นายเสรี ศุภราทิตย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำท่วม แห่งศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า ประเทศไทยมีสามทางเลือกในการจัดการและควบคุมน้ำท่วม ได้แก่ การสร้างพื้นที่ลุ่มรับน้ำจำนวนสามล้านไร่ (3000 ล้านลูกบาศก์เมตร) การสร้างช่องทางผ่านของน้ำทางด้านตะวันออกเพิ่มขึ้น และการสร้างช่องทางผ่านของน้ำทั้งทางด้านตะวันออกและตะวันตก นอกเหนือไปจากพื้นที่รับน้ำ
และทางเลือกที่สาม คือ ไม่ทำอะไรเลย แม้ว่าประเทศไทยต้องตัดสินใจว่าการสร้างพื้นที่รับน้ำควรจะมีช่องทางผ่านของน้ำด้วยหรือไม่
นายเสรี กล่าวว่า ในทศวรรษที่ผ่านมารูปแบบภูมิอากาศในประเทศไทย มีการผันแปรระหว่างความแห้งแล้งอย่างหนักกับน้ำท่วม พร้อมยกผลการศึกษาของธนาคารโลกที่กล่าวว่าปีใดที่เกิดน้ำท่วมจะตามมาด้วยความแห้งแล้งและคลื่นความร้อนในปีถัดมา
การที่มีฝนตกสะสมตั้งแต่เดือนมกราคม 2554 นั้นได้นำไปสู่น้ำท่วมสะสมจำนวนมหาศาลในจังหวัดนครสวรรค์ของไทย ซึ่งทำให้เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในประเทศไทยเมื่อปีที่แล้ว แม่น้ำเจ้าพระยามีพื้นที่ลุ่มน้ำขนาด 162,800 ตร.กม. และนครสวรรค์เป็นพื้นที่ๆมีการไหลบรรจบกันของแม่น้ำสี่สายคือ ปิง วัง ยม น่าน
อย่างไรก็ตาม การคาดการณ์ของภูมิอากาศมีความไม่แน่นอน และการทำนายที่ดีและยอมรับได้คือการคาดการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนเกิดเหตุการณ์จริงน้อยกว่า 10 วัน
นายเสรี ระบุว่าควรจะมีการทำนายจำนวนการไหลเข้าของน้ำสู่เขื่อนต่างๆที่ดีกว่านี้ ตลอดจนการเน้นการสื่อสารด้านความเสี่ยง ระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่มีเพียงพอ การวางแผนการใช้ที่ดินและการประเมินความเสี่ยงน้ำท่วมที่ดีกว่านี้โดยถือว่าเป็นบทเรียนที่ได้เรียนรู้จากน้ำท่วมปี 2554