วันนี้ เวลา 09.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาระดับชาติเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับคณะกรรมการสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพื่อแสวงหาแนวทาง และการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุมสัมมนาประมาณ 500 คน ประกอบด้วย หน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่ทางด้านสังคม ผู้บริหารด้านวัฒนธรรม ผู้บริหารสถานศึกษา วัฒนธรรมจังหวัด เครือข่ายภาคประชาชน และเยาวชน สมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ สมาคมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย สื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ สถานีโทรทัศน์ทุกช่อง ผู้ประกอบการด้านสื่อแต่ละประเภท เครือข่ายนักเรียน นักศึกษา
นางสาวลัดดา ตั้งสุภาชัย ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังทางวัฒนธรรม ในนามคณะกรรมการดำเนินโครงการประชุมสัมมนาระดับชาติเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์กล่าวรายงานว่า รัฐบาลได้ตระหนักถึงปัญหาเด็กและเยาวชนที่ได้รับผลกระทบจากการบริโภคสื่อที่ไม่เหมาะสม จนนำไปสู่พฤติกรรมเบี่ยงเบนต่าง ๆ มากมาย จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ) เป็นรองประธาน และมีผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานแต่ละภาคส่วนเป็นคณะกรรมการ โดยมีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายระดับชาติ เพื่อขจัดสื่อร้าย ขยายสื่อดี และสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เด็กและเยาวชนและสังคม รวมทั้งขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกันระหว่างกระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ และทุกภาคส่วนของสังคม ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
รองนายกรัฐมนตรี กล่าวเปิดการประชุมสัมมนาว่า จากผลของการพัฒนาประเทศในยุคของกระแสโลกาภิวัตน์ ทุนนิยม และการสื่อสารที่ไร้พรมแดนของสังคมโลก ทำให้สังคมไทยได้รับผลกระทบเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านบวกของการพัฒนา และด้านลบจากปัญหาที่น่าห่วงที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนบริโภคสื่อที่ไม่เหมาะสม ด้อยคุณภาพ และลามกอนาจาร ผ่านช่องทางสื่อแต่ละประเภทที่สามารถเข้าถึงเด็กและเยาวชนอย่างมีศักยภาพ จนส่งผลให้เกิดพฤติกรรมเบี่ยงเบนต่างๆ มากมาย เช่น ปัญหาความเสื่อมของศีลธรรมและจริยธรรม ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาการเสพติดสื่อลามกและมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม ซึ่งปัญหาดังกล่าวได้ขยายตัวเพิ่มความถี่และทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นโดยลำดับ รัฐบาลได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงอันตรายของปัญหาที่มีความจำเป็นเร่งด่วน รัฐบาลจึงได้แต่งตั้ง “คณะกรรมการสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์”ขึ้น เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2550 เพื่อบูรณาการความร่วมมือและระดมสรรพกำลังจากหน่วยงานทุกภาคส่วนของสังคม ในการดำเนินภารกิจให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ โดยมีทิศทางในการดำเนินงานเพื่อขจัดสื่อร้าย ขยายสื่อดี สร้างภูมิคุ้มกัน ตลอดจนการพัฒนาปรับปรุงกฎหมายด้านสื่อให้มีความเหมาะสม เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมให้แก่เด็ก เยาวชนและสังคม จึงได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินภารกิจด้านต่าง ๆ จำนวน 5 คณะกรรมการ ประกอบด้วย คณะอนุกรรมการสืบสวนปราบปรามสื่อที่กระทำผิดกฎหมาย คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและกระบวนการเผยแพร่สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ คณะอนุกรรมการสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ คณะอนุกรรมการบูรณาการและปรับปรุงกฎหมายด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ คณะอนุกรรมการศูนย์ปฏิบัติการสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ซึ่งการประชุมสัมมนาในครั้งนี้ จะเป็นการระดมความคิดเห็นและบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคม เพื่อขับเคลื่อนและประกาศเจตนารมณ์ในการแก้ไขปัญหาสื่อที่ไม่เหมาะสม ให้หมดสิ้นไปจากสังคมไทย เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมของสังคมที่เหมาะสมและปลอดภัยมากขึ้น ต่อการเกิดสุขภาวะที่ดีของเด็ก เยาวชนและสังคมไทย รวมทั้งสนับสนุนให้เป็นสังคมแห่งสันติสุข ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกต่อไป
สำหรับกิจกรรมในการประชุมสัมมนาในครั้งนี้ ประกอบด้วย ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “สื่อกับวัฒนธรรม” โดย คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม การนำเสนอสื่อมัลลติมีเดียสะท้อนปัญหาสื่อร้ายในสังคม การเสวนา เรื่อง สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยประธานคณะอนุกรรมการฯ 5 คณะ และการแบ่งกลุ่มระดมความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาในครั้งนี้ด้วย
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
นางสาวลัดดา ตั้งสุภาชัย ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังทางวัฒนธรรม ในนามคณะกรรมการดำเนินโครงการประชุมสัมมนาระดับชาติเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์กล่าวรายงานว่า รัฐบาลได้ตระหนักถึงปัญหาเด็กและเยาวชนที่ได้รับผลกระทบจากการบริโภคสื่อที่ไม่เหมาะสม จนนำไปสู่พฤติกรรมเบี่ยงเบนต่าง ๆ มากมาย จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ) เป็นรองประธาน และมีผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานแต่ละภาคส่วนเป็นคณะกรรมการ โดยมีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายระดับชาติ เพื่อขจัดสื่อร้าย ขยายสื่อดี และสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เด็กและเยาวชนและสังคม รวมทั้งขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกันระหว่างกระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ และทุกภาคส่วนของสังคม ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
รองนายกรัฐมนตรี กล่าวเปิดการประชุมสัมมนาว่า จากผลของการพัฒนาประเทศในยุคของกระแสโลกาภิวัตน์ ทุนนิยม และการสื่อสารที่ไร้พรมแดนของสังคมโลก ทำให้สังคมไทยได้รับผลกระทบเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านบวกของการพัฒนา และด้านลบจากปัญหาที่น่าห่วงที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนบริโภคสื่อที่ไม่เหมาะสม ด้อยคุณภาพ และลามกอนาจาร ผ่านช่องทางสื่อแต่ละประเภทที่สามารถเข้าถึงเด็กและเยาวชนอย่างมีศักยภาพ จนส่งผลให้เกิดพฤติกรรมเบี่ยงเบนต่างๆ มากมาย เช่น ปัญหาความเสื่อมของศีลธรรมและจริยธรรม ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาการเสพติดสื่อลามกและมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม ซึ่งปัญหาดังกล่าวได้ขยายตัวเพิ่มความถี่และทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นโดยลำดับ รัฐบาลได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงอันตรายของปัญหาที่มีความจำเป็นเร่งด่วน รัฐบาลจึงได้แต่งตั้ง “คณะกรรมการสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์”ขึ้น เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2550 เพื่อบูรณาการความร่วมมือและระดมสรรพกำลังจากหน่วยงานทุกภาคส่วนของสังคม ในการดำเนินภารกิจให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ โดยมีทิศทางในการดำเนินงานเพื่อขจัดสื่อร้าย ขยายสื่อดี สร้างภูมิคุ้มกัน ตลอดจนการพัฒนาปรับปรุงกฎหมายด้านสื่อให้มีความเหมาะสม เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมให้แก่เด็ก เยาวชนและสังคม จึงได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินภารกิจด้านต่าง ๆ จำนวน 5 คณะกรรมการ ประกอบด้วย คณะอนุกรรมการสืบสวนปราบปรามสื่อที่กระทำผิดกฎหมาย คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและกระบวนการเผยแพร่สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ คณะอนุกรรมการสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ คณะอนุกรรมการบูรณาการและปรับปรุงกฎหมายด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ คณะอนุกรรมการศูนย์ปฏิบัติการสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ซึ่งการประชุมสัมมนาในครั้งนี้ จะเป็นการระดมความคิดเห็นและบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคม เพื่อขับเคลื่อนและประกาศเจตนารมณ์ในการแก้ไขปัญหาสื่อที่ไม่เหมาะสม ให้หมดสิ้นไปจากสังคมไทย เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมของสังคมที่เหมาะสมและปลอดภัยมากขึ้น ต่อการเกิดสุขภาวะที่ดีของเด็ก เยาวชนและสังคมไทย รวมทั้งสนับสนุนให้เป็นสังคมแห่งสันติสุข ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกต่อไป
สำหรับกิจกรรมในการประชุมสัมมนาในครั้งนี้ ประกอบด้วย ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “สื่อกับวัฒนธรรม” โดย คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม การนำเสนอสื่อมัลลติมีเดียสะท้อนปัญหาสื่อร้ายในสังคม การเสวนา เรื่อง สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยประธานคณะอนุกรรมการฯ 5 คณะ และการแบ่งกลุ่มระดมความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาในครั้งนี้ด้วย
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--