ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ กรมชลประทาน ได้ให้โครงการชลประทานทุกแห่ง เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด พร้อมกับบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆ ให้สอดคล้องกับสภาวะฝนที่ตกลงมา
สำหรับสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ ล่าสุด(2 ส.ค. 56) มีปริมาณน้ำรวมกัน จำนวน 35,992 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 51 ของความจุอ่างฯขนาดใหญ่รวมกันทั้งหมด สามารถรองรับน้ำในช่วงฤดูฝนนี้ได้อีกกว่า 34,000 ล้านลูกบาศก์เมตร
สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ในพื้นที่ภาคเหนือ ยังสามารถรองรับน้ำในช่วงฤดูฝนนี้ได้อีกกว่า 17,000 ล้านลูกบาศก์เมตร อาทิ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา จ.เชียงใหม่ มีปริมาณน้ำ 43 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 16 ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 200 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนกิ่วลม จ.ลำปาง มีปริมาณน้ำ 50 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 47 ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 50 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 4,201 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 31 ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 9,200ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 3,533 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 37 ของความจุอ่างฯสามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 5,900 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 246 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 26 ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 600 ล้านลูกบาศก์เมตร
ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ต่างๆ ยังสามารถรองรับน้ำในช่วงฤดูฝนนี้ได้อีกกว่า 5,000 ล้านลูกบาศก์เมตร อาทิ เขื่อนห้วยหลวง จ.อุดรธานี มีปริมาณน้ำ 41 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 94 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร มีปริมาณน้ำ 339 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 65 ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 180 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ มีปริมาณน้ำ 433 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 22 ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 1,500 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนลำตะคอง จ.นครราชสีมา มีปริมาณน้ำ 80 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 25 ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 200 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนอื่นๆ ยังรับได้รวมกันอีกกว่า 4,500 ล้านลูกบาศก์เมตร