ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ ล่าสุด(20 ก.ย. 55) มีปริมาณน้ำรวมกัน จำนวน 47,991 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 68 ของความจุอ่างฯขนาดใหญ่รวมกันทั้งหมด สามารถรองรับน้ำในช่วงฤดูฝนนี้ได้อีกกว่า 20,000 ล้านลูกบาศก์เมตร
โดยอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ในภาคเหนือ ยังสามารถรองรับน้ำในช่วงฤดูฝนนี้ได้อีกกว่า 9,000 ล้านลูกบาศก์เมตร อาทิ เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 7,646 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 57 ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 5,800 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 6,128 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 64 ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 3,000 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล จ.เชียงใหม่ มีปริมาณน้ำ 152 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 57 ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 100 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนกิ่วลม จ.ลำปาง มีปริมาณน้ำ 80 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 75 ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 20 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 590 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 63 ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 300 ล้านลูกบาศก์เมตร
"แนวโน้มสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ภาคเหนือ ส่วนใหญ่จะมีน้ำไหลลงอ่างฯ มากขึ้น" กรมชลฯ ระบุ
ส่วนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ต่างๆ ยังสามารถรองรับน้ำในช่วงฤดูฝนนี้ได้อีกกว่า 4,500 ล้านลูกบาศก์เมตร อาทิ เขื่อนห้วยหลวง จ.อุดรธานี มีปริมาณน้ำ 51 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 38 ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 80 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร มีปริมาณน้ำ 329 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 63 ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 190 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ มีปริมาณน้ำ 518 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 26 ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 1,400 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนลำพระเพลิง จ.นครราชสีมา มีปริมาณน้ำ 65 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 59 ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 40 ล้านลูกบาศก์เมตร
"แนวโน้มเขื่อนหลายแห่งในพื้นที่ภาคอีสาน มีน้ำไหลลงอ่างฯมากขึ้น แต่ก็ยังคงมีหลายแห่งที่มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย"
สำหรับพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก ที่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี มีปริมาณน้ำ 442 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 56 ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 300 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก มีปริมาณน้ำ 149 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 67 ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 70 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนคลองสียัด จ.ฉะเชิงเทรา มีปริมาณน้ำ 273 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 65 ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 140 ล้านลูกบาศก์เมตร แนวโน้มสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก หลายแห่งมีน้ำไหลลงอ่างฯเพิ่มมากขึ้น
อนึ่ง การบริหารจัดการน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ จะเน้นการเก็บกักน้ำอย่างเต็มศักยภาพ เพื่อให้มีน้ำสำรองไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งที่ใกล้จะมาถึงนี้อย่างเพียงพอ มีการปล่อยน้ำออกมาค่อนข้างน้อย จึงไม่ส่งผลกระทบให้เกิดน้ำท่วม