พร้อมกันนี้ คาดว่า ภายใน 1-2 วันนี้จะประกาศพื้นที่ห้ามปลูกพืชในฤดูแล้ง ซึ่งจะประกาศตามปริมาณน้ำในระบบชลประทาน นอกจากนี้จะจ้างแรงงานในพื้นที่เพื่อช่วยก่อสร้างฝายหรือแหล่งชลประทาน ซึ่งจะช่วยให้เกิดการสร้างรายได้แก่ประชาชนในพื้นที่ด้วย
ส่วนการทำฝนเทียมนั้น ต้องยอมรับว่าขณะนี้ยังไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากสภาพอากาศยังไม่เอื้ออำนวย แต่ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามสภาพภูมิอากาศเป็นระยะ ซึ่งเมื่อใดที่มีความพร้อมก็ให้ดำเนินการทำฝนเทียมได้ตามความเหมาะสม
นายปลอดประสพ กล่าวยืนยันว่าเมื่อโครงการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลมูลค่า 3.5 แสนล้านบาทเสร็จสมบูรณ์แล้ว จะไม่เกิดปัญหาน้ำท่วมหรือภัยแล้งขึ้นอย่างแน่นอน เนื่องจากโครงการที่รัฐบาลจะดำเนินการนี้สามารถบริหารจัดการน้ำได้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เพราะจะมีพื้นที่ชลประทานเพิ่มขึ้น โดยบริษัทที่ผ่านคุณสมบัติการพิจารณาจะต้องนำเสนอกรอบแนวคิด(Conceptual Plan) ต่อคณะกรรมการฯ ในวันที่ 23 พ.ย.นี้ ซึ่งหลังจากนั้น กบอ.จะใช้เวลาประมาณ 45 วัน ในการพิจารณาแผนของแต่ละบริษัทตามที่เสนอมา และจะประกาศผลรายชื่อ 30 บริษัทที่ต้องไปแข่งขันต่อในรอบที่ 2