สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(สนนท.) และองค์กรเครือข่ายร่วม เรียกร้อง คัดค้าน ต่อผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในกรณีเขื่อนแม่วงก์ โดยขอให้รัฐบาลยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 10 เมษายน 2555 ที่อนุมัติให้ดำเนินโครงการสร้างเขื่อนแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้ง โดยจะใช้งบประมาณก่อสร้างทั้งสิ้น 13,280 ล้านบาทใช้ระยะเวลาก่อสร้างถึง 8 ปี โดยผูกพันงบประมาณถึงปีงบประมาณ 2562
เนื่องด้วยมติ ครม. ดังกล่าว ไม่เป็นไปกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการให้ความรู้ความเข้าใจต่อประชาชนในกระบวนการสร้างเขื่อน การทำกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน(Public hearing) โดยเป็นการตัดสินใจตัดสินใจที่ขาดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชน สังคม นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญจากสาขาต่างๆ ทำให้การพิจารณาถึงผลได้-ผลเสีย และผลกระทบในด้านต่าง ๆ ถูกละเลยมองข้ามไปอย่างเร่งรีบโดยเจตนาเคลือบแฝงบางประการ เป็นน่าสังเกตว่าในหลายปีที่ผ่านมาโครงการเขื่อนขนาดใหญ่ ถูกตั้งข้อกังขาจากสังคมโดยตลอดว่าจะแก้ปัญหาน้ำท่วม-น้ำแล้งได้จริงและคุ้มค่ากับทรัพยากรธรรมชาติที่สูญเสียไปหรือไม่
นอกจากนี้ ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายพิจารณาถึงผลดี-ผลเสีย ของการสร้างเขื่อนแม่วงก์ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ซึ่งมีกรณีศึกษามากมายทั่วประเทศและทั่วโลก และร่วมหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด
และขอเรียกร้องให้รัฐบาลใช้กระบวนรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในทุกๆโครงการของรัฐ รัฐต้องถือว่าความเห็นของประชาชนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นเจ้าของประเทศและเป็นผู้มีส่วนได้-ส่วนเสีย ภาครัฐต้องให้ความร่วมมือในการเผยแพร่ความรู้ข้อดี-ข้อเสีย ปัญหา แนวทางแก้ไข ให้กับประชาชนทุกภาคส่วนรับรู้อย่างทั่วถึง