รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้นำนักเรียนจาก 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามโครงการครอบครัวอุปถัมภ์ และคณะผู้บริหาร ครู อาจารย์ เข้ารับโอวาทจากนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ผู้เข้าร่วมโครงการทุกคน
วันนี้ เวลา 14.45 น. ณ ตึกสันติไมตรีหลังใน ทำเนียบรัฐบาล นายวรากรณ์ สามโกเศศรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้นำนักเรียนจาก 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามโครงการครอบครัวอุปถัมภ์ และคณะผู้บริหาร ครู อาจารย์ เข้ารับโอวาทจากพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ผู้เข้าร่วมโครงการทุกคน
นายวรากรณ์ สามโกเศศรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวรายงานว่า ตามที่มีเหตุการณ์ไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวัน และความสัมพันธ์ของประชาชนและชุมชนในท้องถิ่น กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้เข้าร่วมกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จัดโครงการครอบครัวอุปถัมภ์ โดยคัดเลือกนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2550 ซึ่งได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้การเยียวยา ปรับเปลี่ยนแนวคิด ทัศนคติ ความหวาดระแวงซึ่งกันและกัน ในความแตกต่างด้านศาสนาและ วัฒนธรรม ด้วยการจัดหาโรงเรียนในกรุงเทพมหานครและครอบครัวอุปถัมภ์เป็นสถานที่เรียน และพักอาศัยตลอดปีการศึกษา 2550 เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและเพิ่มโอกาสในการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
จากการเปิดรับสมัครนักเรียนเข้าร่วมโครงการครอบครัวอุปถัมภ์มีนักเรียนประสงค์เข้าร่วมโครงการ จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ 1.จังหวัดยะลา จำนวน 32 คน 2.จังหวัดปัตตานี จำนวน 35 คน 3.จังหวัดนราธิวาส จำนวน 36 คน 4.จังหวัดสงขลา จำนวน 8 คน 5.จังหวัดสตูล จำนวน 10 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 121 คน ซึ่งในการดำเนินการโครงการครอบครัวอุปถัมภ์ครั้งนี้ ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้ 1.ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) 2.สำนักตรวจราชการประจำเขตตรวจราชการที่ 12 3. โรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร 14 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนสายน้ำผึ้ง โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย โรงเรียนเบญจมราชาลัย โรงเรียนสตรีวิทยา 2 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ โรงเรียนบดินทร์เดชา ( สิงห์ สิงหเสนีย์) โรงเรียนอิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย โรงเรียนศึกษานารี โรงเรียนศรีอยุธยาในพระอุปถัมภ์ ฯ โรงเรียนสตรีวิทยา โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และโรงเรียนสายปัญญา ขณะนี้นักเรียนทั้งหมดได้เข้าเรียนในโรงเรียนดังกล่าวแล้ว ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2550 และได้รับการดูแลเอาใจใส่จากผู้บริหาร ครู อาจารย์ และเพื่อน ๆ นักเรียนของโรงเรียนทั้ง 14 โรงเรียน อย่างดียิ่ง
โอกาสนี้ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวมอบโอวาทสรุปสาระสำคัญว่า ได้มีส่วนเกี่ยวข้องและเห็นถึงความสำคัญของการศึกษามานานพอสมควร ในอาชีพทหารหลังจากที่จบการศึกษาออกมาแล้ว จะมีการวางการศึกษาที่ต่อเนื่องมาโดยตลอด การศึกษาขั้นสุดท้ายที่ทหารได้วางไว้ และมีส่วนที่ข้าราชการ พ่อค้า ภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมด้วยในปัจจุบัน คือ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ที่เป็นส่วนสุดท้าย ก่อนที่จะเกษียณอายุราชการ โดยที่ได้กำหนดไว้ว่า อายุ 53 ปี เป็นอายุที่สูงสุดที่จะเข้าโรงเรียนขั้นสุดท้ายของทางสายความมั่นคง ซึ่งตลอดเวลาจะเป็นการศึกษาสลับไปกับการทำงานเพราะว่าในแต่ละชั้น แต่ละขั้นตอนของการทำงานนั้นจะมีการศึกษาไปเป็นลำดับ ทั้งนี้บางคนอาจจะมองว่า ทหารคงมีหน้าที่เพียงในเรื่องของด้านความมั่นคง แต่จริง ๆ แล้ว ทหารมีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องการศึกษาค่อนข้างมาก เพราะว่าในอาชีพของทหารจะต้องผ่านงานสำคัญ ๆ 3 อย่าง คืองานแรกหน้าที่เรื่องของความมั่นคง ซึ่งจะมีทั้งหน้าที่ของผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้บังคับบัญชา หน้าที่ที่จะต้องทำหน้าที่เป็นฝ่ายอำนวยการ หมายถึงเป็นผู้ที่คอยคิดและคอยเสนอให้กับผู้บังคับบัญชาตัดสินใจ อีกส่วนหนึ่ง คือ ทำหน้าที่ทางด้านการศึกษา โดยทั้ง 3 ด้าน นายกรัฐมนตรีได้ทำครบ ซึ่งทำให้มองเห็นว่าไม่มีอะไรดีไปกว่าในเรื่องของการให้การศึกษา เพราะการศึกษาเท่านั้นที่ทำให้ผู้คนมีความรู้มีความเข้าใจและมีความพร้อมที่จะทำงาน
ในเรื่องเกี่ยวกับเยาวชนจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็ได้มีส่วนร่วมกับโครงการที่เรียกว่า “สานใจไทยสู่ใจใต้” ซึ่งเป็นโครงการระยะเวลาสั้น ๆ ที่ได้นำเยาวชนจากในจังหวัดชายแดนภาคใต้เข้ามาอยู่กับครอบครัวอุปถัมภ์ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เยาวชนได้มีโอกาสขยายผลจากโครงการที่เรียกว่า “สานใจไทยสู่ใจใต้” เพราะเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ก็เป็นเลขาธิการของโครงการ “สานใจไทยสู่ใจใต้” ด้วย ซึ่งเป็นความต่อเนื่องที่เห็นร่วมกันว่า การศึกษาจะเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เกิดความเข้าใจและพัฒนาบุคลากรของชาติบ้านเมืองของเราต่อไปในอนาคต ให้มีความรู้ ความสามารถ
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ถ้าทุกคนมีความเข้าใจว่าบ้านเมืองของเรากำลังอยู่ในขั้นตอนไหน และจะเดินไปในทางไหน สิ่งที่ทุกคนควรจะคิดคือปัญหาของโรงเรียนในท้องถิ่นมีอะไร ทำอย่างไรที่จะแก้ไข้ปัญหาเหล่านั้น ทั้งนี้เยาวชนเป็นส่วนน้อยที่ได้มีโอกาสได้มาใช้เวลาเรียนรู้อยู่ในกรุงเทพ ฯ ประมาณ 1 ปี ทำอย่างไรที่จะให้ส่วนใหญ่ได้มีโอกาสอย่างนั้นบ้าง นั่นเป็นส่วนที่สำคัญ ซึ่งจะได้แก้ไขปรับปรุงสิ่งที่ยังด้อยกว่าให้ดีขึ้น โดยถือคติง่าย ๆ ว่าเราพยายามที่จะปรับปรุงแก้ไขจากความผิดพลาดในอดีต เพื่อให้วันนี้ดีขึ้นกว่าเมื่อวาน และทำวันนี้ให้ดีที่สุดเพื่อที่จะมีวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า ซึ่งถ้าตั้งใจที่จะทำกันแล้วไม่ว่าจะอยู่ในฐานะใด ก็จะมีโอกาสพัฒนาตัวเองให้ก้าวไปข้างหน้าเป็นได้อย่างดียิ่ง
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า เมื่อทุกคนนึกถึงตัวเองว่าทำอย่างไร เราจะมีความรู้ มีความสามารถต่อไปในอนาคต และต่อไปความรู้ ความสามารถของเราเองจะส่งผลให้กับครอบครัว ส่งผลให้กับชาติบ้านเมืองต่อไปข้างหน้า จึงขอฝากเยาวชนทุก ๆ คนไว้ และในเรื่องของเพื่อนก็เป็นส่วนที่มีความสำคัญ ฉะนั้นโอกาสของทุกคนที่มาพบปะกับเพื่อนนักเรียนในโรงเรียน ในกรุงเทพ ฯ ซึ่งถือว่าเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียง เป็นประสบการณ์ครั้งหนึ่งที่ทุกคนจะมีเพื่อน ซึ่งบุคคลในโรงเรียนเหล่านี้ ในวันข้างหน้าเราก็อาจจะเห็นเขาเป็นข้าราชการในระดับสูง เป็นพ่อค้า เป็นนักธุรกิจที่มีชื่อเสียงมีบริษัทที่ใหญ่โตก็จะเป็นเครือข่ายที่เราไม่ควรจะทอดทิ้งซึ่งกันและกัน
ทั้งนี้ทุกคนที่นี่จะมีโอกาสเข้าศึกษาต่อในระดับของอุดมศึกษาในส่วนของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นส่วนใหญ่อยู่แล้ว โดยที่รัฐบาลได้คิดต่อไปในระดับของนักศึกษา และในระดับอุดมศึกษาก็จะมีการแลกเปลี่ยนกัน อย่างน้อย ๆ ก็เทอม 1 ที่จะมีการแลกเปลี่ยนกันระหว่างมหาวิทยาลัยต่างๆ ของรัฐ เช่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ก็อาจจะไปเรียนที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน เรียนในคณะที่สอดคล้องกับที่ทุกคนเรียน ซึ่งจะเป็นส่วนที่ทำให้ทุกคนได้มีโอกาสได้เห็นว่าในแต่ละมหาวิทยาลัยมีการจัดการเรียนการสอนที่มีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างไร อาจารย์มีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งจะเป็นส่วนที่ทำให้ได้มีโอกาสที่จะเรียนรู้ และเข้าใจสังคมในบ้านเมืองของเรามากขึ้น ซึ่งเป็นโครงการที่รัฐบาลได้เตรียมการที่จะดำเนินการ
ในตอนท้ายนายกรัฐมนตรีกล่าวขอบคุณคณะผู้บริหาร กระทรวงศึกษาธิการ ที่ได้ดำเนินโครงการซึ่งเป็นประโยชน์ ที่จะสร้างความเข้าใจ สร้างพื้นฐานในเรื่องของความรู้ให้กับเยาวชนของชาติในการพัฒนาบุคลากร ซึ่งถือว่าเป็นจุดที่ดีที่สุดในการที่จะพัฒนาชาติบ้านเมือง เพราะการพัฒนาคนเป็นสิ่งที่ดีที่สุดของบ้านเมือง และในการพัฒนาก็ต้องคำนึงถึงทั้งความรู้ และคุณธรรม ประกอบกันด้วย ไม่ว่าทุกคนจะมีความเชื่อทางศาสนาที่ต่างกันอย่างไร จะต้องยืนอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรมที่จะนำชาติบ้านเมืองให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไป
จากนั้น นางสาวประภัสสร เป็งดล นักเรียนจากโรงเรียนสามเสนวิยาลัย ได้เป็นตัวแทนนักเรียนในโครงการครอบครัวอุปถัมภ์ กล่าวขอบคุณนายกรัฐมนตรีและผู้ที่เกี่ยวข้อง ที่ได้จัดโครงการนี้ขึ้นมา พร้อมกล่าวว่าอยากจะให้มีโครงการดังกล่าวอีกในรุ่นต่อไป ต่อจากนั้นนายกรัฐมนตรีได้มอบของที่ระลึกเป็นแฟ้มกระดาษบรรจุสมุดโน๊ตพร้อมเข็มตราสัญลักษณ์เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ให้กับตัวแทนนักเรียน เสร็จแล้วตัวแทนนักเรียนได้มอบเรือกอและจำลองให้แก่นายกรัฐมนตรีเป็นที่ระลึก
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 14.45 น. ณ ตึกสันติไมตรีหลังใน ทำเนียบรัฐบาล นายวรากรณ์ สามโกเศศรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้นำนักเรียนจาก 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามโครงการครอบครัวอุปถัมภ์ และคณะผู้บริหาร ครู อาจารย์ เข้ารับโอวาทจากพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ผู้เข้าร่วมโครงการทุกคน
นายวรากรณ์ สามโกเศศรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวรายงานว่า ตามที่มีเหตุการณ์ไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวัน และความสัมพันธ์ของประชาชนและชุมชนในท้องถิ่น กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้เข้าร่วมกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จัดโครงการครอบครัวอุปถัมภ์ โดยคัดเลือกนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2550 ซึ่งได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้การเยียวยา ปรับเปลี่ยนแนวคิด ทัศนคติ ความหวาดระแวงซึ่งกันและกัน ในความแตกต่างด้านศาสนาและ วัฒนธรรม ด้วยการจัดหาโรงเรียนในกรุงเทพมหานครและครอบครัวอุปถัมภ์เป็นสถานที่เรียน และพักอาศัยตลอดปีการศึกษา 2550 เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและเพิ่มโอกาสในการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
จากการเปิดรับสมัครนักเรียนเข้าร่วมโครงการครอบครัวอุปถัมภ์มีนักเรียนประสงค์เข้าร่วมโครงการ จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ 1.จังหวัดยะลา จำนวน 32 คน 2.จังหวัดปัตตานี จำนวน 35 คน 3.จังหวัดนราธิวาส จำนวน 36 คน 4.จังหวัดสงขลา จำนวน 8 คน 5.จังหวัดสตูล จำนวน 10 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 121 คน ซึ่งในการดำเนินการโครงการครอบครัวอุปถัมภ์ครั้งนี้ ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้ 1.ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) 2.สำนักตรวจราชการประจำเขตตรวจราชการที่ 12 3. โรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร 14 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนสายน้ำผึ้ง โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย โรงเรียนเบญจมราชาลัย โรงเรียนสตรีวิทยา 2 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ โรงเรียนบดินทร์เดชา ( สิงห์ สิงหเสนีย์) โรงเรียนอิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย โรงเรียนศึกษานารี โรงเรียนศรีอยุธยาในพระอุปถัมภ์ ฯ โรงเรียนสตรีวิทยา โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และโรงเรียนสายปัญญา ขณะนี้นักเรียนทั้งหมดได้เข้าเรียนในโรงเรียนดังกล่าวแล้ว ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2550 และได้รับการดูแลเอาใจใส่จากผู้บริหาร ครู อาจารย์ และเพื่อน ๆ นักเรียนของโรงเรียนทั้ง 14 โรงเรียน อย่างดียิ่ง
โอกาสนี้ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวมอบโอวาทสรุปสาระสำคัญว่า ได้มีส่วนเกี่ยวข้องและเห็นถึงความสำคัญของการศึกษามานานพอสมควร ในอาชีพทหารหลังจากที่จบการศึกษาออกมาแล้ว จะมีการวางการศึกษาที่ต่อเนื่องมาโดยตลอด การศึกษาขั้นสุดท้ายที่ทหารได้วางไว้ และมีส่วนที่ข้าราชการ พ่อค้า ภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมด้วยในปัจจุบัน คือ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ที่เป็นส่วนสุดท้าย ก่อนที่จะเกษียณอายุราชการ โดยที่ได้กำหนดไว้ว่า อายุ 53 ปี เป็นอายุที่สูงสุดที่จะเข้าโรงเรียนขั้นสุดท้ายของทางสายความมั่นคง ซึ่งตลอดเวลาจะเป็นการศึกษาสลับไปกับการทำงานเพราะว่าในแต่ละชั้น แต่ละขั้นตอนของการทำงานนั้นจะมีการศึกษาไปเป็นลำดับ ทั้งนี้บางคนอาจจะมองว่า ทหารคงมีหน้าที่เพียงในเรื่องของด้านความมั่นคง แต่จริง ๆ แล้ว ทหารมีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องการศึกษาค่อนข้างมาก เพราะว่าในอาชีพของทหารจะต้องผ่านงานสำคัญ ๆ 3 อย่าง คืองานแรกหน้าที่เรื่องของความมั่นคง ซึ่งจะมีทั้งหน้าที่ของผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้บังคับบัญชา หน้าที่ที่จะต้องทำหน้าที่เป็นฝ่ายอำนวยการ หมายถึงเป็นผู้ที่คอยคิดและคอยเสนอให้กับผู้บังคับบัญชาตัดสินใจ อีกส่วนหนึ่ง คือ ทำหน้าที่ทางด้านการศึกษา โดยทั้ง 3 ด้าน นายกรัฐมนตรีได้ทำครบ ซึ่งทำให้มองเห็นว่าไม่มีอะไรดีไปกว่าในเรื่องของการให้การศึกษา เพราะการศึกษาเท่านั้นที่ทำให้ผู้คนมีความรู้มีความเข้าใจและมีความพร้อมที่จะทำงาน
ในเรื่องเกี่ยวกับเยาวชนจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็ได้มีส่วนร่วมกับโครงการที่เรียกว่า “สานใจไทยสู่ใจใต้” ซึ่งเป็นโครงการระยะเวลาสั้น ๆ ที่ได้นำเยาวชนจากในจังหวัดชายแดนภาคใต้เข้ามาอยู่กับครอบครัวอุปถัมภ์ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เยาวชนได้มีโอกาสขยายผลจากโครงการที่เรียกว่า “สานใจไทยสู่ใจใต้” เพราะเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ก็เป็นเลขาธิการของโครงการ “สานใจไทยสู่ใจใต้” ด้วย ซึ่งเป็นความต่อเนื่องที่เห็นร่วมกันว่า การศึกษาจะเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เกิดความเข้าใจและพัฒนาบุคลากรของชาติบ้านเมืองของเราต่อไปในอนาคต ให้มีความรู้ ความสามารถ
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ถ้าทุกคนมีความเข้าใจว่าบ้านเมืองของเรากำลังอยู่ในขั้นตอนไหน และจะเดินไปในทางไหน สิ่งที่ทุกคนควรจะคิดคือปัญหาของโรงเรียนในท้องถิ่นมีอะไร ทำอย่างไรที่จะแก้ไข้ปัญหาเหล่านั้น ทั้งนี้เยาวชนเป็นส่วนน้อยที่ได้มีโอกาสได้มาใช้เวลาเรียนรู้อยู่ในกรุงเทพ ฯ ประมาณ 1 ปี ทำอย่างไรที่จะให้ส่วนใหญ่ได้มีโอกาสอย่างนั้นบ้าง นั่นเป็นส่วนที่สำคัญ ซึ่งจะได้แก้ไขปรับปรุงสิ่งที่ยังด้อยกว่าให้ดีขึ้น โดยถือคติง่าย ๆ ว่าเราพยายามที่จะปรับปรุงแก้ไขจากความผิดพลาดในอดีต เพื่อให้วันนี้ดีขึ้นกว่าเมื่อวาน และทำวันนี้ให้ดีที่สุดเพื่อที่จะมีวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า ซึ่งถ้าตั้งใจที่จะทำกันแล้วไม่ว่าจะอยู่ในฐานะใด ก็จะมีโอกาสพัฒนาตัวเองให้ก้าวไปข้างหน้าเป็นได้อย่างดียิ่ง
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า เมื่อทุกคนนึกถึงตัวเองว่าทำอย่างไร เราจะมีความรู้ มีความสามารถต่อไปในอนาคต และต่อไปความรู้ ความสามารถของเราเองจะส่งผลให้กับครอบครัว ส่งผลให้กับชาติบ้านเมืองต่อไปข้างหน้า จึงขอฝากเยาวชนทุก ๆ คนไว้ และในเรื่องของเพื่อนก็เป็นส่วนที่มีความสำคัญ ฉะนั้นโอกาสของทุกคนที่มาพบปะกับเพื่อนนักเรียนในโรงเรียน ในกรุงเทพ ฯ ซึ่งถือว่าเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียง เป็นประสบการณ์ครั้งหนึ่งที่ทุกคนจะมีเพื่อน ซึ่งบุคคลในโรงเรียนเหล่านี้ ในวันข้างหน้าเราก็อาจจะเห็นเขาเป็นข้าราชการในระดับสูง เป็นพ่อค้า เป็นนักธุรกิจที่มีชื่อเสียงมีบริษัทที่ใหญ่โตก็จะเป็นเครือข่ายที่เราไม่ควรจะทอดทิ้งซึ่งกันและกัน
ทั้งนี้ทุกคนที่นี่จะมีโอกาสเข้าศึกษาต่อในระดับของอุดมศึกษาในส่วนของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นส่วนใหญ่อยู่แล้ว โดยที่รัฐบาลได้คิดต่อไปในระดับของนักศึกษา และในระดับอุดมศึกษาก็จะมีการแลกเปลี่ยนกัน อย่างน้อย ๆ ก็เทอม 1 ที่จะมีการแลกเปลี่ยนกันระหว่างมหาวิทยาลัยต่างๆ ของรัฐ เช่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ก็อาจจะไปเรียนที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน เรียนในคณะที่สอดคล้องกับที่ทุกคนเรียน ซึ่งจะเป็นส่วนที่ทำให้ทุกคนได้มีโอกาสได้เห็นว่าในแต่ละมหาวิทยาลัยมีการจัดการเรียนการสอนที่มีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างไร อาจารย์มีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งจะเป็นส่วนที่ทำให้ได้มีโอกาสที่จะเรียนรู้ และเข้าใจสังคมในบ้านเมืองของเรามากขึ้น ซึ่งเป็นโครงการที่รัฐบาลได้เตรียมการที่จะดำเนินการ
ในตอนท้ายนายกรัฐมนตรีกล่าวขอบคุณคณะผู้บริหาร กระทรวงศึกษาธิการ ที่ได้ดำเนินโครงการซึ่งเป็นประโยชน์ ที่จะสร้างความเข้าใจ สร้างพื้นฐานในเรื่องของความรู้ให้กับเยาวชนของชาติในการพัฒนาบุคลากร ซึ่งถือว่าเป็นจุดที่ดีที่สุดในการที่จะพัฒนาชาติบ้านเมือง เพราะการพัฒนาคนเป็นสิ่งที่ดีที่สุดของบ้านเมือง และในการพัฒนาก็ต้องคำนึงถึงทั้งความรู้ และคุณธรรม ประกอบกันด้วย ไม่ว่าทุกคนจะมีความเชื่อทางศาสนาที่ต่างกันอย่างไร จะต้องยืนอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรมที่จะนำชาติบ้านเมืองให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไป
จากนั้น นางสาวประภัสสร เป็งดล นักเรียนจากโรงเรียนสามเสนวิยาลัย ได้เป็นตัวแทนนักเรียนในโครงการครอบครัวอุปถัมภ์ กล่าวขอบคุณนายกรัฐมนตรีและผู้ที่เกี่ยวข้อง ที่ได้จัดโครงการนี้ขึ้นมา พร้อมกล่าวว่าอยากจะให้มีโครงการดังกล่าวอีกในรุ่นต่อไป ต่อจากนั้นนายกรัฐมนตรีได้มอบของที่ระลึกเป็นแฟ้มกระดาษบรรจุสมุดโน๊ตพร้อมเข็มตราสัญลักษณ์เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ให้กับตัวแทนนักเรียน เสร็จแล้วตัวแทนนักเรียนได้มอบเรือกอและจำลองให้แก่นายกรัฐมนตรีเป็นที่ระลึก
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--