วันนี้ เวลา 14.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการบริหารงานส่งเสริมผลิตภัณฑ์และชุมชนและท้องถิ่น (OTOP) เป็นประธานแถลงข่าว "เส้นทางใหม่ของ OTOP" ว่า ขณะนี้รัฐบาลได้กำหนดนโยบาย "เส้นทางใหม่ของ OTOP" โดยมุ่งเป้าหมายไปที่ชุมชนต่างจากเดิมที่มุ่งเฉพาะสินค้า โดยการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นจะเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของรัฐบาลปัจจุบัน การส่งเสริมจะเป็นการขับเคลื่อนอย่างครบวงจร โดยชุมชนจะเป็นผู้กำหนดตำแหน่งของชุมชนและการสร้างผลิตภัณฑ์ภายใต้ภูมิปัญญาของตนเอง ชุมชนมีทางเลือกที่จะดำเนินกิจกรรมในลักษณะการผลิตสินค้า หรือบริการ เช่น หมู่บ้านท่องเที่ยว เพื่อสร้างความหลากหลายความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ สามารถสร้างตราสินค้าของชุมชน เน้นจุดเด่นและหลีกเลี่ยงการลอกเลียนแบบ ถือเป็นการเพิ่มทุนทางปัญญา เพื่อหวังผลไปสู่การสร้างรายได้ที่ยั่งยืน และชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนที่ดีขึ้น โดยรัฐจะสนับสนุนการเพิ่มองค์ความรู้ในการผลิตและการจัดการ เพิ่มช่องทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศ
ทั้งนี้ พบว่าข้อจำกัดสำคัญของการขยายรายได้คือข้อจำกัดทางการตลาด เพราะฉะนั้นเส้นทางใหม่ของ OTOP คือทำอย่างไรที่จะหลีกเลี่ยงหรือลดทอนข้อจำกัดเหล่านี้ ซึ่งเส้นทางที่จะลดทอนข้อจำกัดมีอยู่ 2 เส้นทาง คือ 1) หน่วยราชการทุกหน่วยเข้าไปร่วมมือเพื่อที่จะเปิดตลาดให้กว้างมากขึ้น ซึ่งทำได้หลายวิธี 2) ผู้นำหมู่บ้านมีความเป็นท้องถิ่นสามารถนำเอกลักษณ์ของท้องถิ่นไปเพิ่มศักยภาพทางด้านการตลาด ก็เป็นการลดทอนข้อจำกัดทางการตลาดอีกลักษณะหนึ่ง ซึ่งเส้นทางทั้ง 2 ลักษณะนี้รัฐบาลตั้งใจว่าจะแสดงให้เห็นเส้นทางใหม่ของ OTOP โดยจะจัดงาน OTOP Mid Year 2007 ขึ้นระหว่างวันที่ 7-15 กรกฎาคม 2550 ณ ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพค เมืองทองธานี โดยเริ่มจากผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ชาวบ้านทำ มาเป็นการคัดสรรเพื่อที่จะนำไปเปิดตลาด รวมไปถึงการที่เรามีตัวอย่างของผู้นำที่ขายความเป็นท้องถิ่นเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน
รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า แผนปฏิบัติการหลักปี 2550 ที่คณะอนุกรรมการฯ ได้กำหนดไว้เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค และตามศักยภาพทางการตลาดทุกระดับ ทั้งระดับภูมิภาค ระดับชาติ และการส่งออก โดยการดำเนินการจะอยู่ภายใต้ 3 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่ 1. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นตามศักยภาพทางการตลาด เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ และเพิ่มช่องทางในการกระจายสินค้า ซึ่งจะครอบคลุมถึงการจัดงานแสดงสินค้าทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งการจับคู่ทางธุรกิจ 2. การเสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และเสริมสร้างความเป็นผู้ประกอบการ เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมาตรฐาน การพัฒนาการบริหารจัดการ และการพัฒนาความรู้ทั่วไป และ 3. การบริหารจัดการงานส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น ซึ่งได้ดำเนินการมาแล้วตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการคัดสรรผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพเพื่อนำไปสู่การจับคู่ทางธุรกิจ ที่คัดสรรครอบคลุมทั้ง 4 ภาค และในระหว่างวันที่ 7-15 กรกฎาคม 2550 จะมีการจัดงาน OTOP Mid Year 2007 ณ ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพค เมืองทองธานี
นางสาววิไลพร ลิ่วเกษมศานต์ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวเพิ่มเติมในเรื่องของการตลาดว่า จะยังคงให้ความสำคัญกับการเพิ่มช่องทางทางการตลาด โดยเปิดเวทีให้ชุมชนนำสินค้าที่มีศักยภาพทางการตลาดเข้ามาจำหน่ายในงาน OTOP Mid Year ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-15 กรกฎาคม 2550 และในงาน OTOP ปลายปีนี้ รวมถึงการให้การสนับสนุนด้านวิชาการ โดยกระทรวงอุตสาหกรรมจะให้การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน และมาตรฐานในการบริหารจัดการ ที่จะช่วยสนับสนุนให้ชุมชนมีองค์ความรู้ มีความเข้าใจ และสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ทางสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จะช่วยพัฒนาสนับสนุนด้านฐานข้อมูลของ OTOP เพื่อให้มีฐานข้อมูลที่ครบถ้วนและเป็นที่ต้องการของผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน โดยเฉพาะผู้ซื้อทั้งในและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่จะเป็นสัญลักษณ์ความเข้มแข็งของชุมชนคือบุคคลที่มีบทบาทในชุมชนนั่นเอง ดังนั้น ในการจัดงาน OTOP Mid Year ครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกที่มีการมอบรางวัลบุคคลเกียรติยศของผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น ให้แก่ผู้นำชุมชนหรือผู้แทนที่ประสบความสำเร็จและมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาชุมชน จำนวน 10 ราย เพื่อรับรางวัลจากนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ในงานจะมีกิจกรรมจับคู่ทางธุรกิจระหว่างผู้ซื้อกับผู้ประกอบการ OTOP ด้วย ซึ่งการจัดงานดังกล่าวจะเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการบูรณาการการทำงานร่วมกันของหน่วยปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง และเป็นการตอกย้ำถึงเส้นทางใหม่ของ OTOP ที่นำไปสู่ความยั่งยืนโดยมีชุมชนเป็นเป้าหมายหลักที่สำคัญ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
ทั้งนี้ พบว่าข้อจำกัดสำคัญของการขยายรายได้คือข้อจำกัดทางการตลาด เพราะฉะนั้นเส้นทางใหม่ของ OTOP คือทำอย่างไรที่จะหลีกเลี่ยงหรือลดทอนข้อจำกัดเหล่านี้ ซึ่งเส้นทางที่จะลดทอนข้อจำกัดมีอยู่ 2 เส้นทาง คือ 1) หน่วยราชการทุกหน่วยเข้าไปร่วมมือเพื่อที่จะเปิดตลาดให้กว้างมากขึ้น ซึ่งทำได้หลายวิธี 2) ผู้นำหมู่บ้านมีความเป็นท้องถิ่นสามารถนำเอกลักษณ์ของท้องถิ่นไปเพิ่มศักยภาพทางด้านการตลาด ก็เป็นการลดทอนข้อจำกัดทางการตลาดอีกลักษณะหนึ่ง ซึ่งเส้นทางทั้ง 2 ลักษณะนี้รัฐบาลตั้งใจว่าจะแสดงให้เห็นเส้นทางใหม่ของ OTOP โดยจะจัดงาน OTOP Mid Year 2007 ขึ้นระหว่างวันที่ 7-15 กรกฎาคม 2550 ณ ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพค เมืองทองธานี โดยเริ่มจากผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ชาวบ้านทำ มาเป็นการคัดสรรเพื่อที่จะนำไปเปิดตลาด รวมไปถึงการที่เรามีตัวอย่างของผู้นำที่ขายความเป็นท้องถิ่นเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน
รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า แผนปฏิบัติการหลักปี 2550 ที่คณะอนุกรรมการฯ ได้กำหนดไว้เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค และตามศักยภาพทางการตลาดทุกระดับ ทั้งระดับภูมิภาค ระดับชาติ และการส่งออก โดยการดำเนินการจะอยู่ภายใต้ 3 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่ 1. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นตามศักยภาพทางการตลาด เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ และเพิ่มช่องทางในการกระจายสินค้า ซึ่งจะครอบคลุมถึงการจัดงานแสดงสินค้าทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งการจับคู่ทางธุรกิจ 2. การเสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และเสริมสร้างความเป็นผู้ประกอบการ เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมาตรฐาน การพัฒนาการบริหารจัดการ และการพัฒนาความรู้ทั่วไป และ 3. การบริหารจัดการงานส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น ซึ่งได้ดำเนินการมาแล้วตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการคัดสรรผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพเพื่อนำไปสู่การจับคู่ทางธุรกิจ ที่คัดสรรครอบคลุมทั้ง 4 ภาค และในระหว่างวันที่ 7-15 กรกฎาคม 2550 จะมีการจัดงาน OTOP Mid Year 2007 ณ ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพค เมืองทองธานี
นางสาววิไลพร ลิ่วเกษมศานต์ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวเพิ่มเติมในเรื่องของการตลาดว่า จะยังคงให้ความสำคัญกับการเพิ่มช่องทางทางการตลาด โดยเปิดเวทีให้ชุมชนนำสินค้าที่มีศักยภาพทางการตลาดเข้ามาจำหน่ายในงาน OTOP Mid Year ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-15 กรกฎาคม 2550 และในงาน OTOP ปลายปีนี้ รวมถึงการให้การสนับสนุนด้านวิชาการ โดยกระทรวงอุตสาหกรรมจะให้การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน และมาตรฐานในการบริหารจัดการ ที่จะช่วยสนับสนุนให้ชุมชนมีองค์ความรู้ มีความเข้าใจ และสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ทางสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จะช่วยพัฒนาสนับสนุนด้านฐานข้อมูลของ OTOP เพื่อให้มีฐานข้อมูลที่ครบถ้วนและเป็นที่ต้องการของผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน โดยเฉพาะผู้ซื้อทั้งในและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่จะเป็นสัญลักษณ์ความเข้มแข็งของชุมชนคือบุคคลที่มีบทบาทในชุมชนนั่นเอง ดังนั้น ในการจัดงาน OTOP Mid Year ครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกที่มีการมอบรางวัลบุคคลเกียรติยศของผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น ให้แก่ผู้นำชุมชนหรือผู้แทนที่ประสบความสำเร็จและมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาชุมชน จำนวน 10 ราย เพื่อรับรางวัลจากนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ในงานจะมีกิจกรรมจับคู่ทางธุรกิจระหว่างผู้ซื้อกับผู้ประกอบการ OTOP ด้วย ซึ่งการจัดงานดังกล่าวจะเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการบูรณาการการทำงานร่วมกันของหน่วยปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง และเป็นการตอกย้ำถึงเส้นทางใหม่ของ OTOP ที่นำไปสู่ความยั่งยืนโดยมีชุมชนเป็นเป้าหมายหลักที่สำคัญ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--