"ท่าน(นายกรัฐมนตรี)ย้ำว่าจากนี้ไปให้ทำงานเต็มที่ ไปบูรณาการข่าว แล้วมีข้อเท็จจริงรายงานให้ท่านทราบทุกระยะ ท่านบังคับให้ผมลงพิ้นที่ ผมก็บอกไปหลังเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานครก่อน นายกรัฐมนตรีสั่งการด้วยวาจาและมอบหมายพันธกิจและภารกิจมากขึ้น...ท่านบอกไม่ปลด ให้ทำงานหนักๆ บังคับให้ลงพื้นที่บ่อยๆ" ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว
ทั้งนี้ ร.ต.อ.เฉลิม ย้ำแนวคิดที่จะสร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ เน้นการทำงานด้วยการเจรจาพูดคุย และทำความเข้าใจ แต่ยังคงยึดแนวทางการดูแลรักษาความสงบตามปฏิบัติการทหาร เพียงแต่เห็นว่าหากใจร้อนและใช้วิธิการรุนแรงก็จะทำให้การแก้ปัญหายากขึ้น และเชื่อว่าประชาชนจะไม่เกิดความสับสนต่อแนวทางแก้ไขปัญหาของรัฐบาลที่เปลี่ยนแนวคิดจากการประกาศใช้เคอร์ฟิวมาเป็นการใช้มาตรา 21 ตาม พ.ร.บ.ความมั่นคง เพราะทุกขั้นตอนต้องถามความเห็นจากประชาชนในพื้นที่ก่อนดำเนินการ
ร.ต.อ.เฉลิม ยังกล่าวอีกว่า นายกรัฐมนตรีเห็นด้วยแนวคิดที่จะนำมาตรา 21 ตาม พ.ร.บ.ความมั่นคง ที่จะส่วนช่วยลดความเข้มข้นของการบังคับใช้กฎหมายตามกระบวนการยุติธรรมได้
ด้าน พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการ สมช. กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก(ผบ.ทบ.) และ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผบ.ตร.) ต่างยืนยันว่าสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ส่วนเรื่องที่ ร.ต.อ.เฉลิม เสนอให้บังคับใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง ตามมาตรา 21 นั้น บ่ายวันนี่ทาง ร.ต.อ.เฉลิม จะเป็นประธานการประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) ในเรื่องแนวทางการดำเนินการให้เป็นรูปธรรมอย่างเต็มที่ ตอนนี้กำลังจะเพิ่มน้ำหนักมาตรา 21
"การเพิ่มน้ำหนักคือขณะนี้เรากำลังพิสูจน์ทราบในพื้นที่ต่างๆ ที่ประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อยู่ แต่เราก็จะลดโทนมาใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง ซึ่งตรงนี้จะนำไปสู่การเปิดเวทีการพูดคุย และนำไปสู่ที่จะให้เข้าสู่กระบวนการมาตรา 21 ได้" เลขาธิการ สมช. กล่าว
ส่วนจะกลายเป็นการสวนทางกันหรือไม่ เมื่อสถานการณ์ยังรุนแรงขึ้นอยู่แต่กลับไปใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง เลขาธิการ สมช. กล่าวว่า สถานการณ์ดูเหมือนจะรุนแรงแต่ถ้าลงลึกในรายละเอียดแล้ว ความจริงที่ปัตตานีมันเป็นระเบิดเพลิง ทางฝ่ายผู้ก่อเหตุความไม่สงบ เขาจะเน้นไปทำความรุนแรงกับประชาชน เนื่องจากไม่ต้องการให้ประชาชนให้ความร่วมมือกับฝ่ายรัฐ แต่สิ่งที่สะท้อนมาคือ ประชาชนให้ความร่วมมือกับรัฐมากขึ้น ส่งผลให้กลุ่มก่อความไม่สงบกลับมายังเป้าหมายเดิม คือเจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่ทางเจ้าหน้าที่รัฐก็ระมัดระวังมากขึ้น
"เรื่องนี้เป็นความคิดริเริ่มของ ร.ต.อ.เฉลิม ที่คิดว่ามันจำเป็นต้องมีการทำอะไรหรือไม่อย่างไร ซึ่งจะต้องมาหารือกันให้ตกผลึกเมือ่ตกผลึกแล้วก็ต้องฟังเสียงสะท้อนจากประชาชน" เลขาธิการ สมช.กล่าว