นายกรัฐมนตรีหารือร่วมกับ กกต. กำหนดวันเลือกตั้ง 23 ธันวาคมนี้ รอกฎหมายลูก 3 ฉบับมีผลบังคับใช้แล้ว เตรียมร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยต่อไป
เมื่อเวลา 13.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอภิชาต สุขัคคานนน์ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พร้อมด้วย นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต. นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. นายประวิง คชาชีวะ รองเลขาธิการ กกต.และนายบุญยเกียรติ รักชาติเจริญ ผู้อำนวยการสำนักบริหารการเลือกตั้ง เข้าพบและหารือร่วมกับพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เพื่อกำหนดวันเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ รวมทั้งเสนอปฏิทินที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการจัดการเลือกตั้ง
ภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย ประธาน กกต. ได้ร่วมกันแถลงข่าว โดยนายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า จากการหารือได้ข้อยุติในเรื่องของการที่จะมีการเลือกตั้ง ซึ่งข้อยุตินี้จะต้องมีการดำเนินการต่อไป โดยขอให้ประธาน กกต. ได้ชี้แจงให้ทราบว่าจะต้องรอให้ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องอีก 3 ฉบับผ่านความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติก่อน หลังจากนั้นจะได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อกำหนดวันเลือกตั้งตามพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งต่อไป
นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. กล่าวเพิ่มเติมว่า จากเดิมที่ได้หารือร่วมกันว่าการเลือกตั้งควรจะอยู่ภายในปีนี้ โดยจะเป็นวันที่ 16 ธันวาคมหรือวันที่ 23 ธันวาคม แต่ต่อมามีการลงประชามติเร็วขึ้นจากกำหนดเดิมคือวันที่ 2 กันยายน เป็นวันที่ 19 สิงหาคม จึงได้กราบเรียนนายกรัฐมนตรีว่าวันเลือกตั้งอย่างเร็วที่สุดอาจจะเป็นวันที่ 25 พฤศจิกายน แต่หลังจากได้ศึกษาข้อดีข้อเสียต่าง ๆ แล้ว ก็เห็นตรงกันทุกฝ่ายว่า วันเลือกตั้งสมควรจะเป็นวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ซึ่งตามกำหนดระยะเวลาตามกฎหมายวันสุดท้ายที่สามารถจะกำหนดเป็นวันเลือกตั้งได้คือวันที่ 13 มกราคม 2551 แต่จากการพิจารณาแล้วเห็นว่าวันที่ 13 มกราคม หรือวันที่ 6 มกราคม จะมีปัญหาหลายอย่าง เช่น ในเรื่องการออกเสียงล่วงหน้า ถ้ากำหนดวันที่ 6 มกราคม วันเลือกตั้งล่วงหน้าจะตรงกับวันหยุดสิ้นปีคือวันขึ้นปีใหม่พอดี ซึ่งจะไม่สะดวก จึงมีความเห็นตรงกันว่าวันที่เหมาะสมที่สุดและมีเวลาพอให้กับพรรคการเมืองต่าง ๆ ได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องคือวันที่ 23 ธันวาคม 2550 และทาง กกต. ได้นำปฏิทินที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการจัดการเลือกตั้งมาเสนอกับนายกรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว รวมทั้งงบประมาณสำหรับจัดการเลือกตั้งที่คาดว่าจะใช้ประมาณ 1,900 ล้านบาท
ประธาน กกต. กล่าวว่า ในส่วนการดำเนินการให้การจัดการเลือกตั้งบริสุทธิ์ยุติธรรมนั้น ทาง กกต.จะพยายามอย่างดีที่สุด เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความสุจริตเที่ยงธรรมมากที่สุด เพื่อให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ และจากการลงประชามติที่ผ่านมาเห็นได้ว่าประชาชนมีความตื่นตัวในเรื่องประชาธิปไตยและการออกเสียงลงคะแนนอย่างมาก โดยเฉพาะประชาชนในต่างจังหวัดมีความรู้ความเข้าใจดีขึ้น และได้รับความร่วมมือจากสื่อมวลชนในการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจ ซึ่งจะมีต่อเนื่องไปถึงการเลือกตั้งด้วย และหวังว่าประชาชนจะมีความเข้าใจว่าจะต้องเลือกคนดีเข้ามาปกครองบ้านเมือง และช่วยกันตัดสินใจด้วยตัวเองอย่างถูกต้อง โดยไม่ไปอยู่ภายใต้การซื้อเสียง แต่ประชาชนที่มีสิทธิก็มีจำนวนมากหลายสิบล้านคน จะให้คิดเหมือนกันหมดคงไม่ได้ แต่ก็หวังว่าประชาชนจะเข้าใจว่าถึงเวลาที่จำเป็นของชาติบ้านเมืองที่ต้องร่วมมือกันเพื่อให้ได้คนดี
ขณะที่นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลมีความพร้อมที่จะให้การสนับสนุนการดำเนินการของ กกต. และได้หารือเรื่องการดูแลความสงบเรียบร้อยในการจัดการเลือกตั้ง โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีการตั้งศูนย์อำนวยการตั้งแต่วันลงประชามติรัฐธรรมนูญแล้ว และจะใช้ศูนย์ดังกล่าวดำเนินการต่อไป ทั้งเรื่องการดูแลความสงบเรียบร้อยในการเลือกตั้ง สำหรับในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็จะใช้วิธีการเดียวกันกับวันลงประชามติในการดูแลความปลอดภัย ส่วนเรื่องบประมาณที่จะใช้ในการจัดการเลือกตั้งนั้น ได้หารือกันแล้ว ซึ่งรัฐบาลพร้อมที่จะดำเนินการได้ เพราะงบประมาณปี 2551 น่าจะได้รับการอนุมัติให้ใช้ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมนี้เป็นต้นไป
ผู้สื่อข่าวถามว่า รัฐบาลจะสามารถเสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งได้เมื่อไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หลังจากที่ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับมีผลบังคับใช้แล้ว ซึ่งคาดว่าคงไม่เกินสิ้นเดือนตุลาคมนี้ จากนั้นรัฐบาลจะร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยอีกครั้ง
ผู้สื่อข่าวถามว่า การติดโปสเตอร์หาเสียงช่วงใกล้วันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม จะมีปัญหาอะไรหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า วันนี้ได้มีการหารือประเด็นนี้เช่นกันว่าพื้นที่ที่จะขอยกเว้นการติดโปสเตอร์จากพรรคการเมือง ซึ่งเคยดำเนินการมาแล้วคือพื้นที่บริเวณถนนราชดำเนิน เกาะรัตนโกสินทร์ และบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ก็คงขอเว้นพื้นที่ดังกล่าว เพื่อไม่ให้มีการติดป้ายหาเสียง ประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง
ต่อข้อถามว่า จะมีการยกเลิกกฎอัยการศึกที่ยังคงไว้ในบางพื้นที่หรือไม่ น ยกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้มีการหารือกัน แต่คงต้องมาดูกันว่าจะสามารถดำเนินการได้มากน้อยแค่ไหนอย่างไร ส่วนจะยกเลิกได้หรือไม่นั้น คงต้องหารือกันอีกครั้งว่าจะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งวันนี้ยังไม่ได้ข้อยุติ
ต่อข้อถามว่า หากยังมีพื้นที่ที่ประกาศกฎอัยการศึกและเจ้าหน้าที่ยังคงควบคุมพื้นที่อย่างเข้มงวด การเลือกตั้งจะบริสุทธิ์ยุติธรรมได้อย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การเลือกตั้งจะบริสุทธิ์ยุติธรรมหรือไม่คงไม่เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว เพราะผู้ที่ดูแลการเลือกตั้งคือ กกต. คงไม่เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ที่ดูแลพื้นที่กฎอัยการศึก ส่วนกรณีที่กลุ่มไทยรักไทยเดิมระบุว่าอาจไม่ได้รับความเป็นธรรมนั้น ก็เป็นเรื่องที่พูดคุยกันได้ว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมอย่างไร รัฐบาลพยายามดำเนินการตามกฎหมายทุกอย่างที่จะให้เกิดความเป็นธรรม
ผู้สื่อข่าวถามว่า มั่นใจหรือไม่ว่าจะไม่เกิดอุบัติเหตุที่ทำให้การเลือกตั้งต้องเลื่อนกำหนดออกไป นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากการพูดคุยกันวันนี้ คิดว่าไม่มีอะไร เพราะทุกคนมองไปถึงการที่จะมีการเลือกตั้ง และกลับไปสู่ครรลองของประชาธิปไตย ส่วนที่ว่าจะดูแลให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์ยุติธรรมอย่างที่เคยประกาศไว้ได้อย่างไร เพราะแค่เริ่มต้นก็มีข่าวการซื้อตัวผู้สมัคร ส.ส.แล้ว นั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เราจะพยายามอย่างเต็มที่ ถือเป็นความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งประชาชน กกต. ภาครัฐ ก็จะดำเนินการที่จะให้มีการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์และยุติธรรมมากที่สุด เราจะพยายามอย่างที่สุด เรื่องนี้ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน ถ้าหวังพึ่งเพียงส่วนหนึ่งส่วนใดเพียงส่วนเดียวก็คงไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ความชัดเจนวันนี้คิดว่าจะเกิดผลดีตามมาอย่างไรบ้าง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เมื่อสามารถกำหนดช่วงเวลาในวันเลือกตั้งที่ชัดเจนออกมาได้ ก็จะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายในการเตรียมการ ไม่ว่าจะเป็น กกต. รัฐบาล หรือพรรคการเมือง ที่จะได้มีการเตรียมการล่วงหน้า ประชาชนเองก็จะได้รับทราบ และเตรียมการ เพราะเรื่องนี้ถือเป็นอีกวาระหนึ่งที่ถือว่าเป็นวาระที่มีความสำคัญในการที่จะคัดเลือกผู้ที่มารับหน้าที่ในการบริหารบ้านเมืองต่อไป ในส่วนความเชื่อมั่นของต่างประเทศก็คิดว่าถ้าเราสามารถทำในสิ่งที่พูดไว้ได้ความเชื่อมั่นก็จะกลับมา แม้เรื่องนี้จะไม่ถือเป็นวาระแห่งชาติก็ตาม แต่ถือเป็นเรื่องที่พวกเราต้องปฏิบัติ และถือเป็นส่วนสำคัญของทุก ๆ คนที่ต้องช่วยกันทำให้ชาติบ้านเมืองก้าวหน้า
ด้านนายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. กล่าวว่า สำหรับปฏิทินกำหนดวันรับสมัครรับเลือกตั้ง ถ้าพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งมีผลใช้บังคับในปลายเดือนตุลาคม คาดว่าจะเปิดรับสมัครผู้สมัคร ส.ส. ได้ประมาณต้นเดือนพฤศจิกายน ซึ่งกำหนดการต่างๆ ได้นำกราบเรียนนายกรัฐมนตรีทราบแล้ว
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
เมื่อเวลา 13.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอภิชาต สุขัคคานนน์ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พร้อมด้วย นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต. นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. นายประวิง คชาชีวะ รองเลขาธิการ กกต.และนายบุญยเกียรติ รักชาติเจริญ ผู้อำนวยการสำนักบริหารการเลือกตั้ง เข้าพบและหารือร่วมกับพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เพื่อกำหนดวันเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ รวมทั้งเสนอปฏิทินที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการจัดการเลือกตั้ง
ภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย ประธาน กกต. ได้ร่วมกันแถลงข่าว โดยนายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า จากการหารือได้ข้อยุติในเรื่องของการที่จะมีการเลือกตั้ง ซึ่งข้อยุตินี้จะต้องมีการดำเนินการต่อไป โดยขอให้ประธาน กกต. ได้ชี้แจงให้ทราบว่าจะต้องรอให้ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องอีก 3 ฉบับผ่านความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติก่อน หลังจากนั้นจะได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อกำหนดวันเลือกตั้งตามพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งต่อไป
นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. กล่าวเพิ่มเติมว่า จากเดิมที่ได้หารือร่วมกันว่าการเลือกตั้งควรจะอยู่ภายในปีนี้ โดยจะเป็นวันที่ 16 ธันวาคมหรือวันที่ 23 ธันวาคม แต่ต่อมามีการลงประชามติเร็วขึ้นจากกำหนดเดิมคือวันที่ 2 กันยายน เป็นวันที่ 19 สิงหาคม จึงได้กราบเรียนนายกรัฐมนตรีว่าวันเลือกตั้งอย่างเร็วที่สุดอาจจะเป็นวันที่ 25 พฤศจิกายน แต่หลังจากได้ศึกษาข้อดีข้อเสียต่าง ๆ แล้ว ก็เห็นตรงกันทุกฝ่ายว่า วันเลือกตั้งสมควรจะเป็นวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ซึ่งตามกำหนดระยะเวลาตามกฎหมายวันสุดท้ายที่สามารถจะกำหนดเป็นวันเลือกตั้งได้คือวันที่ 13 มกราคม 2551 แต่จากการพิจารณาแล้วเห็นว่าวันที่ 13 มกราคม หรือวันที่ 6 มกราคม จะมีปัญหาหลายอย่าง เช่น ในเรื่องการออกเสียงล่วงหน้า ถ้ากำหนดวันที่ 6 มกราคม วันเลือกตั้งล่วงหน้าจะตรงกับวันหยุดสิ้นปีคือวันขึ้นปีใหม่พอดี ซึ่งจะไม่สะดวก จึงมีความเห็นตรงกันว่าวันที่เหมาะสมที่สุดและมีเวลาพอให้กับพรรคการเมืองต่าง ๆ ได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องคือวันที่ 23 ธันวาคม 2550 และทาง กกต. ได้นำปฏิทินที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการจัดการเลือกตั้งมาเสนอกับนายกรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว รวมทั้งงบประมาณสำหรับจัดการเลือกตั้งที่คาดว่าจะใช้ประมาณ 1,900 ล้านบาท
ประธาน กกต. กล่าวว่า ในส่วนการดำเนินการให้การจัดการเลือกตั้งบริสุทธิ์ยุติธรรมนั้น ทาง กกต.จะพยายามอย่างดีที่สุด เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความสุจริตเที่ยงธรรมมากที่สุด เพื่อให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ และจากการลงประชามติที่ผ่านมาเห็นได้ว่าประชาชนมีความตื่นตัวในเรื่องประชาธิปไตยและการออกเสียงลงคะแนนอย่างมาก โดยเฉพาะประชาชนในต่างจังหวัดมีความรู้ความเข้าใจดีขึ้น และได้รับความร่วมมือจากสื่อมวลชนในการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจ ซึ่งจะมีต่อเนื่องไปถึงการเลือกตั้งด้วย และหวังว่าประชาชนจะมีความเข้าใจว่าจะต้องเลือกคนดีเข้ามาปกครองบ้านเมือง และช่วยกันตัดสินใจด้วยตัวเองอย่างถูกต้อง โดยไม่ไปอยู่ภายใต้การซื้อเสียง แต่ประชาชนที่มีสิทธิก็มีจำนวนมากหลายสิบล้านคน จะให้คิดเหมือนกันหมดคงไม่ได้ แต่ก็หวังว่าประชาชนจะเข้าใจว่าถึงเวลาที่จำเป็นของชาติบ้านเมืองที่ต้องร่วมมือกันเพื่อให้ได้คนดี
ขณะที่นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลมีความพร้อมที่จะให้การสนับสนุนการดำเนินการของ กกต. และได้หารือเรื่องการดูแลความสงบเรียบร้อยในการจัดการเลือกตั้ง โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีการตั้งศูนย์อำนวยการตั้งแต่วันลงประชามติรัฐธรรมนูญแล้ว และจะใช้ศูนย์ดังกล่าวดำเนินการต่อไป ทั้งเรื่องการดูแลความสงบเรียบร้อยในการเลือกตั้ง สำหรับในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็จะใช้วิธีการเดียวกันกับวันลงประชามติในการดูแลความปลอดภัย ส่วนเรื่องบประมาณที่จะใช้ในการจัดการเลือกตั้งนั้น ได้หารือกันแล้ว ซึ่งรัฐบาลพร้อมที่จะดำเนินการได้ เพราะงบประมาณปี 2551 น่าจะได้รับการอนุมัติให้ใช้ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมนี้เป็นต้นไป
ผู้สื่อข่าวถามว่า รัฐบาลจะสามารถเสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งได้เมื่อไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หลังจากที่ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับมีผลบังคับใช้แล้ว ซึ่งคาดว่าคงไม่เกินสิ้นเดือนตุลาคมนี้ จากนั้นรัฐบาลจะร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยอีกครั้ง
ผู้สื่อข่าวถามว่า การติดโปสเตอร์หาเสียงช่วงใกล้วันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม จะมีปัญหาอะไรหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า วันนี้ได้มีการหารือประเด็นนี้เช่นกันว่าพื้นที่ที่จะขอยกเว้นการติดโปสเตอร์จากพรรคการเมือง ซึ่งเคยดำเนินการมาแล้วคือพื้นที่บริเวณถนนราชดำเนิน เกาะรัตนโกสินทร์ และบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ก็คงขอเว้นพื้นที่ดังกล่าว เพื่อไม่ให้มีการติดป้ายหาเสียง ประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง
ต่อข้อถามว่า จะมีการยกเลิกกฎอัยการศึกที่ยังคงไว้ในบางพื้นที่หรือไม่ น ยกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้มีการหารือกัน แต่คงต้องมาดูกันว่าจะสามารถดำเนินการได้มากน้อยแค่ไหนอย่างไร ส่วนจะยกเลิกได้หรือไม่นั้น คงต้องหารือกันอีกครั้งว่าจะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งวันนี้ยังไม่ได้ข้อยุติ
ต่อข้อถามว่า หากยังมีพื้นที่ที่ประกาศกฎอัยการศึกและเจ้าหน้าที่ยังคงควบคุมพื้นที่อย่างเข้มงวด การเลือกตั้งจะบริสุทธิ์ยุติธรรมได้อย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การเลือกตั้งจะบริสุทธิ์ยุติธรรมหรือไม่คงไม่เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว เพราะผู้ที่ดูแลการเลือกตั้งคือ กกต. คงไม่เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ที่ดูแลพื้นที่กฎอัยการศึก ส่วนกรณีที่กลุ่มไทยรักไทยเดิมระบุว่าอาจไม่ได้รับความเป็นธรรมนั้น ก็เป็นเรื่องที่พูดคุยกันได้ว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมอย่างไร รัฐบาลพยายามดำเนินการตามกฎหมายทุกอย่างที่จะให้เกิดความเป็นธรรม
ผู้สื่อข่าวถามว่า มั่นใจหรือไม่ว่าจะไม่เกิดอุบัติเหตุที่ทำให้การเลือกตั้งต้องเลื่อนกำหนดออกไป นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากการพูดคุยกันวันนี้ คิดว่าไม่มีอะไร เพราะทุกคนมองไปถึงการที่จะมีการเลือกตั้ง และกลับไปสู่ครรลองของประชาธิปไตย ส่วนที่ว่าจะดูแลให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์ยุติธรรมอย่างที่เคยประกาศไว้ได้อย่างไร เพราะแค่เริ่มต้นก็มีข่าวการซื้อตัวผู้สมัคร ส.ส.แล้ว นั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เราจะพยายามอย่างเต็มที่ ถือเป็นความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งประชาชน กกต. ภาครัฐ ก็จะดำเนินการที่จะให้มีการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์และยุติธรรมมากที่สุด เราจะพยายามอย่างที่สุด เรื่องนี้ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน ถ้าหวังพึ่งเพียงส่วนหนึ่งส่วนใดเพียงส่วนเดียวก็คงไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ความชัดเจนวันนี้คิดว่าจะเกิดผลดีตามมาอย่างไรบ้าง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เมื่อสามารถกำหนดช่วงเวลาในวันเลือกตั้งที่ชัดเจนออกมาได้ ก็จะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายในการเตรียมการ ไม่ว่าจะเป็น กกต. รัฐบาล หรือพรรคการเมือง ที่จะได้มีการเตรียมการล่วงหน้า ประชาชนเองก็จะได้รับทราบ และเตรียมการ เพราะเรื่องนี้ถือเป็นอีกวาระหนึ่งที่ถือว่าเป็นวาระที่มีความสำคัญในการที่จะคัดเลือกผู้ที่มารับหน้าที่ในการบริหารบ้านเมืองต่อไป ในส่วนความเชื่อมั่นของต่างประเทศก็คิดว่าถ้าเราสามารถทำในสิ่งที่พูดไว้ได้ความเชื่อมั่นก็จะกลับมา แม้เรื่องนี้จะไม่ถือเป็นวาระแห่งชาติก็ตาม แต่ถือเป็นเรื่องที่พวกเราต้องปฏิบัติ และถือเป็นส่วนสำคัญของทุก ๆ คนที่ต้องช่วยกันทำให้ชาติบ้านเมืองก้าวหน้า
ด้านนายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. กล่าวว่า สำหรับปฏิทินกำหนดวันรับสมัครรับเลือกตั้ง ถ้าพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งมีผลใช้บังคับในปลายเดือนตุลาคม คาดว่าจะเปิดรับสมัครผู้สมัคร ส.ส. ได้ประมาณต้นเดือนพฤศจิกายน ซึ่งกำหนดการต่างๆ ได้นำกราบเรียนนายกรัฐมนตรีทราบแล้ว
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--