ขณะที่ประชาชนในพื้นที่ จ.นครสวรรค์ และ จ.อุทัยธานี ร้อยละ 42.60 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยกับการสร้างเขื่อนแม่วงก์ ซึ่งมีสัดส่วนใกล้เคียงกับอีกร้อยละ 41.52 ที่ระบุว่าเห็นด้วยกับการสร้างเขื่อนแม่วงก์
เมื่อถามถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่รัฐบาลควรดำเนินการต่อไป กรณีมีกลุ่มคัดค้านการสร้างเขื่อนแม่วงก์ พบว่าประชาชนในภาพรวมทั้ง 17 จังหวัด ส่วนใหญ่ร้อยละ 78.93 ระบุว่า ควรเปิดเวทีสาธารณะเพื่อให้ทั้งฝ่ายสนับสนุนและคัดค้านได้แสดงความคิดเห็นอย่างเสรี ขณะที่ประชาชนร้อยละ 8.38 ระบุว่าควรระงับโครงการทั้งหมด ส่วนร้อยละ 7.42 ระบุว่า ควรดำเนินโครงการต่อไปโดยไม่จำเป็นต้องฟังเสียงคัดค้าน และร้อยละ 0.88 ระบุว่า ควรทำประชาพิจารณ์ ศึกษาผลกระทบข้อดีและข้อเสียของโครงการ และควรชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการสร้างเขื่อนแม่วงก์ให้ประชาชนทั่วไปทราบทั่วกัน
ขณะที่ประชาชนในพื้นที่ จ.นครสวรรค์ และ จ.อุทัยธานี ร้อยละ 76.53 ระบุว่าควรเปิดเวทีสาธารณะเพื่อให้ทั้งฝ่ายสนับสนุนและคัดค้านได้แสดงความคิดเห็นอย่างเสรี รองลงมา ร้อยละ 10.83 ระบุว่า ควรระงับโครงการทั้งหมด ร้อยละ 8.30 ระบุว่า ควรดำเนินโครงการต่อไปโดยไม่จำเป็นต้องฟังเสียงคัดค้าน และมีเพียงร้อยละ 0.36 ระบุว่า ควรทำประชาพิจารณ์ ศึกษาผลกระทบข้อดีและข้อเสียของโครงการ และควรชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการสร้างเขื่อนแม่วงก์ให้ประชาชนทั่วไปทราบทั่วกัน
เมื่อถามถึงความคิดเห็นความคิดเห็นเกี่ยวกับกลุ่มที่รัฐบาลควรรับฟังความคิดเห็นก่อนการตัดสินใจสร้างเขื่อนแม่วงก์ พบว่า ประชาชนในภาพรวมทั้ง 17 จังหวัด ส่วนใหญ่ร้อยละ 83.64 ต้องการให้รัฐบาลรับฟังความคิดเห็นของกลุ่มประชาชนที่อยู่รอบบริเวณการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ รองลงมา ร้อยละ 75.66 เป็นประชาชนที่อยู่ตามลุ่มน้ำสะแกกรังและได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ส่วนร้อยละ 31.92 เป็นนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม และร้อยละ 29.53 เป็นองค์กรพัฒนาเอกชน(NGO)ด้านสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 6.30 เป็น ประชาชนทั่วไป ทุกๆ คน และมีเพียงร้อยละ 2.39 ที่เห็นว่าไม่จำเป็นต้องรับฟังใครเลยรัฐบาลตัดสินใจได้ทันที
ขณะที่ประชาชนในพื้นที่ จ.นครสวรรค์ และ จ.อุทัยธานี ร้อยละ 90.25 ต้องการให้รัฐบาลรับฟังความคิดเห็นของกลุ่มประชาชนที่อยู่รอบบริเวณการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ รองลงมา ร้อยละ 87.00 เป็นประชาชนที่อยู่ตามลุ่มน้ำสะแกกรังและได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ร้อยละ 29.96 เป็นนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 24.19 เป็นองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ด้านสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 5.05 เป็น ประชาชนทั่วไป ทุกๆ คน และมีเพียงร้อยละ 0.72 ที่เห็นว่าไม่จำเป็นต้องรับฟังใครเลยรัฐบาลตัดสินใจได้ทันที
อนึ่ง ผลการสำรวจดังกล่าวมาจากความคิดเห็นของประชาชนที่อาศัยอยู่ในภาคกลาง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, ชัยนาท, นครนายก, นครปฐม, นนทบุรี, ปทุมธานี, พระนครศรีอยุธยา, ลพบุรี, สมุทรปราการ, สมุทรสงคราม, สมุทรสาคร, สระบุรี, สิงห์บุรี, สุพรรณบุรี, และอ่างทอง(จำนวน 976 หน่วยตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 77.89) และจังหวัดนครสวรรค์และอุทัยธานี(จำนวน 277 หน่วยตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 22.11) รวม 17 จังหวัด รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,253 หน่วยตัวอย่าง กระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพ