วันนี้ เวลา 12.00 น. พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงานวันแรงงานแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ.2550 ณ บริเวณท้องสนามหลวง โดยมีนายอภัย จันทนจุลกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายมนัส โกศล ประธานคณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ ตลอดจนหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และประชาชนผู้ใช้แรงงานทั้ง 11 สภาองค์การลูกจ้าง กับ 1 สหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ ให้การต้อนรับและเข้าร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก
นายอภัย จันทนจุลกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้กล่าวว่า การจัดงานวันแรงงานแห่งชาติเป็นกิจกรรมสำคัญของผู้ใช้แรงงานที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยปีนี้ ผู้แทนองค์การลูกจ้างทั้งภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจเห็นชอบให้ นายมนัส โกศล ทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการจัดงาน ฯ และรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณการจัดงาน ฯ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเป็นเงิน 1,600,000 บาท และคณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณการจัดงาน ฯ เพิ่มเติมอีก 1,500,000 บาท ทำให้ปีนี้เป็นปีแรกที่การจัดงาน ฯ ในส่วนภูมิภาคได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มขึ้นกว่าทุกปีที่ผ่านมาเป็นอย่างมากโดย
การจัดงานฯ ครั้งนี้ กระทรวงแรงงานและคณะกรรมการจัดงาน ฯ ได้อาศัยแนวนโยบายเศษรฐกิจพอเพียงและการสร้างความสมานฉันท์ของทุกฝ่าย มุ่งหวังให้เกิดประสิทธิภาพ มีความประหยัด โปร่งใสและเป็นธรรม โดยได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เอกชน ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ เป็นผลให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
จากนั้น นายมนัส โกศล ประธานคณะกรรมการจัดงาน ฯ ได้กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดงาน ฯ และเสนอข้อเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรี ว่า การจัดงานวันแรงงานแห่งชาติปีนี้ คณะกรรมการจัดงาน ฯ ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากหน่วยงานของรัฐ จากภาคเอกชน และจากเพื่อนพี่น้องผู้ใช้แรงงาน 11 สภาองค์การลูกจ้าง กับ 1 สหพันธ์รัฐวิสาหกิจ โดยมีวัตถุประสงค์การจัดงาน 3 วัตถุประสงค์ ได้แก่ 1.เพื่อเฉลิมฉลองและตระหนักถึงหน้าที่ความสำคัญของผู้ใช้แรงงานที่ทำประโยชน์แก่เศรษฐกิจของประเทศ 2. เพื่อยกย่องและชี้นำให้เห็นว่าความสำคัญของแรงงานนั้นให้เกิดการพัฒนาทั้งคุณภาพและความเป็นอยู่ ตลอดจนสิทธิอันชอบธรรมที่ผู้ใช้แรงงานสมควรจะได้รับและเอาใจใส่ 3. เพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา ซึ่งในระบบเศรษฐกิจแรงงานถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ก่อให้เกิดผลพลังของผู้ใช้แรงงานที่จะแฝงอยู่ในทุกส่วนของผลผลิตทุกชิ้น
พร้อมกันนี้ได้เสนอข้อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาโดยด่วน 9 ข้อ ประกอบด้วย 1.ขอให้รัฐบาลปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ในมาตรา 5 (3) จ้างเหมาค่าแรง โดยลูกจ้างเหมาค่าแรงจะต้องได้ค่าจ้าง และสิทธิประโยชน์เท่ากับลูกจ้างในระบบจ้างปกติของสถานประกอบการนั้น ๆ 2. ขอให้รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยให้เพิ่ม มาตรา 52 เรื่องการจัดตั้งสถาบันความปลอดภัยในการทำงาน 3. ขอให้รัฐบาลปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ฯลฯ 4. ขอให้รัฐบาลปรับอัตราค่าจ้างให้กับลูกจ้างกับอัตราเงินเฟ้อ และให้ปรับเงินในอัตราเดียวทั้งประเทศ และให้ควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ 5. ขอให้รัฐบาลยกเลิกการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทั้งหมด 6. ขอให้รัฐบาลแก้ไข ปรับปรุง กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อการใช้สิทธิการเลือกตั้งของผู้ใช้แรงงาน ฯลฯ 7.ขอให้สำนักงานประกันสังคมจัดตั้งโรงพยาบาลประกันสังคม เพื่อให้บริการ การรักษาพยาบาลแก่ผูประกันตน 8. ในกรณีที่ผู้ประกันตนเกษียณอายุไม่ว่าจะรับบำเหน็จ หรือบำนาญ ขอให้สำนักงานประกันสังคมรักษาพยาบาลแก่ผู้ประกันตนฟรี และ 9. ขอให้รัฐบาลตั้งคณะกรรมการฝ่ายรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องร่วมกับผู้แทนฝ่ายลูกจ้างทั้ง 11 สภาฯ กับ 1 สหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย ติดตามข้อเรียกร้องของผู้ใช้แรงงานที่ยื่นในวันที่ 1 พฤษภาคม 2550 พร้อมทั้งแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักแรงงานสัมพันธ์เป็นเลขานุการ
โอกาสนี้ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้รับมอบข้อร้องเรียนทั้ง 9 ข้อ ดังกล่าวจากประธานคณะกรรมการจัดงาน ฯ พร้อมกล่าวเปิดงานโดยขอบคุณทุกฝ่ายที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกันจัดงานวันแรงงานแห่งชาติในปีนี้ ด้วยความตั้งใจที่จะให้เกิดความสมานฉันท์ขึ้นในระหว่างพี่น้องผู้ใช้แรงงานและฝ่ายต่าง ๆ ร่วมกันทำให้ วันที่ 1 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันแรงงานแห่งชาติ เป็นวันที่มีความหมายต่อการประกอบกิจกรรมที่สร้างสรรค์ ทำให้ประชาชนฝ่ายต่าง ๆ มีโอกาสได้ร่วมยินดีและตระหนักถึงความสำคัญของผู้ใช้แรงงานในฐานะที่เป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศ ในห้วงเวลาที่ผ่านมาประเทศไทยของเราต้องประสบ กับปัญหามาแล้วหลายด้าน การสร้างความปรองดองสมานฉันท์และการร่วมมือกันแก้ไขปัญหาต่าง ๆ รวมทั้งด้านแรงงาน จึงเป็นสิ่งที่ดีต่อการสร้างสันติสุขขึ้นในประเทศ สำหรับรัฐบาลชุดนี้แม้ว่าจะมีเวลาในการทำงานเพียงสั้น ๆ แต่ก็ไม่ได้ละเลยต่อปัญหาและความต้องการของผู้ใช้แรงงาน โดยในช่วง 5-6 เดือนที่ผ่านมา รัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงแรงงานเร่งรัดดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนากิจการแรงงานเพื่อไม่ให้ผู้ใช้แรงงานได้รับผลกระทบจากปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งกระทรวงแรงงานก็ได้นำแนวทางนี้ไปจัดทำแผนพัฒนาแรงงาน ปี พ.ศ. 2550 โดยเน้นการดูแลคนทุกกลุ่มในสังคมและในทุก ๆ สถานการณ์ ในเรื่องที่สำคัญ 5 ประการ คือ
ประการแรก การช่วยเหลือดูแลรักษาสภาพการจ้าง การสร้างโอกาสการทำงานและสร้างขวัญกำลังใจให้กับนายจ้าง ลูกจ้าง ที่ประสบความเดือดร้อนจากสถานการณ์ชายแดนภาคใต้ สถานการณ์อุทกภัย และภัยแล้งครั้งใหญ่ที่ผ่านมา
ประการที่สอง การพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของการจัดหางาน ทักษะฝีมือแรงงาน มาตรฐานแรงงาน ความปลอดภัยในการทำงาน การแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงาน เป็นต้น
ประการที่สาม การส่งเสริมให้ผู้ใช้แรงงานทั้งในระบบและนอกระบบได้รับการคุ้มครองและมีหลักประกันในการทำงาน เพื่อให้เกิดความมั่นคงในชีวิต
ประการที่สี่ การพัฒนาจริยธรรม คุณธรรมของบุคลากรของกระทรวงแรงงานให้สมกับเป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และประการที่ห้า การพัฒนาขีดความสามารถเพื่อให้การบริหารแรงงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลได้ผ่านความเห็นชอบแผนพัฒนาแรงงานสมานฉันท์เพื่อรองรับและขับเคลื่อนแผนพัฒนาแรงงาน ปี พ.ศ. 2550 ดังกล่าวแล้ว โดยมีความหวังว่าแผนต่าง ๆ จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้สังคมมีความสงบสุข สมานฉันท์ ทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดี ในการทำงานร่วมกันระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง และกลุ่มองค์กรแรงงานต่าง ๆ การพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของลูกจ้างการสร้างวินัยในการทำงาน และการลดหรือแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้านแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ส่วนการแก้ไขปัญหาด้านแรงงานในเชิงของกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเหมาะสมยิ่งขึ้น โดยเฉพาะข้อเรียกร้องของผู้ใช้แรงงานที่ให้ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมและประกาศใช้พระราชบัญญัติต่าง ๆ นั้น รัฐบาลได้ทบทวนและนำเสนอร่างกฎหมายแรงงานสำคัญ ๆ อย่างน้อย 7 ฉบับ เพื่อให้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านแรงงานอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ได้แก่ เรื่องที่เกี่ยวกับการขยายความคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน ให้ครอบคลุมถึงแรงงานนอกระบบ เรื่องที่เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน เรื่องการส่งเสริมการประกอบอาชีพ การทำงานของคนต่างด้าว การจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน การขยายความคุ้มครองผู้ประกันตนโดยสมัครใจ และการเพิ่มอำนาจคณะกรรมการค่าจ้างให้สามารถกำหนดแนวทางการปรับค่าจ้างประจำปีตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมได้ ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่เป็นคุณประโยชน์ต่อผู้ใช้แรงงานด้วยกันทั้งสิ้น ส่วนการดำเนินงานตามข้อเรียกร้องในเรื่องอื่น ๆ เช่น เรื่องอัตราค่าจ้าง การจัดตั้งโรงพยาบาลของสำนักงานประกันสังคม และการตั้งคณะกรรมการเพื่อร่วมกับผู้แทนฝ่ายลูกจ้างนั้น ก็อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาและการดำเนินงานแล้วทั้งสิ้น
“ผมเชื่อมั่นว่าสิ่งที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่อย่างเต็มกำลังความสามารถเหล่านี้ นอกจากจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ใช้แรงงาน และนายจ้างผู้ประกอบการในสถานประกอบการต่างๆ แล้ว จะเป็นผลดีต่อสภาพเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศไทยโดยรวมต่อไปด้วย และรัฐบาลยินดีที่จะให้การสนับสนุนและส่งเสริมผู้ใช้แรงงาน ตลอดจนผู้ประกอบการ ในสิ่งที่ถูกต้องดีงามทุก ๆ ด้าน และปรารถนาที่จะเห็นนายจ้าง ลูกจ้าง มีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาของชาติภายใต้หลักคุณธรรม นำความรู้ มีความตระหนักถึงคุณค่าของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีความสมานฉันท์ สันติวิธีภายใต้วิถีชีวิตประชาธิปไตย และเชื่อมโยงความร่วมมือในการทำงานในสถานประกอบการกับสถาบันครอบครัว ชุมชน สถานศึกษา รวมทั้งสถาบันทางศาสนาเข้าด้วยกันให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้” นายกรัฐมนตรีกล่าว
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
นายอภัย จันทนจุลกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้กล่าวว่า การจัดงานวันแรงงานแห่งชาติเป็นกิจกรรมสำคัญของผู้ใช้แรงงานที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยปีนี้ ผู้แทนองค์การลูกจ้างทั้งภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจเห็นชอบให้ นายมนัส โกศล ทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการจัดงาน ฯ และรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณการจัดงาน ฯ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเป็นเงิน 1,600,000 บาท และคณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณการจัดงาน ฯ เพิ่มเติมอีก 1,500,000 บาท ทำให้ปีนี้เป็นปีแรกที่การจัดงาน ฯ ในส่วนภูมิภาคได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มขึ้นกว่าทุกปีที่ผ่านมาเป็นอย่างมากโดย
การจัดงานฯ ครั้งนี้ กระทรวงแรงงานและคณะกรรมการจัดงาน ฯ ได้อาศัยแนวนโยบายเศษรฐกิจพอเพียงและการสร้างความสมานฉันท์ของทุกฝ่าย มุ่งหวังให้เกิดประสิทธิภาพ มีความประหยัด โปร่งใสและเป็นธรรม โดยได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เอกชน ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ เป็นผลให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
จากนั้น นายมนัส โกศล ประธานคณะกรรมการจัดงาน ฯ ได้กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดงาน ฯ และเสนอข้อเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรี ว่า การจัดงานวันแรงงานแห่งชาติปีนี้ คณะกรรมการจัดงาน ฯ ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากหน่วยงานของรัฐ จากภาคเอกชน และจากเพื่อนพี่น้องผู้ใช้แรงงาน 11 สภาองค์การลูกจ้าง กับ 1 สหพันธ์รัฐวิสาหกิจ โดยมีวัตถุประสงค์การจัดงาน 3 วัตถุประสงค์ ได้แก่ 1.เพื่อเฉลิมฉลองและตระหนักถึงหน้าที่ความสำคัญของผู้ใช้แรงงานที่ทำประโยชน์แก่เศรษฐกิจของประเทศ 2. เพื่อยกย่องและชี้นำให้เห็นว่าความสำคัญของแรงงานนั้นให้เกิดการพัฒนาทั้งคุณภาพและความเป็นอยู่ ตลอดจนสิทธิอันชอบธรรมที่ผู้ใช้แรงงานสมควรจะได้รับและเอาใจใส่ 3. เพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา ซึ่งในระบบเศรษฐกิจแรงงานถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ก่อให้เกิดผลพลังของผู้ใช้แรงงานที่จะแฝงอยู่ในทุกส่วนของผลผลิตทุกชิ้น
พร้อมกันนี้ได้เสนอข้อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาโดยด่วน 9 ข้อ ประกอบด้วย 1.ขอให้รัฐบาลปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ในมาตรา 5 (3) จ้างเหมาค่าแรง โดยลูกจ้างเหมาค่าแรงจะต้องได้ค่าจ้าง และสิทธิประโยชน์เท่ากับลูกจ้างในระบบจ้างปกติของสถานประกอบการนั้น ๆ 2. ขอให้รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยให้เพิ่ม มาตรา 52 เรื่องการจัดตั้งสถาบันความปลอดภัยในการทำงาน 3. ขอให้รัฐบาลปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ฯลฯ 4. ขอให้รัฐบาลปรับอัตราค่าจ้างให้กับลูกจ้างกับอัตราเงินเฟ้อ และให้ปรับเงินในอัตราเดียวทั้งประเทศ และให้ควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ 5. ขอให้รัฐบาลยกเลิกการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทั้งหมด 6. ขอให้รัฐบาลแก้ไข ปรับปรุง กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อการใช้สิทธิการเลือกตั้งของผู้ใช้แรงงาน ฯลฯ 7.ขอให้สำนักงานประกันสังคมจัดตั้งโรงพยาบาลประกันสังคม เพื่อให้บริการ การรักษาพยาบาลแก่ผูประกันตน 8. ในกรณีที่ผู้ประกันตนเกษียณอายุไม่ว่าจะรับบำเหน็จ หรือบำนาญ ขอให้สำนักงานประกันสังคมรักษาพยาบาลแก่ผู้ประกันตนฟรี และ 9. ขอให้รัฐบาลตั้งคณะกรรมการฝ่ายรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องร่วมกับผู้แทนฝ่ายลูกจ้างทั้ง 11 สภาฯ กับ 1 สหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย ติดตามข้อเรียกร้องของผู้ใช้แรงงานที่ยื่นในวันที่ 1 พฤษภาคม 2550 พร้อมทั้งแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักแรงงานสัมพันธ์เป็นเลขานุการ
โอกาสนี้ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้รับมอบข้อร้องเรียนทั้ง 9 ข้อ ดังกล่าวจากประธานคณะกรรมการจัดงาน ฯ พร้อมกล่าวเปิดงานโดยขอบคุณทุกฝ่ายที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกันจัดงานวันแรงงานแห่งชาติในปีนี้ ด้วยความตั้งใจที่จะให้เกิดความสมานฉันท์ขึ้นในระหว่างพี่น้องผู้ใช้แรงงานและฝ่ายต่าง ๆ ร่วมกันทำให้ วันที่ 1 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันแรงงานแห่งชาติ เป็นวันที่มีความหมายต่อการประกอบกิจกรรมที่สร้างสรรค์ ทำให้ประชาชนฝ่ายต่าง ๆ มีโอกาสได้ร่วมยินดีและตระหนักถึงความสำคัญของผู้ใช้แรงงานในฐานะที่เป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศ ในห้วงเวลาที่ผ่านมาประเทศไทยของเราต้องประสบ กับปัญหามาแล้วหลายด้าน การสร้างความปรองดองสมานฉันท์และการร่วมมือกันแก้ไขปัญหาต่าง ๆ รวมทั้งด้านแรงงาน จึงเป็นสิ่งที่ดีต่อการสร้างสันติสุขขึ้นในประเทศ สำหรับรัฐบาลชุดนี้แม้ว่าจะมีเวลาในการทำงานเพียงสั้น ๆ แต่ก็ไม่ได้ละเลยต่อปัญหาและความต้องการของผู้ใช้แรงงาน โดยในช่วง 5-6 เดือนที่ผ่านมา รัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงแรงงานเร่งรัดดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนากิจการแรงงานเพื่อไม่ให้ผู้ใช้แรงงานได้รับผลกระทบจากปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งกระทรวงแรงงานก็ได้นำแนวทางนี้ไปจัดทำแผนพัฒนาแรงงาน ปี พ.ศ. 2550 โดยเน้นการดูแลคนทุกกลุ่มในสังคมและในทุก ๆ สถานการณ์ ในเรื่องที่สำคัญ 5 ประการ คือ
ประการแรก การช่วยเหลือดูแลรักษาสภาพการจ้าง การสร้างโอกาสการทำงานและสร้างขวัญกำลังใจให้กับนายจ้าง ลูกจ้าง ที่ประสบความเดือดร้อนจากสถานการณ์ชายแดนภาคใต้ สถานการณ์อุทกภัย และภัยแล้งครั้งใหญ่ที่ผ่านมา
ประการที่สอง การพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของการจัดหางาน ทักษะฝีมือแรงงาน มาตรฐานแรงงาน ความปลอดภัยในการทำงาน การแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงาน เป็นต้น
ประการที่สาม การส่งเสริมให้ผู้ใช้แรงงานทั้งในระบบและนอกระบบได้รับการคุ้มครองและมีหลักประกันในการทำงาน เพื่อให้เกิดความมั่นคงในชีวิต
ประการที่สี่ การพัฒนาจริยธรรม คุณธรรมของบุคลากรของกระทรวงแรงงานให้สมกับเป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และประการที่ห้า การพัฒนาขีดความสามารถเพื่อให้การบริหารแรงงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลได้ผ่านความเห็นชอบแผนพัฒนาแรงงานสมานฉันท์เพื่อรองรับและขับเคลื่อนแผนพัฒนาแรงงาน ปี พ.ศ. 2550 ดังกล่าวแล้ว โดยมีความหวังว่าแผนต่าง ๆ จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้สังคมมีความสงบสุข สมานฉันท์ ทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดี ในการทำงานร่วมกันระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง และกลุ่มองค์กรแรงงานต่าง ๆ การพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของลูกจ้างการสร้างวินัยในการทำงาน และการลดหรือแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้านแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ส่วนการแก้ไขปัญหาด้านแรงงานในเชิงของกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเหมาะสมยิ่งขึ้น โดยเฉพาะข้อเรียกร้องของผู้ใช้แรงงานที่ให้ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมและประกาศใช้พระราชบัญญัติต่าง ๆ นั้น รัฐบาลได้ทบทวนและนำเสนอร่างกฎหมายแรงงานสำคัญ ๆ อย่างน้อย 7 ฉบับ เพื่อให้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านแรงงานอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ได้แก่ เรื่องที่เกี่ยวกับการขยายความคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน ให้ครอบคลุมถึงแรงงานนอกระบบ เรื่องที่เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน เรื่องการส่งเสริมการประกอบอาชีพ การทำงานของคนต่างด้าว การจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน การขยายความคุ้มครองผู้ประกันตนโดยสมัครใจ และการเพิ่มอำนาจคณะกรรมการค่าจ้างให้สามารถกำหนดแนวทางการปรับค่าจ้างประจำปีตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมได้ ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่เป็นคุณประโยชน์ต่อผู้ใช้แรงงานด้วยกันทั้งสิ้น ส่วนการดำเนินงานตามข้อเรียกร้องในเรื่องอื่น ๆ เช่น เรื่องอัตราค่าจ้าง การจัดตั้งโรงพยาบาลของสำนักงานประกันสังคม และการตั้งคณะกรรมการเพื่อร่วมกับผู้แทนฝ่ายลูกจ้างนั้น ก็อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาและการดำเนินงานแล้วทั้งสิ้น
“ผมเชื่อมั่นว่าสิ่งที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่อย่างเต็มกำลังความสามารถเหล่านี้ นอกจากจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ใช้แรงงาน และนายจ้างผู้ประกอบการในสถานประกอบการต่างๆ แล้ว จะเป็นผลดีต่อสภาพเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศไทยโดยรวมต่อไปด้วย และรัฐบาลยินดีที่จะให้การสนับสนุนและส่งเสริมผู้ใช้แรงงาน ตลอดจนผู้ประกอบการ ในสิ่งที่ถูกต้องดีงามทุก ๆ ด้าน และปรารถนาที่จะเห็นนายจ้าง ลูกจ้าง มีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาของชาติภายใต้หลักคุณธรรม นำความรู้ มีความตระหนักถึงคุณค่าของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีความสมานฉันท์ สันติวิธีภายใต้วิถีชีวิตประชาธิปไตย และเชื่อมโยงความร่วมมือในการทำงานในสถานประกอบการกับสถาบันครอบครัว ชุมชน สถานศึกษา รวมทั้งสถาบันทางศาสนาเข้าด้วยกันให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้” นายกรัฐมนตรีกล่าว
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--