วันนี้ เวลา 09.30น. พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี กล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมสหประชาชาติ ว่าด้วยพุทธศาสนาโลก เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก ประจำปี 2550 ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ สรุปสาระ ดังนี้
นายกรัฐมนตรี กล่าวแสดงความยินดีที่ได้กล่าวเปิดการประชุมสหประชาชาติว่าด้วย พุทธศาสนาโลก ครั้งที่ 4 ซึ่งเน้นให้เห็นถึงความสำคัญของวันวิสาขบูชา ซึ่งเป็นวันสำคัญสากลของสหประชาชาติ อันเป็นวันที่มีความสำคัญทางพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้และดับขันธ์สู่ปรินิพพาน ก่อนแรกนายกรัฐมนตรีในฐานะประชาชนชาวไทยรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้กล่าวต้อนรับ คณะสงฆ์และผู้เข้าร่วมทั้งหลาย ที่เดินทางมาจาก 5 ทวีป 60 ประเทศทั่วโลก
นายกรัฐมนตรีเห็นว่า การจัดการประชุมครั้งนี้ที่ศูนย์การประชุมสหประชาชาติที่กรุงเทพฯ มีความเหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อให้เรารู้จักตัวเอง การกระทำของตัวเองและโลกรอบตัว และให้ดำเนินการเพื่อให้เกิดความสมานฉันท์และความสันติสุข สอดคล้องกันกับเป้าประสงค์ของสหประชาชาติ และด้วยแรงบันดาลดังกล่าวที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 54 พ.ศ. 2542 ได้รับรองข้อมติกำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลกโดยองค์การสหประชาชาติ ซึ่งนับแต่นั้นมา วันวิสาขบูชาได้รับการเฉลิมฉลองอย่างต่อเนื่องทุกปี ในเดือนพฤษภาคม ที่สำนักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์กและทุกสำนักงานขององค์การสหประชาชาติทั่วโลก
ประเทศไทยได้รับเกียรติอย่างสูงที่มีโอกาสเป็นเจ้าภาพจัดงานวิสาขบูชาและการประชุมพุทธศาสนาโลกตลอดระยะเวลา 3 ปีติดต่อกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีนี้ อันเป็นปีมหามงคลที่ปวงชนชาวไทยร่วมเฉลิมฉลอง พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม ซึ่งประเทศไทยได้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมอีกครั้งเป็นครั้งที่ 4 เพื่อ รับศีลและพร จากผู้นำทางศาสนาพุทธทุกนิกายที่ต่างมีความศรัทธาร่วมต่อพุทธศาสนาร่วมกัน
โดยส่วนตัวแล้ว นายกรัฐมนตรี เชื่อว่าพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สามารถนำเราไปสู่สังคมที่มีสันติภาพและเป็นธรรม มากกว่า 2500 ปี พุทธศาสนา ชี้ทางให้เราไปสู่ทางสันติ โดยใช้สิกขาที่พึงปฏิบัติสามประการ ได้แก่ ศีล-หลักศีลธรรม สมาธิ-การระลึกรู้ ปัญญา-ความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับชีวิตและธรรมชาติ เปรียบเหมือนแสงสว่างส่องทางให้แก่มวลมนุษยชาติ โดยสิกขาดังกล่าว จะช่วยขจัดกิเลสของมนุษย์ ทั้งทางกาย วาจา ใจ และ ด้วยจิตใจที่นิ่ง การกระทำที่สันติ ย่อมทำให้ ปัจเจกบุคคล และสังคมโดยรวมเกิดความสงบสุขอย่างแท้จริง
ในขณะเดียวกัน ธรรมะ ช่วยนำเราไปสู่ สังคมที่เป็นธรรม โดยยึดศีลห้า เป็นศีลขั้นพื้นฐาน ได้แก่ การเคารพในชีวิต ทรัพย์สมบัติ และครอบครัว มีความรับผิดชอบต่อคำพูด มีสติในการบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม ทั้งนี้ สังคมที่เป็นธรรม คือสังคมที่ทุกคนอยู่อย่างเท่าเทียมกันและทุกคนอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรม
พวกเราพุทธศาสนิกชนได้น้อมรับคำสั่งสอนดังกล่าว แต่ขณะที่ร่วมฉลองวันวิสาขของสหประชาชาติ ณ ที่นี้ ก็ต้องหันกลับมาทบทวนทฤษฎีและปฏิบัติตามหลักพุทธศาสนา เพราะพลังแห่งพุทธศาสนามาจากคำสอนของพระพุทธเจ้า จึงต้องพยายามที่จะทำให้คำสอนของพระพุทธเจ้าสามารถเป็นที่เข้าถึงได้มากยิ่งขึ้น เป็นที่รู้จักแพร่หลาย และสามารถนำไปใช้ได้ทุกสถานการณ์
หัวข้อหลักในการสัมมนาครั้งนี้คือ “ศาสนาพุทธกับหลักธรรมาภิบาลและการพัฒนา” ซึ่งเป็นหัวข้อที่น่าสนใจของทั้งชาวพุทธและชาวโลกโดยรวม นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า โดยส่วนตัวเชื่อว่า ธรรมะสามารถช่วยให้เราประสบความสำเร็จตามหลักธรรมาภิบาลและการพัฒนาในโลกสมัยใหม่ได้ ดังนี้
ประการแรก แนวคิด “การปกครอง” ไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่ แต่มีมานานเท่ามนุษยชาติ และแนวคิด “หลักธรรมาภิบาล” ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ และที่จริงแล้วก็ไม่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับศาสนาพุทธ แต่เป็นเรื่องประโยชน์ส่วนรวมของมวลมนุษยชาติและวัฒนธรรมทั้งหมด ในคัมภีร์ภาษาบาลี “จักรพรรดิราช” คือ ผู้ปกครองที่ยึดธรรมะในการปกครองประชาชน แม้ว่าหลักธรรมาภิบาล ยากที่จะปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จทั้งหมด แต่ไม่ได้หมายความว่า เราจะไม่พยายามปฏิบัติตามแนวคิดดังกล่าว ซึ่งในหลายๆ ประเทศ รวมทั้งไทย ก็ได้ดำเนินการอยู่ นับเป็นศตวรรษแล้วที่พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า โดยเฉพาะกฏแห่งกรรม มีอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงต่อชีวิตและวัฒนธรรมของคนไทย ในช่วงปลายศตวรรษที่ 13 และต้นศตวรรษที่ 14 พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้เริ่มสร้างสังคม บนพื้นฐานธรรมะ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงดำเนินตามรอยพระเจ้าอโศกมหาราชของอินเดีย ในความมุ่งมั่นสร้างอาณาจักรที่สันติและมีความเป็นธรรม ดังนั้น การเคารพต่อสิทธิส่วนบุคคล การใส่ใจต่อความเป็นอยู่ของประชาชน ความโปร่งใส การมีส่วนร่วมของประชาชน และประสิทธิภาพ จึงเป็นหลักสำคัญของการปกครองของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทั้งนี้ ได้มีการบันทึกไว้ว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงใส่พระทัยต่อชีวิตความเป็นอยู่ ของประชาชน หากใครมีทุกข์ร้อน สามารถสั่นกระดิ่งเพื่อเข้าเฝ้าร้องทุกข์ได้ ภายใต้หลักธรรมาภิบาลในยุคของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแผ่นดินจึงมีสันติภาพและการพัฒนา ประชาชนมีความพอเพียง ตามวลีที่บรรยายไว้ว่า ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ขณะเดียวกัน ประชาชนก็มีความเจริญมั่งคั่งด้วยการค้าขายอีกด้วย
ธรรมาภิบาลและคำสอนของพระพุทธเจ้าไม่เคยตกยุค ปัจจุบัน หลักธรรมาภิบาลอยู่ในการบริหารจัดการในทุกระดับ ทั้งเอกชน ท้องถิ่น ระดับชาติ และระหว่างประเทศ อีกทั้ง เกี่ยวข้องในการตัดสินใจ และกระบวนการดำเนินการ แท้จริงแล้ว รัฐบาล ปรารถนาอย่างยิ่งให้การพัฒนาสู่ความเป็นเลิศในหลัก ธรรมาภิบาลเกิดขึ้นในทุกระดับ เพื่อให้การพัฒนาในทุกอณูของชีวิตประชาชน เพราะธรรมาภิบาล สันติภาพ และการพัฒนามีความเชื่อมโยงกัน
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานให้แก่ประชาชนชาวไทย มีความหมายอย่างยิ่ง เพราะเป็นการตอบคำถามเรื่องการพัฒนาและธรรมาภิบาล หลักปรัชญาดังกล่าว ดึง หลักสายกลางของพระพุทธเจ้า มาสู่หลักการของการปฏิบัติที่เหมาะสม บนพื้นฐานความพอประมาณ มีเหตุมีผล การมีสติและความรู้ ไม่เพียงแต่ประเทศไทยที่นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักพื้นฐานการพัฒนาประเทศ แต่ประชาชนชาวไทยยังได้รับการส่งเสริมให้ศึกษาหลักปรัชญาดังกล่าวและนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันอีกด้วย ซึ่งไม่ใช่ทฤษฎีทางเศรษฐกิจ แต่สามารถปรับใช้ได้กับทุกระดับและทุกด้านในทุกเรื่อง แต่กระนั้น ด้วยการให้ความสำคัญกับความสมดุลจึงเกี่ยวข้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยการส่งเสริมการพึ่งพาตนเอง และการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างเหมาะสม
การแสวงหายุทธศาสตร์การพัฒนาที่เหมาะสมตามแนวทาง “ทางสายกลาง” ของทั้งระดับปัจเจกบุคคล ชุมชน ภาคธุรกิจ และประเทศ คือการหาความสมดุลในแต่ละระดับของสังคมเพื่อสร้างรากฐานที่มั่นคงในการเผชิญหน้ากับความท้าทายของโลกสมัยใหม่ ด้วยการมุ่งส่งเสริมคุณธรรม คือ เป็นแนวทางที่มุ่งสร้างความเข้มแข็งด้านธรรมะให้กับสังคมเช่นกัน นอกจากนี้จากแนวทางการพัฒนามนุษย์แบบองค์รวม ซึ่งเป็นแนวทางที่ยึดหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ทำให้เราเชื่อว่าจะช่วยให้สามารถดำเนินตามเป้าหมายในการรจรรโลงสังคมที่มีความยุติธรรม ความเท่าเทียมกัน และความยั่งยืนเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ในเดือนมกราคมที่ผ่านมานี้ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ หรือ UNDP ได้ตีพิมพ์รายงานด้านการพัฒนาของมนุษย์ประจำปี 2550 ภายใต้หัวข้อ “เศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนามนุษย์” ถือเป็นการถวายเป็นพระราชกุศลแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะที่ทรงอุทิศพระวรกายและและถือเป็นการสดุดีหลักปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ที่มีพื้นฐานในศาสนา และสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ รายงานดังกล่าวได้ช่วยถ่ายทอดแนวหลักปรัชญานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับหลักธรรมภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืนไปสู่ระดับสากลซึ่งเป็นการเหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง เป็นที่ประจักษ์ชัดมาแล้วว่า คำสอนของพระพุทธศาสนานั้นสอดคล้องและเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลและการส่งเสริมการพัฒนา ทั้งนี้ ในฐานะที่แนวทาง “ทางสายกลาง” ยังคงเป็นแรงบันดาลใจให้เรามุ่งไปสู่กรอบแนวคิดใหม่ของการพัฒนาที่ยั่งยืน และการสร้างสังคมที่มีสันติภาพและเป็นธรรม เราทั้งหมดได้รับการเชิญชวนให้ดำเนินการเพื่อให้แนวทางของพระพุทธศาสนาช่วยยกระดับจิตวิญญาณของมนุษยชาติต่อไป
ในฐานะตัวแทนของรัฐบาลไทย นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีต้อนรับและขอบคุณผู้เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ พร้อมทั้งแสดงความขอบคุณต่อคณะกรรมการจัดงานสากลและคณะกรรมการจัดงานแห่งชาติสำหรับการทำงานจัดเตรียมงานพระพุทธศาสนาสากล ขอให้การเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาขององค์การสหประชาชาติประจำปี 2550 ประสบความสำเร็จด้วยดี และหวังว่าการหารือจะเป็นการเผยแพร่หลักคำสอนของพระพุทธศาสนาต่อมวลมนุษยชาติต่อไปในอนาคต
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
นายกรัฐมนตรี กล่าวแสดงความยินดีที่ได้กล่าวเปิดการประชุมสหประชาชาติว่าด้วย พุทธศาสนาโลก ครั้งที่ 4 ซึ่งเน้นให้เห็นถึงความสำคัญของวันวิสาขบูชา ซึ่งเป็นวันสำคัญสากลของสหประชาชาติ อันเป็นวันที่มีความสำคัญทางพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้และดับขันธ์สู่ปรินิพพาน ก่อนแรกนายกรัฐมนตรีในฐานะประชาชนชาวไทยรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้กล่าวต้อนรับ คณะสงฆ์และผู้เข้าร่วมทั้งหลาย ที่เดินทางมาจาก 5 ทวีป 60 ประเทศทั่วโลก
นายกรัฐมนตรีเห็นว่า การจัดการประชุมครั้งนี้ที่ศูนย์การประชุมสหประชาชาติที่กรุงเทพฯ มีความเหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อให้เรารู้จักตัวเอง การกระทำของตัวเองและโลกรอบตัว และให้ดำเนินการเพื่อให้เกิดความสมานฉันท์และความสันติสุข สอดคล้องกันกับเป้าประสงค์ของสหประชาชาติ และด้วยแรงบันดาลดังกล่าวที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 54 พ.ศ. 2542 ได้รับรองข้อมติกำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลกโดยองค์การสหประชาชาติ ซึ่งนับแต่นั้นมา วันวิสาขบูชาได้รับการเฉลิมฉลองอย่างต่อเนื่องทุกปี ในเดือนพฤษภาคม ที่สำนักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์กและทุกสำนักงานขององค์การสหประชาชาติทั่วโลก
ประเทศไทยได้รับเกียรติอย่างสูงที่มีโอกาสเป็นเจ้าภาพจัดงานวิสาขบูชาและการประชุมพุทธศาสนาโลกตลอดระยะเวลา 3 ปีติดต่อกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีนี้ อันเป็นปีมหามงคลที่ปวงชนชาวไทยร่วมเฉลิมฉลอง พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม ซึ่งประเทศไทยได้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมอีกครั้งเป็นครั้งที่ 4 เพื่อ รับศีลและพร จากผู้นำทางศาสนาพุทธทุกนิกายที่ต่างมีความศรัทธาร่วมต่อพุทธศาสนาร่วมกัน
โดยส่วนตัวแล้ว นายกรัฐมนตรี เชื่อว่าพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สามารถนำเราไปสู่สังคมที่มีสันติภาพและเป็นธรรม มากกว่า 2500 ปี พุทธศาสนา ชี้ทางให้เราไปสู่ทางสันติ โดยใช้สิกขาที่พึงปฏิบัติสามประการ ได้แก่ ศีล-หลักศีลธรรม สมาธิ-การระลึกรู้ ปัญญา-ความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับชีวิตและธรรมชาติ เปรียบเหมือนแสงสว่างส่องทางให้แก่มวลมนุษยชาติ โดยสิกขาดังกล่าว จะช่วยขจัดกิเลสของมนุษย์ ทั้งทางกาย วาจา ใจ และ ด้วยจิตใจที่นิ่ง การกระทำที่สันติ ย่อมทำให้ ปัจเจกบุคคล และสังคมโดยรวมเกิดความสงบสุขอย่างแท้จริง
ในขณะเดียวกัน ธรรมะ ช่วยนำเราไปสู่ สังคมที่เป็นธรรม โดยยึดศีลห้า เป็นศีลขั้นพื้นฐาน ได้แก่ การเคารพในชีวิต ทรัพย์สมบัติ และครอบครัว มีความรับผิดชอบต่อคำพูด มีสติในการบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม ทั้งนี้ สังคมที่เป็นธรรม คือสังคมที่ทุกคนอยู่อย่างเท่าเทียมกันและทุกคนอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรม
พวกเราพุทธศาสนิกชนได้น้อมรับคำสั่งสอนดังกล่าว แต่ขณะที่ร่วมฉลองวันวิสาขของสหประชาชาติ ณ ที่นี้ ก็ต้องหันกลับมาทบทวนทฤษฎีและปฏิบัติตามหลักพุทธศาสนา เพราะพลังแห่งพุทธศาสนามาจากคำสอนของพระพุทธเจ้า จึงต้องพยายามที่จะทำให้คำสอนของพระพุทธเจ้าสามารถเป็นที่เข้าถึงได้มากยิ่งขึ้น เป็นที่รู้จักแพร่หลาย และสามารถนำไปใช้ได้ทุกสถานการณ์
หัวข้อหลักในการสัมมนาครั้งนี้คือ “ศาสนาพุทธกับหลักธรรมาภิบาลและการพัฒนา” ซึ่งเป็นหัวข้อที่น่าสนใจของทั้งชาวพุทธและชาวโลกโดยรวม นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า โดยส่วนตัวเชื่อว่า ธรรมะสามารถช่วยให้เราประสบความสำเร็จตามหลักธรรมาภิบาลและการพัฒนาในโลกสมัยใหม่ได้ ดังนี้
ประการแรก แนวคิด “การปกครอง” ไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่ แต่มีมานานเท่ามนุษยชาติ และแนวคิด “หลักธรรมาภิบาล” ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ และที่จริงแล้วก็ไม่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับศาสนาพุทธ แต่เป็นเรื่องประโยชน์ส่วนรวมของมวลมนุษยชาติและวัฒนธรรมทั้งหมด ในคัมภีร์ภาษาบาลี “จักรพรรดิราช” คือ ผู้ปกครองที่ยึดธรรมะในการปกครองประชาชน แม้ว่าหลักธรรมาภิบาล ยากที่จะปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จทั้งหมด แต่ไม่ได้หมายความว่า เราจะไม่พยายามปฏิบัติตามแนวคิดดังกล่าว ซึ่งในหลายๆ ประเทศ รวมทั้งไทย ก็ได้ดำเนินการอยู่ นับเป็นศตวรรษแล้วที่พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า โดยเฉพาะกฏแห่งกรรม มีอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงต่อชีวิตและวัฒนธรรมของคนไทย ในช่วงปลายศตวรรษที่ 13 และต้นศตวรรษที่ 14 พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้เริ่มสร้างสังคม บนพื้นฐานธรรมะ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงดำเนินตามรอยพระเจ้าอโศกมหาราชของอินเดีย ในความมุ่งมั่นสร้างอาณาจักรที่สันติและมีความเป็นธรรม ดังนั้น การเคารพต่อสิทธิส่วนบุคคล การใส่ใจต่อความเป็นอยู่ของประชาชน ความโปร่งใส การมีส่วนร่วมของประชาชน และประสิทธิภาพ จึงเป็นหลักสำคัญของการปกครองของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทั้งนี้ ได้มีการบันทึกไว้ว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงใส่พระทัยต่อชีวิตความเป็นอยู่ ของประชาชน หากใครมีทุกข์ร้อน สามารถสั่นกระดิ่งเพื่อเข้าเฝ้าร้องทุกข์ได้ ภายใต้หลักธรรมาภิบาลในยุคของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแผ่นดินจึงมีสันติภาพและการพัฒนา ประชาชนมีความพอเพียง ตามวลีที่บรรยายไว้ว่า ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ขณะเดียวกัน ประชาชนก็มีความเจริญมั่งคั่งด้วยการค้าขายอีกด้วย
ธรรมาภิบาลและคำสอนของพระพุทธเจ้าไม่เคยตกยุค ปัจจุบัน หลักธรรมาภิบาลอยู่ในการบริหารจัดการในทุกระดับ ทั้งเอกชน ท้องถิ่น ระดับชาติ และระหว่างประเทศ อีกทั้ง เกี่ยวข้องในการตัดสินใจ และกระบวนการดำเนินการ แท้จริงแล้ว รัฐบาล ปรารถนาอย่างยิ่งให้การพัฒนาสู่ความเป็นเลิศในหลัก ธรรมาภิบาลเกิดขึ้นในทุกระดับ เพื่อให้การพัฒนาในทุกอณูของชีวิตประชาชน เพราะธรรมาภิบาล สันติภาพ และการพัฒนามีความเชื่อมโยงกัน
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานให้แก่ประชาชนชาวไทย มีความหมายอย่างยิ่ง เพราะเป็นการตอบคำถามเรื่องการพัฒนาและธรรมาภิบาล หลักปรัชญาดังกล่าว ดึง หลักสายกลางของพระพุทธเจ้า มาสู่หลักการของการปฏิบัติที่เหมาะสม บนพื้นฐานความพอประมาณ มีเหตุมีผล การมีสติและความรู้ ไม่เพียงแต่ประเทศไทยที่นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักพื้นฐานการพัฒนาประเทศ แต่ประชาชนชาวไทยยังได้รับการส่งเสริมให้ศึกษาหลักปรัชญาดังกล่าวและนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันอีกด้วย ซึ่งไม่ใช่ทฤษฎีทางเศรษฐกิจ แต่สามารถปรับใช้ได้กับทุกระดับและทุกด้านในทุกเรื่อง แต่กระนั้น ด้วยการให้ความสำคัญกับความสมดุลจึงเกี่ยวข้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยการส่งเสริมการพึ่งพาตนเอง และการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างเหมาะสม
การแสวงหายุทธศาสตร์การพัฒนาที่เหมาะสมตามแนวทาง “ทางสายกลาง” ของทั้งระดับปัจเจกบุคคล ชุมชน ภาคธุรกิจ และประเทศ คือการหาความสมดุลในแต่ละระดับของสังคมเพื่อสร้างรากฐานที่มั่นคงในการเผชิญหน้ากับความท้าทายของโลกสมัยใหม่ ด้วยการมุ่งส่งเสริมคุณธรรม คือ เป็นแนวทางที่มุ่งสร้างความเข้มแข็งด้านธรรมะให้กับสังคมเช่นกัน นอกจากนี้จากแนวทางการพัฒนามนุษย์แบบองค์รวม ซึ่งเป็นแนวทางที่ยึดหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ทำให้เราเชื่อว่าจะช่วยให้สามารถดำเนินตามเป้าหมายในการรจรรโลงสังคมที่มีความยุติธรรม ความเท่าเทียมกัน และความยั่งยืนเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ในเดือนมกราคมที่ผ่านมานี้ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ หรือ UNDP ได้ตีพิมพ์รายงานด้านการพัฒนาของมนุษย์ประจำปี 2550 ภายใต้หัวข้อ “เศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนามนุษย์” ถือเป็นการถวายเป็นพระราชกุศลแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะที่ทรงอุทิศพระวรกายและและถือเป็นการสดุดีหลักปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ที่มีพื้นฐานในศาสนา และสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ รายงานดังกล่าวได้ช่วยถ่ายทอดแนวหลักปรัชญานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับหลักธรรมภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืนไปสู่ระดับสากลซึ่งเป็นการเหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง เป็นที่ประจักษ์ชัดมาแล้วว่า คำสอนของพระพุทธศาสนานั้นสอดคล้องและเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลและการส่งเสริมการพัฒนา ทั้งนี้ ในฐานะที่แนวทาง “ทางสายกลาง” ยังคงเป็นแรงบันดาลใจให้เรามุ่งไปสู่กรอบแนวคิดใหม่ของการพัฒนาที่ยั่งยืน และการสร้างสังคมที่มีสันติภาพและเป็นธรรม เราทั้งหมดได้รับการเชิญชวนให้ดำเนินการเพื่อให้แนวทางของพระพุทธศาสนาช่วยยกระดับจิตวิญญาณของมนุษยชาติต่อไป
ในฐานะตัวแทนของรัฐบาลไทย นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีต้อนรับและขอบคุณผู้เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ พร้อมทั้งแสดงความขอบคุณต่อคณะกรรมการจัดงานสากลและคณะกรรมการจัดงานแห่งชาติสำหรับการทำงานจัดเตรียมงานพระพุทธศาสนาสากล ขอให้การเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาขององค์การสหประชาชาติประจำปี 2550 ประสบความสำเร็จด้วยดี และหวังว่าการหารือจะเป็นการเผยแพร่หลักคำสอนของพระพุทธศาสนาต่อมวลมนุษยชาติต่อไปในอนาคต
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--