แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
อิมแพ็ค เมืองทองธานี
สุรยุทธ์ จุลานนท์
จังหวัดนนทบุรี
นายกรัฐมนตรี
โรงแรมคอนราด
วันนี้ เวลา 09.00 น. ณ ห้องรอยัล จูบีลี ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการประชุมประจำปี 2550 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “รัฐบาลกับการสร้างความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย” ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จัดขึ้นเพื่อนำเสนอรายงานผลการพัฒนาประเทศ ด้วยดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นถึงสถานการณ์ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมรวมจำนวน 1,500 คน ประกอบด้วย คณะรัฐมนตรี สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนจากภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคประชาสังคม และสื่อมวลชน ตลอดจนเครือข่ายภาคีพัฒนาจากองค์กรชุมชนและภาคประชาชน
นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวรายงานว่า ปี 2550 เป็นปีแรกที่เริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 เป็นกรอบทิศทาง การพัฒนาประเทศในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2550 — 2554) ซึ่งแผนพัฒนาฯ ดังกล่าวได้น้อมนำหลัก “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” มายึดเป็นแนวปฏิบัติควบคู่กับหลักการพัฒนาแบบบูรณาการอย่างเป็นองค์รวม ที่ยึด “คน”เป็นศูนย์กลางการพัฒนา เพื่อให้การพัฒนาและบริหารประเทศเป็นไปในทางสายกลาง บนพื้นฐานความสมดุล เชิงพลวัตของการพัฒนาที่เชื่อมโยงทุกมิติอย่างบูรณาการ ทั้งมิติคน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยแผนพัฒนาฯ มีเป้าประสงค์และวิสัยทัศน์ให้ประเทศไทยมุ่งพัฒนาสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” (Green and Happiness Society) ซึ่งนำไปสู่การจัดทำ “ดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย” โดยผ่านกระบวนการระดมความคิดเห็น และการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง และชุมชนในพื้นที่ภูมิภาคต่างๆ ให้เป็นที่ยอมรับ ตระหนักถึงความสำคัญ และมีการนำไปใช้ประโยชน์ร่วมกัน ในการขับเคลื่อนการพัฒนาสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน รวมทั้งใช้เป็นเครื่องมือในการปรับทิศทางการพัฒนาประเทศ และกำหนดนโยบายสาธารณะ ตลอดจนเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนแนวคิดและสร้างกระแสหลักในสังคมให้เกิดการปรับเปลี่ยนวิธีคิด และค่านิยมของสังคมไทย เพื่อให้เกิดคุณค่าใหม่ในการดำรงชีวิต
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีที่ได้มีโอกาสมาเป็นประธานเปิดการประชุมประจำปี 2550 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “รัฐบาลกับการสร้างความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย” ซึ่งปี 2550 เป็นปีที่เริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 เป็นกรอบทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2550 — 2554) เป็นเวลา 50 ปีมาแล้วที่รัฐบาลได้ร่วมทำงานกับ สศช. มาโดยตลอด โดยได้ให้ความสำคัญในเรื่องการดูแลสังคมมากกว่าเศรษฐกิจ ตั้งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ซึ่งได้ปรับแนวคิดการพัฒนาให้คนเป็นศูนย์กลาง นั่นคือมีการพัฒนาคนเป็นหลัก ซึ่งเป็น จุดเริ่มที่สำคัญ เพราะปัญหาเรื่องคนเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยปรับปรุงให้บุคลากรมีคุณภาพที่ดีขึ้น ทั้งในด้านความคิดและจิตใจ
ในส่วนของความอยู่เย็นเป็นสุขนั้น จะต้องอยู่ในกรอบของการที่ได้รับการยอมรับจากคนอื่น ซึ่งตนเองจะต้องเป็นคนดี ภายใต้กรอบอายุและวัยของแต่ละคน อาทิ ในวัยเด็กคงจะมีตัวชี้วัดไม่มาก ในระดับมหาวิทยาลัยจะมีการนำตัวชี้วัดคุณธรรมของนักเรียน นักศึกษา มาเป็นเงื่อนไขในการรับนักศึกษา ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาได้กำหนดไว้ว่า “คุณธรรมนำความรู้” อย่างไรก็ตาม การสร้างคุณธรรมให้เกิดขึ้นตั้งแต่เด็กเป็นสิ่งสำคัญ ด้วยการแนะนำเด็กๆ ว่าการที่จะทำอะไรที่ตั้งอยู่บนความตั้งใจของเรา เป็นหลักที่จะทำให้เริ่มคิดว่าชีวิตในวัยเยาว์จะก้าวไปสู่สิ่งที่ผู้ใหญ่ได้มองเห็นว่า “คุณธรรมนำความรู้” ควรจะเป็นอย่างไร
รัฐบาลได้นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักในการบริหารประเทศ โดยมีเป้าประสงค์คือสังคมอยู่ร่วมกันด้วยความอยู่เย็นเป็นสุข บนหลักของความสมานฉันท์และหลักการรู้รักสามัคคี ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักสำคัญคือ ต้องไม่ประมาท ต้องมีทางแก้ไข ต้องมีการเตรียมการที่จะแก้ไขปัญหา นั่นคือ การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีจากบุคคลมาสู่ครอบครัว และสู่สังคม ทั้งนี้ ต้องอยู่บนพื้นฐานการอยู่ร่วมกันอย่างสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม ภูมิศาสตร์ และสังคม ด้วยการปรับตัวทั้งในเรื่องชุมชน เรื่องการทำมาหากิน จากการดำเนินการที่ผ่านมา รัฐบาลได้จัดลำดับความสำคัญการพัฒนาสังคมมากกว่าการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยการมุ่งเน้นเรื่องความเป็นธรรม และความเป็นไทย ภายใต้แนวคิดความมีเหตุมีผล ซึ่งจะนำพาสังคม ชุมชน ครอบครัว และตัวเรา ไปสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน”
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้สร้างความร่วมมือกับมิตรประเทศในกลุ่มอาเซียน เพื่อให้มีการพัฒนาร่วมกันไปสู่เป้าหมายของภูมิภาคอาเซียน ภายใต้คำขวัญ “Sharing and Caring Community” กล่าวคือ Sharing คือการแบ่งปันกัน และ Caring คือการเอื้ออาทร การดูแลซึ่งกันและกัน ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาบนพื้นฐานความร่วมมือซึ่งกันและกัน อันจะไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในภูมิภาค ซึ่งจะทำให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขไม่เพียงแต่ในประเทศ แต่ยังรวมถึงภูมิภาคด้วย
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวรายงานว่า ปี 2550 เป็นปีแรกที่เริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 เป็นกรอบทิศทาง การพัฒนาประเทศในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2550 — 2554) ซึ่งแผนพัฒนาฯ ดังกล่าวได้น้อมนำหลัก “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” มายึดเป็นแนวปฏิบัติควบคู่กับหลักการพัฒนาแบบบูรณาการอย่างเป็นองค์รวม ที่ยึด “คน”เป็นศูนย์กลางการพัฒนา เพื่อให้การพัฒนาและบริหารประเทศเป็นไปในทางสายกลาง บนพื้นฐานความสมดุล เชิงพลวัตของการพัฒนาที่เชื่อมโยงทุกมิติอย่างบูรณาการ ทั้งมิติคน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยแผนพัฒนาฯ มีเป้าประสงค์และวิสัยทัศน์ให้ประเทศไทยมุ่งพัฒนาสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” (Green and Happiness Society) ซึ่งนำไปสู่การจัดทำ “ดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย” โดยผ่านกระบวนการระดมความคิดเห็น และการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง และชุมชนในพื้นที่ภูมิภาคต่างๆ ให้เป็นที่ยอมรับ ตระหนักถึงความสำคัญ และมีการนำไปใช้ประโยชน์ร่วมกัน ในการขับเคลื่อนการพัฒนาสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน รวมทั้งใช้เป็นเครื่องมือในการปรับทิศทางการพัฒนาประเทศ และกำหนดนโยบายสาธารณะ ตลอดจนเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนแนวคิดและสร้างกระแสหลักในสังคมให้เกิดการปรับเปลี่ยนวิธีคิด และค่านิยมของสังคมไทย เพื่อให้เกิดคุณค่าใหม่ในการดำรงชีวิต
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีที่ได้มีโอกาสมาเป็นประธานเปิดการประชุมประจำปี 2550 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “รัฐบาลกับการสร้างความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย” ซึ่งปี 2550 เป็นปีที่เริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 เป็นกรอบทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2550 — 2554) เป็นเวลา 50 ปีมาแล้วที่รัฐบาลได้ร่วมทำงานกับ สศช. มาโดยตลอด โดยได้ให้ความสำคัญในเรื่องการดูแลสังคมมากกว่าเศรษฐกิจ ตั้งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ซึ่งได้ปรับแนวคิดการพัฒนาให้คนเป็นศูนย์กลาง นั่นคือมีการพัฒนาคนเป็นหลัก ซึ่งเป็น จุดเริ่มที่สำคัญ เพราะปัญหาเรื่องคนเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยปรับปรุงให้บุคลากรมีคุณภาพที่ดีขึ้น ทั้งในด้านความคิดและจิตใจ
ในส่วนของความอยู่เย็นเป็นสุขนั้น จะต้องอยู่ในกรอบของการที่ได้รับการยอมรับจากคนอื่น ซึ่งตนเองจะต้องเป็นคนดี ภายใต้กรอบอายุและวัยของแต่ละคน อาทิ ในวัยเด็กคงจะมีตัวชี้วัดไม่มาก ในระดับมหาวิทยาลัยจะมีการนำตัวชี้วัดคุณธรรมของนักเรียน นักศึกษา มาเป็นเงื่อนไขในการรับนักศึกษา ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาได้กำหนดไว้ว่า “คุณธรรมนำความรู้” อย่างไรก็ตาม การสร้างคุณธรรมให้เกิดขึ้นตั้งแต่เด็กเป็นสิ่งสำคัญ ด้วยการแนะนำเด็กๆ ว่าการที่จะทำอะไรที่ตั้งอยู่บนความตั้งใจของเรา เป็นหลักที่จะทำให้เริ่มคิดว่าชีวิตในวัยเยาว์จะก้าวไปสู่สิ่งที่ผู้ใหญ่ได้มองเห็นว่า “คุณธรรมนำความรู้” ควรจะเป็นอย่างไร
รัฐบาลได้นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักในการบริหารประเทศ โดยมีเป้าประสงค์คือสังคมอยู่ร่วมกันด้วยความอยู่เย็นเป็นสุข บนหลักของความสมานฉันท์และหลักการรู้รักสามัคคี ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักสำคัญคือ ต้องไม่ประมาท ต้องมีทางแก้ไข ต้องมีการเตรียมการที่จะแก้ไขปัญหา นั่นคือ การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีจากบุคคลมาสู่ครอบครัว และสู่สังคม ทั้งนี้ ต้องอยู่บนพื้นฐานการอยู่ร่วมกันอย่างสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม ภูมิศาสตร์ และสังคม ด้วยการปรับตัวทั้งในเรื่องชุมชน เรื่องการทำมาหากิน จากการดำเนินการที่ผ่านมา รัฐบาลได้จัดลำดับความสำคัญการพัฒนาสังคมมากกว่าการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยการมุ่งเน้นเรื่องความเป็นธรรม และความเป็นไทย ภายใต้แนวคิดความมีเหตุมีผล ซึ่งจะนำพาสังคม ชุมชน ครอบครัว และตัวเรา ไปสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน”
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้สร้างความร่วมมือกับมิตรประเทศในกลุ่มอาเซียน เพื่อให้มีการพัฒนาร่วมกันไปสู่เป้าหมายของภูมิภาคอาเซียน ภายใต้คำขวัญ “Sharing and Caring Community” กล่าวคือ Sharing คือการแบ่งปันกัน และ Caring คือการเอื้ออาทร การดูแลซึ่งกันและกัน ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาบนพื้นฐานความร่วมมือซึ่งกันและกัน อันจะไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในภูมิภาค ซึ่งจะทำให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขไม่เพียงแต่ในประเทศ แต่ยังรวมถึงภูมิภาคด้วย
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--