แท็ก
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล
สำนักนายกรัฐมนตรี
กรมอาชีวศึกษา
ทำเนียบรัฐบาล
ตึกสันติไมตรี
วันนี้ เวลา 09.30 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้เป็นประธานเปิดงานวันคุ้มครองผู้บริโภค ประจำปี 2550 พร้อมมอบโล่รางวัลภาพยนตร์โฆษณาดีเด่นทางโทรทัศน์เพื่อผู้บริโภค ครั้งที่ 6 จำนวน 16 รางวัล แบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ประเภทสินค้า ประเภทบริการ ประเภทส่งเสริมสังคม ศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม และประเภทรางวัลพิเศษ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และมอบโล่ประกาศเกียรติคุณบุคคล หน่วยงาน องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน และสื่อมวลชนที่สนับสนุนการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค จำนวนทั้งสิ้น 90 ราย เพื่อระลึกถึงคุณความดีผู้ทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติด้านการคุ้มครองผู้บริโภค
นางรัศมี วิศทเวทย์ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวรายงาน ว่า ด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พุทธศักราช 2522 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 30 เมษายน พุทธศักราช 2522 และพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้บัญญัติสิทธิของผู้บริโภคที่ได้รับความคุ้มครอง เพื่อเป็นการเสริมการคุ้มครองผู้บริโภค โดยกฎหมายอื่นที่ได้มีการประกาศใช้อยู่ก่อนแล้ว ดังนั้น จึงกำหนดให้วันที่ 30 เมษายนของทุกปี เป็นวันคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศไทย
สำหรับการจัดงานคุ้มครองผู้บริโภค‘ 50 ในปีนี้ จัดขึ้นพร้อมกันทั่วประเทศ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัด จะเป็นประธานในการจัดงานตามความเหมาะสม เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนได้ตระหนักถึงประโยชน์ของการคุ้มครองผู้บริโภค เกิดการตื่นตัวที่จะรักษาสิทธิผู้บริโภคของตนตามที่กฎหมายบัญญัติ รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในด้านการคุ้มครองผู้บริโภค สร้างจิตสำนึกอันดีและความเข้าใจแก่ผู้ประกอบธุรกิจ ให้ประกอบธุรกิจที่ไม่เป็นการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค อันจะเป็นประโยชน์ต่อการคุ้มครองผู้บริโภคโดยสวนรวม
โอกาสนี้ นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเปิดงานว่า การดำเนินงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค โดยคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคและสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค นับเป็นเวลา 28 ปีแล้ว ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ได้มีพัฒนาการด้านต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคให้กับประชาชนได้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มเติม ปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย การกำหนดยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ในการดำเนินงาน เพื่อให้ความเป็นธรรมทั้งแก่ผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจ การอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนทั่วประเทศในการติดต่อขอรับบริการด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จำนวนเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทำหน้าที่ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งประเทศแล้ว คงเป็นเรื่องยากที่จะดำเนินการให้ความคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคแก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องประสานความร่วมมือกันในทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อประโยชน์ต่อการคุ้มครองผู้บริโภคโดยส่วนรวม นอกจากนี้ การเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคให้กับประชาชน ถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพราะเมื่อประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นอย่างดีแล้ว ก็จะสามารถปกป้องคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคของตนได้ในเบื้องต้น ซึ่งนอกจากจะเป็นการลดปัญหาการละเมิดสิทธิผู้บริโภคแล้วประชาชนยังสามารถนำความรู้ ความเข้าใจนี้ ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ในการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการได้อย่างปลอดภัย เป็นธรรมและประหยัดอีกด้วย
จากนั้นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้มอบโล่รางวัลภาพยนตร์โฆษณาดีเด่นทางโทรทัศน์เพื่อผู้บริโภค ประจำปี พ.ศ. 2549 (ครั้งที่ 6) โดยเริ่มที่ประเภทสินค้า ทั้งหมด 4 รางวัล ได้แก่ รางวัลชนะเลิศ ภาพยนตร์โฆษณาผลิตภัณฑ์โซนี่ (ชุด Birthday Away) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ภาพยนตร์โฆษณารถยนต์โตโยต้า (ชุด มิตรธรรมชาติ) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ภาพยนตร์โฆษณาบัตรเงินสดสมาร์ทเพิร์ส (ชุด อาม่า (Tissue)) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 ภาพยนตร์โฆษณากิฟฟารีน (ชุด โอกาส) ประเภทบริการ ทั้งหมด 4 รางวัล ได้แก่ รางวัลชนะเลิศ ภาพยนตร์โฆษณาไทยประกันชีวิต (ชุด My Girl) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ภาพยนตร์โฆษณาระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ AIS (ชุด โกนหนวด) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ภาพยนตร์โฆณาเคาน์เตอร์เซอร์วิส ( ชุด คาเฟ่) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 ได้แก่ ภาพยนตร์โฆษณาธนาคารไทยพาณิชย์ (ชุด Celebration) ประเภทส่งเสริมสังคม ศิลปวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ทั้งหมด 4 รางวัล ได้แก่ รางวัลชนะเลิศ ภาพยนตร์โฆษณาสารคดี ภูมิปัญญาแผ่นดิน (ชุด รู้รักสามัคคี) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ภาพยนตร์โฆษณารณรงค์ไม่สูบบุรี่ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ภาพยนตร์โฆษณาโครงการสานรัก (ชุด Always Smile) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 ภาพยนตร์โฆษณาธนาคารไทยพาณิชย์ (ชุด ลิฟท์) และประเภทรางวัลพิเศษเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ทั้งหมด 4 รางวัล ได้แก่ รางวัลชนะเลิศ ภาพยนตร์โฆษณาเฉลิมพระเกียรติฯ (ชุด In Your Heart ) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ภาพยนตร์โฆษณาเฉลิมพระเกียรติฯ (ชุด คำจากหัวใจ) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ภาพยนตร์โฆษณาเฉลิมพระเกียรติฯ (ชุด ปาท่องโก๋) และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 ภาพยนตร์โฆษณาเฉลิมพระเกียรติฯ (ชุด หญ้าแฝก)
ต่อจากนั้นเป็นการมอบโล่ประกาศเกียรติคุณรางวัลประเภทต่าง ๆ ได้แก่ 1. โล่ประกาศเกียรติคุณบุคคลที่ทำคุณประโยชน์ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค จำนวน17 ราย 2.โล่ประกาศเกียรติคุณหน่วยงาน/องค์กร สนับสนุน การดำเนินงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค จำนวน 59 ราย 3.โล่ประกาศเกียรติคุณสื่อมวลชนที่สนับสนุนการคุ้มครองผู้บริโภคจำนวน 14 ราย
พร้อมกันนี้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรียังได้ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีรับและมอบปฏิญญาความร่วมมือในการรับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคระหว่างสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กับ บริษัท ซี.พี. เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งความร่วมมือดังกล่าว เป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนผู้บริโภค โดยสามารถดำเนินการยื่นเรื่องราวร้องทุกข์กรณีถูกละเมิดสิทธิผู้บริโภค ณ ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ทุกสาขาทั่วประเทศ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
ในตอนท้ายรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับรางวัลดังกล่าวพร้อมแสดงความชื่นชมและขอบคุณ บุคคล หน่วยงาน องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน สื่อมวลชนที่ได้ทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติด้านการคุ้มครองผู้บริโภค อันก่อให้เกิดผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ทุกคน ทุกหน่วยงานจะรักษาเกียรติคุณนี้ไว้ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อื่นในการทำคุณประโยชน์เพื่อประชาชนผู้บริโภคตลอดไป จากนั้นได้ถ่ายภาพหมู่ร่วมกับหน่วยงาน และผู้ที่ได้รับรางวัลทุกคน
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
นางรัศมี วิศทเวทย์ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวรายงาน ว่า ด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พุทธศักราช 2522 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 30 เมษายน พุทธศักราช 2522 และพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้บัญญัติสิทธิของผู้บริโภคที่ได้รับความคุ้มครอง เพื่อเป็นการเสริมการคุ้มครองผู้บริโภค โดยกฎหมายอื่นที่ได้มีการประกาศใช้อยู่ก่อนแล้ว ดังนั้น จึงกำหนดให้วันที่ 30 เมษายนของทุกปี เป็นวันคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศไทย
สำหรับการจัดงานคุ้มครองผู้บริโภค‘ 50 ในปีนี้ จัดขึ้นพร้อมกันทั่วประเทศ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัด จะเป็นประธานในการจัดงานตามความเหมาะสม เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนได้ตระหนักถึงประโยชน์ของการคุ้มครองผู้บริโภค เกิดการตื่นตัวที่จะรักษาสิทธิผู้บริโภคของตนตามที่กฎหมายบัญญัติ รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในด้านการคุ้มครองผู้บริโภค สร้างจิตสำนึกอันดีและความเข้าใจแก่ผู้ประกอบธุรกิจ ให้ประกอบธุรกิจที่ไม่เป็นการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค อันจะเป็นประโยชน์ต่อการคุ้มครองผู้บริโภคโดยสวนรวม
โอกาสนี้ นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเปิดงานว่า การดำเนินงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค โดยคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคและสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค นับเป็นเวลา 28 ปีแล้ว ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ได้มีพัฒนาการด้านต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคให้กับประชาชนได้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มเติม ปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย การกำหนดยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ในการดำเนินงาน เพื่อให้ความเป็นธรรมทั้งแก่ผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจ การอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนทั่วประเทศในการติดต่อขอรับบริการด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จำนวนเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทำหน้าที่ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งประเทศแล้ว คงเป็นเรื่องยากที่จะดำเนินการให้ความคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคแก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องประสานความร่วมมือกันในทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อประโยชน์ต่อการคุ้มครองผู้บริโภคโดยส่วนรวม นอกจากนี้ การเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคให้กับประชาชน ถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพราะเมื่อประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นอย่างดีแล้ว ก็จะสามารถปกป้องคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคของตนได้ในเบื้องต้น ซึ่งนอกจากจะเป็นการลดปัญหาการละเมิดสิทธิผู้บริโภคแล้วประชาชนยังสามารถนำความรู้ ความเข้าใจนี้ ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ในการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการได้อย่างปลอดภัย เป็นธรรมและประหยัดอีกด้วย
จากนั้นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้มอบโล่รางวัลภาพยนตร์โฆษณาดีเด่นทางโทรทัศน์เพื่อผู้บริโภค ประจำปี พ.ศ. 2549 (ครั้งที่ 6) โดยเริ่มที่ประเภทสินค้า ทั้งหมด 4 รางวัล ได้แก่ รางวัลชนะเลิศ ภาพยนตร์โฆษณาผลิตภัณฑ์โซนี่ (ชุด Birthday Away) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ภาพยนตร์โฆษณารถยนต์โตโยต้า (ชุด มิตรธรรมชาติ) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ภาพยนตร์โฆษณาบัตรเงินสดสมาร์ทเพิร์ส (ชุด อาม่า (Tissue)) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 ภาพยนตร์โฆษณากิฟฟารีน (ชุด โอกาส) ประเภทบริการ ทั้งหมด 4 รางวัล ได้แก่ รางวัลชนะเลิศ ภาพยนตร์โฆษณาไทยประกันชีวิต (ชุด My Girl) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ภาพยนตร์โฆษณาระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ AIS (ชุด โกนหนวด) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ภาพยนตร์โฆณาเคาน์เตอร์เซอร์วิส ( ชุด คาเฟ่) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 ได้แก่ ภาพยนตร์โฆษณาธนาคารไทยพาณิชย์ (ชุด Celebration) ประเภทส่งเสริมสังคม ศิลปวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ทั้งหมด 4 รางวัล ได้แก่ รางวัลชนะเลิศ ภาพยนตร์โฆษณาสารคดี ภูมิปัญญาแผ่นดิน (ชุด รู้รักสามัคคี) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ภาพยนตร์โฆษณารณรงค์ไม่สูบบุรี่ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ภาพยนตร์โฆษณาโครงการสานรัก (ชุด Always Smile) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 ภาพยนตร์โฆษณาธนาคารไทยพาณิชย์ (ชุด ลิฟท์) และประเภทรางวัลพิเศษเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ทั้งหมด 4 รางวัล ได้แก่ รางวัลชนะเลิศ ภาพยนตร์โฆษณาเฉลิมพระเกียรติฯ (ชุด In Your Heart ) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ภาพยนตร์โฆษณาเฉลิมพระเกียรติฯ (ชุด คำจากหัวใจ) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ภาพยนตร์โฆษณาเฉลิมพระเกียรติฯ (ชุด ปาท่องโก๋) และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 ภาพยนตร์โฆษณาเฉลิมพระเกียรติฯ (ชุด หญ้าแฝก)
ต่อจากนั้นเป็นการมอบโล่ประกาศเกียรติคุณรางวัลประเภทต่าง ๆ ได้แก่ 1. โล่ประกาศเกียรติคุณบุคคลที่ทำคุณประโยชน์ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค จำนวน17 ราย 2.โล่ประกาศเกียรติคุณหน่วยงาน/องค์กร สนับสนุน การดำเนินงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค จำนวน 59 ราย 3.โล่ประกาศเกียรติคุณสื่อมวลชนที่สนับสนุนการคุ้มครองผู้บริโภคจำนวน 14 ราย
พร้อมกันนี้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรียังได้ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีรับและมอบปฏิญญาความร่วมมือในการรับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคระหว่างสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กับ บริษัท ซี.พี. เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งความร่วมมือดังกล่าว เป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนผู้บริโภค โดยสามารถดำเนินการยื่นเรื่องราวร้องทุกข์กรณีถูกละเมิดสิทธิผู้บริโภค ณ ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ทุกสาขาทั่วประเทศ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
ในตอนท้ายรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับรางวัลดังกล่าวพร้อมแสดงความชื่นชมและขอบคุณ บุคคล หน่วยงาน องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน สื่อมวลชนที่ได้ทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติด้านการคุ้มครองผู้บริโภค อันก่อให้เกิดผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ทุกคน ทุกหน่วยงานจะรักษาเกียรติคุณนี้ไว้ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อื่นในการทำคุณประโยชน์เพื่อประชาชนผู้บริโภคตลอดไป จากนั้นได้ถ่ายภาพหมู่ร่วมกับหน่วยงาน และผู้ที่ได้รับรางวัลทุกคน
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--