นายกรัฐมนตรีเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามความคืบหน้าในการเร่งฟื้นฟู 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันให้ฟื้นตัวโดยเร็ว
วันนี้ เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุมสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุมการติดตามผลการดำเนินงานพัฒนาการท่องเที่ยว 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน (ระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต ตรัง สตูล) โดยมีรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมด้วย ผลการประชุมสรุปดังนี้
ที่ประชุมรับทราบภาพรวมการท่องเที่ยว 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันว่า ได้มีการอนุมัติงบกลางจำนวน 1.061 พันล้านบาท เพื่อดำเนินมาตรการ 5 มาตรการ และโครงการฟื้นฟูอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 26 โครงการ ได้แก่ 1. การกระตุ้นการเดินทางของนักท่องเที่ยวและลดค่าใช้จ่าย 2. การฟื้นฟูและพัฒนา 3. การตลาด 4. การฟื้นฟูส่งเสริมวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว และ 5 ความปลอดภัย พร้อมทั้งเตรียมผลักดันให้เกิดการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวใน 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน อาทิ จังหวัดระนอง จะพัฒนาให้เป็นเมืองสุขภาพและน้ำพุร้อน จังหวัดพังงาและกระบี่ จะพัฒนาเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ทางทะเล แหล่งดำน้ำระดับโลก และบริการสุขภาพ จังหวัดภูเก็ต จะพัฒนาให้เป็นแหล่งรักษาภาพลักษณ์ศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเล ส่วนจังหวัดตรังและสตูล จะพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรม เป็นต้น พร้อมกันนี้ที่ประชุมได้มีการหารือถึงความคืบหน้าตามที่นายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบายและข้อสั่งการในคราวตรวจราชการพื้นที่กลุ่มจังหวัดอันดามันเมื่อวันที่ 13-14 พฤษภาคม 2550 ที่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจังหวัดเร่งรัดดำเนินการรวม 6 เรื่อง ได้แก่ 1) เรื่องระบบเตือนภัย หน่วยงานรับผิดชอบคือ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และกระทรวงมหาดไทย ดำเนินการนำระบบสื่อสารระบบโทรคมนาคม มาใช้ในการเชื่อมโยงระบบการเตือนภัยในพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันเพื่อให้การเตือนภัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ให้การสนับสนุนการนำระบบสื่อสารโทรคมนาคมมาใช้ในการเตือนภัย ซึ่งระยะแรกจะนำระบบ IP Star และระบบ CDMA มาดำเนินการในพื้นที่ดังกล่าว โดยศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ จะเสนอขอรับการจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อใช้สำหรับการเตือนภัยต่อคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงาน และจะเป็นหน่วยงานหลักในจัดทำโครงการฝึกซ้อมระบบเตือนภัย และอพยพหลบภัยสึนามิเต็มรูปแบบในพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันในวันพุธที่ 25 กรกฎาคม 2550 2) การรักษาความสะอาดและสภาพแวดล้อม หน่วยงานรับผิดชอบคือ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และสำนักนายกรัฐมนตรี การดำเนินการจัดการขยะมูลฝอยและน้ำเสียบนเกาะลันตาและเกาะพีพี จังหวัดกระบี่ การจัดการขยะและน้ำเสียเทศบาลนครภูเก็ต 3) การพัฒนาระบบโครงข่ายการคมนาคม หน่วยงานรับผิดชอบคือ กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ดำเนินการปรับปรุงเส้นทางหลวง (กระบุรี-ระนอง ตอน 1) การก่อสร้างท่อเทียบเรือหาดปากเมง การซ่อมแซมปรับปรุงท่าเรือปากบารา การก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 4 (พังงา-กระบี่ ตอน 3 และกระบี่-ห้วยยอด ตอน 2) การก่อสร้างถนนสายกลางคู่ขนานกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 402 (สาคู-เกาะแก้ว) จังหวัดภูเก็ต ส่วนโครงการที่หน่วยงานได้ให้การสนับสนุนไปบางส่วนทั้งในเชิงนโยบาย มาตรการ และการตั้งงบประมาณเพื่อดำเนินการศึกษาความเหมาะสมในเบื้องต้น ได้แก่ การสนับสนุนมาตรการสำหรับโครงสร้างพื้นฐานที่รัฐได้ลงทุนไปแล้ว เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างเต็มตามศักยภาพ อาทิ ท่าเรือน้ำลึก และสนามบิน การติดตั้งกล้อง CCTV เพื่อดูแลความปลอดภัยนักท่องเที่ยวบริเวณสนามบิน ท่าเรือ และสถานีขนส่ง โครงการศึกษาความเหมาะสมของที่ตั้งท่าจอดเรือสำราญ (จังหวัดพังงา) โครงการศึกษาและออกแบบรายละเอียดโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าขนาดเบารอบเกาะภูเก็ต และโครงการสำรวจออกแบบการก่อสร้างท่าเทียบเรือบ้านแหลมทราย จังหวัดภูเก็ต เป็นต้น 4) การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข หน่วยงานรับผิดชอบคือ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงแรงงาน ดำเนินการจัดทำแผนชุมชนโดยยึดหลักความพอเพียง การสร้างความสุขให้กับประชาชน โดย จัดสรรงบประมาณดำเนินการในปีงบประมาณ 2550 ครอบคลุมทั้ง 5 แผนงาน คือ แผนงานด้านเศรษฐกิจพอเพียง แผนงานด้านพัฒนาและสร้างโอกาสให้ชุมชน แผนงานด้านฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของชุมชน แผนงานด้านสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ แผนงานด้านบริการขั้นพื้นฐานแก่ประชาชน โดยให้แต่ละชุมชนยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นกรอบแนวทางในการจัดทำโครงการเพื่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชน และปัจจุบันคณะกรรมการระดับจังหวัดทั้ง 6 จังหวัด ได้อนุมัติโครงการไปแล้ว 1,626 โครงการ วงเงิน 297.21 ล้านบาท โดยงบประมาณส่วนใหญ่ร้อยละ 32.3 เป็นการจัดสรรเพื่อดำเนินโครงการตามแผนงานด้านบริการขั้นพื้นฐานแก่ประชาชน รองลงมาคือ แผนงานด้านพัฒนาและสร้างโอกาสให้ชุมชน (ร้อยละ 30.6) แผนงานด้านเศรษฐกิจพอเพียง (ร้อยละ 24.5) แผนงานด้านฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของชุมชน (ร้อยละ 8.5) และแผนงานด้านสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ (ร้อยละ 2.3) 5) การป้องกันการบุกรุกทำลายทรัพยากรธรรมชาติ หน่วยงานรับผิดชอบคือ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย ดำเนินการตรวจตราปราบปรามการบุกรุกทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การสำรวจการครอบครองที่ดินของราษฎรในเขตอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ให้แล้วเสร็จตามแนวทางปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 และดำเนินการตามกฎหมายกับผู้บุกรุกป่า แต่ต้องใช้วิธีการที่นุ่มนวลและเหมาะสม โดยมอบหมายให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต (นายวรพจน์ รัฐสิมา) จัดตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาเกี่ยวกับการบุกรุกถือครองพื้นที่ในจังหวัดภูเก็ต โดยเฉพาะการจัดระเบียบการใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งในเขตและนอกเขตพื้นที่อนุรักษ์ 6) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเกาะลันตา หน่วยงานรับผิดชอบคือ จังหวัดกระบี่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เร่งดำเนินการก่อสร้างถนนรอบเกาะลันตาใหญ่ ซึ่งอาจต้องปรับเปลี่ยนเส้นทางเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เนื่องจากบางแห่งมีความลาดชันสูงและอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ พร้อมทั้งศึกษาความเหมาะสมโครงการก่อสร้างสะพานเชื่อมต่อระหว่างผืนแผ่นดินกับเกาะ 2 จุด คือ บ้านหัวหิน-เกาะลันตาน้อย เกาะลันตาน้อย-เกาะลันตาใหญ่ และเร่งรัดแก้ไขปัญหาการให้บริการแพขนานยนต์ รวมทั้ง จัดระเบียบและดูแลรักษาความสะอาดบริเวณสองข้างทางที่เป็นเส้นทางสัญจรบนเกาะลันตา
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุมสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุมการติดตามผลการดำเนินงานพัฒนาการท่องเที่ยว 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน (ระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต ตรัง สตูล) โดยมีรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมด้วย ผลการประชุมสรุปดังนี้
ที่ประชุมรับทราบภาพรวมการท่องเที่ยว 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันว่า ได้มีการอนุมัติงบกลางจำนวน 1.061 พันล้านบาท เพื่อดำเนินมาตรการ 5 มาตรการ และโครงการฟื้นฟูอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 26 โครงการ ได้แก่ 1. การกระตุ้นการเดินทางของนักท่องเที่ยวและลดค่าใช้จ่าย 2. การฟื้นฟูและพัฒนา 3. การตลาด 4. การฟื้นฟูส่งเสริมวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว และ 5 ความปลอดภัย พร้อมทั้งเตรียมผลักดันให้เกิดการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวใน 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน อาทิ จังหวัดระนอง จะพัฒนาให้เป็นเมืองสุขภาพและน้ำพุร้อน จังหวัดพังงาและกระบี่ จะพัฒนาเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ทางทะเล แหล่งดำน้ำระดับโลก และบริการสุขภาพ จังหวัดภูเก็ต จะพัฒนาให้เป็นแหล่งรักษาภาพลักษณ์ศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเล ส่วนจังหวัดตรังและสตูล จะพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรม เป็นต้น พร้อมกันนี้ที่ประชุมได้มีการหารือถึงความคืบหน้าตามที่นายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบายและข้อสั่งการในคราวตรวจราชการพื้นที่กลุ่มจังหวัดอันดามันเมื่อวันที่ 13-14 พฤษภาคม 2550 ที่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจังหวัดเร่งรัดดำเนินการรวม 6 เรื่อง ได้แก่ 1) เรื่องระบบเตือนภัย หน่วยงานรับผิดชอบคือ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และกระทรวงมหาดไทย ดำเนินการนำระบบสื่อสารระบบโทรคมนาคม มาใช้ในการเชื่อมโยงระบบการเตือนภัยในพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันเพื่อให้การเตือนภัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ให้การสนับสนุนการนำระบบสื่อสารโทรคมนาคมมาใช้ในการเตือนภัย ซึ่งระยะแรกจะนำระบบ IP Star และระบบ CDMA มาดำเนินการในพื้นที่ดังกล่าว โดยศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ จะเสนอขอรับการจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อใช้สำหรับการเตือนภัยต่อคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงาน และจะเป็นหน่วยงานหลักในจัดทำโครงการฝึกซ้อมระบบเตือนภัย และอพยพหลบภัยสึนามิเต็มรูปแบบในพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันในวันพุธที่ 25 กรกฎาคม 2550 2) การรักษาความสะอาดและสภาพแวดล้อม หน่วยงานรับผิดชอบคือ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และสำนักนายกรัฐมนตรี การดำเนินการจัดการขยะมูลฝอยและน้ำเสียบนเกาะลันตาและเกาะพีพี จังหวัดกระบี่ การจัดการขยะและน้ำเสียเทศบาลนครภูเก็ต 3) การพัฒนาระบบโครงข่ายการคมนาคม หน่วยงานรับผิดชอบคือ กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ดำเนินการปรับปรุงเส้นทางหลวง (กระบุรี-ระนอง ตอน 1) การก่อสร้างท่อเทียบเรือหาดปากเมง การซ่อมแซมปรับปรุงท่าเรือปากบารา การก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 4 (พังงา-กระบี่ ตอน 3 และกระบี่-ห้วยยอด ตอน 2) การก่อสร้างถนนสายกลางคู่ขนานกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 402 (สาคู-เกาะแก้ว) จังหวัดภูเก็ต ส่วนโครงการที่หน่วยงานได้ให้การสนับสนุนไปบางส่วนทั้งในเชิงนโยบาย มาตรการ และการตั้งงบประมาณเพื่อดำเนินการศึกษาความเหมาะสมในเบื้องต้น ได้แก่ การสนับสนุนมาตรการสำหรับโครงสร้างพื้นฐานที่รัฐได้ลงทุนไปแล้ว เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างเต็มตามศักยภาพ อาทิ ท่าเรือน้ำลึก และสนามบิน การติดตั้งกล้อง CCTV เพื่อดูแลความปลอดภัยนักท่องเที่ยวบริเวณสนามบิน ท่าเรือ และสถานีขนส่ง โครงการศึกษาความเหมาะสมของที่ตั้งท่าจอดเรือสำราญ (จังหวัดพังงา) โครงการศึกษาและออกแบบรายละเอียดโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าขนาดเบารอบเกาะภูเก็ต และโครงการสำรวจออกแบบการก่อสร้างท่าเทียบเรือบ้านแหลมทราย จังหวัดภูเก็ต เป็นต้น 4) การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข หน่วยงานรับผิดชอบคือ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงแรงงาน ดำเนินการจัดทำแผนชุมชนโดยยึดหลักความพอเพียง การสร้างความสุขให้กับประชาชน โดย จัดสรรงบประมาณดำเนินการในปีงบประมาณ 2550 ครอบคลุมทั้ง 5 แผนงาน คือ แผนงานด้านเศรษฐกิจพอเพียง แผนงานด้านพัฒนาและสร้างโอกาสให้ชุมชน แผนงานด้านฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของชุมชน แผนงานด้านสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ แผนงานด้านบริการขั้นพื้นฐานแก่ประชาชน โดยให้แต่ละชุมชนยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นกรอบแนวทางในการจัดทำโครงการเพื่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชน และปัจจุบันคณะกรรมการระดับจังหวัดทั้ง 6 จังหวัด ได้อนุมัติโครงการไปแล้ว 1,626 โครงการ วงเงิน 297.21 ล้านบาท โดยงบประมาณส่วนใหญ่ร้อยละ 32.3 เป็นการจัดสรรเพื่อดำเนินโครงการตามแผนงานด้านบริการขั้นพื้นฐานแก่ประชาชน รองลงมาคือ แผนงานด้านพัฒนาและสร้างโอกาสให้ชุมชน (ร้อยละ 30.6) แผนงานด้านเศรษฐกิจพอเพียง (ร้อยละ 24.5) แผนงานด้านฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของชุมชน (ร้อยละ 8.5) และแผนงานด้านสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ (ร้อยละ 2.3) 5) การป้องกันการบุกรุกทำลายทรัพยากรธรรมชาติ หน่วยงานรับผิดชอบคือ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย ดำเนินการตรวจตราปราบปรามการบุกรุกทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การสำรวจการครอบครองที่ดินของราษฎรในเขตอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ให้แล้วเสร็จตามแนวทางปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 และดำเนินการตามกฎหมายกับผู้บุกรุกป่า แต่ต้องใช้วิธีการที่นุ่มนวลและเหมาะสม โดยมอบหมายให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต (นายวรพจน์ รัฐสิมา) จัดตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาเกี่ยวกับการบุกรุกถือครองพื้นที่ในจังหวัดภูเก็ต โดยเฉพาะการจัดระเบียบการใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งในเขตและนอกเขตพื้นที่อนุรักษ์ 6) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเกาะลันตา หน่วยงานรับผิดชอบคือ จังหวัดกระบี่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เร่งดำเนินการก่อสร้างถนนรอบเกาะลันตาใหญ่ ซึ่งอาจต้องปรับเปลี่ยนเส้นทางเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เนื่องจากบางแห่งมีความลาดชันสูงและอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ พร้อมทั้งศึกษาความเหมาะสมโครงการก่อสร้างสะพานเชื่อมต่อระหว่างผืนแผ่นดินกับเกาะ 2 จุด คือ บ้านหัวหิน-เกาะลันตาน้อย เกาะลันตาน้อย-เกาะลันตาใหญ่ และเร่งรัดแก้ไขปัญหาการให้บริการแพขนานยนต์ รวมทั้ง จัดระเบียบและดูแลรักษาความสะอาดบริเวณสองข้างทางที่เป็นเส้นทางสัญจรบนเกาะลันตา
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--