แท็ก
คณะกรรมการการเลือกตั้ง
อภิชาต สุขัคคานนท์
สุรยุทธ์ จุลานนท์
กระทรวงแรงงาน
กรมสุขภาพจิต
นายกรัฐมนตรี
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “แรงงานไทย ไปประชามติ” โดยมี นายอภัย จันทนจุลกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้แทนลูกจ้าง และผู้แทนนายจ้าง จำนวน 24 องค์กร ตลอดจนผู้แทนภาครัฐ ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานของรัฐทุกภาคส่วนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เข้าร่วมพิธีประมาณ 6,000 คน
วันนี้ เวลา 15.30 น. ณ อาคารอินดอร์สเตดี้ยม หัวหมาก กรุงเทพมหานคร พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “แรงงานไทย ไปประชามติ” โดยมี นายอภัย จันทนจุลกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้แทนลูกจ้าง และผู้แทนนายจ้าง จำนวน 24 องค์กร อาทิ สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย สภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย สภาองค์การลูกจ้างแรงงานเสรีแห่งชาติ สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย สภาองค์การนายจ้างอุตสาหกรรมไทย สภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย ฯลฯ ตลอดจนผู้แทนภาครัฐ ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานของรัฐทุกภาคส่วนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เข้าร่วมพิธีประมาณ 6,000 คน
นายอภัย จันทนจุลกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์การจัดงาน ว่า “การจัดงาน “แรงงานไทย ไปประชามติ” เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งร่วมกับกระทรวงแรงงาน เพื่อรณรงค์ ส่งเสริมให้ผู้ใช้แรงงาน ลูกจ้าง นายจ้าง ผู้ประกอบการต่าง ๆ ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติกลุ่มใหญ่ จำนวนไม่น้อยกว่า 9 ล้านคน หากจะนับถึงบุคคลที่มีสิทธิในครัวเรือนก็จะมี จำวนประมาณ 20 ล้านคน ให้ได้ทราบและเข้าใจขั้นตอนการใช้สิทธิออกเสียงประชามติที่ถูกต้อง และร่วมกันไปใช้สิทธิออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อย่างทั่วถึง ซึ่งจะเป็นการกำหนดทิศทางการบริหารประเทศไทยในอนาคตจากประชาชนคนไทยทั้งประเทศเป็นครั้งแรก และหวังว่า จะได้รับความร่วมมือในการประชาสัมพันธ์เชิญชวนบุคคลในครอบครัวไปร่วมใช้สิทธิออกเสียงประชามติในวันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม 2550 อย่างทั่วถึง
จากนั้น นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้กล่าวถึงรายละเอียดของการลงประชามติและกล่าวเชิญชวน ผู้ใช้แรงงาน ที่มาร่วมงานครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นตัวแทนของผู้ใช้แรงงานทั้งประเทศ รวมถึงประชาชนผู้ชมรายการถ่ายทอดสดทุกคน ให้ไปใช้สิทธิออกเสียงประชามติในวันที่ 19 สิงหาคม นี้ พร้อมกล่าวว่า ในวันนี้ประชาชนผู้ใช้แรงงานคงจะพอทราบแล้วว่า การออกเสียงประชามติครั้งนี้ เป็นการออกเสียงประชามติ เพื่อให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งมีหน้าที่เผยแพร่กระบวนการและขั้นตอนการออกเสียงประชามติและดำเนินการจัด และควบคุมการออกเสียงประชามติให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ทั้งนี้คณะกรรมการการเลือกตั้งตระหนักดีว่าผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติที่เป็นพี่น้องผู้ใช้แรงงานมีข้อจำกัดเรื่องเวลาที่จะมาทำความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับความสำคัญและขั้นตอนการไปออกเสียงประชามติ และที่สำคัญคือพี่น้องผู้ใช้แรงงานที่ทำงานอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ มาจากต่างจังหวัด เพื่อเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง รวมทั้งเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้แรงงาน สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจึงได้ร่วมกับกระทรวงแรงงานจัดงานนี้ขึ้นมา ซึ่งนอกจากผู้ร่วมงานจะได้รับความรู้และความเพลิดเพลินจากกิจกรรมต่าง ๆ แล้ว สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งยังได้จัดเจ้าหน้าที่มารับคำร้องขอลงทะเบียนใช้สิทธิออกเสียงนอกเขตจังหวัดในครั้งนี้ด้วย เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้แรงงานทุกคน โดยสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประสานไปทางสำนักทะเบียน โดยใช้หลักฐานเฉพาะที่จำเป็น คือ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้านที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก เท่านั้นก็ได้ สามารถไปขอลงทะเบียนที่สำนักงานเขต เทศบาล และที่ว่าการอำเภอในท้องที่ที่สถานประกอบการของตนตั้งอยู่ภายในวันที่ 19 กรกฎาคมนี้ โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งจะยึดมั่นในหลักกฎหมายซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม มีความเป็นกลางทางการเมืองและโปร่งใสตรวจสอบได้ เพื่อนำพาการเมืองการปกครองของประเทศกลับเข้าสู่ความสงบเรียบร้อยโดยเร็ว
โอกาสนี้ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานเปิดงานพร้อมกล่าวแสดงความยินดีที่ได้มีโอกาสเดินทางมาเป็นประธานเปิดงาน “แรงงานไทย ไปประชามติ” ซึ่งถือเป็นงานสำคัญที่หน่วยงานหลัก ทั้งกระทรวงแรงงาน สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง และกรุงเทพมหานคร ได้ร่วมมือกันจัดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะรณรงค์ส่งเสริมให้พี่น้องผู้ใช้แรงงาน ผู้ประกอบกิจการ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการไปออกเสียงประชามติในร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และสามารถใช้สิทธิออกเสียงประชามติได้อย่างถูกต้อง ทั่วถึงกัน
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้กระทำขึ้นท่ามกลางสถานการณ์ที่คนไทย คนในสังคมไทยมีความแตกต่างทางความคิดเห็นอย่างรุนแรง และประชาชนมีความคาดหวังอย่างสูงว่าจะได้ร่างรัฐธรรมนูญที่สามารถใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศและสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นได้ไปพร้อม ๆ กัน และหากรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ผ่านความเห็นชอบของประชาชนแล้ว ก็จะได้จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นในปลายปี 2550 ต่อไปอย่างไรก็ตามก่อนที่กระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ รัฐบาลและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้พยายามรณรงค์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และทำความเข้าใจ ให้ความรู้กับพี่น้อง ประชาชนทั่วประเทศให้มากที่สุดเท่าที่สามารถจะทำได้ เพื่อให้ได้รับทราบและเข้าใจเนื้อหาสาระที่สำคัญของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้อย่างกว้างขวาง ก่อนถึงวันที่พี่น้องชาวไทยจะได้ร่วมกันแสดงพลังความคิดเห็น ออกเสียงประชามติ เพื่อรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่19 สิงหาคม 2550 ที่จะถึงนี้ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ที่ได้กำหนดให้มีการลงประชามติในลักษณะเช่นนี้ด้วย ขณะนี้ได้มีการลงประชามติในลักษณะที่คล้าย ๆ กัน ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมาแล้ว 4 ประเทศ ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่ 5 สิ่งที่เป็นข้อเท็จจริงคือ 4 ครั้ง ที่ได้มีการลงประชามติใน 4 ประเทศมีการลงคะแนนเสียงผ่าน 2 ประเทศ และลงคะแนนเสียงไม่ผ่าน 2 ประเทศ ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่ 5 ที่จะชี้ว่า การลงประชามตินั้น จะมีความเห็นของประชาชนในการที่จะผ่านร่างรัฐธรรมนูญนี้ มากกว่าหรือว่าน้อยกว่า
พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณและแสดงความชื่นชมทุกคน ที่ได้ร่วมกันผลักดันการจัดงาน “แรงงานไทย ไปประชามติ” ในวันนี้ขึ้น และถือโอกาสนี้เชิญชวนอีกครั้งหนึ่งที่จะให้ผู้ใช้แรงงาน ผู้ประกอบกิจการตลอดจนพี่น้องประชาชนทั่วไป โปรดร่วมกันรักษาสิทธิของตนเองด้วยการไปออกเสียงแสดงประชามติในวันอาทิตย์ที่19 สิงหาคม 2550นี้ ณ หน่วยออกเสียงประชามติที่คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดขึ้น สำหรับผู้ที่มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในจังหวัดอื่น ก็ขอให้ใช้เวลาที่เหลืออยู่อีก 2 วัน คือ วันที่ 18 และวันที่ 19 กรกฎาคมนี้ ไปยื่นขอใช้สิทธิ เพื่อที่จะลงประชามติในพื้นที่ที่ทำงานของของตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่อยากจะขอให้ทุกคนได้ช่วยดำเนินการอีกครั้งหนึ่ง
จากนั้นนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ร่วมกันมอบธงสัญลักษณ์ของแรงงานไทย ประชาธิปไตยไทย ไปลงประชามติ ให้กับสภาองค์กรนายจ้าง และสภาองค์การลูกจ้างไทย ทั้ง 24 องค์กร และนายกรัฐมนตรี ได้กดปุ่มเพื่อทำปฏิญญาประชามติ เปิดงาน โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมทำปฎิญญาประชามติในครั้งนี้ด้วย เพื่อเชิญชวนให้ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศไปลงประชามติโดยพร้อมเพรียงกันในวันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม 2550 ตั้งแต่เวลา 08.00 — 16.00 น. และเพื่อเป็นการกำหนดทิศทางการบริหารของประเทศไทยต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 15.30 น. ณ อาคารอินดอร์สเตดี้ยม หัวหมาก กรุงเทพมหานคร พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “แรงงานไทย ไปประชามติ” โดยมี นายอภัย จันทนจุลกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้แทนลูกจ้าง และผู้แทนนายจ้าง จำนวน 24 องค์กร อาทิ สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย สภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย สภาองค์การลูกจ้างแรงงานเสรีแห่งชาติ สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย สภาองค์การนายจ้างอุตสาหกรรมไทย สภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย ฯลฯ ตลอดจนผู้แทนภาครัฐ ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานของรัฐทุกภาคส่วนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เข้าร่วมพิธีประมาณ 6,000 คน
นายอภัย จันทนจุลกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์การจัดงาน ว่า “การจัดงาน “แรงงานไทย ไปประชามติ” เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งร่วมกับกระทรวงแรงงาน เพื่อรณรงค์ ส่งเสริมให้ผู้ใช้แรงงาน ลูกจ้าง นายจ้าง ผู้ประกอบการต่าง ๆ ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติกลุ่มใหญ่ จำนวนไม่น้อยกว่า 9 ล้านคน หากจะนับถึงบุคคลที่มีสิทธิในครัวเรือนก็จะมี จำวนประมาณ 20 ล้านคน ให้ได้ทราบและเข้าใจขั้นตอนการใช้สิทธิออกเสียงประชามติที่ถูกต้อง และร่วมกันไปใช้สิทธิออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อย่างทั่วถึง ซึ่งจะเป็นการกำหนดทิศทางการบริหารประเทศไทยในอนาคตจากประชาชนคนไทยทั้งประเทศเป็นครั้งแรก และหวังว่า จะได้รับความร่วมมือในการประชาสัมพันธ์เชิญชวนบุคคลในครอบครัวไปร่วมใช้สิทธิออกเสียงประชามติในวันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม 2550 อย่างทั่วถึง
จากนั้น นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้กล่าวถึงรายละเอียดของการลงประชามติและกล่าวเชิญชวน ผู้ใช้แรงงาน ที่มาร่วมงานครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นตัวแทนของผู้ใช้แรงงานทั้งประเทศ รวมถึงประชาชนผู้ชมรายการถ่ายทอดสดทุกคน ให้ไปใช้สิทธิออกเสียงประชามติในวันที่ 19 สิงหาคม นี้ พร้อมกล่าวว่า ในวันนี้ประชาชนผู้ใช้แรงงานคงจะพอทราบแล้วว่า การออกเสียงประชามติครั้งนี้ เป็นการออกเสียงประชามติ เพื่อให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งมีหน้าที่เผยแพร่กระบวนการและขั้นตอนการออกเสียงประชามติและดำเนินการจัด และควบคุมการออกเสียงประชามติให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ทั้งนี้คณะกรรมการการเลือกตั้งตระหนักดีว่าผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติที่เป็นพี่น้องผู้ใช้แรงงานมีข้อจำกัดเรื่องเวลาที่จะมาทำความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับความสำคัญและขั้นตอนการไปออกเสียงประชามติ และที่สำคัญคือพี่น้องผู้ใช้แรงงานที่ทำงานอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ มาจากต่างจังหวัด เพื่อเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง รวมทั้งเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้แรงงาน สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจึงได้ร่วมกับกระทรวงแรงงานจัดงานนี้ขึ้นมา ซึ่งนอกจากผู้ร่วมงานจะได้รับความรู้และความเพลิดเพลินจากกิจกรรมต่าง ๆ แล้ว สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งยังได้จัดเจ้าหน้าที่มารับคำร้องขอลงทะเบียนใช้สิทธิออกเสียงนอกเขตจังหวัดในครั้งนี้ด้วย เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้แรงงานทุกคน โดยสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประสานไปทางสำนักทะเบียน โดยใช้หลักฐานเฉพาะที่จำเป็น คือ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้านที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก เท่านั้นก็ได้ สามารถไปขอลงทะเบียนที่สำนักงานเขต เทศบาล และที่ว่าการอำเภอในท้องที่ที่สถานประกอบการของตนตั้งอยู่ภายในวันที่ 19 กรกฎาคมนี้ โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งจะยึดมั่นในหลักกฎหมายซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม มีความเป็นกลางทางการเมืองและโปร่งใสตรวจสอบได้ เพื่อนำพาการเมืองการปกครองของประเทศกลับเข้าสู่ความสงบเรียบร้อยโดยเร็ว
โอกาสนี้ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานเปิดงานพร้อมกล่าวแสดงความยินดีที่ได้มีโอกาสเดินทางมาเป็นประธานเปิดงาน “แรงงานไทย ไปประชามติ” ซึ่งถือเป็นงานสำคัญที่หน่วยงานหลัก ทั้งกระทรวงแรงงาน สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง และกรุงเทพมหานคร ได้ร่วมมือกันจัดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะรณรงค์ส่งเสริมให้พี่น้องผู้ใช้แรงงาน ผู้ประกอบกิจการ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการไปออกเสียงประชามติในร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และสามารถใช้สิทธิออกเสียงประชามติได้อย่างถูกต้อง ทั่วถึงกัน
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้กระทำขึ้นท่ามกลางสถานการณ์ที่คนไทย คนในสังคมไทยมีความแตกต่างทางความคิดเห็นอย่างรุนแรง และประชาชนมีความคาดหวังอย่างสูงว่าจะได้ร่างรัฐธรรมนูญที่สามารถใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศและสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นได้ไปพร้อม ๆ กัน และหากรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ผ่านความเห็นชอบของประชาชนแล้ว ก็จะได้จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นในปลายปี 2550 ต่อไปอย่างไรก็ตามก่อนที่กระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ รัฐบาลและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้พยายามรณรงค์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และทำความเข้าใจ ให้ความรู้กับพี่น้อง ประชาชนทั่วประเทศให้มากที่สุดเท่าที่สามารถจะทำได้ เพื่อให้ได้รับทราบและเข้าใจเนื้อหาสาระที่สำคัญของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้อย่างกว้างขวาง ก่อนถึงวันที่พี่น้องชาวไทยจะได้ร่วมกันแสดงพลังความคิดเห็น ออกเสียงประชามติ เพื่อรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่19 สิงหาคม 2550 ที่จะถึงนี้ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ที่ได้กำหนดให้มีการลงประชามติในลักษณะเช่นนี้ด้วย ขณะนี้ได้มีการลงประชามติในลักษณะที่คล้าย ๆ กัน ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมาแล้ว 4 ประเทศ ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่ 5 สิ่งที่เป็นข้อเท็จจริงคือ 4 ครั้ง ที่ได้มีการลงประชามติใน 4 ประเทศมีการลงคะแนนเสียงผ่าน 2 ประเทศ และลงคะแนนเสียงไม่ผ่าน 2 ประเทศ ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่ 5 ที่จะชี้ว่า การลงประชามตินั้น จะมีความเห็นของประชาชนในการที่จะผ่านร่างรัฐธรรมนูญนี้ มากกว่าหรือว่าน้อยกว่า
พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณและแสดงความชื่นชมทุกคน ที่ได้ร่วมกันผลักดันการจัดงาน “แรงงานไทย ไปประชามติ” ในวันนี้ขึ้น และถือโอกาสนี้เชิญชวนอีกครั้งหนึ่งที่จะให้ผู้ใช้แรงงาน ผู้ประกอบกิจการตลอดจนพี่น้องประชาชนทั่วไป โปรดร่วมกันรักษาสิทธิของตนเองด้วยการไปออกเสียงแสดงประชามติในวันอาทิตย์ที่19 สิงหาคม 2550นี้ ณ หน่วยออกเสียงประชามติที่คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดขึ้น สำหรับผู้ที่มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในจังหวัดอื่น ก็ขอให้ใช้เวลาที่เหลืออยู่อีก 2 วัน คือ วันที่ 18 และวันที่ 19 กรกฎาคมนี้ ไปยื่นขอใช้สิทธิ เพื่อที่จะลงประชามติในพื้นที่ที่ทำงานของของตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่อยากจะขอให้ทุกคนได้ช่วยดำเนินการอีกครั้งหนึ่ง
จากนั้นนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ร่วมกันมอบธงสัญลักษณ์ของแรงงานไทย ประชาธิปไตยไทย ไปลงประชามติ ให้กับสภาองค์กรนายจ้าง และสภาองค์การลูกจ้างไทย ทั้ง 24 องค์กร และนายกรัฐมนตรี ได้กดปุ่มเพื่อทำปฏิญญาประชามติ เปิดงาน โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมทำปฎิญญาประชามติในครั้งนี้ด้วย เพื่อเชิญชวนให้ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศไปลงประชามติโดยพร้อมเพรียงกันในวันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม 2550 ตั้งแต่เวลา 08.00 — 16.00 น. และเพื่อเป็นการกำหนดทิศทางการบริหารของประเทศไทยต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--