พอเพียง สร้างการอยู่ร่วมกันที่มีความสุขในสังคม และพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ ที่เกื้อกูลสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้น
นายกรัฐมนตรีประกาศเจตนารมณ์ความร่วมมือในการลดภาวะโลกร้อนว่า “ประเทศไทย รัฐบาลไทย และประชาชนไทย ตระหนักดีในปัญหาโลกร้อน และพร้อมที่จะผนึกกำลังร่วมกับประชาคมโลก เพื่อแสวงหาทางออกและแก้ไขปัญหาโลกร้อนในทุกระดับ ด้วยกฎหมายและมาตรการต่างๆ ที่เหมาะสม โดยเฉพาะในเรื่องกลไกการพัฒนาที่สะอาด อันประกอบด้วย การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้พลังงานสะอาดและพลังงานที่นำกลับมาใช้ได้ใหม่ และการเก็บกักและทำลายแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และแก๊สเรือนกระจกอื่นๆ ด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลก แต่อย่างไรก็ตามตราบเท่าที่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์การพัฒนาเสียใหม่ ให้เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนและเข้าถึงชีวิตที่พอเพียงไม่โลภมาก ไม่เบียดเบียนโลกด้วยเพลิงแห่งความอยาก ปัญหาโลกร้อนก็คงจะยุติลงไม่ได้ และคงจะเกิดปัญหาใหม่ๆ ติดตามมาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด”
พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวในนามรัฐบาลเชิญชวนประชาชนคนไทย ให้ผนึกกำลังร่วมใจกันดำเนินชีวิตที่พอเพียง ลดการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจกจากกิจกรรมต่าง ๆ ของตนเอง และช่วยกันประหยัดพลังงาน ใช้การคมนาคมทางเลือก รู้จักวิธีผลิตพึ่งตนเอง ไม่หลงไปกับกระแสบริโภคนิยม รวมทั้งช่วยกันปลูกป่า รักษาดินและน้ำ และดำเนินชีวิตที่พอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทำให้ประเทศไทยร่มเย็นเป็นสุข และสร้างสรรค์โลกที่ดีกว่าเพื่อส่งต่อให้แก่ลูกหลานในวันข้างหน้า
จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้ทำพิธีประกาศเจตนารมณ์ความร่วมมือในการลดภาวะโลกร้อน ท่ามกลางทุกคนที่มาร่วมงาน ด้วยการนำต้นกล้าไม้ วางลงบนลูกโลกจำลอง โดยมีตัวแทนนักเรียนประมาณ 50 คน ร่วมถือต้นกล้าไม้ขึ้นมาบนเวที เพื่อแสดงถึงจุดเริ่มต้นที่ทุกคนจะต้องร่วมใจกันหยุดโลกร้อนด้วยชีวิตพอเพียง นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
นายเกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้กล่าวรายงานว่า เพื่อเป็นการระลึกถึงจุดเริ่มต้นของความร่วมมือระหว่างประเทศทั่วโลกในด้านสิ่งแวดล้อมเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2515 จึงได้ประกาศให้วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก (World Environment Day) สำหรับวันสิ่งแวดล้อมโลกในปีนี้ ได้กำหนดแนวคิดหลักในการรณรงค์ให้เป็นทิศทางเดียวกัน คือเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีคำขวัญว่า Melting lce-a Hot Topic?”
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วยงานหลักในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศ จึงกำหนดจัดกิจกรรมเนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลกประจำปี 2550 ขึ้น โดยน้อมนำแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เชื่อมโยงกับวิถีการดำรงชีวิตและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนเพื่อลดภาวะโลกร้อน มาเป็นแนวคิดหลักในการจัดงาน ภายใต้คำขวัญ “หยุดโลกร้อนด้วยชีวิตพอเพียง” สำหรับการจัดกิจกรรมเนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลกประจำปี 2550 มีวัตถุประสงค์ 4 ประการคือ 1) เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลสมัย เฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 2) เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนตื่นตัวและตระหนักถึงผลกระทบอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก และเรียนรู้เพื่อปรับตัวรับสถานการณ์พิบัติภัยที่จะเกิดขึ้น โดยเชื่อมโยงหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว 3) เพื่อสร้างเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของประชาชนและเยาวชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจากทุกภาคส่วน และ 4) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการลดภาวะโลกร้อน อันเป็นผลมาจากการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า สาเหตุของภาวะโลกร้อนเกิดจากแก๊สเรือนกระจกที่กิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ได้ปล่อยออกมาสะสมจนเข้มข้นมากเกินไปในชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกอยู่ ทำให้โลก เก็บกักความร้อนไว้มากเกินความจำเป็น ส่งผลให้อุณหภูมิโดยรวมของโลกสูงขึ้น เกิดเป็นปรากฏการณ์ โลกร้อน เป็นภัยคุกคามทุกชีวิตที่อยู่บนพื้นโลก ซึ่งถือเป็นภาระและหน้าที่ของทุกคนบนโลกที่จะต้องช่วยกันจำกัดและลดภาวะโลกร้อน เพื่อความยั่งยืนของชีวิตทุกคน
นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า หากมองจากมิติของการพัฒนาจะเห็นว่า โลกร้อนคือผลพวงที่เกิดจากกระบวนทัศน์ของการพัฒนา ที่มุ่งแต่จะรุกราน เบียดเบียน และตักตวงผลประโยชน์จากธรรมชาติ ไม่ใส่ใจว่าจะก่อให้เกิดผลกระทบใหญ่หลวงในทางทำลายล้าง และตัดรอนโอกาสอยู่เย็นเป็นสุขของคนในอนาคต แต่ประเทศไทยโชคดีที่เป็นประเทศกำลังพัฒนา จึงได้มีโอกาสคิด และเรียนรู้จากปัญหาต่างๆ ของประเทศที่พัฒนาแล้ว ก่อนที่จะถลำลึกลงสู่วังวนแห่งการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน ซึ่งดำเนินสืบทอดกันมานานนับศตวรรษ ขณะเดียวกันคนไทยโชคดีเป็นทวีคูณที่มีพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ มีสายพระเนตรยาวไกล ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ อันไพศาล ทรงศึกษาค้นคว้าและได้พระราชทานพระราชดำริตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นอนุสติแก่พสกนิกรและรัฐบาล ที่สามารถเหนี่ยวรั้งให้ประเทศไทยหันกลับสู่ครรลองแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน เข้าถึงความสุขตามอัตภาพ และรู้จักการพึ่งพาตนเอง
ดังนั้น หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นแนวทางการพัฒนาบนทางสายกลางที่พึ่งพิงตนเองได้ ไม่โลภมาก ไม่เบียดเบียน เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเพื่อความสมดุล มั่นคงและยั่งยืน ก่อประโยชน์สุขแก่ประชาชน ประเทศชาติ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นชุมชนไปจนถึงประชาคมโลก หลักปรัชญาดังกล่าวทำให้เกิดการดำเนินชีวิตที่พอเพียง สร้างการอยู่ร่วมกันที่มีความสุขในสังคม และพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ ที่เกื้อกูลสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้น
นายกรัฐมนตรีประกาศเจตนารมณ์ความร่วมมือในการลดภาวะโลกร้อนว่า “ประเทศไทย รัฐบาลไทย และประชาชนไทย ตระหนักดีในปัญหาโลกร้อน และพร้อมที่จะผนึกกำลังร่วมกับประชาคมโลก เพื่อแสวงหาทางออกและแก้ไขปัญหาโลกร้อนในทุกระดับ ด้วยกฎหมายและมาตรการต่างๆ ที่เหมาะสม โดยเฉพาะในเรื่องกลไกการพัฒนาที่สะอาด อันประกอบด้วย การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้พลังงานสะอาดและพลังงานที่นำกลับมาใช้ได้ใหม่ และการเก็บกักและทำลายแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และแก๊สเรือนกระจกอื่นๆ ด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลก แต่อย่างไรก็ตามตราบเท่าที่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์การพัฒนาเสียใหม่ ให้เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนและเข้าถึงชีวิตที่พอเพียงไม่โลภมาก ไม่เบียดเบียนโลกด้วยเพลิงแห่งความอยาก ปัญหาโลกร้อนก็คงจะยุติลงไม่ได้ และคงจะเกิดปัญหาใหม่ๆ ติดตามมาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด”
พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวในนามรัฐบาลเชิญชวนประชาชนคนไทย ให้ผนึกกำลังร่วมใจกันดำเนินชีวิตที่พอเพียง ลดการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจกจากกิจกรรมต่าง ๆ ของตนเอง และช่วยกันประหยัดพลังงาน ใช้การคมนาคมทางเลือก รู้จักวิธีผลิตพึ่งตนเอง ไม่หลงไปกับกระแสบริโภคนิยม รวมทั้งช่วยกันปลูกป่า รักษาดินและน้ำ และดำเนินชีวิตที่พอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทำให้ประเทศไทยร่มเย็นเป็นสุข และสร้างสรรค์โลกที่ดีกว่าเพื่อส่งต่อให้แก่ลูกหลานในวันข้างหน้า
จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้ทำพิธีประกาศเจตนารมณ์ความร่วมมือในการลดภาวะโลกร้อน ท่ามกลางทุกคนที่มาร่วมงาน ด้วยการนำต้นกล้าไม้ วางลงบนลูกโลกจำลอง โดยมีตัวแทนนักเรียนประมาณ 50 คน ร่วมถือต้นกล้าไม้ขึ้นมาบนเวที เพื่อแสดงถึงจุดเริ่มต้นที่ทุกคนจะต้องร่วมใจกันหยุดโลกร้อนด้วยชีวิตพอเพียง นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--