การจัดทำ“คู่มือปฏิบัติงานสำหรับการบริหารการจัดการภัยพิบัติในการรักษาพระนคร"ในครั้งนี้ จะเป็นการนำแผนปฏิบัติงานป้องกันภัยพิบัติของ 12 หน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครที่ทำงานเกี่ยวข้องกับภัยพิบัติทั้งการป้องกัน ดูแล และฟื้นฟูทั้งโดยตรงและโดยอ้อมมาผนวกกัน เพื่อให้เกิดการประสานทำงานจัดการปัญหาภัยพิบัติทั้งภัยธรรมชาติและภัยที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ร่วมกันอันจะเป็นการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ทุกรูปแบบได้ทันท่วงที รวมทั้งสามารถรองรับสถานการณ์ตามลักษณะความเสี่ยงในทุกระดับของความรุนแรงทั้งในช่วงก่อนเกิดภัยพิบัติ ขณะเกิดภัยพิบัติและภายหลังจากภัยพิบัติผ่านพ้นไปแล้ว เพื่อให้สามารถบริหารจัดการภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ด้านนายพิจิตต รัตตกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กล่าวว่า มหาวิทยาลัยฯ จะใช้เวลาประมาณ 6 เดือนหลังจากนี้ ในการนำแผนป้องกันภัยพิบัติของหน่วยงานต่างๆ ในสังกัดกรุงเทพมหานครมาผนวกรวมกันเพื่อจัดทำคู่มือปฏิบัติงานสำหรับการบริหารการจัดการภัยพิบัติในการรักษาพระนครเพื่อให้เกิดการประสานแผนร่วมกัน จากนั้นจะได้มีการประสานแผนฯ ไปยังหน่วยงานต่างๆ ทั้งการไฟฟ้า การประปา บชน. และกองทัพบก เพื่อให้เกิดการทำงานในการบริหารจัดการดูแลป้องกันภัยพิบัติมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีระบบสั่งการและการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกิดเป็นระบบปฏิบัติการ ณ ภาวะวิกฤต ตลอดจนความร่วมมือของภาคประชาชน เพื่อสร้างความอุ่นใจและความปลอดภัยให้แก่ประชาชนต่อไป