ศูนย์ปฏิบัติการรองรับเหตุฉุกเฉิน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย สรุปสถานการณ์อุทกภัยภาคใต้ ครั้ง ระหว่างวันที่ 23 มีนาคม 2554 ถึง ปัจจุบันมีสถานการณ์ 6 จังหวัด นครีธรรมราช พัทลุง สุราษฎร์ธานี ตรัง สงขลา และจังหวัดพังงา 74 อำเภอ 508 ตำบล 3,292 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 564,973 ครัวเรือน 1,897,801 คน คลี่คลายแล้ว 4 จังหวัด (พังงา นราธิวาส สตูล ชุมพร)
ความเสียหาย ด้านชีวิต เสียชีวิต 54 ราย ได้แก่ นครศรีธรรมราช 22 ราย สุราษฎร์ธานี 11 ราย พัทลุง 5 ราย กระบี่ 10 ราย ชุมพร 3 ราย ตรัง 2 ราย พังงา 1 ราย
บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 376 หลัง บางส่วน 3,686 หลัง สิ่งสาธารณประโยชน์เสียหายเบื้องต้น ถนน 4,575 สาย ท่อระบายน้ำ 409 แห่ง ฝาย 75 แห่ง สะพาน/คอสะพาน 428 แห่ง วัด/โรงเรียน 680 แห่ง สถานที่ราชการ 89 แห่ง
ด้านการเกษตร (ข้อมูลกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ วันที่ 5 เม.ย.54) พื้นที่การเกษตรประสบภัย 1,090,609 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 319,878 ไร่ พืชไร่ 56,110 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 714,621 ไร่
สำหรับยางพารา ประมาณการพื้นที่ คาดว่าจะเสียหายจากดินโคลนถล่มไม่เกิน 50,000 ไร่ เนื่องจากสถานการณ์อุทกภัยครั้งนี้ คาดว่าจะไม่ดำรงอยู่ยาวนาน จึงไม่ทำให้ต้นยางพาราที่มีอายุมากเสียหาย
ด้านปศุสัตว์ เกษตรกร 118,877 ราย สัตว์ที่ได้รับผลกระทบ 5,787,932 ตัว ด้านประมง เกษตรกร 16,587 ราย พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์ประสบภัย 30,274 บ่อ คิดเป็น พื้นที่ 53,942 ไร่ และ 3,913 กระชัง คิดเป็นพื้นที่ 88,048 ตารางเมตร เรือประมงประสบภัย 62 ลำ
ด้านการคมนาคม ทางหลวงแผ่นดิน มีน้ำท่วม 17 สายทาง จำนวนรวม 19 แห่ง ผ่านไม่ได้ 11 แห่ง
แต่ในส่วนของสนามบินเปิดให้บริการได้ตามปกติแล้วทุกแห่งแล้ว
ขณะที่รถไฟสายใต้ให้บริการได้ถึงสถานีรถไฟไชยา จำนวน 2 ขบวน (ขบวนที่ 39, 43)และรถไฟสายนครศรีฯ-สุไหงโกลก เปิดให้บริการได้