เบื้องต้นกิจกรรมครั้งนี้จะนำรายชื่อประชาชนที่มีความเห็นคัดค้านการสร้างเขื่อนแม่วงก์กว่า 1 แสนรายชื่อไปยื่นให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแสดงพลังร่วมกันของประชาชนที่ต้องการ"หยุด"เขื่อนแม่วงก์ เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐรับรู้ถึงปัญหาและตระหนักในเสียงของประชาชน และทำให้ประชาคมโลกได้เห็นพลังของไทยคนไทยในการอนุรักษ์ผืนป่าแม่วงก์ ซึ่งเป็นป่าผืนเดียวกับป่าห้วยขาแห้งและทุ่งใหญ่นเรศวรที่เป็นพื้นที่มรดกโลก
"การเดินรณรงค์ครั้งนี้เป็นกิจกรรมต่อยอดจากการเดินของอาจารย์ศศิน เฉลิมลาภ ที่ได้เดินรณรงค์ 388 กิโลเมตร เพื่อคัดค้านเขื่อนแม่วงก์ แต่การเดินครั้งนี้จะเป็นการเดินทางภาคประชาชนที่ต้องการเป็นปากเป็นเสียงให้ป่าแม่วงก์ว่าการสร้างเขื่อนไม่ใช่คำตอบของการแก้ปัญหาน้ำท่วม อีกทั้งยังเป็นเสียงให้ป่าอื่นๆด้วย เพราะหากการสร้างเขื่อนแม่วงก์ทำได้ ก็จะกลายเป็นมาตรฐานที่เลวร้าย เพราะต่อไปรัฐก็สามารถสร้างเขื่อนในพื้นที่อนุรักษ์หรือในพื้นที่อุทยานแห่งชาติได้ ซึ่งในฐานะประชาชนคนไทยผู้รักษ์ธรรมชาติ คงยอมไม่ได้ และรัฐบาลต้องฟังเสียงประชาชนบ้าง"นายสมิทธ์ กล่าว
ทั้งนี้ ในงานแถลงข่าวจะมีการเปิดตัวเครือข่ายสื่ออาสาภาคประชาชนเพื่อสิ่งแวดล้อม" (Green Move Thailand - GMT) ที่มุ่งขับเคลื่อนรณรงค์ประเด็นสิ่งแวดล้อม ผ่าน social media และกิจกรรมเพื่อสังคม ซึ่งจะมาเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเรื่องนี้ต่อไปด้วย