แท็ก
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
สุรยุทธ์ จุลานนท์
สนธิ บุญยรัตกลิน
ทำเนียบรัฐบาล
นายกรัฐมนตรี
ชายแดนภาคใต้
เมื่อเวลา 11.15 น.ที่ทำเนียบรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มีข่าวระบุว่าจะมีการเพิ่มกำลังพลฝ่ายทหารไปเพิ่มในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวน 14 กองพัน ว่า ได้รับทราบจาก พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบกและประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ว่า อาจจะต้องส่งกำลังทหารลงไปเพิ่ม เนื่องจากการดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินที่มีความจำเป็นมากขึ้น แต่ยังไม่ทราบรายละเอียดว่าจะส่งลงไปจำนวนเท่าไรและวันใด เพราะจะต้องมีการประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ในบ่ายวันเดียวกัน แต่ก็ไม่แน่ใจว่าจะเข้าที่ประชุมหรือไม่ แต่ถ้ามีอะไรก็พร้อมที่จะชี้แจง
ผู้สื่อข่าวถามว่า แสดงว่ากำลังที่มีอยู่ขณะนี้ไม่เพียงพอในการดูแลความปลอดภัย นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เท่าที่ได้รับรายงานจาก พลเอกสนธิฯ ว่าจำเป็นที่ต้องเพิ่มกำลังลงไปในพื้นที่ แต่ไม่ทราบว่าจะมีการส่งกำลังไปที่ไหนบ้างเรื่องของการใช้กำลังเป็นเรื่องของผู้บัญชาการทหารบกในฐานะผู้อำนวยการกองรักษาความมั่นคงภายใน (ผอ.รมน.)ที่จะต้องดูแล
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากมีแต่กำลังแต่ขาดยุทธวิธีในการแก้ปัญหาจะทำให้รัฐชนะหรือ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ต้องไปถามสื่อมวลชนที่ได้ลงไปดูพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่ามีการปฏิบัติที่ดีขึ้นหรือไม่ อยากให้มองในภาพที่กว้างมากขึ้น และให้ความเป็นธรรมกับผู้ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ ส่วนที่มีการระบุว่าปัญหาขณะนี้คือการขาดการประสานงานที่ดีระหว่างหน่วยงานที่ปฏิบัติ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ต้องปรับในส่วนนี้ กำลังก็มีน้อย ทุก ๆ อย่างต้องค่อย ๆ ปรับแก้กันไป แต่จะให้สมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็นต์ดีที่สุดคงเป็นไปไม่ได้ และฝ่ายตรงข้ามก็พยายามสร้างปัญหาขึ้นมา เราก็ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานตลอดเวลา
ผู้สื่อข่าวถามว่า คิดว่ามีส่วนใดที่ต้องปรับปรุงบ้าง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในส่วนที่เป็นความบกพร่องของรัฐบาลที่เห็นชัดเจนเพราะได้ลงไปกำกับดูแลงานด้วยตนเองมีอยู่ 2 ประการ แต่ในส่วนปฏิบัติไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวมากนัก ซึ่งปัญหาของรัฐบาลเรื่องแรกคือ ปัญหาการประสานงานระหว่างพลเรือน ตำรวจ ทหาร ที่ยังไม่เป็นเนื้อเดียวกัน ส่วนที่สองคืองบประมาณที่ยังไม่ลงไปถึงระดับหมู่บ้านอย่างเต็มที่ ก็ต้องเร่งรัดกันต่อไป เพราะถือเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วม มีเม็ดเงินลงไปสู่พื้นที่อย่างแท้จริง ซึ่งความล่าช้าที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากระบบราชการที่ต้องเร่งรัดให้เกิดความรวดเร็ว ปัญหาทั้งสองอย่างนี้ถือเป็นปัญหาของภาครัฐที่ต้องหาทางแก้ไข
ต่อข้อถามว่า ในส่วนของมาตรา 17 สัตตะ เรื่องการนิรโทษกรรม ที่ยังมีความเห็นแตกต่างกันระหว่างผู้บัญชาการทหารบกกับกองทัพภาค 4 จะพิจารณาอย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า อย่างที่พูดไปแล้วคือขอให้พิจารณาอย่างรอบคอบ และถ้าผ่านการพิจารณาแล้วเสนอมายังรัฐบาล รัฐบาลก็จะสามารถทำต่อได้ ส่วนที่ว่าในข้อเท็จจริงคอมมิวนิสต์ไม่มีแล้ว จะสามารถนำมาปรับใช้ได้อย่างไรนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ก็นำมาเพิ่มเติมในเรื่องอื่นได้
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
ผู้สื่อข่าวถามว่า แสดงว่ากำลังที่มีอยู่ขณะนี้ไม่เพียงพอในการดูแลความปลอดภัย นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เท่าที่ได้รับรายงานจาก พลเอกสนธิฯ ว่าจำเป็นที่ต้องเพิ่มกำลังลงไปในพื้นที่ แต่ไม่ทราบว่าจะมีการส่งกำลังไปที่ไหนบ้างเรื่องของการใช้กำลังเป็นเรื่องของผู้บัญชาการทหารบกในฐานะผู้อำนวยการกองรักษาความมั่นคงภายใน (ผอ.รมน.)ที่จะต้องดูแล
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากมีแต่กำลังแต่ขาดยุทธวิธีในการแก้ปัญหาจะทำให้รัฐชนะหรือ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ต้องไปถามสื่อมวลชนที่ได้ลงไปดูพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่ามีการปฏิบัติที่ดีขึ้นหรือไม่ อยากให้มองในภาพที่กว้างมากขึ้น และให้ความเป็นธรรมกับผู้ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ ส่วนที่มีการระบุว่าปัญหาขณะนี้คือการขาดการประสานงานที่ดีระหว่างหน่วยงานที่ปฏิบัติ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ต้องปรับในส่วนนี้ กำลังก็มีน้อย ทุก ๆ อย่างต้องค่อย ๆ ปรับแก้กันไป แต่จะให้สมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็นต์ดีที่สุดคงเป็นไปไม่ได้ และฝ่ายตรงข้ามก็พยายามสร้างปัญหาขึ้นมา เราก็ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานตลอดเวลา
ผู้สื่อข่าวถามว่า คิดว่ามีส่วนใดที่ต้องปรับปรุงบ้าง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในส่วนที่เป็นความบกพร่องของรัฐบาลที่เห็นชัดเจนเพราะได้ลงไปกำกับดูแลงานด้วยตนเองมีอยู่ 2 ประการ แต่ในส่วนปฏิบัติไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวมากนัก ซึ่งปัญหาของรัฐบาลเรื่องแรกคือ ปัญหาการประสานงานระหว่างพลเรือน ตำรวจ ทหาร ที่ยังไม่เป็นเนื้อเดียวกัน ส่วนที่สองคืองบประมาณที่ยังไม่ลงไปถึงระดับหมู่บ้านอย่างเต็มที่ ก็ต้องเร่งรัดกันต่อไป เพราะถือเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วม มีเม็ดเงินลงไปสู่พื้นที่อย่างแท้จริง ซึ่งความล่าช้าที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากระบบราชการที่ต้องเร่งรัดให้เกิดความรวดเร็ว ปัญหาทั้งสองอย่างนี้ถือเป็นปัญหาของภาครัฐที่ต้องหาทางแก้ไข
ต่อข้อถามว่า ในส่วนของมาตรา 17 สัตตะ เรื่องการนิรโทษกรรม ที่ยังมีความเห็นแตกต่างกันระหว่างผู้บัญชาการทหารบกกับกองทัพภาค 4 จะพิจารณาอย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า อย่างที่พูดไปแล้วคือขอให้พิจารณาอย่างรอบคอบ และถ้าผ่านการพิจารณาแล้วเสนอมายังรัฐบาล รัฐบาลก็จะสามารถทำต่อได้ ส่วนที่ว่าในข้อเท็จจริงคอมมิวนิสต์ไม่มีแล้ว จะสามารถนำมาปรับใช้ได้อย่างไรนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ก็นำมาเพิ่มเติมในเรื่องอื่นได้
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--