แท็ก
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
กรมการขนส่งทางบก
กระทรวงกลาโหม
สุขภัณฑ์กะรัต
ทำเนียบรัฐบาล
วันนี้ เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการป้องกัน ควบคุม แก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนกและการเตรียมความพร้อมสำหรับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ ครั้งที่ 2/2550 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรี ฯ แถลงว่า สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกในประเทศไทย ในปี 2550 พบโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกชนิด H5N1 จำนวน 4 จุดด้วยกัน คือ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดหนองคาย จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดมุกดาหาร ปัจจุบัน (25 เม.ย.2550)ไม่มีรายงานการเกิดโรคไข้หวัดนกในประเทศไทย เป็นเวลา 41 วัน (นับจากได้มีการทำลายสัตว์ปีกและพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคครังสุดท้าย เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2550) สำหรับสถานการณ์โรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกในต่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 25 เมษายน 2550 มีรายงานการพบโรคไข้หวัดนกชนิด H5N1 ใน 20 ประเทศ ในทวีปเอเชีย อาทิ ประเทศจีน คูเวต เวียดนาม พม่า ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ลาว ฯลฯ ทวียุโรป ได้แก่ ประเทศอังการี อังกฤษ รัสเซีย ตุรกี และสโลเวเนีย ทวีปแอฟริกา ได้แก่ ประเทศไนจีเรีย และแอลจีเรีย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังมีการระบาดโรคไข้หวัดนกในประเทศเพื่อนบ้านทำให้เราจะต้องเฝ้าระวังป้องกันอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้ในปีนี้จะยังไม่พบผู้ป่วยด้วยโรคดังกล่าวในประเทศไทยก็ตาม ซึ่งปีนี้มีการเตรียมแผนเฝ้าระวังไว้แล้ว ทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข โดยจะเอกซเรย์พื้นที่ในเดือนกรกฏาคมที่จะถึงนี้
รองนายกรัฐมนตรีฯ กล่าวว่า ที่ประชุมยังได้พิจารณาการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก และการเตรียมความพร้อมรับการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2551 - 2553 ) ระยะเวลา 3 ปี ใช้งบประมาณ 9,000 ล้านบาท ซึ่งสาระสำคัญของยุทธศาสตร์ ฯ ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1. ยุทธศาสตร์จัดระบบการผลิตและเลี้ยงสัตว์ปีก โดยจัดระบบการเลี้ยงสัตว์ปีกพื้นเมือง เป็ดไล่ทุ่ง ไก่ชน และสัตว์ปีกเชิงพาณิชย์ เน้นระบบการเลี้ยงแบบแยกส่วน ควบคุมและตรวจสอบการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกและซากสัตว์ปีก ฯลฯ 2.ยุทธศาสตร์เฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคทั้งในคนและสัตว์ โดยจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการในระยะฉุกเฉิน สร้างเครือข่ายการเฝ้าระวังในพื้นที่ พร้อมทั้งรณรงค์ค้นหาโรคเชิงรุก รณรงค์จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการเฝ้าระวัง ติดตาม และควบคุมป้องกันการระบาดของนกธรรมชาติและนกอพยพ ฯลฯ 3.ยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมรับการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทีมแพทย์และพยาบาลในภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ในภาวะฉุกเฉิน และศูนย์สื่อมวลชนอย่างเป็นระบบ รวมทั้งซ้อมแผนรองรับการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ทุกระดับ ฯลฯ 4. ยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ประชาชน ภาคธุรกิจ และนานาประเทศ เน้นการส่งเสริมบทบาทของภาคประชาชนในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกและไข้หวัดใหญ่ ฯลฯ ซึ่งที่ประชุมเห็นว่า แนวทางแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวมีความเหมาะสม และนอกจากนี้ยังจะระดมความคิดเห็นในหมู่ประชาชน ก่อนนำเสนอคณะกรรมการกลั่นกรองฯ และเสนอคณะรัฐมนตรี คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน รวมทั้งเห็นชอบให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการเตรียมความพร้อมและการซ้อมแผนสำหรับการระบาดใหญ่โรคไข้หวัดใหญ่ในระดับประเทศ โดยมี ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธาน
รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมได้พิจารณาแผนเตรียมรับมือการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ โดยพิจารณาเรื่องการจัดตั้งโรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทย เพราะหากเกิดการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ซึ่งอาจจะระบาดทั่วโลกจะเป็นมหันตภัยที่ทุกประเทศจะต้องดูแลตนเองไม่สามารถที่จะรอรับความช่วยเหลือจากประเทศอื่นได้ จึงมีการเสนอให้ตั้งโรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ จะดำเนินการโดยองค์การเภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งคาดว่าจะใช้งบประมาณ 1,400 ล้านบาท โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลกในการดำเนินการเบื้องต้น และมีเป้าหมายที่จะผลิตได้ประมาณ 2 ล้านโด๊สต่อปี อย่างไรก็ตามเรื่องนี้คงต้องผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรี ฯ แถลงว่า สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกในประเทศไทย ในปี 2550 พบโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกชนิด H5N1 จำนวน 4 จุดด้วยกัน คือ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดหนองคาย จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดมุกดาหาร ปัจจุบัน (25 เม.ย.2550)ไม่มีรายงานการเกิดโรคไข้หวัดนกในประเทศไทย เป็นเวลา 41 วัน (นับจากได้มีการทำลายสัตว์ปีกและพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคครังสุดท้าย เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2550) สำหรับสถานการณ์โรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกในต่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 25 เมษายน 2550 มีรายงานการพบโรคไข้หวัดนกชนิด H5N1 ใน 20 ประเทศ ในทวีปเอเชีย อาทิ ประเทศจีน คูเวต เวียดนาม พม่า ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ลาว ฯลฯ ทวียุโรป ได้แก่ ประเทศอังการี อังกฤษ รัสเซีย ตุรกี และสโลเวเนีย ทวีปแอฟริกา ได้แก่ ประเทศไนจีเรีย และแอลจีเรีย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังมีการระบาดโรคไข้หวัดนกในประเทศเพื่อนบ้านทำให้เราจะต้องเฝ้าระวังป้องกันอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้ในปีนี้จะยังไม่พบผู้ป่วยด้วยโรคดังกล่าวในประเทศไทยก็ตาม ซึ่งปีนี้มีการเตรียมแผนเฝ้าระวังไว้แล้ว ทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข โดยจะเอกซเรย์พื้นที่ในเดือนกรกฏาคมที่จะถึงนี้
รองนายกรัฐมนตรีฯ กล่าวว่า ที่ประชุมยังได้พิจารณาการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก และการเตรียมความพร้อมรับการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2551 - 2553 ) ระยะเวลา 3 ปี ใช้งบประมาณ 9,000 ล้านบาท ซึ่งสาระสำคัญของยุทธศาสตร์ ฯ ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1. ยุทธศาสตร์จัดระบบการผลิตและเลี้ยงสัตว์ปีก โดยจัดระบบการเลี้ยงสัตว์ปีกพื้นเมือง เป็ดไล่ทุ่ง ไก่ชน และสัตว์ปีกเชิงพาณิชย์ เน้นระบบการเลี้ยงแบบแยกส่วน ควบคุมและตรวจสอบการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกและซากสัตว์ปีก ฯลฯ 2.ยุทธศาสตร์เฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคทั้งในคนและสัตว์ โดยจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการในระยะฉุกเฉิน สร้างเครือข่ายการเฝ้าระวังในพื้นที่ พร้อมทั้งรณรงค์ค้นหาโรคเชิงรุก รณรงค์จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการเฝ้าระวัง ติดตาม และควบคุมป้องกันการระบาดของนกธรรมชาติและนกอพยพ ฯลฯ 3.ยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมรับการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทีมแพทย์และพยาบาลในภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ในภาวะฉุกเฉิน และศูนย์สื่อมวลชนอย่างเป็นระบบ รวมทั้งซ้อมแผนรองรับการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ทุกระดับ ฯลฯ 4. ยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ประชาชน ภาคธุรกิจ และนานาประเทศ เน้นการส่งเสริมบทบาทของภาคประชาชนในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกและไข้หวัดใหญ่ ฯลฯ ซึ่งที่ประชุมเห็นว่า แนวทางแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวมีความเหมาะสม และนอกจากนี้ยังจะระดมความคิดเห็นในหมู่ประชาชน ก่อนนำเสนอคณะกรรมการกลั่นกรองฯ และเสนอคณะรัฐมนตรี คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน รวมทั้งเห็นชอบให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการเตรียมความพร้อมและการซ้อมแผนสำหรับการระบาดใหญ่โรคไข้หวัดใหญ่ในระดับประเทศ โดยมี ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธาน
รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมได้พิจารณาแผนเตรียมรับมือการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ โดยพิจารณาเรื่องการจัดตั้งโรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทย เพราะหากเกิดการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ซึ่งอาจจะระบาดทั่วโลกจะเป็นมหันตภัยที่ทุกประเทศจะต้องดูแลตนเองไม่สามารถที่จะรอรับความช่วยเหลือจากประเทศอื่นได้ จึงมีการเสนอให้ตั้งโรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ จะดำเนินการโดยองค์การเภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งคาดว่าจะใช้งบประมาณ 1,400 ล้านบาท โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลกในการดำเนินการเบื้องต้น และมีเป้าหมายที่จะผลิตได้ประมาณ 2 ล้านโด๊สต่อปี อย่างไรก็ตามเรื่องนี้คงต้องผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--