โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนมากหรือร้อยละ 54.3 ระบุว่าการขาดทุนในโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลมีผลค่อนข้างน้อยถึงไม่มีผลเลยต่อความน่าเชื่อถือของตนเองต่อรัฐบาล ในขณะที่ร้อยละ 45.7 ระบุมีผลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
เมื่อสอบถามถึงการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวว่าควรดำเนินต่อไปหรือควรหยุดโครงการ พบว่า กลุ่มตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 52.8 คิดว่ารัฐบาลไม่ควรหยุดโครงการรับจำนำข้าว ในขณะที่ร้อยละ 47.2 คิดว่าควรหยุด อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนมากหรือร้อยละ 58.7 เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลควรหาทางชดเชยการขาดทุนโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล
เมื่อถามกลุ่มตัวอย่างว่าถ้ารัฐบาลหาทางชดเชยการขาดทุนโครงการรับจำนำข้าว โดยหาทางเรียกเก็บรายได้จากตนเองทั้งทางตรงและทางอ้อมเป็นจำนวนเงินทั้งหมดประมาณ 1,000 บาท เพราะรัฐบาลบอกผ่านสื่อว่าขาดทุนประมาณ 6 หมื่นล้านบาท พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.4 ไม่เห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 14.6 เห็นด้วย
นอกจากนี้ ยังถามว่าถ้ารัฐบาลหาทางชดเชยการขาดทุนโครงการรับจำนำข้าว โดยหาทางเรียกเก็บรายได้จากตนเองทั้งทางตรงและทางอ้อมเป็นจำนวนเงินทั้งหมดประมาณ 3,000—4,000 บาท เพราะมีบางฝ่ายบอกว่ารัฐบาลขาดทุนกว่า 2.6 แสนล้านบาท พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 92.0 ไม่เห็นด้วย มีเพียงร้อยละ 8.0 เท่านั้นที่เห็นด้วย
เมื่อสอบถามถึงบุคคลที่ต้องรับผิดชอบและวิธีการรับผิดชอบ ถ้ารัฐบาลขาดทุนจากโครงการรับจำนำข้าว พบว่า ในส่วนของรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 53.5 ระบุให้หาเงินมาชดเชย ในขณะที่ร้อยละ 31.8 ระบุให้ลาออก และร้อยละ 14.7 ให้ทำงานต่อไม่ต้องรับผิดชอบอะไร
ส่วน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 54.7 ให้หาเงินมาชดเชย ในขณะที่ร้อยละ 30.1 ให้ลาออก และร้อยละ 15.2 ให้ทำงานต่อไม่ต้องรับผิดชอบอะไร ส่วนรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 56.7 ให้หาเงินมาชดเชย ในขณะที่ร้อยละ 27.0 ให้ลาออก และร้อยละ 16.3 ให้ทำงานต่อไม่ต้องรับผิดชอบอะไร
ส่วนข้าราชการระดับสูงที่เกี่ยวข้อง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 54.2 ให้หาเงินมาชดเชย ในขณะที่ร้อยละ 26.1 ให้ลาออก และร้อยละ 19.7 ให้ทำงานต่อไม่ต้องรับผิดชอบอะไร และในส่วนของพรรคเพื่อไทย พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 57.5 ให้หาเงินมาชดเชย ในขณะที่ร้อยละ 25.1 ให้ลาออก และร้อยละ 17.4 ให้ทำงานต่อไม่ต้องรับผิดชอบอะไร
อนึ่ง ผลสำรวจดังกล่าวมาจากความคิดเห็นของประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,384 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 12-15 มิถุนายน 2556