แท็ก
บล.เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์
สุรยุทธ์ จุลานนท์
มหาวิทยาลัยรังสิต
วิภาวดีรังสิต
บางกอกแร้นช์
นายกรัฐมนตรี
วันนี้ เวลา 09.00 น. ณ โรงแรมรามาการ์เด้น ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนา พร้อมมอบนโยบายการพัฒนากลุ่มเกษตรกรเพื่อความมั่นคง ยั่งยืน ในอนาคตของเกษตรกรไทย เนื่องในโอกาสครบรอบ 35 ปี วันก่อตั้งกลุ่มเกษตรกร โดยมีผู้แทนกลุ่มเกษตร จำนวน 1,793 กลุ่ม เข้าร่วมการประชุม จัดโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งนี้เพื่อชี้แจงและเพิ่มพูนความรู้ให้กับกลุ่มเกษตรกรได้มีการพัฒนาแบบยั่งยืนในอนาคต และสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่ให้สมาชิกกลุ่มเกษตรกรได้รับทราบอย่างทั่วถึง โดยมี นายธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายรุ่งเรือง อิศรางกูร ณ อยุธยา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วมการประชุมสัมมนาฯ ด้วย
นายบรรพต หงษ์ทอง ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กล่าวขอบคุณรัฐบาลที่ให้ความสำคัญและมีความจริงใจในการแก้ไขปัญหาของเกษตรกรที่สะสมมาเป็นเวลานาน พร้อมกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดประชุมสัมมนาฯ ว่า เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่มีความตั้งใจอย่างจริงจังในการทำให้เกษตรกรทุกคนอยู่เย็นเป็นสุข ซึ่งกลุ่มเกษตรกรภายใต้การดูแลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มีการรวมกลุ่มมากกว่า 35 ปี โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะให้การสนับสนุนต่อไป เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอนาคตตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ที่เน้นการพัฒนาให้ประชาชนและชุมชนในชนบทให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งขณะนี้มีกลุ่มเกษตรกรทั้งประเทศรวมทั้งสิ้น 7,261 กลุ่ม โดยแยกเป็นกลุ่มเกษตรกรทำนา ทำสวน ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ และประมง การสัมมนาครั้งนี้มีระยะเวลา 2 วัน โดยมีผู้แทนกลุ่มเกษตรกร จำนวน 1,793 กลุ่ม เข้าร่วมการสัมมนา เพื่อชี้แจง รับทราบและเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับนโยบายการพัฒนากลุ่มเกษตรกร เศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ การพัฒนาระบบการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตร และแนวทางการพัฒนากลุ่มเกษตรกรเพื่อความยั่งยืนในอนาคต
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้เปิดการประชุมสัมมนาและมอบ นโยบายการพัฒนากลุ่มเกษตรกรเพื่อความยั่งยืนในอนาคต ว่า รัฐบาลมีนโยบายที่จะเพิ่มความสามารถให้แก่เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในการพึ่งพาตนเองให้ได้ ทั้งในด้านการผลิต ด้านการตลาด ด้านการแปรรูปสินค้าเกษตร และเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ของชุมชน รวมทั้งมีนโยบายส่งเสริมให้องค์กรภาคเอกชน และภาคประชาชนมีบทบาทควบคู่กับองค์กรของรัฐในการพัฒนาศักยภาพของประชาสังคม ตลอดจนชุมชนและท้องถิ่น เพื่อก่อให้เกิดการรวมกลุ่มที่เข้มแข็งในการพิทักษ์สิทธิและผลประโยชน์ของเกษตรกร หากเกษตรกรกลุ่มใดยังไม่ได้เข้าร่วมกลุ่มเกษตร ขอให้เข้ามาร่วมเป็นสมาชิก ทั้งนี้เพื่อจะได้สร้างความเข้มแข็งและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ที่จะช่วยกันดำเนินการให้เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มเกษตรกร และต่อกลุ่มอาชีพอื่น ๆ
นายกรัฐมนตรีได้ถึงการดำเนินการของกลุ่มเกษตรกรตลอดระยะเวลา 35 ปีผ่านมานี้ ว่า เป็นรากฐานที่สำคัญในด้านของภาคเกษตรกรรมที่ได้ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรมาอย่างยาวนาน แม้ขณะที่ประเทศไทยประสบกับวิกฤติเศรษฐกิจ ประชาชนต่างได้รับความเดือดร้อน แต่ภาคการเกษตรกลับสามารถเป็นแหล่งผลิตอาหารเลี้ยงประชากรได้อย่างเพียงพอและยังเหลือนำไปส่งออก นำรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมาก ทำให้เศรษฐกิจของประเทศสามารถฟื้นฟูได้ในระดับหนึ่ง
ที่ผ่านมากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลอย่างเคร่งครัด เพื่อพัฒนาพื้นฐานระบบเศรษฐกิจให้มีความเข้มแข็ง โดยสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ เพื่อให้เป็นทางเลือกสำคัญสำหรับเกษตรกรรายย่อย พร้อมทั้งขยายโอกาสด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนและท้องถิ่นให้มีคุณภาพ โดยอาศัยเทคโนโลยี การจัดการ และการเชื่อมโยงกับระบบตลาดมากขึ้น แต่ทั้งนี้การเติบโตทางเศรษฐกิจ จะต้องได้รับการดูแลมิให้เกิดผลกระทบทางลบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย
พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงปัญหาด้านหนี้สินทั้งในระบบและนอกระบบที่กลุ่มเกษตรกรได้ขอให้รัฐบาลหาทางช่วยเหลือว่า ขณะนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำลังเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ อย่างเร่งด่วน แต่ในบางเรื่องยังไม่สามารถการแก้ไขได้ทันที เพราะมีข้อติดขัดในเรื่องของกฎระเบียบหรือข้อบังคับ ซึ่งรัฐบาลกำลังเร่ง หาหาแนวทางที่เหมาะสมและไม่ขัดต่อกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาให้ดีที่สุด
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวยืนยันว่า รัฐบาลตระหนักดีถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาของพี่น้องเกษตรกร ซึ่งเป็นประชา กรกลุ่มใหญ่ของประเทศ และได้ให้นโยบายแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนว่า จะต้องดำเนินการด้วยความเข้าใจ รวมทั้งทราบถึงเป้าหมายและแนวทางปฏิบัติที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงจะทำให้การปฏิบัติประสบผลสำเร็จ
สำหรับหลักเกณฑ์ที่รัฐบาลได้กำหนดเพื่อใช้เป็นแนวทางในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและประชาชนนั้นมี 5 ประการสำคัญดังนี้ 1) ต้องให้การสนับสนุนช่วยเหลือและประสานการแก้ไขอย่างเต็มที่ โดยระดมทรัพยากรต่าง ๆ จากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และต้องถือว่าปัญหาของประชาชนเป็นหน้าที่ของทุกหน่วยงานที่จะต้องช่วยกันแก้ไขให้ลุล่วงไปให้ได้ 2) แต่ละหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ต้องรีบดำเนินการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรที่เดือดร้อนตั้งแต่เกิดปัญหาเล็ก ๆ เป็นการเบื้องต้น เพื่อยับยั้งไม่ให้ลุกลามกลายเป็นปัญหาใหญ่จนยากจะแก้ไข 3) ต้องทำการประชาสัมพันธ์และชี้แจงทำความเข้าใจข้อเท็จจริงให้แก่ผู้ที่เดือดร้อนได้รับทราบถึงมาตรการช่วยเหลือของทางราชการอย่างชัดเจนและเสมอภาค 4) จัดกระบวนการช่วยเหลือประชาชนหรือเกษตรกรผู้ได้รับความเดือดร้อนจากกรณีต่าง ๆ ด้วยการศึกษาวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาทั้งในอดีตและปัจจุบัน และนำมาวางแผนจัดระบบ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในลักษณะเดียวกันขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก และ 5) การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ต้องยึด หลักเป็นธรรม ความถูกต้องและความเสมอภาค และต้องไม่ทำเฉพาะให้เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า แต่จะต้องทำเพื่อสร้างความยั่งยืนต่อไปในอนาคต และที่สำคัญคือต้องให้เกษตรกรเข้ามามีส่วนร่วมและพัฒนากลุ่มเกษตรกรให้เข้มแข็ง และส่งเสริมให้มีบทบาทในการร่วมกันแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้มากขึ้น
นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงแนวทางการพัฒนากลุ่มเกษตรเพื่อความยั่งยืนในอนาคตว่า การรวมตัวของกลุ่มเกษตรกร ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการที่จะทำให้กลุ่มเกษตรกรมีพลัง และเป็นรูปแบบของการสร้างความเข้มแข็งในระดับฐานรากที่ถูกต้องภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงขอให้ผู้นำกลุ่มเกษตรกร ทุกคน ได้รวมกำลังกันที่จะพัฒนากลุ่มเกษตรกรให้เป็นองค์กรที่มีความเข้มแข็ง และสร้างแรงผลักดันในการพัฒนาประเทศตามหลักการ "รู้รัก และสามัคคี" และตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่สำคัญคือทุกคนต้องรู้จักประหยัด อดออม พึ่งพาตนเอง ประกอบอาชีพสุจริต ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แสวงหาความรู้เพื่อให้มีความสามารถมากขึ้น เพราะการเรียนรู้ย่อมไม่มีวันจบสิ้น
นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวสนับสนุนโครงการ "ปลูกไม้เพื่อใช้หนี้" ซึ่งเป็นแนวคิดของผู้นำชุมชนที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านว่า เป็นแบบอย่างของโครงการที่ดี เพราะนอกจากเป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มพื้นที่สีเขียวแล้ว ไม้ที่ปลูกยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ และใช้หนี้ได้ภายในระยะเวลาที่ไม่นานนัก จึงหวังว่าโครงการดังกล่าวจะได้รับความสนใจจากเกษตรกร เพราะเป็นโครงการที่สามารถพึ่งพาตัวเอง อดออม รักษาความสมดุลทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไว้ได้
ตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงประโยชน์ของการเรียนรู้ว่า เพื่อให้ผู้เรียนรู้มีความสามารถมากขึ้น และเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับตัวเองได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่มาจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเอง หรือภูมิปัญญาที่มีอยู่ในภาคต่าง ๆ ที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งจำเป็นต้องมีการเรียนรู้ มีการทำวิจัย มีการสะสมภูมิปัญญา เพื่อให้เกิดความหลากหลาย ก่อให้เกิดองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์กับเกษตรกร ควบคู่กับการการพบปะเพื่อทบทวนหลักการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ซึ่งเป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะเป็นการพัฒนากลุ่มเกษตรกรให้มีความมั่นคงและยั่งยืนยิ่งขึ้นต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
นายบรรพต หงษ์ทอง ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กล่าวขอบคุณรัฐบาลที่ให้ความสำคัญและมีความจริงใจในการแก้ไขปัญหาของเกษตรกรที่สะสมมาเป็นเวลานาน พร้อมกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดประชุมสัมมนาฯ ว่า เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่มีความตั้งใจอย่างจริงจังในการทำให้เกษตรกรทุกคนอยู่เย็นเป็นสุข ซึ่งกลุ่มเกษตรกรภายใต้การดูแลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มีการรวมกลุ่มมากกว่า 35 ปี โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะให้การสนับสนุนต่อไป เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอนาคตตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ที่เน้นการพัฒนาให้ประชาชนและชุมชนในชนบทให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งขณะนี้มีกลุ่มเกษตรกรทั้งประเทศรวมทั้งสิ้น 7,261 กลุ่ม โดยแยกเป็นกลุ่มเกษตรกรทำนา ทำสวน ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ และประมง การสัมมนาครั้งนี้มีระยะเวลา 2 วัน โดยมีผู้แทนกลุ่มเกษตรกร จำนวน 1,793 กลุ่ม เข้าร่วมการสัมมนา เพื่อชี้แจง รับทราบและเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับนโยบายการพัฒนากลุ่มเกษตรกร เศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ การพัฒนาระบบการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตร และแนวทางการพัฒนากลุ่มเกษตรกรเพื่อความยั่งยืนในอนาคต
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้เปิดการประชุมสัมมนาและมอบ นโยบายการพัฒนากลุ่มเกษตรกรเพื่อความยั่งยืนในอนาคต ว่า รัฐบาลมีนโยบายที่จะเพิ่มความสามารถให้แก่เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในการพึ่งพาตนเองให้ได้ ทั้งในด้านการผลิต ด้านการตลาด ด้านการแปรรูปสินค้าเกษตร และเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ของชุมชน รวมทั้งมีนโยบายส่งเสริมให้องค์กรภาคเอกชน และภาคประชาชนมีบทบาทควบคู่กับองค์กรของรัฐในการพัฒนาศักยภาพของประชาสังคม ตลอดจนชุมชนและท้องถิ่น เพื่อก่อให้เกิดการรวมกลุ่มที่เข้มแข็งในการพิทักษ์สิทธิและผลประโยชน์ของเกษตรกร หากเกษตรกรกลุ่มใดยังไม่ได้เข้าร่วมกลุ่มเกษตร ขอให้เข้ามาร่วมเป็นสมาชิก ทั้งนี้เพื่อจะได้สร้างความเข้มแข็งและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ที่จะช่วยกันดำเนินการให้เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มเกษตรกร และต่อกลุ่มอาชีพอื่น ๆ
นายกรัฐมนตรีได้ถึงการดำเนินการของกลุ่มเกษตรกรตลอดระยะเวลา 35 ปีผ่านมานี้ ว่า เป็นรากฐานที่สำคัญในด้านของภาคเกษตรกรรมที่ได้ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรมาอย่างยาวนาน แม้ขณะที่ประเทศไทยประสบกับวิกฤติเศรษฐกิจ ประชาชนต่างได้รับความเดือดร้อน แต่ภาคการเกษตรกลับสามารถเป็นแหล่งผลิตอาหารเลี้ยงประชากรได้อย่างเพียงพอและยังเหลือนำไปส่งออก นำรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมาก ทำให้เศรษฐกิจของประเทศสามารถฟื้นฟูได้ในระดับหนึ่ง
ที่ผ่านมากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลอย่างเคร่งครัด เพื่อพัฒนาพื้นฐานระบบเศรษฐกิจให้มีความเข้มแข็ง โดยสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ เพื่อให้เป็นทางเลือกสำคัญสำหรับเกษตรกรรายย่อย พร้อมทั้งขยายโอกาสด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนและท้องถิ่นให้มีคุณภาพ โดยอาศัยเทคโนโลยี การจัดการ และการเชื่อมโยงกับระบบตลาดมากขึ้น แต่ทั้งนี้การเติบโตทางเศรษฐกิจ จะต้องได้รับการดูแลมิให้เกิดผลกระทบทางลบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย
พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงปัญหาด้านหนี้สินทั้งในระบบและนอกระบบที่กลุ่มเกษตรกรได้ขอให้รัฐบาลหาทางช่วยเหลือว่า ขณะนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำลังเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ อย่างเร่งด่วน แต่ในบางเรื่องยังไม่สามารถการแก้ไขได้ทันที เพราะมีข้อติดขัดในเรื่องของกฎระเบียบหรือข้อบังคับ ซึ่งรัฐบาลกำลังเร่ง หาหาแนวทางที่เหมาะสมและไม่ขัดต่อกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาให้ดีที่สุด
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวยืนยันว่า รัฐบาลตระหนักดีถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาของพี่น้องเกษตรกร ซึ่งเป็นประชา กรกลุ่มใหญ่ของประเทศ และได้ให้นโยบายแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนว่า จะต้องดำเนินการด้วยความเข้าใจ รวมทั้งทราบถึงเป้าหมายและแนวทางปฏิบัติที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงจะทำให้การปฏิบัติประสบผลสำเร็จ
สำหรับหลักเกณฑ์ที่รัฐบาลได้กำหนดเพื่อใช้เป็นแนวทางในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและประชาชนนั้นมี 5 ประการสำคัญดังนี้ 1) ต้องให้การสนับสนุนช่วยเหลือและประสานการแก้ไขอย่างเต็มที่ โดยระดมทรัพยากรต่าง ๆ จากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และต้องถือว่าปัญหาของประชาชนเป็นหน้าที่ของทุกหน่วยงานที่จะต้องช่วยกันแก้ไขให้ลุล่วงไปให้ได้ 2) แต่ละหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ต้องรีบดำเนินการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรที่เดือดร้อนตั้งแต่เกิดปัญหาเล็ก ๆ เป็นการเบื้องต้น เพื่อยับยั้งไม่ให้ลุกลามกลายเป็นปัญหาใหญ่จนยากจะแก้ไข 3) ต้องทำการประชาสัมพันธ์และชี้แจงทำความเข้าใจข้อเท็จจริงให้แก่ผู้ที่เดือดร้อนได้รับทราบถึงมาตรการช่วยเหลือของทางราชการอย่างชัดเจนและเสมอภาค 4) จัดกระบวนการช่วยเหลือประชาชนหรือเกษตรกรผู้ได้รับความเดือดร้อนจากกรณีต่าง ๆ ด้วยการศึกษาวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาทั้งในอดีตและปัจจุบัน และนำมาวางแผนจัดระบบ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในลักษณะเดียวกันขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก และ 5) การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ต้องยึด หลักเป็นธรรม ความถูกต้องและความเสมอภาค และต้องไม่ทำเฉพาะให้เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า แต่จะต้องทำเพื่อสร้างความยั่งยืนต่อไปในอนาคต และที่สำคัญคือต้องให้เกษตรกรเข้ามามีส่วนร่วมและพัฒนากลุ่มเกษตรกรให้เข้มแข็ง และส่งเสริมให้มีบทบาทในการร่วมกันแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้มากขึ้น
นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงแนวทางการพัฒนากลุ่มเกษตรเพื่อความยั่งยืนในอนาคตว่า การรวมตัวของกลุ่มเกษตรกร ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการที่จะทำให้กลุ่มเกษตรกรมีพลัง และเป็นรูปแบบของการสร้างความเข้มแข็งในระดับฐานรากที่ถูกต้องภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงขอให้ผู้นำกลุ่มเกษตรกร ทุกคน ได้รวมกำลังกันที่จะพัฒนากลุ่มเกษตรกรให้เป็นองค์กรที่มีความเข้มแข็ง และสร้างแรงผลักดันในการพัฒนาประเทศตามหลักการ "รู้รัก และสามัคคี" และตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่สำคัญคือทุกคนต้องรู้จักประหยัด อดออม พึ่งพาตนเอง ประกอบอาชีพสุจริต ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แสวงหาความรู้เพื่อให้มีความสามารถมากขึ้น เพราะการเรียนรู้ย่อมไม่มีวันจบสิ้น
นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวสนับสนุนโครงการ "ปลูกไม้เพื่อใช้หนี้" ซึ่งเป็นแนวคิดของผู้นำชุมชนที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านว่า เป็นแบบอย่างของโครงการที่ดี เพราะนอกจากเป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มพื้นที่สีเขียวแล้ว ไม้ที่ปลูกยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ และใช้หนี้ได้ภายในระยะเวลาที่ไม่นานนัก จึงหวังว่าโครงการดังกล่าวจะได้รับความสนใจจากเกษตรกร เพราะเป็นโครงการที่สามารถพึ่งพาตัวเอง อดออม รักษาความสมดุลทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไว้ได้
ตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงประโยชน์ของการเรียนรู้ว่า เพื่อให้ผู้เรียนรู้มีความสามารถมากขึ้น และเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับตัวเองได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่มาจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเอง หรือภูมิปัญญาที่มีอยู่ในภาคต่าง ๆ ที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งจำเป็นต้องมีการเรียนรู้ มีการทำวิจัย มีการสะสมภูมิปัญญา เพื่อให้เกิดความหลากหลาย ก่อให้เกิดองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์กับเกษตรกร ควบคู่กับการการพบปะเพื่อทบทวนหลักการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ซึ่งเป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะเป็นการพัฒนากลุ่มเกษตรกรให้มีความมั่นคงและยั่งยืนยิ่งขึ้นต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--