โครงการดังกล่าว คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปีนี้ ใช้งบประมาณไม่ถึง 1,000 ล้านบาท และแล้วเสร็จประมาณปี 59 ซึ่งเป็น 1 ในโครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำของ กทม.10 โครงการ ที่ขณะนี้ก่อสร้างเสร็จแล้ว 7 โครงการ ซึ่งรัฐบาลจะมีการบริหารจัดการงบประมาณดำเนินการก่อสร้างด้วยการสนับสนุนงบประมาณให้ร้อยละ 50 ของวงเงินงบประมาณทั้งหมดของโครงการ ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 50 ทาง กทม.ต้องออกค่าก่อสร้างเอง
อุโมงค์ดังกล่าวจะใช้ระบายน้ำช่วงฤดูฝนลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาไม่ให้มีการท่วมขังยาวนานจนประชาชนในพื้นที่เดือนร้อนหรือได้รับผลกระทบมากนัก ที่สำคัญหากอุโมงค์แล้วเสร็จจะช่วยลำเลียงน้ำจากพื้นที่เขตห้วยขวาง ดินแดง จตุจักร พญาไทดุสิต และเขตบางซื่อ ออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาโดยตรงบริเวณพื้นที่เกียกกาย ช่วยลดระยะเวลาการเดินทางของน้ำ
และแก้ไขจุดอ่อนน้ำท่วมบริเวณถนนพหลโยธิน ช่วงจากสี่แยกสะพานควาย - ห้าแยกลาดพร้าว ถนนวิภาวดีรังสิต ช่วงจาก สี่แยกสุทธิสาร - ห้าแยกลาดพร้าว ถนนรัชดาภิเษก ช่วงจากสี่แยกรัชโยธิน - คลองบางซื่อช่วงจากคลองบางกระบือ — สี่แยกเกียกกาย ถนนลาดพร้าว ช่วงจากสี่แยกรัชดาลาดพร้าว - คลองบางซื่อ และถนนกำแพงเพชร ช่วงจาก ใต้ทางด่วนศรีรัช - ตลาดนัดสวนจตุจักร ได้ด้วย
เนื่องจากปัจจุบันนี้พื้นที่กทม.เวลามีปริมาณฝนตกหนักเกินกว่า 60 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง มีศักยภาพระบายน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาแล้วเสร็จถึง 3 ชั่วโมง ทำให้มีน้ำท่วมขังจำนวนมากในหลายพื้นที่กทม.ในทุกปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ จนกว่าอุโมงค์ดังกล่าวจะเริ่มก่อสร้างแล้วเสร็จและสามารถใช้งานได้ต้องใช้เวลาประมาณกว่า 2 ปี ดังนั้น ปีนี้ต้องมีการบริหารจัดการระบายน้ำในพื้นที่กทม.ให้เป็นระบบมากขึ้น โดยเฉพาะการระบายปริมาณน้ำฝนที่ท่วมขังให้เร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพสูงสุดต้องให้ได้ 60 มิลลิเมตรต่อวินาทีแทน เพราะคูคลอง แม่น้ำต่างๆในกทม.ไม่สามารถขยายได้แล้วเพราะมีประชาชนอาศัยอยู่ในพื้นที่จำนวนมาก และถึงขยายได้ไม่สามารถระบายน้ำได้ถึง 60 มิลลิเมตรต่อวินาที
ที่ผ่านมากทม.ได้จัดซื้อจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษาและสำรวจเสร็จเรียบร้อยแล้ว คือ การก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำใต้คลองบางซื่อจากคลองลาดพร้าว-แม่น้ำเจ้าพระยา ที่มีศักยภาพสูบน้ำระบายออกได้ทันที และในอนาคตจะไม่เกิดปัญหาน้ำท่วมขังกรุงเทพมหานครที่ใช้เวลาระบายน้ำออกจากพื้นที่นานถึง 3 ชั่วโมง สอดคล้องกับแนวทางของรัฐบาลดำเนินการอยู่
นายชัชชาติ กล่าวว่า ในอนาคตกทม.มีแผนก่อสร้างอุโมงค์ระบายในพื้นที่กรุงเทพมหานครอีก 2 แห่ง อยู่ระหว่างดำเนินการและปรับปรุงแผน คือ โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำจากบึงหนองบอนลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ด้านฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ความยาว 9.40 กิโลเมตร งบประมาณก่อสร้างประมาณ 4,900 ล้านบาท และโครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองเปรมประชากรจากคลองบางบัวลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ด้านฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ความยาว 13.50 กิโลเมตร งบประมาณก่อสร้างประมาณ 6,000 ล้านบาท
ทั้ง 2 โครงการมีประสิทธิภาพการสูบน้ำได้ 60 มิลลิเมตรต่อวินาที เพื่อรองรับปริมาณน้ำฝนด้วยการคำนวณปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาและศักยภาพพื้นที่ในการรับปริมาณน้ำ ในการนำมาประมวลผลความกว้างความยาวของอุโมงค์ระบายน้ำให้เหมาะสมและระบายน้ำได้เร็วอย่างมีประสิทธิภาพ จึงให้กทม.กลับไปทบทวนแผนใหม่ ด้วยการปรับลดขนาดการระบายน้ำของอุโมงค์ลง เพราะใช้แค่ระบายน้ำในพื้นที่กทม.เท่านั้น ไม่ได้ใช้เพื่อการรับน้ำหลากแล้ว