วันนี้ เวลา 15.00 น. ณ ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาลศาสตราจารย์ Ekmeleddin Ihsanoglu เลขาธิการองค์การการประชุมอิสลาม (OIC) เข้าเยี่ยมคารวะพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ในโอกาสเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 30 เมษายน — 2 พฤษภาคม 2550 สรุปสาระสำคัญของการสนทนา ดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวต้อนรับเลขาธิการ OIC ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยเป็นครั้งแรกและแสดงความเชื่อมั่นว่า การเดินทางเยือนประเทศไทยในครั้งนี้จะช่วยสร้างความคุ้นเคยกับชุมชนมุสลิมในประเทศไทย และหวังว่า เลขาธิการ OIC จะตระหนักถึงความเป็นมิตรประเทศของไทย และเข้าใจถึงความพยายามของรัฐบาลปัจจุบันในการนำสันติสุขสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในโอกาสนี้ เลขาธิการ OIC ได้กล่าวถึงการเดินทางมาเยือนประเทศไทยครั้งนี้ว่า เพื่อแสดงความสนับสนุนและไมตรีจิตของOICต่อแนวนโยบายของรัฐบาลไทยซึ่งเดินมาถูกทางแล้ว และเห็นด้วยต่อคำแถลงการณ์ของนายกรัฐมนตรีช่วงที่เข้ารับตำแหน่งเกี่ยวกับแนวทางการแก้ปัญหาในภาคใต้ รวมถึงความริเริ่มของนายกรัฐมนตรีในการส่งเสริมความปรองดองและไม่สนับสนุนการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา นอกจากนี้ OIC ยังสนับสนุนข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระว่าด้วยการสมานฉันท์ ทั้งนี้ เลขาธิการ OIC ได้รับคำเชิญให้เดินทางมาเยือนประเทศไทยตั้งแต่สมัยรัฐบาลที่แล้ว แต่ในครั้งนั้นตนเองยังเห็นว่าแนวทางการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลชุดก่อนอาจยังไม่ถูกต้องนัก
ระหว่างการสนทนา ทั้งสองฝ่าย ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันอย่างกว้างขวาง รวมทั้ง ความคืบหน้าในการดำเนินนโยบาย ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคต่างๆในการแก้ไขปัญหาใน3จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญสูงสุดในการจัดให้ประชาชนมีความปลอดภัยและได้รับความเป็นธรรม โดยเน้นการพูดคุยกับประชาชนในพื้นที่ ซึ่งเป็นเรื่องที่เห็นตรงกันกับเลขาธิการ OIC และขณะนี้ รัฐบาลมีแผนการที่จะเชิญผู้นำทางศาสนามาเยือนประเทศไทย ซึ่งเลขาธิการ OIC พร้อมให้ความสนับสนุนในเรื่องนี้ด้วย ทั้งนี้ เลขาธิการ OIC จะช่วยส่งสัญญาณในแง่บวกไปสู่ชุมชนมุสลิมโลก อีกทางหนึ่ง
นอกจากนี้ มีการหารือถึงความร่วมมือด้านอื่นๆ ระหว่างไทย — OIC อาทิ ความร่วมมือด้านการศึกษา ด้านเทคนิคและวิชาการ ซึ่งเลขาธิการ OIC กล่าวว่า การสร้างโอกาสด้วยการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมถือเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยแก้ไขปัญหาความไม่สงบดังกล่าวด้วย และ OIC พร้อมจะให้การสนับสนุนความพยายามของรัฐบาลไทยในการจัดหาทุนการศึกษาผ่าน Islamic Development Bank ไม่เพียงแต่ด้านศาสนาเท่านั้น แต่รวมถึงด้านวิชาชีพ อาทิ การแพทย์ วิศวกรรม ด้วย ซึ่งนายกรัฐมนตรีเห็นความสำคัญและช่วยผลักดันในเรื่องดังกล่าวตั้งแต่ก่อนการเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจาก รัฐบาลให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาความแตกต่าง แตกแยก ที่ฝ่ายหัวรุนแรงแอบอ้าง และต้องการลดช่องว่างด้านการศึกษาในพื้นที่ดังกล่าวให้มากที่สุด อย่างไรก็ดี เลขาธิการ OIC แสดงความห่วงกังวลต่อ ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนและความยุติธรรม ที่ได้รับการละเลยตั้งแต่รัฐบาลชุดก่อน ซึ่งนายกรัฐมนตรีรับที่จะดูแลและแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่ 3-4 ปีที่แล้วในเรื่องนี้
ทั้งนี้ เลขาธิการ OIC ได้แสดงความชื่นชมนายกรัฐมนตรีว่ามีความจริงใจ ตรงไปตรงมา และ OICพร้อมให้ความสนับสนุนแนวทางของรัฐบาลอย่างเต็มที่
ปัจจุบันองค์การการประชุมอิสลาม(OIC -Organization of the Islamic Conference) มีสมาชิกทั้งหมด 57 ประเทศ โดยไทยได้เข้าเป็นสมาชิกสังเกตการณ์ Observer Member ของ OIC ตั้งแต่ปี 2541
สำหรับการเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของเลขาธิการองค์การการประชุมอิสลาม (OIC) และคณะผู้แทนในครั้งนี้ นอกเหนือจากการเข้าเยี่ยมคารวะ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีแล้วนั้น คณะผู้แทน OIC ได้มีพบปะกับบุคคลสำคัญของไทย อาทิ พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายอารีย์ วงศ์อารยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายพระนาย สุวรรณรัฐ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และ ผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนภายใต้
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
นายกรัฐมนตรีกล่าวต้อนรับเลขาธิการ OIC ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยเป็นครั้งแรกและแสดงความเชื่อมั่นว่า การเดินทางเยือนประเทศไทยในครั้งนี้จะช่วยสร้างความคุ้นเคยกับชุมชนมุสลิมในประเทศไทย และหวังว่า เลขาธิการ OIC จะตระหนักถึงความเป็นมิตรประเทศของไทย และเข้าใจถึงความพยายามของรัฐบาลปัจจุบันในการนำสันติสุขสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในโอกาสนี้ เลขาธิการ OIC ได้กล่าวถึงการเดินทางมาเยือนประเทศไทยครั้งนี้ว่า เพื่อแสดงความสนับสนุนและไมตรีจิตของOICต่อแนวนโยบายของรัฐบาลไทยซึ่งเดินมาถูกทางแล้ว และเห็นด้วยต่อคำแถลงการณ์ของนายกรัฐมนตรีช่วงที่เข้ารับตำแหน่งเกี่ยวกับแนวทางการแก้ปัญหาในภาคใต้ รวมถึงความริเริ่มของนายกรัฐมนตรีในการส่งเสริมความปรองดองและไม่สนับสนุนการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา นอกจากนี้ OIC ยังสนับสนุนข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระว่าด้วยการสมานฉันท์ ทั้งนี้ เลขาธิการ OIC ได้รับคำเชิญให้เดินทางมาเยือนประเทศไทยตั้งแต่สมัยรัฐบาลที่แล้ว แต่ในครั้งนั้นตนเองยังเห็นว่าแนวทางการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลชุดก่อนอาจยังไม่ถูกต้องนัก
ระหว่างการสนทนา ทั้งสองฝ่าย ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันอย่างกว้างขวาง รวมทั้ง ความคืบหน้าในการดำเนินนโยบาย ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคต่างๆในการแก้ไขปัญหาใน3จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญสูงสุดในการจัดให้ประชาชนมีความปลอดภัยและได้รับความเป็นธรรม โดยเน้นการพูดคุยกับประชาชนในพื้นที่ ซึ่งเป็นเรื่องที่เห็นตรงกันกับเลขาธิการ OIC และขณะนี้ รัฐบาลมีแผนการที่จะเชิญผู้นำทางศาสนามาเยือนประเทศไทย ซึ่งเลขาธิการ OIC พร้อมให้ความสนับสนุนในเรื่องนี้ด้วย ทั้งนี้ เลขาธิการ OIC จะช่วยส่งสัญญาณในแง่บวกไปสู่ชุมชนมุสลิมโลก อีกทางหนึ่ง
นอกจากนี้ มีการหารือถึงความร่วมมือด้านอื่นๆ ระหว่างไทย — OIC อาทิ ความร่วมมือด้านการศึกษา ด้านเทคนิคและวิชาการ ซึ่งเลขาธิการ OIC กล่าวว่า การสร้างโอกาสด้วยการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมถือเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยแก้ไขปัญหาความไม่สงบดังกล่าวด้วย และ OIC พร้อมจะให้การสนับสนุนความพยายามของรัฐบาลไทยในการจัดหาทุนการศึกษาผ่าน Islamic Development Bank ไม่เพียงแต่ด้านศาสนาเท่านั้น แต่รวมถึงด้านวิชาชีพ อาทิ การแพทย์ วิศวกรรม ด้วย ซึ่งนายกรัฐมนตรีเห็นความสำคัญและช่วยผลักดันในเรื่องดังกล่าวตั้งแต่ก่อนการเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจาก รัฐบาลให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาความแตกต่าง แตกแยก ที่ฝ่ายหัวรุนแรงแอบอ้าง และต้องการลดช่องว่างด้านการศึกษาในพื้นที่ดังกล่าวให้มากที่สุด อย่างไรก็ดี เลขาธิการ OIC แสดงความห่วงกังวลต่อ ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนและความยุติธรรม ที่ได้รับการละเลยตั้งแต่รัฐบาลชุดก่อน ซึ่งนายกรัฐมนตรีรับที่จะดูแลและแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่ 3-4 ปีที่แล้วในเรื่องนี้
ทั้งนี้ เลขาธิการ OIC ได้แสดงความชื่นชมนายกรัฐมนตรีว่ามีความจริงใจ ตรงไปตรงมา และ OICพร้อมให้ความสนับสนุนแนวทางของรัฐบาลอย่างเต็มที่
ปัจจุบันองค์การการประชุมอิสลาม(OIC -Organization of the Islamic Conference) มีสมาชิกทั้งหมด 57 ประเทศ โดยไทยได้เข้าเป็นสมาชิกสังเกตการณ์ Observer Member ของ OIC ตั้งแต่ปี 2541
สำหรับการเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของเลขาธิการองค์การการประชุมอิสลาม (OIC) และคณะผู้แทนในครั้งนี้ นอกเหนือจากการเข้าเยี่ยมคารวะ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีแล้วนั้น คณะผู้แทน OIC ได้มีพบปะกับบุคคลสำคัญของไทย อาทิ พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายอารีย์ วงศ์อารยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายพระนาย สุวรรณรัฐ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และ ผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนภายใต้
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--