โดยภาคกลาง ระหว่างวันที่ 9 - 10 พฤษภาคม 2556 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จังหวัดฉะเชิงเทรา, ภาคใต้ ระหว่างวันที่ 14 - 15 พฤษภาคม 2556 ณ โรงแรมวังใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 21 - 22 พฤษภาคม 2556 ณ โรงแรมพูลแมน ราชา ออคิด จังหวัดขอนแก่น และภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 29-30 พฤษภาคม 2556 ณ โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ จังหวัดเชียงใหม่
ทั้งนี้ นิทรรศการจะมีการแสดงพันธุ์ปลาท้องถิ่นหายาก หรือสัตว์น้ำเศรษฐกิจประจำถิ่น อาทิ จังหวัดขอนแก่น มีการจัดแสดงปลาสวายและปลาพรมหัวเหม็น, จังหวัดเชียงใหม่ จัดแสดง ปลาเทร้า และปลาสเตอร์เจี้ยน, จังหวัด ฉะเชิงเทราและสุราษฎร์ธานี มีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับการแสดงสัตว์น้ำมีชีวิต (Touch Pool) และการจัดแสดงสัตว์น้ำชายฝั่งสวยงามมีชีวิต อาทิ ปลิงทะเล ปลาการ์ตูน และหอยมือเสือ พร้อมเสริมสร้างความรู้ให้เกษตรกรในด้านการป้องกันและรักษาโรคสัตว์น้ำชายฝั่ง เช่น โรคตายด่วน (EMS) ในกุ้งทะเลเพื่อให้เกษตรกรได้เตรียมความพร้อมในการป้องกันให้เลี้ยงกุ้งทะเลปลอดจากโรคระบาดหรือเกิดความเสียหายจากโรคระบาดได้
“จะมีการรับสมัครประมงอาสา 14,000 คนเป็นพี่เลี้ยงที่มีความรู้ด้านการประมง เพื่อสร้างแกนนำและผู้ประสานงานในการถ่ายทอดเทคโนโลยีและข่าวสารด้านการประมงให้กับเกษตรกรในชุมชน และระหว่างเกษตรกรกับเจ้าหน้าที่ประมง"
นอกจากนี้จะมีการประชุมสัมมนาและการบรรยายให้ความรู้ด้วย เช่น เรื่อง “ระเบียบการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัย" “บทบาทของประมงอาสา" “การเตรียมตัวสู่การเป็น Smart Farmer ของเกษตรกรประมง" การเสวนา “พัฒนาเกษตรกรประมงไทยสู้ภัยพิบัติในอนาคต" และ การเสวนา “เกษตรกรไทยได้อะไรจากการเข้าสู่ AEC" พร้อมการจัดแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน กิจกรรมเล่นเกมชิงของรางวัล และการจำหน่ายสินค้า OTOP ของดีของเด่นจากผลิตภัณฑ์ด้านการประมง 4 ภูมิภาค
"จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับเกษตรกรกว่า 600,000 รายให้เป็น Smart farmers และเจ้าหน้าที่ของกรมประมงเป็น Smart officer เพื่อปรับตัวรับรู้สิ่งใหม่ตามกระแสสังคมที่เรียกว่า การเปลี่ยนแปลงของโลก (Change)"นายศิริวัฒน์ กล่าว