แท็ก
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
สุรยุทธ์ จุลานนท์
มหาวิทยาลัยบูรพา
ทำเนียบรัฐบาล
ตึกสันติไมตรี
กรมการปกครอง
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (คบส.) ครั้งที่ 1 / 2550
วันนี้ เวลา 10.25 น. ณ ตึกสันติไมตรี หลังใน ทำเนียบรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (คบส.) ครั้งที่ 1 / 2550 สรุปสาระสำคัญัดังนี้
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเปิดการประชุมว่า ในเรื่องการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศได้มีการประชุมหารือกันอย่างไม่เป็นทางการมาแล้ว โดยได้มีการมอบหมายให้เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ไปดำเนินการในบางส่วน ซึ่งในวันนี้จะได้รับทราบความคืบหน้าการดำเนินงานของ สศช. ทั้งนี้ รัฐบาลมีความตั้งใจในการวางรากฐานของระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ ที่ในหลักการแล้วควรจะพยายามลดค่าขนส่งสินค้าและบริการให้ได้มากที่สุด พร้อมกับพยายามบริหารจัดการ ฝึกบุคลากรให้พร้อมมากที่สุด อันจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เราสามารถแข่งขันในสังคมโลกได้ในอนาคต ทั้งนี้ ระบบการคมนาคมขนส่งสินค้าและบริการของเรา ทั้งระบบขนส่งมวลชน ระบบขนส่งทางรางและทางน้ำ จะต้องทำให้มีค่าขนส่งที่ต่ำ ซึ่งรัฐบาลจะพยายามวางรากฐานในส่วนนี้ไว้ ขณะที่จะวางรากฐานกับประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ จีน อินเดีย ด้วย เพื่อให้การคมนาคมช่วยเสริมเรื่องการค้าการลงทุนของเราในอนาคต
ภายหลังการประชุม ร้อยเอก ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมสรุปสาระสำคัญว่า การประชุมในวันนี้เป็นการประชุมต่อเนื่องจากที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ และแผนปฏิบัติการเร่งด่วนปี 2550 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ซึ่งเน้นการพัฒนาระบบรางเพื่อส่งเสริมให้เอกชนมาใช้บริการขนส่งสินค้าทางรถไฟมากขึ้น และนอกเหนือจากการปรับปรุงประสิทธิภาพระบบขนส่งดังกล่าวแล้ว
ที่ประชุมรับทราบรายงานความคืบหน้าเรื่องของโครงการขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติ 5 สายทางในวงเงิน 219,041 ล้านบาท โดยในโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-ตลิ่งชัน วงเงิน 13,133 ล้านบาทคาดว่าจะเปิดการประกวดราคาได้ในเดือนสิงหาคมนี้ ที่จะมีวงเงินจ่ายในปีนี้ประมาณ 848 ล้านบาท ที่จะเป็นค่ารื้อย้ายสิ่งกีดขวางและค่าจ้างที่ปรึกษาประกวดราคา
นอกจากนี้ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องการปรับปรุงระบบขนส่งที่คาดว่าจะสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2550 ซึ่งรัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณแล้ว 5,340 ล้านบาท โดยการขนส่งทางบกจะสามารถย้ายไปทางรถไฟได้มากขึ้นภายในเดือนตุลาคมนี้ โดยเฉพาะเส้นทางสายตะวันออก ขณะที่ในส่วนของการก่อสร้างทางยกระดับด้านทิศใต้ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จะเชื่อมทางพิเศษบูรพาวิถีที่จะแล้วเสร็จในปี 2551 พร้อมกันนี้มีความคืบหน้าของการเริ่มก่อสร้างรถไฟรางคู่ เส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก ฉะเชิงเทรา — ศรีราชา — แหลมฉบัง และการขนข้าว น้ำตาล จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จะเพิ่มเที่ยวต่อเดือนจากเดิม ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทยกำลังเตรียมการเพิ่มเที่ยวการให้บริการสินค้าข้าวบริเวณนครราชสีมา — ท่าเรือแหลมฉบัง จากเดิมเดือนละ 15 เที่ยวเป็น 30 เที่ยว และสินค้าน้ำตาลบริเวณขอนแก่น ท่าพระ — ท่าเรือแหลมฉบังจากเดือนละ 10 เที่ยวเป็น 30 เที่ยวภายในเดือนตุลาคมนี้ พร้อมกันนี้ จะมีการให้เอกชนเข้าร่วมดำเนินการซ่อมหัวรถจักรเพิ่มความสามารถในการขนส่งสินค้าปูนซีเมนต์จากสระบุรี ด้านการขนส่งทางน้ำ ในส่วนของการขนส่งเรือชายฝั่ง รัฐบาลได้เร่งดำเนินการท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเทียบเรือ C0 และท่าเรือ A0 ได้เปิดดำเนินการแล้วเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ส่วนท่าเรือ C1 และ C2 คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ภายในปลายปีนี้ สำหรับท่าเรือชายฝั่งทะเลอันดามัน รัฐบาลได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ โดยจะต้องดำเนินการไปพร้อมกับยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมและการพัฒนาพื้นที่ ซึ่ง สศช. ได้รับไปดำเนินการศึกษาให้ชัดเจนก่อน ด้านการขนส่งทางอากาศ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาคลังสินค้าปลอดอากรที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีความคืบหน้าที่กระทรวงคมนาคมได้สั่งการให้ปรับปรุงเพื่อเพิ่มความสะดวกในการขนส่งสินค้าทางอากาศแล้ว
พร้อมกันนี้ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ที่ประชุมเห็นชอบแผนการปฏิบัติการ 4 แผน คือ 1. แผนปฏิบัติการพัฒนาระบบโลจิสติกส์อุตสาหกรรม ที่กำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายใน 3 ปีข้างหน้าที่จะต้องมีการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ให้เชื่อมโยงกันตลอดห่วงโซ่อุปทาน ได้แก่ อุตสาหกรรมเหล็ก ปิโตรเคมี อาหาร สิ่งทอ ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ เซรามิก ยางและผลิตภัณฑ์ยาง 2. แผนปฏิบัติการพัฒนาระบบโลจิสติกส์การค้า ซึ่งที่ประชุมมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์เป็นเจ้าภาพจัดทำแผนปฏิบัติการโลจิส ติกส์ ทางการค้าของสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ข้าว ผัก ผลไม้ โดยให้นำเสนอต่อที่ประชุม คบส.ในครั้งต่อไป นอกจากนี้จะมีการเร่งรัดการใช้ประโยชน์จากเส้นทางที่เชื่อมโยงระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ จีนและอินเดีย และพิจารณาความเหมาะสมของการออกกฎหมายรองรับการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจบริการโลจิสติกส์ 3. แผนปฏิบัติการพัฒนาระบบเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลและบริการภาครัฐเพื่อการนำเข้า ส่งออก และโลจิสติกส์ (SWeL) โดยเฉพาะการเร่งรัดให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการ ซึ่งได้ตั้งเป้าหมายว่าจะสามารถเชื่อมหน่วยงานเข้าด้วยกันปีละประมาณ 8 — 10 หน่วยงาน ที่จะแล้วเสร็จสมบูรณ์ภายในปี 2553 โดยผลที่ได้คือจะสามารถลดเวลาของกระบวนการเอกสาร และการดำเนินการเพื่อการนำเข้าและส่งออกจาก 24 วันเหลือ 15 วัน ซึ่งจะน้อยกว่าทุกประเทศอาเซียนยกเว้นสิงคโปร์ ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถประหยัดเงินของธุรกิจได้ไม่ต่ำกว่าปีละ 4.9 หมื่นล้านบาท 4. แผนปฏิบัติการพัฒนาระบบข้อมูลโลจิสติกส์ของประเทศ ที่ประชุมมอบหมายให้ สศช. เป็นเจ้าภาพจัดทำข้อมูลด้านโลจิสติกส์ในระดับประเทศ โดยเฉพาะข้อมูลด้านต้นทุนและข้อมูลเพื่อประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์โลจิสติกส์
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวด้วยว่า เนื่องจากโลจิสติกส์มีความเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน ที่ประชุมจึงได้ตั้งอนุกรรมการขึ้น 4 ชุดภายใต้ คบส. คือ 1. คณะอนุกรรมโลจิสติกส์การค้า กระทรวงพาณิชย์เป็นเจ้าภาพ 2. คณะอนุกรรมการเพื่อการพัฒนาระบบเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลและบริการภาครัฐเพื่อการนำเข้า ส่งออก และโลจิสติกส์ กรมศุลกากร เป็นเจ้าภาพ 3.คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบข้อมูลโลจิสติกส์ สศช. เป็นเจ้าภาพ และ 4. คณะอนุกรรมการด้านอุตสาหกรรม ที่มีอยู่แล้วในกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้ มติที่ประชุม คบส.ในวันนี้จะนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบและมอบให้สำนักงบประมาณใช้เป็นกรอบในการพิจารณาอนุมัติจัดสรรงบประมาณประจำปี 2552 — 2554 ต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 10.25 น. ณ ตึกสันติไมตรี หลังใน ทำเนียบรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (คบส.) ครั้งที่ 1 / 2550 สรุปสาระสำคัญัดังนี้
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเปิดการประชุมว่า ในเรื่องการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศได้มีการประชุมหารือกันอย่างไม่เป็นทางการมาแล้ว โดยได้มีการมอบหมายให้เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ไปดำเนินการในบางส่วน ซึ่งในวันนี้จะได้รับทราบความคืบหน้าการดำเนินงานของ สศช. ทั้งนี้ รัฐบาลมีความตั้งใจในการวางรากฐานของระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ ที่ในหลักการแล้วควรจะพยายามลดค่าขนส่งสินค้าและบริการให้ได้มากที่สุด พร้อมกับพยายามบริหารจัดการ ฝึกบุคลากรให้พร้อมมากที่สุด อันจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เราสามารถแข่งขันในสังคมโลกได้ในอนาคต ทั้งนี้ ระบบการคมนาคมขนส่งสินค้าและบริการของเรา ทั้งระบบขนส่งมวลชน ระบบขนส่งทางรางและทางน้ำ จะต้องทำให้มีค่าขนส่งที่ต่ำ ซึ่งรัฐบาลจะพยายามวางรากฐานในส่วนนี้ไว้ ขณะที่จะวางรากฐานกับประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ จีน อินเดีย ด้วย เพื่อให้การคมนาคมช่วยเสริมเรื่องการค้าการลงทุนของเราในอนาคต
ภายหลังการประชุม ร้อยเอก ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมสรุปสาระสำคัญว่า การประชุมในวันนี้เป็นการประชุมต่อเนื่องจากที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ และแผนปฏิบัติการเร่งด่วนปี 2550 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ซึ่งเน้นการพัฒนาระบบรางเพื่อส่งเสริมให้เอกชนมาใช้บริการขนส่งสินค้าทางรถไฟมากขึ้น และนอกเหนือจากการปรับปรุงประสิทธิภาพระบบขนส่งดังกล่าวแล้ว
ที่ประชุมรับทราบรายงานความคืบหน้าเรื่องของโครงการขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติ 5 สายทางในวงเงิน 219,041 ล้านบาท โดยในโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-ตลิ่งชัน วงเงิน 13,133 ล้านบาทคาดว่าจะเปิดการประกวดราคาได้ในเดือนสิงหาคมนี้ ที่จะมีวงเงินจ่ายในปีนี้ประมาณ 848 ล้านบาท ที่จะเป็นค่ารื้อย้ายสิ่งกีดขวางและค่าจ้างที่ปรึกษาประกวดราคา
นอกจากนี้ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องการปรับปรุงระบบขนส่งที่คาดว่าจะสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2550 ซึ่งรัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณแล้ว 5,340 ล้านบาท โดยการขนส่งทางบกจะสามารถย้ายไปทางรถไฟได้มากขึ้นภายในเดือนตุลาคมนี้ โดยเฉพาะเส้นทางสายตะวันออก ขณะที่ในส่วนของการก่อสร้างทางยกระดับด้านทิศใต้ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จะเชื่อมทางพิเศษบูรพาวิถีที่จะแล้วเสร็จในปี 2551 พร้อมกันนี้มีความคืบหน้าของการเริ่มก่อสร้างรถไฟรางคู่ เส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก ฉะเชิงเทรา — ศรีราชา — แหลมฉบัง และการขนข้าว น้ำตาล จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จะเพิ่มเที่ยวต่อเดือนจากเดิม ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทยกำลังเตรียมการเพิ่มเที่ยวการให้บริการสินค้าข้าวบริเวณนครราชสีมา — ท่าเรือแหลมฉบัง จากเดิมเดือนละ 15 เที่ยวเป็น 30 เที่ยว และสินค้าน้ำตาลบริเวณขอนแก่น ท่าพระ — ท่าเรือแหลมฉบังจากเดือนละ 10 เที่ยวเป็น 30 เที่ยวภายในเดือนตุลาคมนี้ พร้อมกันนี้ จะมีการให้เอกชนเข้าร่วมดำเนินการซ่อมหัวรถจักรเพิ่มความสามารถในการขนส่งสินค้าปูนซีเมนต์จากสระบุรี ด้านการขนส่งทางน้ำ ในส่วนของการขนส่งเรือชายฝั่ง รัฐบาลได้เร่งดำเนินการท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเทียบเรือ C0 และท่าเรือ A0 ได้เปิดดำเนินการแล้วเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ส่วนท่าเรือ C1 และ C2 คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ภายในปลายปีนี้ สำหรับท่าเรือชายฝั่งทะเลอันดามัน รัฐบาลได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ โดยจะต้องดำเนินการไปพร้อมกับยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมและการพัฒนาพื้นที่ ซึ่ง สศช. ได้รับไปดำเนินการศึกษาให้ชัดเจนก่อน ด้านการขนส่งทางอากาศ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาคลังสินค้าปลอดอากรที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีความคืบหน้าที่กระทรวงคมนาคมได้สั่งการให้ปรับปรุงเพื่อเพิ่มความสะดวกในการขนส่งสินค้าทางอากาศแล้ว
พร้อมกันนี้ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ที่ประชุมเห็นชอบแผนการปฏิบัติการ 4 แผน คือ 1. แผนปฏิบัติการพัฒนาระบบโลจิสติกส์อุตสาหกรรม ที่กำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายใน 3 ปีข้างหน้าที่จะต้องมีการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ให้เชื่อมโยงกันตลอดห่วงโซ่อุปทาน ได้แก่ อุตสาหกรรมเหล็ก ปิโตรเคมี อาหาร สิ่งทอ ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ เซรามิก ยางและผลิตภัณฑ์ยาง 2. แผนปฏิบัติการพัฒนาระบบโลจิสติกส์การค้า ซึ่งที่ประชุมมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์เป็นเจ้าภาพจัดทำแผนปฏิบัติการโลจิส ติกส์ ทางการค้าของสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ข้าว ผัก ผลไม้ โดยให้นำเสนอต่อที่ประชุม คบส.ในครั้งต่อไป นอกจากนี้จะมีการเร่งรัดการใช้ประโยชน์จากเส้นทางที่เชื่อมโยงระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ จีนและอินเดีย และพิจารณาความเหมาะสมของการออกกฎหมายรองรับการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจบริการโลจิสติกส์ 3. แผนปฏิบัติการพัฒนาระบบเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลและบริการภาครัฐเพื่อการนำเข้า ส่งออก และโลจิสติกส์ (SWeL) โดยเฉพาะการเร่งรัดให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการ ซึ่งได้ตั้งเป้าหมายว่าจะสามารถเชื่อมหน่วยงานเข้าด้วยกันปีละประมาณ 8 — 10 หน่วยงาน ที่จะแล้วเสร็จสมบูรณ์ภายในปี 2553 โดยผลที่ได้คือจะสามารถลดเวลาของกระบวนการเอกสาร และการดำเนินการเพื่อการนำเข้าและส่งออกจาก 24 วันเหลือ 15 วัน ซึ่งจะน้อยกว่าทุกประเทศอาเซียนยกเว้นสิงคโปร์ ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถประหยัดเงินของธุรกิจได้ไม่ต่ำกว่าปีละ 4.9 หมื่นล้านบาท 4. แผนปฏิบัติการพัฒนาระบบข้อมูลโลจิสติกส์ของประเทศ ที่ประชุมมอบหมายให้ สศช. เป็นเจ้าภาพจัดทำข้อมูลด้านโลจิสติกส์ในระดับประเทศ โดยเฉพาะข้อมูลด้านต้นทุนและข้อมูลเพื่อประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์โลจิสติกส์
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวด้วยว่า เนื่องจากโลจิสติกส์มีความเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน ที่ประชุมจึงได้ตั้งอนุกรรมการขึ้น 4 ชุดภายใต้ คบส. คือ 1. คณะอนุกรรมโลจิสติกส์การค้า กระทรวงพาณิชย์เป็นเจ้าภาพ 2. คณะอนุกรรมการเพื่อการพัฒนาระบบเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลและบริการภาครัฐเพื่อการนำเข้า ส่งออก และโลจิสติกส์ กรมศุลกากร เป็นเจ้าภาพ 3.คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบข้อมูลโลจิสติกส์ สศช. เป็นเจ้าภาพ และ 4. คณะอนุกรรมการด้านอุตสาหกรรม ที่มีอยู่แล้วในกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้ มติที่ประชุม คบส.ในวันนี้จะนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบและมอบให้สำนักงบประมาณใช้เป็นกรอบในการพิจารณาอนุมัติจัดสรรงบประมาณประจำปี 2552 — 2554 ต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--