อย่างไรก็ตามกรุงเทพมหานครไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้จัดเจ้าหน้าที่พร้อมอุปกรณ์ประจำจุดต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกและให้ความช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่
พร้อมทั้งได้เตรียมความพร้อมของสถานีสูบน้ำ ประตูระบายน้ำ อุโมงค์ระบายน้ำ 7 แห่ง ความยาวรวม 19 กม. และมีประสิทธิภาพการระบายน้ำรวม 155.50 ลบ.ม./วินาที ในการรับมือป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม รวมทั้งขุดลอกคลองและเปิดทางน้ำไหล ซึ่งดำเนินการแล้ว 98.65% การล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำดำเนินการแล้ว 98.65% การติดตั้งเครื่องสูบน้ำตามจุดอ่อนน้ำท่วม จำนวน 487 จุด รวม 1,040 เครื่อง เครื่องสูบน้ำ(ไฟฟ้า-เครื่องยนต์) จำนวน 1,365 เครื่อง เครื่องผลักดันน้ำ (ไฟฟ้า-เครื่องยนต์) จำนวน 74 เครื่อง แนวคันกั้นน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยาคลองบางกอกน้อยและคลองมหาสวัสดิ์ ความยาวที่สร้าง 77 กม. ขณะนี้แล้วเสร็จ 76.27 กม. เหลืออีก 0.73 กม. (บริเวณทรงวาด 0.71 กม. และปุรณาวาส 0.02 กม.) แนวฟันหลอความยาว 7.77 กม. โดยการเรียงกระสอบทรายแล้วเสร็จระดับ +2.40 ม.รทก. หน่วย BEST ของ กทม.ทั้งหมด 95 หน่วย เตรียมพร้อมปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม แก้มลิงปัจจุบันรวม 25 แห่ง ปริมาตรเก็บกัก 12.88 ล้านลูกบาศก์เมตร
"เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่เกิดจากทั้งน้ำฝน น้ำทะเลหนุน และน้ำเหนือ" ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าว
ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วมที่เป็นศูนย์กลางในการประสานงานด้านปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม โดยมีเรดาร์ตรวจจับกลุ่มฝน 1 สถานี เครื่องวัดปริมาณน้ำฝน 180 สถานี ระบบเฝ้าระวังน้ำท่วมบนถนน 71 สถานี ระบบเฝ้าระวังน้ำล้นคลอง 113 สถานี ระบบตรวจสภาพอากาศ 52 สถานี จุดวัดอัตราการไหลของน้ำ 28 แห่ง ระบบกล้อง CCTV 47 จุด และ กทม.ได้ประสานงานกับหน่วยงานภายนอก เช่น กรมอุตุนิยมวิทยา, กรมชลประทาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, จส.100 และร่วมด้วยช่วยกัน สวพ.91 รวมถึงการให้บริการข้อมูลข่าวสารทางเว็บไซต์ http://dds.bangkok.go.th/dds_now/ และมีเจ้าหน้ารับเรื่องร้องเรียน โทร.02 248 5115 อัตโนมัติ 20 คู่สาย