มติดังกล่าวจะเปิดทางให้พม่าและอียูเสริมสร้างความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจให้แข็งแกร่งมากขึ้น เนื่องจากอียูจะยกเลิกการอายัดสินทรัพย์และการปิดล้อมทางการท่องเที่ยวต่อเจ้าหน้าที่รัฐพม่า อีกทั้งยังยกเลิกมาตรการระงับทางการค้าและการลงทุนในอุตสาหกรรมป่าไม้ และอุตสาหกรรมประเภทอื่นๆด้วย
ถ้อยแถลงของสภายุโรประบุว่า "เพื่อเป็นการตอบรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และความคาดหวังว่าการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นต่อไป สภาอียูจึงมีมติยกเลิกการคว่ำบาตรทั้งหมด ยกเว้นมาตรการคว่ำบาตรด้านอาวุธซึ่งจะยังคงอยู่"
แถลงการณ์ระบุว่า ความท้าทายที่พม่าต้องรับมือคือ การส่งเสริมความปรองดองกับกลุ่มชนกลุ่มน้อยในรัฐยะไข่ และคะฉิ่น
ในเดือนเม.ย.ปีที่แล้ว อียูมีมติระงับการคว่ำบาตรพม่าทั้งหมดยกเว้นการคว่ำบาตรด้านอาวุธเป็นเวลา 1 ปี ขณะที่ในเดือนม.ค.ปีนี้ อียูได้จัดตั้งสำนักงานในเมืองย่างกุ้งซึ่งเป็นเมืองขนาดใหญ่ที่สุดของพม่า เพื่อเร่งสร้างความสัมพันธ์ สำนักข่าวเกียวโดรายงาน