ทั้งนี้ ในพื้นที่ภาคเหนือ สถานการณ์น้ำในเขื่อนใหญ่ มีดังนี้ เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 8,394 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 62 ของความจุอ่างฯ ปริมาณน้ำที่ใช้การได้ 4,594 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 6,303 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 66 ของความจุอ่างฯ ปริมาณน้ำที่ใช้การได้ 3,453 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนแม่กวงอุดมธารา จ.เชียงใหม่ มีปริมาณน้ำ 114 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 43 ของความจุอ่างฯ ปริมาณน้ำที่ใช้การได้ 100 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนกิ่วลม จ.ลำปาง มีปริมาณน้ำ 85 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ ปริมาณน้ำที่ใช้การได้ 81 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 712 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 76 ของความจุอ่างฯ ปริมาณน้ำที่ใช้การได้ 669 ล้านลูกบาศก์เมตร
สถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ปริมาณน้ำในช่วงฤดูแล้งปีนี้ อยู่ในเกณฑ์น้อยกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งกรมชลประทาน ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางแผนการเพาะปลูกพืชและจัดสรรน้ำ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการใช้น้ำต่างๆ โดยเน้นเพื่อการอุปโภค-บริโภค การผลิตประปา และรักษาระบบนิเวศน์ เป็นหลัก อย่างเพียงพอไม่ขาดแคลน ส่วนการทำนาปรังนั้น กรมชลประทาน ขอความร่วมมือจากเกษตรกรให้งดทำนาปรังครั้งที่ 2 เพื่อให้การใช้น้ำสอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่
ส่วนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ เขื่อนห้วยหลวง จ.อุดรธานี มีปริมาณน้ำ 39 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 29 ของความจุอ่างฯ ปริมาณน้ำที่ใช้การได้ 32 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ มีปริมาณน้ำ 332 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 17 ของความจุอ่างฯ ปริมาณน้ำที่ใช้การได้ 232 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนลำตะคอง จ.นครราชสีมา มีปริมาณน้ำ 149 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 47 ของความจุอ่างฯ ปริมาณน้ำที่ใช้การได้ 122 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนมูลบน จ.นครราชสีมา มีปริมาณน้ำ 50 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยล 35 ของความจุอ่างฯ ปริมาณน้ำที่ใช้การได้ 43 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนลำนางรอง จ.บุรีรัมย์ มีปริมาณน้ำ 86 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 71 ของความจุอ่างฯ ปริมาณน้ำที่ใช้การได้ 83 ล้านลูกบาศก์เมตร ภาพรวมของภาคอีสาน ปริมาณน้ำในฤดูแล้งปีนี้อยู่ในเกณฑ์น้อย หลายพื้นที่ต้องงดทำนาปรัง และช่วยกันประหยัดน้ำอย่างต่อเนื่อง