เวลา 09.00 น.พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานเปิดงาน Thailand Rice Convention 2007 และเปิดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติเกี่ยวกับโครงการตามพระราชดำริเรื่องข้าวไทย ณ ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุม อิมแพค เมืองทองธานี ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้กล่าวสุนทรพจน์เพื่อเปิดงาน Thailand Rice Convention 2007 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีที่กล่าวสุนทรพจน์เปิดงานท่ามกลางแขกผู้มีเกียรติอันได้แก่คณะรัฐมนตรี ทูตานุทูต เจ้าหน้าที่ระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญและนักธุรกิจของประชาคมข้าวระดับโลก ในนามของรัฐบาลไทย นายกรัฐมนตรีขอต้อนรับทุกท่านสู่งานการประชุม Thailand RiceConvention 2007 ในวันนี้
นายกรัฐมนตรี เชื่อว่า ผู้ร่วมงานในวันนี้ คงมีโอกาสได้เข้าร่วมพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ณ มลฑลพิธีท้องสนามหลวง เมื่อวานนี้ ทั้งนี้ การเสด็จพระราชดำเนินโดยพระราชพิธีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและบรมวงศานุวงศ์ เพื่อประกอบโบราณราชพิธีดังกล่าวเป็นการแสดงให้เห็นถึงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการทำการเกษตรกรรมของพสกนิกรของพระองค์ โดยเฉพาะเกษตรกรและการเพาะปลูกข้าวในประเทศไทย อันสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนไทย วัฒนธรรม พีธีกรรมความเชื่อ ที่หล่อหลอมร่วมกับ ข้าว
การจัดประชุม Thailand Rice Convention 2007 ถือเป็นการเฉลิมฉลองคุณประโยชน์ของข้าวต่อคนไทย มาช้านาน ทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ข้าวสร้างปฏิสัมพันธ์ของประเทศไทยกับพันธมิตรนานาชาติ นอกจากนี้ การจัดงานในวันนี้ เพื่อร่วมเถิดพระเกียรติในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา อันเป็นที่มาของหัวข้อการประชุม The King and Thai Rice เพื่อเชิดชูพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจ ความหวัง และแรงบันดาลใจอันหาที่เปรียบมิได้ ให้แก่ชาวนาไทย ตลอดระยะเวลาอันยาวนาน
มากกว่า 60 ปี ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้อุทิศพระวรกายเพื่อแก้ปัญหาให้แก่ผู้ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร เห็นได้จาก การที่ตลอดเวลาพระองค์ทรงอุทิศตนเพื่อเดินทางไปยังชนบทที่ห่างไกล และทรงมีความสนพระทัยส่วนพระองค์เพื่อปรับปรุงผลผลิตและเพิ่มประสิทธิผลด้านการเกษตร โดยทรงให้ความสนพระทัยเป็นพิเศษต่อสภาพอันเลวร้ายที่เกิดขึ้นแก่ชาวนาไทย ผู้ซึ่งเป็นเสมือนกระดูกสันหลังของชาติ เป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 60 ของแรงงานด้านการเกษตร ทั้งหมด และนี่เป็นที่มาของโครงการพระราชดำริหลายโครงการเพื่อพัฒนาการปลูกข้าวของไทย โดยนำมาจากหลักการพื้นฐาน ซึ่งได้แก่ ความรู้และเทคโนโลยีอย่างง่ายๆ ราคาไม่แพง และง่ายต่อการนำปฏิบัติโดยเกษตรกร โครงการตามแนวทางพระราชดำริต่างๆ ได้ผ่านการค้นคว้าทดลองและวิจัยเพื่อค้นหาการกสิกรรม
รูปแบบใหม่ที่ทำให้เกิดผลผลิตที่สูงขึ้นและมีคุณภาพดีกว่าเดิม โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ได้จัดสรรที่ดินส่วนพระองค์ในพระตำหนักจิตรลดา สร้างเป็นโรงทดลองต่างๆเพื่อวิเคราะห์วิจัยเกษตรกรรมแทบทุกแขนง
ผลจากความพยายามดังกล่าว ข้าวเปลือกจากการทดลองของพระองค์ถูกนำมาใช้ในงานพระราชพิธีพืชมงคล และแจกจ่ายให้แก่เกษตรกรเพื่อนำไปเพาะปลูก นอกจากนี้ เพื่อส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์อื่นๆจากข้าว แกลบได้นำไปแปรรูปเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงอีกด้วย ทั้งนี้ ข้าวมีบทบาทสำคัญใน ทฤษฎีใหม่ ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานแนวทางแก่เกษตรกรสู่การพึ่งพาตนเอง และความยั่งยืน โดยการบูรณาการวิธีการบริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูก ทฤษฎีดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการจัดสรรพื้นที่ที่เหมาะสม และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตามทฤษฎีขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะต้องจัดสรรตามวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เช่น การกักเก็บน้ำ ข้าวเปลือก ฟาร์มผสม และพื้นที่อยู่อาศัย เกษตรกรต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อส่งเสริมชุมชนและสร้างความเป็นหุ้นส่วนกับชุมชนอื่นและภาคเอกชน ทั้งนี้ ได้มีการทดสอบทฤษฎีมาหลายปี เพื่อพิสูจน์ว่า สามารถช่วยเพิ่มการผลิตและช่วยเกษตรกรรายย่อยให้ผลิตอาหารและรายได้ที่เพียงพอสำหรับการดำรงชีพตลอดทั้งปี
ในความเป็นจริงแล้ว ทฤษฎีใหม่นี้เชื่อมโยงกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงกำหนดแนวทางสำหรับชีวิตประจำวันที่เน้น ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล มีคุ้มกันตนเองและระบบธรรมาภิบาลในทุกระดับ ในการนี้ รัฐบาลได้นำรูปแบบความยั่งยืนเพื่อคนไทยดังกล่าวมาปรับใช้เป็นรากฐานสำคัญสำหรับนโยบายการพัฒนาประเทศ และนำไปเป็นพื้นฐานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง
แม้ว่าข้าวจะถือเป็นอาหารหลักของไทย แต่ความสำคัญของข้าวได้ขยายออกไปสู่ภายนอกประเทศ ในฐานะที่ไทยถือเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวเป็นอันดับหนึ่งของโลก เราจึงให้ความสนใจอย่างยิ่งต่อการปกป้องคุ้มครองการค้าข้าวและความมั่นคงด้านอาหารโลก ทั้งนี้ ความท้าทายหลักที่คุกคามการผลิตและการค้าขายข้าวของโลก ประการแรก คือ อนาคตของการผลิตข้าวของโลกกำลังประสบปัญหาจากการลดลงของที่ดินและแหล่งน้ำ ซึ่งเป็นผลจากแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมและชุมชนเมือง ประการที่สอง ได้แก่ ปัจจัยต่างๆ อาทิ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความไม่แน่นอนของรูปแบบการค้าระหว่างประเทศ ที่ยังมีอิทธิพลอย่างมากต่อสถานการณ์ข้าวของโลก นอกจากนี้ เรายังไม่สามารถคาดการณ์ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของจำนวนประชากรโลกได้ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้คาดการณ์ว่าประชากรโลกจะเพิ่มจำนวนถึงประมาณแปดพันสามร้อยล้านคนภายใน 30 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ยังได้คาดการณ์ว่าหากการผลิตอาหารของโลกยังไม่เพิ่มภายในร้อยละ 60 เราจะไม่สามารถปิดช่องว่างทางโภชนาการ หรือรับมือกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรและการเปลี่ยนแปลงด้านอาหารได้
ภายใต้ความท้าทายที่กำลังดำเนินอยู่นี้ ประเทศไทยยังคงพยายามอย่างหนักเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางการเกษตร โดยเราไม่เพียงจะนำเทคโนโลยีใหม่ๆและเทคนิคการทำเกษตรกรรมที่ทันสมัยมาใช้ แต่เรายังนำความรู้ดั่งเดิมมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่และสร้างความมั่นใจว่าจะมีการผลิตอย่างยั่งยืนภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เราเชื่อมั่นว่าความพยายามเหล่านี้จะทำให้เราสามารถให้บริการในฐานะ “ศูนย์กลางการเพาะปลูกข้าวของโลก” โดยการตลาดที่เหมาะสม รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาจะทำให้ผลิตภัณฑ์ข้าวของเราช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายในการเป็น “ครัวโลก” ได้
นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความหวังว่าจะช่วยให้ผู้เข้าร่วมการประชุมตระหนักถึงความสำคัญของข้าวต่อประเทศไทยและความเป็นอยู่ของชาวนาไทย คำขวัญ “ข้าวคือชีวิต” เนื่องในปีข้าวสากลขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติปี 2547 นั้นสอดคล้องเป็นอย่างดีต่อคนไทย เนื่องจากการเน้นให้เห็นถึงความสำคัญของข้าวต่อชีวิตของชาวนาไทยทั้งในปัจจุบันและอนาคต
อีกทั้ง จะได้รับประโยชน์จากการอภิปรายและเข้าใจว่าวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของไทยผูกผันกับเกษตรกรรมและข้าวอย่างไร และขอสนับสนุนให้ได้รวบรวมความรู้ที่ได้รับจากกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งการเยี่ยมชมศูนย์วิจัยข้าวแห่งประเทศไทย ที่รังสิต และที่สำคัญกว่านั้น
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีหวังว่าผู้เข้าร่วมการประชุมจะได้รับความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับสถานการณ์ข้าวของโลกในปัจจุบัน และแนวทางในการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดขึ้นในอนาคตเพื่อที่จะสร้างความมั่นใจว่าปริมาณข้าวคุณภาพที่มีจะตอบสนองความต้องการทั้งในระดับประเทศและโลกได้ ในส่วนของประเทศไทยนั้น พร้อมทั้งสร้างความมั่นใจว่าประเทศไทยจะยังคงมุ่งพัฒนาศักยภาพในฐานะ “ศูนย์กลางการเพาะปลูกข้าวของโลก” อย่างเต็มที่ต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีที่กล่าวสุนทรพจน์เปิดงานท่ามกลางแขกผู้มีเกียรติอันได้แก่คณะรัฐมนตรี ทูตานุทูต เจ้าหน้าที่ระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญและนักธุรกิจของประชาคมข้าวระดับโลก ในนามของรัฐบาลไทย นายกรัฐมนตรีขอต้อนรับทุกท่านสู่งานการประชุม Thailand RiceConvention 2007 ในวันนี้
นายกรัฐมนตรี เชื่อว่า ผู้ร่วมงานในวันนี้ คงมีโอกาสได้เข้าร่วมพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ณ มลฑลพิธีท้องสนามหลวง เมื่อวานนี้ ทั้งนี้ การเสด็จพระราชดำเนินโดยพระราชพิธีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและบรมวงศานุวงศ์ เพื่อประกอบโบราณราชพิธีดังกล่าวเป็นการแสดงให้เห็นถึงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการทำการเกษตรกรรมของพสกนิกรของพระองค์ โดยเฉพาะเกษตรกรและการเพาะปลูกข้าวในประเทศไทย อันสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนไทย วัฒนธรรม พีธีกรรมความเชื่อ ที่หล่อหลอมร่วมกับ ข้าว
การจัดประชุม Thailand Rice Convention 2007 ถือเป็นการเฉลิมฉลองคุณประโยชน์ของข้าวต่อคนไทย มาช้านาน ทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ข้าวสร้างปฏิสัมพันธ์ของประเทศไทยกับพันธมิตรนานาชาติ นอกจากนี้ การจัดงานในวันนี้ เพื่อร่วมเถิดพระเกียรติในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา อันเป็นที่มาของหัวข้อการประชุม The King and Thai Rice เพื่อเชิดชูพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจ ความหวัง และแรงบันดาลใจอันหาที่เปรียบมิได้ ให้แก่ชาวนาไทย ตลอดระยะเวลาอันยาวนาน
มากกว่า 60 ปี ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้อุทิศพระวรกายเพื่อแก้ปัญหาให้แก่ผู้ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร เห็นได้จาก การที่ตลอดเวลาพระองค์ทรงอุทิศตนเพื่อเดินทางไปยังชนบทที่ห่างไกล และทรงมีความสนพระทัยส่วนพระองค์เพื่อปรับปรุงผลผลิตและเพิ่มประสิทธิผลด้านการเกษตร โดยทรงให้ความสนพระทัยเป็นพิเศษต่อสภาพอันเลวร้ายที่เกิดขึ้นแก่ชาวนาไทย ผู้ซึ่งเป็นเสมือนกระดูกสันหลังของชาติ เป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 60 ของแรงงานด้านการเกษตร ทั้งหมด และนี่เป็นที่มาของโครงการพระราชดำริหลายโครงการเพื่อพัฒนาการปลูกข้าวของไทย โดยนำมาจากหลักการพื้นฐาน ซึ่งได้แก่ ความรู้และเทคโนโลยีอย่างง่ายๆ ราคาไม่แพง และง่ายต่อการนำปฏิบัติโดยเกษตรกร โครงการตามแนวทางพระราชดำริต่างๆ ได้ผ่านการค้นคว้าทดลองและวิจัยเพื่อค้นหาการกสิกรรม
รูปแบบใหม่ที่ทำให้เกิดผลผลิตที่สูงขึ้นและมีคุณภาพดีกว่าเดิม โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ได้จัดสรรที่ดินส่วนพระองค์ในพระตำหนักจิตรลดา สร้างเป็นโรงทดลองต่างๆเพื่อวิเคราะห์วิจัยเกษตรกรรมแทบทุกแขนง
ผลจากความพยายามดังกล่าว ข้าวเปลือกจากการทดลองของพระองค์ถูกนำมาใช้ในงานพระราชพิธีพืชมงคล และแจกจ่ายให้แก่เกษตรกรเพื่อนำไปเพาะปลูก นอกจากนี้ เพื่อส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์อื่นๆจากข้าว แกลบได้นำไปแปรรูปเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงอีกด้วย ทั้งนี้ ข้าวมีบทบาทสำคัญใน ทฤษฎีใหม่ ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานแนวทางแก่เกษตรกรสู่การพึ่งพาตนเอง และความยั่งยืน โดยการบูรณาการวิธีการบริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูก ทฤษฎีดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการจัดสรรพื้นที่ที่เหมาะสม และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตามทฤษฎีขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะต้องจัดสรรตามวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เช่น การกักเก็บน้ำ ข้าวเปลือก ฟาร์มผสม และพื้นที่อยู่อาศัย เกษตรกรต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อส่งเสริมชุมชนและสร้างความเป็นหุ้นส่วนกับชุมชนอื่นและภาคเอกชน ทั้งนี้ ได้มีการทดสอบทฤษฎีมาหลายปี เพื่อพิสูจน์ว่า สามารถช่วยเพิ่มการผลิตและช่วยเกษตรกรรายย่อยให้ผลิตอาหารและรายได้ที่เพียงพอสำหรับการดำรงชีพตลอดทั้งปี
ในความเป็นจริงแล้ว ทฤษฎีใหม่นี้เชื่อมโยงกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงกำหนดแนวทางสำหรับชีวิตประจำวันที่เน้น ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล มีคุ้มกันตนเองและระบบธรรมาภิบาลในทุกระดับ ในการนี้ รัฐบาลได้นำรูปแบบความยั่งยืนเพื่อคนไทยดังกล่าวมาปรับใช้เป็นรากฐานสำคัญสำหรับนโยบายการพัฒนาประเทศ และนำไปเป็นพื้นฐานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง
แม้ว่าข้าวจะถือเป็นอาหารหลักของไทย แต่ความสำคัญของข้าวได้ขยายออกไปสู่ภายนอกประเทศ ในฐานะที่ไทยถือเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวเป็นอันดับหนึ่งของโลก เราจึงให้ความสนใจอย่างยิ่งต่อการปกป้องคุ้มครองการค้าข้าวและความมั่นคงด้านอาหารโลก ทั้งนี้ ความท้าทายหลักที่คุกคามการผลิตและการค้าขายข้าวของโลก ประการแรก คือ อนาคตของการผลิตข้าวของโลกกำลังประสบปัญหาจากการลดลงของที่ดินและแหล่งน้ำ ซึ่งเป็นผลจากแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมและชุมชนเมือง ประการที่สอง ได้แก่ ปัจจัยต่างๆ อาทิ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความไม่แน่นอนของรูปแบบการค้าระหว่างประเทศ ที่ยังมีอิทธิพลอย่างมากต่อสถานการณ์ข้าวของโลก นอกจากนี้ เรายังไม่สามารถคาดการณ์ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของจำนวนประชากรโลกได้ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้คาดการณ์ว่าประชากรโลกจะเพิ่มจำนวนถึงประมาณแปดพันสามร้อยล้านคนภายใน 30 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ยังได้คาดการณ์ว่าหากการผลิตอาหารของโลกยังไม่เพิ่มภายในร้อยละ 60 เราจะไม่สามารถปิดช่องว่างทางโภชนาการ หรือรับมือกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรและการเปลี่ยนแปลงด้านอาหารได้
ภายใต้ความท้าทายที่กำลังดำเนินอยู่นี้ ประเทศไทยยังคงพยายามอย่างหนักเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางการเกษตร โดยเราไม่เพียงจะนำเทคโนโลยีใหม่ๆและเทคนิคการทำเกษตรกรรมที่ทันสมัยมาใช้ แต่เรายังนำความรู้ดั่งเดิมมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่และสร้างความมั่นใจว่าจะมีการผลิตอย่างยั่งยืนภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เราเชื่อมั่นว่าความพยายามเหล่านี้จะทำให้เราสามารถให้บริการในฐานะ “ศูนย์กลางการเพาะปลูกข้าวของโลก” โดยการตลาดที่เหมาะสม รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาจะทำให้ผลิตภัณฑ์ข้าวของเราช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายในการเป็น “ครัวโลก” ได้
นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความหวังว่าจะช่วยให้ผู้เข้าร่วมการประชุมตระหนักถึงความสำคัญของข้าวต่อประเทศไทยและความเป็นอยู่ของชาวนาไทย คำขวัญ “ข้าวคือชีวิต” เนื่องในปีข้าวสากลขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติปี 2547 นั้นสอดคล้องเป็นอย่างดีต่อคนไทย เนื่องจากการเน้นให้เห็นถึงความสำคัญของข้าวต่อชีวิตของชาวนาไทยทั้งในปัจจุบันและอนาคต
อีกทั้ง จะได้รับประโยชน์จากการอภิปรายและเข้าใจว่าวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของไทยผูกผันกับเกษตรกรรมและข้าวอย่างไร และขอสนับสนุนให้ได้รวบรวมความรู้ที่ได้รับจากกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งการเยี่ยมชมศูนย์วิจัยข้าวแห่งประเทศไทย ที่รังสิต และที่สำคัญกว่านั้น
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีหวังว่าผู้เข้าร่วมการประชุมจะได้รับความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับสถานการณ์ข้าวของโลกในปัจจุบัน และแนวทางในการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดขึ้นในอนาคตเพื่อที่จะสร้างความมั่นใจว่าปริมาณข้าวคุณภาพที่มีจะตอบสนองความต้องการทั้งในระดับประเทศและโลกได้ ในส่วนของประเทศไทยนั้น พร้อมทั้งสร้างความมั่นใจว่าประเทศไทยจะยังคงมุ่งพัฒนาศักยภาพในฐานะ “ศูนย์กลางการเพาะปลูกข้าวของโลก” อย่างเต็มที่ต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--