ทั้งนี้ เขื่อนสิรินธรเริ่มเปิดบานประตูระบายน้ำล้นเมื่อวันที่ 19 ก.ย.ที่ผ่านมา ตั้งแต่เวลา 10.29 น.ซึ่งขณะนั้นมีปริมาณน้ำในเขื่อนร้อยละ 93 มีช่องว่างในอ่างฯ เพียง 130 ล้าน ลบ.ม. หรือ 46 ซม. กฟผ.จึงขยับบานประตูขึ้นทีละน้อย ซึ่งจากการติดตามระดับน้ำในอ่างฯ ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงยังคงการเปิดบานประประตูระบายน้ำล้นเพื่อรักษาระดับน้ำในอ่างฯ ให้เป็นไปตามระดับน้ำควบคุม(Upper Rule Curve)
"กฟผ.จำเป็นต้องสำรองช่องว่างในอ่างฯ สำหรับรับน้ำจากพายุดีเปรสชั่นที่กำลังก่อตัวในทะเล ซึ่งอาจมีทิศทางการเคลื่อนที่เข้าสู่ประเทศไทยเหมือนลูกที่ผ่านมาได้" นายกิตติ กล่าว
ปัจจุบัน(25 ก.ย.56 เวลา 24.00 น.) เขื่อนสิรินธรมีปริมาตรน้ำ 1,723 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 88 มีช่องว่างสามารถรองรับน้ำได้อีก 244 ล้าน ลบ.ม.
สำหรับเขื่อนอื่นๆ ที่ได้รับอิทธิพล และมีปริมาณน้ำในอ่างฯ เพิ่มขึ้นเกินร้อยละ 80 ของความจุ คือ เขื่อนศรีนครินทร์ มีปริมาณน้ำในอ่างฯ ร้อยละ 83 ของความจุ แต่ยังมีความจุรองรับน้ำได้อีกเกือบ 3,000 ล้าน ลบ.ม. จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่น่าเป็นห่วง ส่วนเขื่อนอุบลรัตน์ มีปริมาณน้ำในอ่างฯ เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 55 ของความจุ และมีระดับน้ำในอ่างฯ สูงกว่าระดับน้ำควบคุม(Upper Rule Curve) กำลังปรับเพิ่มการระบายน้ำจากวันละ 3 ล้าน ลบ.ม. เป็นวันละ 10 ล้าน ลบ.ม. เพื่อเตรียมรับสถานการณ์พายุดีเปรสชั่นที่อาจจะส่งผลกระทบต่อเขื่อนอุบลรัตน์ได้ ส่วนเขื่อนอื่นๆ สถานการณ์ยังไม่น่าเป็นห่วง