ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ ล่าสุด(11 พ.ค. 55) มีปริมาณน้ำรวมกัน จำนวน 38,367 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 55 ของความจุอ่างฯขนาดใหญ่รวมกันทั้งหมด สามารถรองรับน้ำในช่วงฤดูฝนนี้ได้อีกกว่า 31,000 ล้านลูกบาศก์เมตร
สำหรับสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ในพื้นที่ภาคเหนือ ยังสามารถรองรับน้ำในช่วงฤดูฝนนี้ได้อีกกว่า 12,000 ล้านลูกบาศก์เมตร อาทิ เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 6,451 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 48 ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 7,000 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 4,825 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 51 ของความจุอ่างฯสามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 4,600 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล จ.เชียงใหม่ มีปริมาณน้ำ 128 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 48 ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 130 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนกิ่วลม จ.ลำปาง มีปริมาณน้ำ 75 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 71 ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีก 30 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 262 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 28 ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 670 ล้านลูกบาศก์เมตร
ทั้งนี้ ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ยังคงต้องส่งน้ำให้กับพื้นที่ด้านท้ายน้ำอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนการเพาะปลูกข้าวนาปีในช่วงต้นฤดูฝนในพื้นที่ภาคกลาง แม้จะมีบางพื้นที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำก็ตาม ซึ่งกรมชลประทาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันหาแนวทางเร่งด่วนในการเข้าไปช่วยเหลือเกษตรกรให้ได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำน้อยที่สุดต่อไป
ส่วนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ต่างๆ ยังสามารถรองรับน้ำในช่วงฤดูฝนนี้ได้อีกกว่า 4,800 ล้านลูกบาศก์เมตร อาทิ เขื่อนห้วยหลวง จ.อุดรธานี มีปริมาณน้ำ 24 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 18 ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 100 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร มีปริมาณน้ำ 276 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 53 ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 200 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ มีปริมาณน้ำ 708 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 36 ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 1,200 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนลำพระเพลิง จ.นครราชสีมา มีปริมาณน้ำ 26 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 24 ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 80 ล้านลูกบาศก์เมตร
ส่วนในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี มีปริมาณน้ำ 163 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 21 ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 600 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนทับเสลา จ.อุทัยธานี มีปริมาณน้ำ 42 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 26 ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 100 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก มีปริมาณน้ำ 22 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 10 ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 200 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนคลองสียัด จ.ฉะเชิงเทรา มีปริมาณน้ำ 120 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 29 ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีก 300 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนประแสร์ จ.ระยอง มีปริมาณน้ำ 111 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 45 ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 130 ล้านลูกบาศก์เมตร
ทั้งนี้ ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ยังคงต้องส่งน้ำให้กับพื้นที่ด้านท้ายน้ำอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนการเพาะปลูกข้าวนาปีในช่วงต้นฤดูฝนในพื้นที่ภาคกลาง แม้จะมีบางพื้นที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำก็ตาม ซึ่งกรมชลประทาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันหาแนวทางเร่งด่วนในการเข้าไปช่วยเหลือเกษตรกรให้ได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำน้อยที่สุดต่อไป