2) หลักสูตรการพัฒนาเกษตรกรอย่างยั่งยืน เกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 1,677 ราย ซื่งจะเป็นหลักสูตรระยะสั้นประมาณ 4-6 เดือน โดยเน้นให้เกษตรกรที่อยู่อาศัยในท้องถิ่นชนบทที่ทำการเกษตรอยู่แล้ว ได้มีการพัฒนาทักษะการใช้ที่ดินตามชนิดพืชที่ปลูกของตนเอง และยกระดับการผลิตได้ตามความเหมาะสม เช่น การผลิตข้าว มันสำปะหลัง อ้อย ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ไม้ผล ไม้ดอก ไม้ประดับ ผัก และการเลี้ยงสัตว์ และเพิ่มเติมทักษะการวางแผนและจัดการครัวเรือนเกษตรของตนเอง ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้การทำบัญชีครัวเรือน การทำบัญชีฟาร์มระดับไร่นา การวางแผนเบื้องต้นจากข้อมูลบัญชีครัวเรือนของตนเอง 3) หลักสูตรการพัฒนาเกษตรกรมืออาชีพยุคใหม่ (ปวช./ปวส) เกษตรกรเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 25,183 ราย ซึ่งหลักสูตรนี้จะเป็นการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรที่มีอยู่เดิมในประเภทวิชาเกษตรกรรม และประเภทวิชาประมง ของสถานศึกษาที่เป็นสถานศึกษานำร่องในโครงการ เช่น สาขาวิชาพืชศาสตร์ สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขาวิชาสัตวศาสตร์ สาขาวิชาประมง เป็นต้น ซึ่งจะต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดการเรียนการสอนใหม่เพื่อให้ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดี เกิดความเชื่อมั่นและมีศักยภาพเพียงพอในการเข้าสู่อาชีพเกษตรกรรม โดยนักศึกษาที่จะมีคุณสมบัติครบถ้วนสามารถได้รับสิทธิเข้าสู่กระบวนการจัดที่ดิน ของ ส.ป.ก. ตามโครงการสร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ จะต้องเข้าเรียนในสาขาวิชา และสถานศึกษาที่โครงการกำหนดโดยมีระยะเวลาการฝึกอบรม หลักสูตรปวช./ปวส.(3-5ปี) ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีที่เข้าร่วมโครงการ
อย่างไรก็ตาม จากผลการดำเนินการดังกล่าวข้างต้น คณะกรรมการร่วมระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงศึกษาธิการ ตลอดจนภาคีเครือข่ายได้มีมติเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2555 เสนอให้ขยายความร่วมมือต่อไปอีก โดยให้เชิญหน่วยงานภาคีเข้าร่วมดำเนินงาน ได้แก่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานพัฒนาวิจัยทางการเกษตร (สวก.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนครพนม และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าลาดกระบัง เพื่อเพิ่มบุคลากรภาคการเกษตรที่มีคุณภาพให้เพียงพอต่อการพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศในอนาคต และบทเรียนนี้จะได้นำมาพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) ตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้อย่างเป็นรูปธรรม.